φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ขั้วโลกในโตเกียว
เขียนเมื่อ 2019/05/29 13:56
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:13
# อังคาร 28 พ.ค. 2019

หลังจากที่วันจันทร์ไปงานประชุมวิชาการที่สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติในเมืองทาจิกาวะ https://phyblas.hinaboshi.com/20190527

วันอังคารก็ได้ไปมาเข้าร่วมต่ออีกวัน

และพอดีสังเกตเห็นว่าข้างๆนั้นมีสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจอยู่ คือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ขั้วโลก (南極なんきょく北極科学館ほっきょくかがくかん) จึงตัดสินใจแวะเข้าไปชมด้วย

พิพิธภัณฑ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งชาติ (国立極地研究所こくりつきょくちけんきゅうじょ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรวิจัยข้อมูลข่าวสารและระบบ (情報じょうほう・システム研究機構けんきゅうきこう) เช่นเดียวกับสถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติ

สถาบันนี้มีส่วนที่ตั้งอยู่ในอาคารวิจัยรวม (総合研究棟そうごうけんきゅうとう) ซึ่งเป็นอาคารเดียวกันกับสถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติ นั่นคืออาคารที่เรามางานประชุมวิชาการ แล้วก็มีส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์ซึ่งตั้งอยู่อีกอาคาร รวมถึงอาคารอื่นๆแถวๆนั้น

พิพิธภัณฑ์นี้จัดแสดงเกี่ยวกับการสำรวจขั้วโลกเหนือและใต้ โดยเน้นไปที่คณะสำรวจของทางญี่ปุ่น และก็มีให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขั้วโลกด้วย

พูดถึงเรื่องสำรวจขั้วโลกแล้วนึกถึงอนิเมะเรื่อง sora yori mo tooi basho (宇宙そらよりもとお場所ばしょ) ซึ่งฉายไปในฤดูหนาวปี 2018 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กมัธยมปลาย ๔ คนที่ไปสำรวจขั้วโลก



ตอนแรกก็ยังคิดว่าที่นี่น่าจะมีพูดถึงเกี่ยวกับอนิเมะเรื่องนี้บ้างสักหน่อย แต่ผิดคาด ไม่มีเลยแม้แต่นิดเดียว อาจเพราะผ่านมานานเกินปีแล้ว



การเข้าชมไม่มีค่าใช้จ่าย เดินเข้าไปได้เลย

ที่นี่เปิดวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10:00-17:00 หยุดวันอาทิตย์และจันทร์และวันหยุดต่างๆ

งานประชุมที่เรามาเข้าร่วมในวันอังคารนี้ยาวตั้งแต่เช้ายันเย็น ดังนั้นเดิมทีไม่น่าจะมีเวลาว่างพอให้เข้ามาชมในพิพิธภัณฑ์ได้ แต่เนื่องจากไม่ได้จำเป็นต้องเข้าร่วมฟังทุกหัวข้อ จึงอาศัยเวลาช่วงบ่ายสองกว่าที่เป็นหัวข้อที่ไม่ได้สนใจปลีกตัวออกมาเพื่อเข้าร่วม



สไลด์จากงานประชุมตอนเช้า เนื้อหาเต็มไปด้วยเรื่องการใช้การเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) ในงานดาราศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่อง GAN




ตอนเที่ยงมาหาอะไรกินแถวที่ว่าการเมืองทาจิกาวะ (立川市役所たちかわしやくしょ)



ซึ่งมีร้านสะดวกซื้อ โปปุระ (ポプラ) ซื้อข้าวปั้นกินเป็นมื้อเที่ยง



บ่ายโมงกลับมาฟังบรรยายเรื่องกระบวนการเกาส์ (Gaussian process)





จากนั้นตอนบ่ายสองได้เวลาแวะไปเข้าชมพิพิธภัณฑ์ขั้วโลก ที่ตึกข้างๆ





ทางเข้าห้องจัดแสดง



ห้องจัดแสดงกว้างขวางพอสมควร แต่ก็มีอยู่ห้องเดียว



แผนที่ทวีปแอนตาร์กติกา ขั้วโลกใต้



แผนที่ทะเลอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ



ตรงนี้พูดถึงเรื่องการขุดเจาะแกนน้ำแข็ง มีการเทียบให้เห็นว่าบางแห่งลึกกว่าความสูงของภูเขาไฟฟุจิเสียอีก



ที่วางยาวอยู่ด้านล่างคือท่อขุดเจาะแกนน้ำแข็ง



การขุดเจาะแกนน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้มีประโยชน์ตรงที่ทำให้เราเข้าใจลักษณะของอากาศในช่วงเวลาต่างๆ เพราะแกนน้ำแข็งจะแปรตามสภาพอากาศ จึงเป็นตัวเก็บบันทึกอย่างดี และนี่ทำให้เรารู้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา



มีวีดิทัศน์เรื่องสถานีสำรวจขั้วโลกใต้ของญี่ปุ่นและเรื่องของโอโซน



ส่วนประกอบของเครื่องขุด



ส่วนประกอบของแกนน้ำแข็ง



มีดตัดน้ำแข็ง



ราดิโอซอนเดอ (Radiosonde) เครื่องตรวจสภาพอากาศ เอาไว้ติดกับบอลลูนให้ลอยขึ้นไปในชั้นบบรยากาศสูง ใช้วัดสภาพของโอโซนได้



ต่อไปมุมนี้เป็นที่แสดงเกี่ยวกับนักสำรวจขั้วโลกใต้ เริ่มจากชุดกันหนาวที่หนาเป็นพิเศษที่ใส่ในขั้วโลกใต้



