φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



แวะกินข้าวย่านกินซะ ดูหนังสือที่ศูนย์หนังสือยาเอสึ ชมสถานีโตเกียวยามค่ำคืน แวะร้านกาแฟย่านคิจิโจวจิ
เขียนเมื่อ 2019/03/20 00:11
แก้ไขล่าสุด 2023/03/30 05:40
# ศุกร์ 1 มี.ค. 2019

หลังจากที่ค่ายอบรมดาราศาสตร์จบสิ้นลงไปในตอนที่แล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20190319

เหลือเวลาตอนช่วงเย็นก่อนที่วันรุ่งขึ้นจะเดินทางนั่งเครื่องบินกลับ

เราตัดสินใจเข้าไปเที่ยวในย่านใจกลางเมืองโตเกียวกับเพื่อน

แผนคราวนี้คือไปกินข้าวเย็นแล้วก็ไปเดินร้านหนังสือใหญ่ๆอีกร้าน คือศูนย์หนังสือยาเอสึ (八重洲やえすブックセンター)

ร้านตั้งอยู่ในย่านยาเอสึ (八重洲やえす) ในเขตจูโอว (中央区ちゅうおうく) คำว่าจูโอวแปลว่าใจกลาง เพราะเขตนี้อยู่ค่อนข้างจะใจกลางโตเกียว แต่ว่าที่จริงก็ไม่ได้อยู่ตรงกลางพอดี แต่เขตจิโยดะ (千代田区ちよだく) ซึ่งอยู่ข้างๆถือว่าเป็นใจกลางมากกว่า เพราะเป็นที่ตั้งของพระราชวัง และอยู่ตรงใจกลางของรถไฟสายวงแหวนยามาโนเตะ



การเดินทางไปโดยนั่งรถเมล์ไปที่สถานีมิตากะ แล้วขึ้นรถไฟ JR สายจูโอวไปลงที่สถานีโตเกียว จากสถานีโตเกียวเดินไปใกล้สุด
 

เริ่มจากขึ้นรถเมล์จากหน้าหอดูดาวแห่งชาติมาที่สถานีมิตากะ



ถึงสถานีมิตากะ



ไปขึ้นสายจูโอว



เวลานั้นคนแน่นเต็ม ไม่ต้องหวังที่จะนั่งเลย



แล้วก็มาถึงสถานีโตเกียว แต่ในจังหวะนั้นก็เห็นว่าเย็นแล้ว หิวแล้ว ก็เลยเปลี่ยนแผน ไปหาอะไรกินก่อนค่อยมาแวะร้านหนังสือดีกว่า ก็เลยตัดสินใจนั่งไปตามสายยามาโนเตะต่อไปอีกสถานี ไปลงที่สถานียูรากุโจว (有楽町駅ゆうらくちょうえき) ซึ่งอยู่ติดกับสถานีโตเกียว ถัดลงไปทางใต้เพียงสถานีเดียว




ถึงสถานียูรากุโจว



บรรยากาศแถวๆสถานี




เดินไปทางตะวันออกนิดหน่อยก็เข้าสู่ย่านกินซะ (銀座ぎんざ) หรือ กินซ่า เห็นชื่อแล้วชวนให้นึกถึงของกิน



ที่มาที่นี่เพราะตั้งใจจะมากินอาหารนั่นเอง ครั้งนี้กะจะไปกินร้านไซเซริยะ (サイゼリヤ) อาหารอิตาลี ร้านอยู่ที่ตึกชื่อกินซะอินซ์ (銀座ぎんざインズ)




ภายในตึก



แต่ว่าพอเข้าไปถึงหาร้านไซเซริยะเจอก็พบว่าร้านต้องรอคิวนาน เลยเปลี่ยนใจ เลือกกินร้านกัสโต (カスト) ที่อยู่ข้างๆแทน



ร้านนี้มีอาหารหลายประเภทมาก อาหารอิตาลีก็มี เลยสั่งพิซซามากิน ไม่ได้กินของไซเซริยะก็มากินร้านนี้แทน อันนี้พิซซาหน้ากุ้ง



