φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนฮกจิว (หมิ่นตง)
เขียนเมื่อ 2019/12/13 09:49
แก้ไขล่าสุด 2022/03/23 20:07
บทความนี้จะแสดงหลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนฮกจิว (福州话/福州話) หรือภาษาหมิ่นตง (闽东语/閩東語) เป็นภาษาไทย

ภาษาจีนฮกจิวมีหลักการถอดเสียงเป็นอักษรโรมันซึ่งถูกใช้อยู่ทั่วไปคือ ปั่งงั่วเจ๋ย์ (平话字/平話字, Bàng-uâ-cê)

ระบบการถอดเสียงนี้ใช้ในวิกิพีเดียฉบับภาษาฮกจิว https://cdo.wikipedia.org/wiki/Hók-ciŭ-uâ

นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวบอกเสียงอ่านในดิกชันนารีในเว็บอย่างเช่นวิกชันนารี https://en.wiktionary.org/wiki/福州話

นอกจากปั่งงั่วเจ๋ย์แล้วยังมีการใช้ระบบอื่น เช่นในดิกเว็บนี้ก็ใช้ระบบถอดเสียงอีกระบบ http://120.25.72.164/fzhDictionary/index.php?s=/Home/Dictionary/index

อย่างไรก็ตาม ภาษาฮกจิวมีความซับซ้อน และการเขียนถอดเสียงเป็นอักษรโรมันก็มีความยุ่งยากด้วย

ระบบการถอดเสียงแบบปั่งงั่วเจ๋ย์ถูกเขียนขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 19 และภาษาฮกจิวก็มีวิวัฒนาการไปมาก แต่รูปแบบการเขียนกลับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากตอนนั้นนัก ทำให้เสียงปัจจุบันมีหลายจุดที่ไม่ค่อยตรงกับรูปที่เขียนปั่งงั่วเจ๋ย์

อีกทั้งภาษาฮกจิวยังมีการเปลี่ยนทั้งวรรณยุกต์ สระ พยัญชนะต้น เมื่อนำหน้าหรือตามหลังคำอื่นด้วย ทำให้เสียงอักษรตัวหนึ่งๆเมื่ออยู่โดดๆกับเมื่ออยู่รวมเป็นคำจะออกต่างกัน แต่ปั่งงั่วเจ๋ย์จะเขียนแบบเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง จึงต้องตำกฎว่าเสียงมีการเปลี่ยนอย่างไรเมื่อไปนำหน้าหรือตามหลังคำไหน

ในการถอดเสียงเป็นภาษาไทยนี้จะถอดตามเสียงที่ออกจริง ซึ่งผ่านการแปรเสียงมาแล้ว วรรณยุกต์ก็ใช้เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยที่ใกล้เคียงที่สุดเขียน



วรรณยุกต์และสระกับตัวสะกด

ในภาษาจีนฮกจิว วรรณยุกต์มีความสัมพันธ์กับสระและตัวสะกดอย่างใกล้ชิด คือเมื่อวรรณยุกต์เปลี่ยนไป สระก็อาจมีการเปลี่ยนตามไปด้วย จึงต้องนำมาสรุปรวมกัน แจกแจงกรณีให้เห็นภาพโดยละเอียด

วรรณยุกต์ในภาษาจีนฮกจิวมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่ ๗ เสียง แต่ว่ามีวรรณยุกต์อีก ๒​ เสียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการแปรเสียงเมื่ออักษรตัวนึงไปนำหน้าอีกตัว จึงรวมแล้วทั้งหมดมี ๙ เสียง

วรรณยุกต์มีการแบ่งเป็นเสียงแน่น (紧韵/緊韻) และเสียงคลาย (松韵/鬆韻) โดย ๒ กลุ่มนี้จะมีสระไม่เหมือนกัน

การแสดงวรรณยุกต์ในระบบปั่งงั่วเจ๋ย์ทำโดยใส่เครื่องหมายไว้ด้านบนตัวสระ โดยทุกเสียงมีการใส่ทั้งหมด

สระอาจประกอบด้วยอักษร a e i o u นอกจากนี้ยังมีอักษรที่เติมจุดสองจุดไว้ข้างล่าง ซึ่งแสดงเสียงสระต่างออกไปอีกคือ a̤ e̤ o̤ ṳ รวมทั้งหมด ๙ ตัวอักษร อักษรเหล่านี้ยังเรียงผสมกันเป็นสระประสมได้อีกหลายแบบ

