φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ย่านเมืองเก่าเฉียวโถว โรงงานน้ำตาลเก่าแก่ในเกาสยง
เขียนเมื่อ 2018/10/27 09:08
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# อังคาร 23 ต.ค. 2018

หลังจากที่ตอนที่แล้วได้เที่ยวพิพิธภัณฑ์หนังตะลุงในเขตกางซาน https://phyblas.hinaboshi.com/20181026

เนื่องจากอยากลองนั่งรถไฟฟ้าเกาสยงดูสักครั้ง ก็เลยลองหาดูว่ามีที่ไหนที่พอจะไปเที่ยวได้โดยใช้เวลาไม่นาน ก็ไปเจอว่าที่เขตเฉียวโถว (橋頭) ซึ่งอยู่ข้างๆมีย่านเมืองเก่าอยู่ เรียกว่าย่านเมืองเก่าเฉียวโถว (橋頭老街)

เขตเฉียวโถวมีสถานีรถไฟฟ้าอยู่ ๒ แห่งคือ สถานีรถไฟเฉียวโถว (橋頭火車站) และสถานีโรงน้ำตาลเฉียวโถว (橋頭糖廠站)

สถานีรถไฟเฉียวโถวนั้นเป็นทั้งสถานีรถไฟและสถานีรถไฟฟ้าไปในตัวด้วย ส่วนสถานีโรงน้ำตาลเฉียวโถวอยู่ห่างไปทางใต้อีกราวครึ่งกิโล อยู่ในย่านเมืองเก่า

ที่จริงแล้วรถไฟฟ้าเกาสยงนั้นมีหลายสถานีที่เป็นสถานีรถไฟไปด้วย หรืออยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ เป็นจุดเปลี่ยนรถได้ เช่นสถานีจั่วอิ๋ง (左營站)

สำหรับในเขตกางซานเองก็มีทั้งสถานีรถไฟคือสถานีกางซาน (岡山站) กับสถานีรถไฟฟ้าคือสถานีกางซานใต้ (南岡山站) แต่ทั้งสองสถานีนี้อยู่ไม่ไกลกันนัก จึงไม่ใช่จุดเปลี่ยนรถที่สะดวก

แต่สำหรับที่เขตเฉียวโถวนี้ รถไฟและรถไฟฟ้าเป็นสถานีเดียวกันเลย จึงเป็นจุดเปลี่ยนรถที่สะดวก

และนี่ก็เป็นเหตุผลให้อยากแวะมาที่เฉียวโถว เพราะเที่ยวเสร็จก็นั่งรถไฟกลับได้เลย

ย่านเมืองเก่าเฉียวโถวมีชื่อเรื่องเป็นแหล่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีโรงงานน้ำตาลเก่าแก่ที่อายุเกินร้อยปี สร้างขึ้นสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันอยู่

โรงงานน้ำตาลที่นี่ปัจจุบันหยุดใช้งานแล้ว กลายมาเป็นโบราณสถานเปิดให้คนเข้าชม กลายเป็นพิพิธภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำตาลไต้หวัน (台灣糖業博物館)

แต่น่าเสียดายตรงที่ว่าการมาเที่ยวที่นี่ครั้งนี้เป็นการมาแบบไม่ได้วางแผนล่วงหน้าจึงเข้าใจไปว่าโรงงานน้ำตาลไม่น่าจะใช่สถานที่เที่ยวที่ให้เข้าชมได้ ก็เลยทำให้ไม่ได้แวะ เลยได้แต่เดินเล่นตรงถนนย่านเมืองเก่าเท่านั้น

แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะแผนเที่ยวหลักจริงๆตั้งใจไปแค่กางซาน และเวลาก็ไม่ได้เยอะมาก ส่วนเฉียวโถวเป็นแค่ของแถมที่แวะมาเพราะพอจะเหลือเวลาเล็กน้อย แต่ก็รีบพอสมควร ถ้าแวะชมโรงงานด้วยก็คงต้องใช้เวลาไปพอสมควร



ย่านเมืองเก่านี้เนื่องจากอยู่ใกล้ทางสถานีโรงน้ำตาลเฉียวโถว ดังนั้นเราจึงเลือกนั่งรถไฟฟ้ามาลงสถานีนี้ จากนั้นค่อยเดินย้อนไปจนถึงสถานีรถไฟ แล้วก็นั่งรถไฟกลับจากตรงนั้น