ราคารวมภาษีแล้วเป็น ๘๖๓ เยน



จากนั้นก็เดินไปที่ศูนย์หนังสือยาเอสึ ที่หมายที่ตั้งใจจะมาตั้งแต่แรก



ตึกระหว่างทางในย่านกินซะ ที่จริงแถวๆนี้เรียกว่าเป็นขอบทางตะวันตกสุดของกินซะ เราไม่ได้เข้าไปเดินตรงใจกลางของย่าน



ระหว่างทางผ่านสถานีรถไฟใต้ดิน สถานีกินซะอิจโจวเมะ (銀座一丁目駅ぎんざいっちょうめえき)



แล้วก็มาถึงศูนย์หนังสือ ที่นี่กว่้างใหญ่พอๆกับร้านหนังสือจุงกุโดวที่อิเกบุกุโระที่ไปมาวันก่อน



ภายในร้าน



ขึ้นมาดูตรงหมวดหนังสือดาราศาสตร์ มีเยอะมาก เสียดายค่อนข้างดึกแล้วเลยได้แต่ดูผ่านๆ ไม่ได้ใช้เวลามาก



จากนั้นมาดูตรงแถวหมวดหนังสือเรียนภาษา



ที่นี่ก็มีหนังสือเรียนภาษาทิเบตเล่มเดียวกับที่ซื้อในร้านจุงกุโดววันก่อน แต่นอกจากนั้นแล้วยังเจอหนังสือเรียนภาษาอุยกูร์ (ئۇيغۇر تىلى) ด้วย เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยในเขตปกครองตัวเองซินเจียง



อันนี้หนังสือเรียนภาษาลาว เป็นหนังสือในชุดนิวเอ็กซ์เพรส เช่นเดียวกับหนังสือเรียนภาษาทิเบตที่ซื้อมาวันก่อน



ทางมุมหนังสือภาษาเกาหลีก็มีหนังสือมากมาย เพราะเป็นภาษาที่นิยมเรียนมากที่สุดภาษานึงในญี่ปุ่น เจอเล่มน่าสนใจเล่มนึงคือหนังสือสอนการออกเสียงอักษรฮันกึล เพราะอักษรเกาหลีมีกฎการอ่านที่ดูเผินๆเหมือนจะง่ายแต่จริงๆซับซ้อนมาก เต็มไปด้วยข้อยกเว้นมากมายกว่าที่คิด ต้องสรุปเป็นเล่มแบบนี้เลยทีเดียว



ส่วนทางมุมนี้เป็นพวกหนังสือการ์ตูนให้ความรู้



หนังสือสอนประวัติศาสตร์เต็มไปหมดทั้งชั้น



จากนั้นเดินไปต่อ

ไม่นานก็ถึงฝั่งตะวันออกของสถานีโตเกียว



สถานีโตเกียวตั้งอยู่เขตจิโยดะใจกลางเมืองโตเกียว เป็นสถานีที่เก่าแก่ ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกอย่างสวยงาม

แต่ว่าตัวอาคารที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ที่คนรู้จักกันนั้นอยู่ทางฝั่งตะวันตก แต่ตอนนี้เราเดินจากทางฝั่งตะวันออก จึงต้องเดินต่อไปอีกหน่อย

ตอนแรกคิดว่าถ้าเข้าไปในตัวอาคารจะหาทางข้ามทะลุไปยังฝั่งตรงข้ามได้ แต่ก็หาทางผ่านไปไม่เจอ มีแต่ต้องแตะบัตรเข้าไปด้านในสถานี



สุดท้ายก็เลยต้องหาทางเดินอ้อมไปทางเหนือ



ข้ามมาทางตะวันตก ระหว่างทางยังผ่านสถานีโอเตะมาจิ (大手町駅おおてまちえき) เป็นสถานีรถไฟใต้ดิน



แล้วก็มาถึงหน้าสถานีโตเกียว



จากด้านหน้าตัวอาคาร ดูแล้วเป็นอาคารที่สวยงามโดดเด่น




จากนั้นเข้ามาในสถานีเพื่อขึ้นรถไฟที่นี่



ด้านในโดมอาคารสถานีสวยดี



เนื่องจากเห็นว่ายังพอเหลือเวลา ยังไม่ดึกเกินไป จึงตัดสินใจตามเพื่อนไปนั่งเล่นคุยกันแถวห้องเช่าที่เขาพักอยู่