นักสำรวจขั้วโลกใต้คนแรกของญี่ปุ่น ชื่อ ชิราเสะ โนบุ (白瀬しらせ のぶ)



พูดถึงชื่อนี้แล้วทำให้นึกถึงตัวละครหลักคนนึงจากเรื่อง sora yori mo tooi basho ชื่อ โคบุจิซาวะ ชิราเสะ (小淵沢こぶちざわ 報瀬しらせ) น่าจะเป็นที่มาของชื่อ



(ที่มาของภาพ https://www.pixiv.net/member_illust.php?mode=medium&illust_id=67979745)

วีดิทัศน์เล่าเรื่องการเดินทางของพวกชิราเสะ



พวกเขาไปสำรวจขั้วโลกใต้โดยเริ่มออกเดินทางตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 1910 โดยที่สามารถเดินทางไปถึงทวีปแอนตาร์กติกาได้ แต่ไปไม่ถึงจุดขั้วโลกใต้เพราะพบข้อจำกัดหลายอย่างทำให้ต้องตัดใจ

จุดที่พวกเขาเดินทางไปถึงสุดท้ายถูกตั้บชื่อว่า ยามาโตะ ยุกิฮาระ (大和雪原やまとゆきはら) อยู่แถวละติจูด ๘๐ องศา ๕ ลิบดา

ของที่คณะสำรวจของชิราเสะเหลือไว้



แบบจำลองเรือสำรวจ ไคนัมมารุ (開南丸かいなんまる) ที่พวกชิราเสะใช้เดินทางไปขั้วโลกใต้



รถลากเลื่อนบนหิมะ



ภาพสุนัขพันธุ์คาราฟุโตะ (樺太犬カラフトけん) ๒ ตัว ทาโระ (タロ) กับ จิโระ (ジロ) ซึ่งไปสำรวจขั้วโลกใต้กับคณะสำรวจในปี 1956 แต่ถูกทิ้งเอาไว้ในขั้วโลกใต้หลังเจอสภาพอากาศที่เลวร้าย แต่หลังจากคณะสำรวจเดินทางกลับมาอีกทีกลับพบว่าพวกมันยังมีชีวิตรอดอยู่ จึงเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่ว



แบบจำลองเรือสำรวจขั้วโลกใต้ของญี่ปุ่นที่ใช้ในยุคต่างๆ



รถสำรวจขั้วโลกใต้




สามารถเข้าไปข้างในได้








ตรงนี้เป็นห้องฉายออโรรา สามารถเข้าไปนั่งด้านในเพื่อดูออโรราเหมือนอยู่ที่ขั้วโลกจริงๆได้ แต่ว่าเขาไม่ให้ถ่ายภาพด้านใน



แบบจำลองย่อส่วนของสถานีโชววะ (昭和基地しょうわきち) ซึ่งเป็นฐานสำรวจขั้วโลกใต้ของญี่ปุ่นที่ตั้งขึ้นในปี 1957




แบบจำลองห้องพักภายในสถานีโชววะ



จอแสดงคลื่นแผ่นดินไหวที่สถานีโชววะ



ตรงนี้ว่าด้วยเรื่องอุกกาบาตที่พบที่ขั้วโลกใต้ ขั้วโลกใต้เป็นที่นึงที่ใช้วิจัยเรื่องอุกกาบาตได้ดี เพราะมีอุกกาบาตมาตกลงที่นี่จำนวนมากและถูกเก็บไว้ในน้ำแข็งอย่างดี



มีให้ส่องกล้องจุลทรรศน์ดูอุกกาบาต



ในตู้นี้มีก้อนหินชนิดต่างๆที่พบในขั้วโลกใต้



สิ่งมีชีวิตต่างๆในแถบขั้วโลก








จอตรงนี้ฉายภาพสิ่งที่เพนกวินเห็นขณะว่ายน้ำ



ในห้องจัดแสดงก็หมดเท่านี้ ส่วนตรงหน้าห้องจัดแสดงมีร้านขายของที่ระลึกเล็กๆน้อยๆ



มีตู้กาชาปงของที่เกี่ยวกับขั้วโลก



ตรงหน้าทางออกมีแสดงตารางรถเมล์ที่วิ่งระหว่างที่นี่กับสถานีทาจิกาวะด้วย ถ้าใครจะนั่งรถเมล์ก็ดูตารางเวลาตามนี้ได้จะได้ออกไปพอดีเวลาอย่างไม่ต้องห่วง





ใช้เวลาประมาณชั่วโมงนึงในการชม พอชมเสร็จกลับมายังอาคารวิจัยรวมเพื่อจะกลับมาฟังบรรยายต่อ พอเข้ามาจึงพบว่ามีส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับขั้วโลกอีกเล็กๆน้อยๆตรงมุมนี้



ที่จัดแสดงคือพวกเพนกวิน




กลับมาฟังบรรยายช่วงบ่ายต่อ



วันนี้เลิกค่อนข้างเย็น เกือบหกโมง เลิกแล้วก็เดินกลับสถานีทาจิกาวะ



ก่อนกลับแวะกินมื้อเย็นที่ร้านเทนดงเทนยะ (天丼てんどんてんや)



โคเทนดง ๔๗๐ เยน



แล้วก็ขึ้นรถไฟจากสถานีทาจิกาวะไปลงสถานีมุซาชิซาไกเพื่อนั่งรถเมล์กลับหอดูดาวแห่งชาติ




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文