หน้าสถานี



เดินออกมาจากสถานีทางฝั่งตะวันออก แถวนี้ดูเงียบๆ






แผนที่แสดงเส้นทางท่องเที่ยวที่แนะนำ ก็คือเดินเลียบไปตามทางฝั่งตะวันออกของรางรถไฟจนกระทั่งเจอทางข้ามรางรถไฟก็ข้ามไปแล้วก็เดินผ่านย่านเมืองไปเรื่อยๆจนถึงสถานีรถไฟเฉียวโถว



เดินมาหน่อยก็เจออาคารขายผลิตภัณฑ์น้ำตาลของที่นี่



เข้าไปเดินดูแต่ไม่ได้ซื้ออะไรนอกจากน้ำผลไม้ธรรมดาซึ่งหาที่ไหนก็ได้



จากนั้นเดินต่อมาก็เจอทางเข้าโรงงานน้ำตาล แต่ตอนนั้นเข้าใจว่าเป็นโรงงานที่เปิดใช้งานอยู่จริงไม่น่าจะเป็นที่ที่ให้เข้าชมก็เลยไม่ได้เข้า จริงๆแล้วเป็นโรงงานเก่าที่มีพิพิธภัณฑ์



แล้วเลี้ยวซ้ายไปก็เจอทางรถไฟ ส่วนที่ยกระดับอยู่คือรถไฟฟ้า



เดินเลียบตามทางรถไฟไป




แล้วก็เจอทางข้าม




ข้ามมาก็เป็นย่านเมืองเก่า ถนนตรงนี้ชื่อถนนโรงน้ำตาล (糖廠路, ถางฉ่างลู่)



ย่านเมืองเก่าที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องของกิน มีร้านอร่อยๆมากมาย




เดินมาจนสุดก็จะเจอถนนเฉียวหนาน (橋南路)



ตามทางถนนสายนี้คือย่านเมืองที่เต็มไปด้วยร้านต่างๆมากมาย ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร





สิ่งหนึ่งที่เด่นของย่านนี้ก็คือเสาที่เขียนว่าถนนย่านร้านค้าเฉียวโถว (橋頭小店仔街, เฉียวโถวเสี่ยวเตี้ยนไจ่เจีย) คำว่า 店仔 เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน อ่านว่า "เตี๊ยมอ้า" แปลว่าร้านค้าเล็กๆ



เดินต่อไปตามทาง








ก็เจอวัดเล็กๆ เฉียวโถวเฟิ่งเฉียวกง (橋頭鳳橋宮)





เดินต่อมาทางฝั่งด้านขวาของวัด




แล้วก็เริ่มเห็นตัวสถานีรถไฟฟ้าอยู่ทางขวา



แล้วก็ถึงสถานีรถไฟ แต่ที่เห็นเป็นอาคารเล็กๆเก่าๆคือสถานีเก่าซึ่งปัจจุบันปิดไม่ใช้แล้ว



สถานีรถไฟปัจจุบันใช้ตัวสถานีร่วมกับรถไฟฟ้า ต้องขึ้นไปข้างบนก่อนค่อยลงมาที่ทางรถไฟอีกที



ขึ้นมาบนสถานี ด้านหน้าเป็นทางเข้ารถไฟฟ้า ส่วนด้านขวาเป็นทางเข้ารถไฟ



ทางเข้าไปขึ้นรถไฟ จากป้ายจะเห็นว่าขณะนั้นเวลา 13:16 และรถรอบต่อไปที่จะขึ้นเพื่อกลับไถหนานได้คือรอบ 13:21 มีปลายทางที่โฮ่วหลี่ (后里) เป็นรถแบบจอดทุกสถานี ที่นี่เป็นสถานีเล็กๆจึงไม่มีรถด่วนจอด



ลงไปรอรถไฟ





ที่นั่งในนี้เป็นรูปสะพาน อาจทำเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่ เพราะคำว่า 橋 (เฉียว) แปลว่าสะพาน



แล้วรถไฟก็มา เดินทางกลับไถหนาน เป็นอันสิ้นสุดการเที่ยวในวันนี้ลง




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> เกาสยง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文