จุดที่เติมขึ้นอยู่ด้านล่าง จึงไม่ไปชนกับวรรณยุกต์ที่จะต้องใส่ไว้ด้านบน

ตารางแสดงวรรณยุกต์ทั้งหมด

เลข สัญลักษณ์ ระดับเสียง เทียบวรรณยุกต์ไทย ชนิด ตัวอย่าง
1 ă ˥˥ (55) ตรี แน่น 君 = gŭng = กุ๊ง 通 = tĕ̤ng = เทิ้ง
2 ā ˧˧ (33) สามัญ แน่น 滾 = gūng = กุง 桶 = tūng = เทิง
3 á ˨˩˧ (213) เอก คลาย 贡/貢 = góng = โก่ง 套 = tó̤ = ถ่อ
4 áh/ák ˨˦ (24) จัตวา คลาย 谷 = gók = โก๋ว 铁/鐵 = tiék = ถี
5 à ˥˧ (53) โท แน่น 群 = gùng = กุ้ง 糖 = tòng = โท่ง
6 â ˨˦˨ (242) จัตวา คลาย 郡 = gông = ก๋ง 烫/燙 = tâung = ถอง
7 ăh/ăk ˥ (5) ตรี แน่น 掘 = gŭk = กุ๊ 特 = dĕk = เต๊ย์
เสียงเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อนำหน้าคำอื่น
8   ˨˩ (21) เอก แน่น 骨头/骨頭 = gók-tàu = กุท่าว 
9   ˧˥ (35) จัตวา แน่น 国语/國語 = guók-ngṳ̄ = กั๋วงวี 

เสียง 3 กับ 4 ใช้ ă เหมือนกัน และเสียง 1 กับ 7 ใช้ á เหมือนกัน แต่จะต่างกันตรงที่เสียง 4 จะลงท้ายด้วย h หรือ k เสมอ จึงแยกความต่างกันตรงนี้

เสียง 4 กับ 7 เป็นเสียงกัก จะลงท้ายด้วย h หรือ k เสมอ โดยที่ในอดีต ๒ เสียงนี้มีความต่างกัน โดย h เป็นเสียงกักเส้นเสียง ส่วน k เป็นตัวสะกดแม่กก แต่ปัจจุบันเสียงตัวสะกดแม่กกได้เลือนหายไป เสียง k จึงกลายเป็นเสียงกักเส้นเสียงไปด้วย จึงไม่มีความต่าง

แต่อย่างไรก็ตาม ความต่างของ h กับ k ก็ยังมีผลต่อเสียงสระและการแปลงวรรณยุกต์ จึงยังต้องแยก h กับ k อยู่

เสียงวรรณยุกต์ของอักษรตัวหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเมื่อไปนำหน้าอักษรอีกตัว โดยจะเปลี่ยนเป็นเสียงอะไรก็ขึ้นอยู่กับว่าตามด้วยตัวอะไร

ตารางแสดงการเปลี่ยนวรรณยุกต์เมื่อนำหน้าคำอื่น

ตัว
ข้าง
หน้า
เสียงตัวที่ตามหลัง
1
ă
ตรี
5
à
โท
7
ăh/ăk
ตรี
2
ā
สามัญ
3
á
เอก
4
áh/ák
จัตวา
6
â
จัตวา
1
ă
ตรี
1
ตรี
5
โท
3
á
เอก
6
â
จัตวา
4 (h)
áh
จัตวา
4 (k)
ák
จัตวา
8
เอก
9
จัตวา
1
ตรี
2
ā
สามัญ
5
à
โท
1
ตรี
2
สามัญ
8
เอก
7 (h,k)
ăh/ăk
ตรี

สำหรับเสียง 4 จะแยกกรณี h กับ k มีกฎการเปลี่ยนเสียงต่างกันไป

เสียงกักมักจะเทียบเท่ากับสระเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย ก็คือเป็นคำตาย อย่างไรก็ตามเสียง 4 เป็นวรรณยุกต์จัตวา ซึ่งในภาษาไทยไม่มีเสียงสามัญและจัตวาที่เป็นคำตาย  มีแต่เอก โท ตรี ดังนั้นกรณีเสียงจัตวาจึงเลี่ยงมาเขียนในรูปคำเป็นแทน แม้จริงๆควรจะเป็นคำตายก็ตาม