ห้องเช่านั้นอยู่ที่สถานีคิจิโจวจิ (吉祥寺駅きちじょうじえき) อยู่ในเมืองมุซาชิโนะ (武蔵野市むさしのし)

เป็นที่น่าสนใจว่าสถานีที่อยู่ถัดจากสถานีคิจิโจวจิไปก็คือสถานีมิตากะ และถัดไปอีกเป็นสถานีมุซาชิซาไก แต่สถานีมุซาชิซาไกและสถานีคิจิโจวจินั้นอยู่ในเมืองมุซาชิโนะ ในขณะที่สถานีมิตากะซึ่งอยู่ตรงกลางนั้นอยู่ในเมืองมิตากะ นี่เป็นเพราะการแบ่งเขตสองเมืองนี้มีเส้นแบ่งที่หยึกหยักไปมา



แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองมุซาชิโนะ สีชมพูเข้ม ทางใต้เป็นเมืองมิตากะ สถานีมิตากะอยู่ตรงรอยต่อระหว่างเมืองมิตากะกับเมืองมุซาชิโนะ แต่ค่อนไปทางเมืองมิตากะ





การเดินทางจากสถานีโตเกียวไปยังคิจิโจวจินั้นก็แค่ไปตามทางรถไฟสายจูโอว รถไฟที่ขึ้นมาเที่ยวนี้มีปลายทางอยู่ที่สถานีโอวเมะ (青梅駅おうめえき) ในเมืองโอวเมะ (青梅市おうめし) ซึ่งอยู่ไกลทางตะวันตกของโตเกียว




เดินทางมาถึงสถานีคิจิโจวจิ



ทางฝั่งเหนือของสถานีเป็นย่านร้านค้าจิจิโจวจิซันโรด (吉祥寺きちじょうじサンロード商店街しょうてんがい) มีร้านค้ามากมาย แต่ว่ามาดึกไปหน่อย ตอนนั้นสี่ทุ่มกว่าแล้ว ร้านจำนวนมากปิดไปแล้ว




เราแวะร้านกาแฟนี้ ซึ่งปิดห้าทุ่ม นั่งกันอยู่จนถึงห้าทุ่ม



ตอนอยู่ในร้านสั่งโกโก้มาดื่ม พอหมดก็ขอเติมน้ำเปล่าได้



ราคา ๓๖๐ เยน รวมภาษีแล้ว



หลังออกมาจากร้านแล้วก็เดินไปที่ห้องเช่าของเพื่อน ซึ่งอยู่ทางใต้ของสถานี

ระหว่างทาง



เจอร้านอาหารไทยด้วย



แวะดูแป๊บเดียวแล้วก็กลับมาที่สถานีเพื่อขึ้นรถกลับโรงแรม



การเดินทางกลับโรงแรมจากที่นี่มีหลายวิธี แต่ที่ราคาถูกที่สุดคือนั่งรถไฟของเคย์โอว โดยนั่งสายอิโนะคาชิระ (かしらせん) ไปถึงสถานีเมย์ไดมาเอะ (明大前駅めいだいまええき) แล้วต่อสายเคย์โอวไปลงสถานีฟุจู เนื่องจากใช้รถไฟของเคย์โอวทั้งหมด เวลาต่อรถจึงไม่ต้องแตะบัตรแล้วออก จ่ายค่ารถต่อเดียว จึงถูกกว่าวิธีอื่น แม้ว่าเส้นทางจะดูค่อนข้างอ้อมก็ตาม



รถไฟที่ขึ้นนี้เป็นรถไฟแบบด่วน จอดเฉพาะสถานีที่สำคัญ จึงไปถึงสถานีเมย์ไดมาเอะที่เป็นเป้าหมายได้ในเวลารวดเร็ว



รถไฟออกจากสถานีคิจิโจวจิ




ถึงสถานีเมย์ไดมาเอะ มาเปลี่ยนรถไฟไปยังสายเคย์โอว เพื่อกลับไปถึงสถานีฟุจู แล้วก็เข้าโรงแรม ตอนที่ถึงก็เกือบเที่ยงคืนแล้ว





เล่าเรื่องจบไปอีกวัน ตอนต่อไปจะเป็นตอนสุดท้าย วันเดินทางกลับ https://phyblas.hinaboshi.com/20190321



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文