φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลี่ชิงหยวินอายุยืนถึง 256 ปีจริงหรือไม่?
เขียนเมื่อ 2017/08/12 23:39
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
มีคนเอาคลิปนี้มาให้ดู https://www.youtube.com/watch?v=uSRsU71hB7A

เป็นเรื่องของชายที่ชื่อ หลี่ชิงหยวิน (李清云) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ หลี่ชิ่งหย่วน (李庆远) ซึ่งในข่าวบอกว่าอายุยืนถึง ๒๕๖ ปี

พอได้ดูก็สงสัยจึงไปค้นข้อมูล ก็ยังไม่พบข้อมูลอะไรที่จะหักล้างที่มีน้ำหนักพอ

แต่ที่แน่นอนอย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีทางหาหลักฐานที่แน่นอนที่จะยืนยันอายุที่แท้จริงของเขาได้เช่นกัน เพราะในสมัยนั้นไม่มีการทำสัมมะโนประชากรที่ดีพอ ต่างจากปัจจุบัน

ข้อมูลจากตัวเขาเองได้ชี้ว่าเขาเกิดปี 1749 ซึ่งถ้าเป็นตามนั้นเขาก็จะมีอายุยืน ๑๙๗ ปี

แต่ในปี 1930 หูจงเชียน** (胡忠谦) ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเฉิงตูได้ตีพิมพ์บทความลงใน New York Times ว่าพบหลักฐานว่าหลี่ชิงหยวินเกิดในปี 1677
(**ภาษาอังกฤษเขียนชื่อเป็น Wu Chung-chieh คาดว่าทับศัพท์ตามสำเนียงจีนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่จีนกลาง)

หลักฐานที่ว่านั้นคือเอกสารที่บอกว่ารัฐบาลราชวงศ์ชิงได้จัดงานฉลองที่อายุครบ ๑๕๐ ปีให้เขาในปี 1827 เมื่อนับย้อนไปจึงหมายความว่าเกิดปี 1677 ทำให้สรุปว่าอายุยืนถึง ๒๕๖ ปี

แต่จากข้อมูลที่เห็นคนถกกันตามเว็บของจีนก็มีความเห็นหลากหลาย แต่โดยรวมก็สรุปได้ว่า นี่ยังไม่อาจใช้เป็นหลักฐานที่แน่นอนได้ ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม จึงยังเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้



หากอ้างอิงแค่หลักฐานซึ่งไม่ได้มีน้ำหนักมากพอ ก็ยังมีตัวอย่างอีกหลายกรณีที่มีการบันทึกว่าอายุยืน เช่น เฉินจวิ้น (陈俊) ในมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งบันทึกไว้ว่ามีชีวิตอยู่ในปี 881-1324 รวมแล้วอายุยืน ๔๔๓ ปี

นอกจากนี้ก็ยังมีหญิงชาวอินโดนีเซียซึ่งเพิ่งเสียชีวิตเมื่อปี 2010 อ้างว่าอายุยืน ๑๕๖ ปี แต่เพราะหลักฐานการเกิดไม่แน่ชัด จึงไม่ได้รับการยอมรับเช่นกัน

มนุษย์ที่อายุยืนที่สุดในโลกที่มีการยืนยันหลักฐานได้แน่ชัดคือ ฌาน หลุยส์ กาลม็อง (Jeanne Louise Calment, 珍妮·露意丝·卡尔芒, ปี 1875-1997) ชาวฝรั่งเศส อายุยืน ๑๒๒ ปี

ต่อให้ไม่อาจยืนยันว่าหลี่ชิงหยวินไม่ได้อายุยืน ๒๕๖ ปีจริงๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เรื่องนี้น่าเชื่อถือได้ เพราะเราก็รู้กันดีว่าอายุขัยของมนุษย์ควรจะอยู่ได้แค่ไหน ตามหลักแล้วจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่ได้ถึงขนาดนั้น

กรณีชาวอินโดนีเซียอายุ ๑๕๖ ปีนั้นยังอาจพอมีความเป็นไปได้มากกว่า แต่ถึงอย่างนั้นก็ถือว่าเป็นไปได้ยากมากอยู่ดี




อ้างอิง
 https://www.wukong.com/answer/6410490245262868737

 http://www.sydneytoday.com/content-50000233537
 https://zh.wikipedia.org/wiki/李清云
 https://zh.wikipedia.org/wiki/雅娜·卡尔芒
 https://zh.wikipedia.org/wiki/陈俊_(唐朝)


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文