φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



การทำให้เชื่อมต่อ ssh ได้โดยไม่ต้องใส่รหัสผ่าน
เขียนเมื่อ 2019/03/02 21:17
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เวลาเชื่อมต่อ ssh ปกติแล้วจะต้องใส่รหัสผ่านทุกครั้ง แต่หากใครรู้สึกว่าไม่สะดวกก็มีวิธีที่ทำให้ไม่ต้องใส่รหัสเหมือนกัน

วิธีการคือต้องทำ ssh key ของเครื่องที่เราใช้อยู่ขึ้นมา แล้วส่งไปให้เครื่องฝั่งเซอร์เวอร์จำไว้

ไฟล์ที่เก็บ ssh key จะต้องถูกสร้างอยู่ใน ~/.ssh ดังนั้นก่อนอื่นให้ลองดูว่ามีไฟล์นั้นอยู่แล้วหรือเปปล่า
ls -al ~/.ssh

ถ้าหากพบว่ามีไฟล์ id_rsa และ id_rsa.pub อยู่แล้วก็ให้ใช้อันนี้ได้เลย

แต่หากไม่มีก็ให้พิมพ์คำสั่ง
ssh-keygen -t rsa

จากนั้นก็จะมีข้อความขึ้นมาให้ป้อนพาธ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องสนใจก็ได้ ให้กด enter ไป

เท่านี้ไฟล์ id_rsa และ id_rsa.pub ก็จะถูกสร้างขึ้นมา

จากนั้นให้ไปดูที่โฟลเดอร์ ~/.ssh ในฝั่งเซอร์เวอร์ว่ามี authorized_keys อยู่หรือเปล่า

ถ้าไม่มีไฟล์นั้นอยู่ก็ให้ส่งไฟล์ id_rsa.pub ไปยังเซอร์เวอร์ อาจส่งด้วย scp แบบนี้
scp ~/.ssh/id_rsa.pub phyblas@hinaboshi.com:~/.ssh/authorized_keys

แต่ถ้าหากเราเคยใส่ ssh key ของเครื่องอื่นไว้อยู่แล้วก็จะมีไฟล์ ~/.ssh/authorized_keys อยู่แล้ว แบบนี้จะต้องเขียน ssh key ใหม่นี้ต่อเข้าไปโดยไม่ลบของเก่าทิ้ง ไฟล์นี้ต้องบันทึก ssh key ของทุกเครื่องที่ต้องการใช้ต่อเข้ามา ถ้าต้องการต่อเข้ามาจากหลายๆที่ได้

แบบนี้อาจโอนไฟล์เข้าไปก่อน
scp ~/.ssh/id_rsa.pub phyblas@hinaboshi.com:~

จากนั้นค่อยใช้ cat เพื่อนำ ssh key ไปเขียนต่อท้าย
cat ~/id_rsa.pub >> ~/.ssh/authorized_keys
rm ~/id_rsa.pub

ต้องใช้ >> เพื่อให้เป็นการเขียนต่อกันไป เพราะถ้าใช้ > จะเป็นการลบของเก่าทิ้ง



อย่างไรก็ตาม หากทำตามนี้แล้วยังไม่ได้ผลอาจหมายความว่าเครื่องนั้นมีการตั้งค่าไว้ให้ไม่สามารถเชื่อมต่อโดยใช้ ssh key แทนรหัสผ่านได้

ถ้าหากเครื่องนั้นเป็นเครื่องที่เรามีสิทธิ์ root ก็ให้ลองเข้าไปดูที่ไฟล์ /etc/ssh/sshd_config หาดูว่ามีการตั้งค่าเป็นแบบนี้หรือไม่
PubkeyAuthentication=yes
PasswordAuthentication=no

ถ้าไม่ใช่ให้ตั้งให้เป็นตามนี้จึงจะเข้าได้

เมื่อมีการแก้ไขแล้วก็ต้องสั่ง
/etc/init.d/sshd restart

จากนั้นลองดูใหม่ เท่านี้ก็น่าจะเข้าได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> shell

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文