φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมตงปา
เขียนเมื่อ 2018/05/08 19:57
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# อาทิตย์ 15 เม.ษ. 2018

หลังจากที่เดินทางมาถึงลี่เจียงแล้วก็เที่ยวเมืองเก่าซู่เหอไป https://phyblas.hinaboshi.com/20180506

วันนี้จะเป็นการเที่ยวในตัวเมืองลี่เจียง แผนการเที่ยวเริ่มต้นจากที่เที่ยวที่อยู่ไกลจากโรงแรมมากที่สุด อยู่ค่อนไปทางเหนือสุด คือพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมตงปา (东巴文化博物馆) ซึ่งอยู่ติดกับสวนสาธารณะเฮย์หลงถาน (黑龙潭公园)

ที่นี่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1984 แรกเริ่มใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์อำเภอลี่เจียง (丽江县博物馆) แต่ในปี 1999 จึงเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เมืองลี่เจียง (丽江市博物院)

ภายในบริเวณไม่ใหญ่มาก จัดแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมตงปา (东巴) ของเผ่าน่าซี (纳西族) ซึ่งเป็นชนเผ่าหลักที่อาศัยในลี่เจียง

วัฒนธรรมที่โดดเด่นคืออักษรตงปา (东巴文) ซึ่งเป็นอักษรภาพที่ใช้เขียนภาษาน่าซีซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ และปัจจุบันแม้ชาวน่าซีส่วนใหญ่จะอ่านอักษรนี้ไม่ได้แต่ก็ยังใช้ในทางศาสนาอยู่ ศาสนาของชาวน่าซีเรียกว่าศาสนาตงปา (东巴教)

อักษรตงปาเป็นอักษรภาพที่ประกอบด้วยอักษรทั้งหมด ๒๒๒๓ ตัว สามารถใช้อธิบายเรื่องราวละเอียดซับซ้อนได้ ใช้แต่งบทกวีก็ได้

ภายในพิพิธภัณฑ์จะจัดแสดงและอธิบายเกี่ยวกับอักษรเหล่านั้น หากใครสนใจทางด้านภาษาศาสตร์ที่นี่ก็ถือว่าเป็นที่ที่ไม่ควรพลาด

และหากเที่ยวอยู่ในเมืองลี่เจียง โดยเฉพาะย่านเมืองเก่า จะเห็นอักษรตงปาประดับอยู่ทั่วไป

นอกจากอักษรตงปาแล้วยังมีอักษรอีกชนิดที่ใช้เขียนภาษาน่าซี คืออักษรเกอปา (哥巴文) ซึ่งไม่ใช่อักษรภาพแต่เป็นอักษรแทนเสียง แต่มีการใช้น้อยกว่า มีข้อมูลน้อยกว่า

พิพิธภัณฑ์สามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แม้จะอยู่ติดกับสวนสาธารณะเฮย์หลงถานแต่ก็ถือว่าเป็นด้านนอก จึงไม่ต้องจ่ายค่าบำรุงเมืองเก่า ๘๐ หยวนอย่างที่ต้องจ่ายเพื่อเข้าเฮย์หลงถาน



สำหรับการเที่ยวในวันนี้นั้น ตอนเช้าตื่นขึ้นมาสายๆเพราะรายการเที่ยววันนี้ค่อนข้างสบายๆเพราะเหลือที่เที่ยวแค่ในตัวเมือง

เราเดินมาขึ้นรถเมล์สาย ๘ เพื่อไปยังหน้าทางเข้าของเฮย์หลงถาน ตั้งใจว่าจะเดินจากตรงนั้นขึ้นไปที่พิพิธภัณฑ์ แต่เนื่องจากนั่งเลยป้ายก็เลยต้องลงป้ายถัดไปแล้วเดินไปอีกทางซึ่งไกลกว่า แต่ก็เลยมาโผล่ที่หน้าทางเข้าฝั่งเหนือเฮย์หลงถานซึ่งติดกับพิพิธภัณฑ์เลย



ระหว่างทางเดินจากป้ายรถเมล์ไปยังทางเข้า




ถึงทางเข้าสวนสาธารณะเฮย์หลงถานทางเหนือ



จากปากทางเข้า ป้ายบอกทางว่าเดินเข้าไป ๕๐ เมตรก็ถึง




ถึงหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์



ที่ผนังด้านนอกของพิพิธภัณฑ์เองก็มีอักษรภาพเขียนอยู่ด้วย พร้อมทั้งบอกความหมายแปลเป็นอักษรจีนให้ด้วย



เข้าชมด้านใน



ด้านในเจอนักท่องเที่ยวชาวออสเตรีย เขาพูดบรรยายกันเป็นภาษาเยอรมัน ที่รู้ว่าเป็นคนออสเตรียเพราะเขามีชูธงซึ่งเป็นแถบแดงขาวแดง




ที่ผนังตรงนี้เป็นอักษรตงปาที่คัดลอกมาจากหนังสือโบราณของเผ่าน่าซี



ภายในห้องจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมตงปาและเผ่าน่าซี










หนังสือเก่าที่เขียนด้วยอักษรตงปา





ป้ายจัดงานประชุมชนกลุ่มน้อยในลี่เจียงที่เขียนเมื่อปี 1950 มีหลายภาษาประกอบอยู่ในนี้ (แผ่นจำลองของจริง)



จำลองบ้านแบบดั้งเดิมและของใช้ต่างๆของเผ่าน่าซี






ระหว่างทางเดินไปห้องถัดไป




ฉากจำลองพิธีบวงสรวงเทพเจ้า




อธิบายวิธีการสร้างกระดาษ



วัตถุดิบทำกระดาษ



ได้ออกมาเป็นกระดาษตงปา (东巴纸)



ตรงนี้มีการเอาอักษรตงปามาเปรียบเทียบกับอักษรเจี๋ยกู่เหวิน (甲骨文) อักษรโบราณของจีน แล้วก็อักษรอียิปต์ด้วย



ส่วนตรงนี้เปรียบเทียบกับอักษรบาบิโลน แล้วก็มายาด้วย



ส่วนห้องถัดมาเป็นห้องสุดท้าย จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงยุคสมัยใหม่



ตรงนี้เป็นลานกว้างกลางอาคาร



ก็ชมพิพิธภัณฑ์เสร็จเท่านี้ เสร็จแล้วก็เดินออกมาเพื่อเข้าชมเฮย์หลงถานต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20180510



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ยูนนาน
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文