เช่น 却/卻 kiók เขียนเป็น "ขัว", 刻 káik เขียนเป็น "ก๋าย", 脱/脫 tuák เขียนเป็น "ถัว"

ส่วน 接 ciék เขียนเป็น "จี๋" แม้ว่าจริงๆอาจเขียนรูปคำตายเป็น "จิ๋" ได้ก็ตาม แต่ก็อ่านยากและไม่คุ้นเคย ดังนั้นยังไงก็ให้เขียนเสียง 4 ในรูปคำเป็นทั้งหมด

รวมทั้งเวลาที่ไปนำหน้าคำอื่นแล้วเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ ถ้ากลายเป็นเสียงสามัญหรือเสียจัตวา ก็ให้เขียนในรูปคำเป็น แต่ถ้ากลายเป็นเสียง เอก โท ตรี แล้วอยู่ในรูปที่สามารถเขียนเป็นคำตายในภาษาไทยได้ก็ให้เขียนในรูปคำตาย ถ้าไม่ได้จึงเขียนในรูปคำเป็น

เช่น 日本 nĭk-buōng ตัวหน้าเป็นเสียง 7 (ตรี) ไปนำหน้าเสียง 2 (สามัญ) แปรเป็นเสียง 2 (สามัญ) จึงอ่าน "นีปวง" โดยที่ "นี" เป็นเสียงกัก แต่เนื่องจากเป็นวรรณยุกต์สามัญ เขียนในรูปคำตายไม่ได้ จึงเขียนเป็นรูปคำเป็นแทนเพื่อความง่าย

ส่วนกรณีของเสียง 7 เป็นวรรณยุกต์เสียงตรีซึ่งเขียนในรูปคำตายได้อยู่แล้ว จึงเขียนเป็นคำตายไป

เช่น 肉 nṳ̆k เขียนเป็น "นวิ", 玉 nguŏh เขียนเป็น "งัวะ", 绝/絕 ciŏk เขียนเป็น "จั๊วะ"

แต่ก็มีบางรูปที่ไม่สามารถเขียนในรูปคำเป็นได้ กรณีนี้ให้เขียนเป็นรูปคำตายแม้จะเป็นเสียงตรีก็ตาม เช่น 诺/諾 = nŏk = โน้ว

ข้อควรระวังอีกอย่างก็คือ เสียงที่ถูกเปลี่ยนไปจะกลายเป็นวรรณยุกต์เสียงแน่นทั้งหมด อาจเป็นเสียงแน่นที่ซ้ำกับวรรณยุกต์พื้นฐาน คือเสียง 1,2,5 หรืออาจกลายเป็นเสียงใหม่ คือ 8,9 ทั้งหมดนี้ถือเป็นเสียงแน่นหมด

สำหรับวรรณยุกต์เสียง 3,4,6 ซึ่งเป็นเสียงคลาย เมื่อนำหน้าคำอื่นจะกลายเป็นเสียงแน่น และอาจมีผลทำให้เสียงสระเปลี่ยนไปด้วย ในกรณีที่เป็นสระในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนเสียงไปตามชนิดของวรรณยุกต์

เช่น 福 เป็น hók อ่าน "โหว" แต่พอนำหน้า 州 เป็น 福州 hók-ciŭ จะอ่าน "หุจี๊ว" ไม่ใช่ "โหวจี๊ว"

จะเห็นว่านอกจากวรรณยุกต์จะเปลี่ยนแล้วสระก็ยังเปลี่ยนไปด้วย เพราะ hók เป็นเสียงวรรณยุกต์ 4 ซึ่งเป็นเสียงคลาย และสระชุดที่มีเสียงคลายเป็น hok ก็มี huk เป็นเสียงแน่น

เพียงแต่รูปสะกดโดยปั่งงั่วเจ๋ย์จะยังคงเป็น hók-ciŭ ไม่ได้เปลี่ยน จึงต้องจำกฎการเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนเอาเอง



ตัวอย่างการเปลี่ยนเสียง แจกแจงเป็นตาราง

ตัว
ข้าง
หน้า
เสียงตัวที่ตามหลัง
อยู่โดดๆ 1
ă
ตรี
2
ā
สามัญ
3
á
เอก
4
áh/ák
จัตวา
5
à
โท
6
â
จัตวา
7
ăh/ăk
ตรี
1
ă
ตรี
ă
อ๊า
ă ă
อ๊า อ๊า
ตรี
ă ā
อ้า อา
โท
ă á
อ้า อ่า
โท
ă áh
อ้า อ๋า
โท
ă à
อ๊า อ้า
ตรี
ă â
อ้า อ๋า
โท
ă ăh
อ๊า อ๊ะ
ตรี
2
ā
สามัญ
ā
อา
ā ă
อ่า อ๊า
เอก
ā ā
อ๋า อา
จัตวา
ā á
อ๊า อ่า
ตรี
ā áh
อ๊า อ๋า
ตรี
ā à
อ่า อ้า
เอก
ā â
อ๊า อ๋า
ตรี
ā ăh
อ่า อ๊ะ
เอก
3
á
เอก
ā
อ่า
á ă
อ๊า อ๊า
ตรี
á ā
อ้า อา
โท
á á
อ้า อ่า
โท
á áh
อ้า อ๋า
โท
á à
อ๊า อ้า
ตรี
á â
อ้า อ๋า
โท
á ăh
อ๊า อ๊ะ
ตรี
4
áh
จัตวา
áh
อ๋า
áh ă
อ๊ะ อ๊า
ตรี
áh ā
อ้ะ อา
โท
áh á
อ้ะ อ่า
โท
áh áh
อ้ะ อ๋า
โท
áh à
อ๊ะ อ้า
ตรี
áh â
อ้ะ อ๋า
โท
áh ăh
อ๊ะ อ๊ะ
ตรี
4
ák
จัตวา
ák
อ๋า
ák ă
อะ อ๊า
เอก
ák ā
อ๋า อา
จัตวา
ák á
อ๊ะ อ่า
ตรี
ák áh
อ๊ะ อ๋า
ตรี
ák à
อะ อ้า
เอก
ák â
อ๊ะ อ๋า
ตรี
ák ăh
อะ อ๊ะ
เอก
5
à
โท
à
อ้า
à ă
อ๊า อ๊า
ตรี
à ā
อา อา
สามัญ
à á
อ่า อ่า
เอก
à áh
อ่า อ๋า
เอก
à à
อา อ้า
สามัญ
à â
อ่า อ๋า
เอก
à ăh
อา อ๊ะ
สามัญ
6
â
จัตวา
â
อ๋า
â ă
อ๊า อ๊า
ตรี
â ā
อ้า อา
โท
â á
อ้า อ่า
โท
â áh
อ้า อ๋า
โท
â à
อ๊า อ้า
ตรี
â â
อ้า อ๋า
โท
â ăh
อ๊า อ๊ะ
ตรี
7
ăh/ăk
ตรี
ăh
อ๊ะ
ăh ă
อ๊ะ อ๊า
ตรี
ăh ā
อา อา
สามัญ
ăh á
อะ อ่า
เอก
ăh áh
อะ อ๋า
เอก
ăh à
อา อ้า
สามัญ
ăh â
อะ อ๋า
เอก
ăh ăh
อา อ๊ะ
สามัญ



ต่อไปจะแสดงการจับคู่สระและตัวสะกดกับวรรณยุกต์ทั้งหมด

วิธีการเขียนในแต่ละกลุ่มอาจแบ่งเป็น ๒ หรือ ๔ แบบ โดยที่จะเป็นคู่เสียงเปิดกับเสียงกัก เช่น a / ah และสำหรับบางกลุ่มจะมีการแยกรูปการเขียนในกรณีเสียงวรรณยุกต์เสียงคลายกับแน่นเขียนคนละแบบด้วย

เช่น ung / ong แบบนี้หมายความว่าเสียงแน่นจะเขียนเป็น ung เสียงคลายจะเขียนเป็น ong

แต่ไม่ว่ารูปเสียงแน่นกับเสียงคลายจะเขียนต่างกันหรือไม่ก็ตาม เสียงที่ออกก็อาจจะต่างกัน เช่น a̤ เสียงแน่นอ่านเป็นสระเอ เสียงคลายอ่านเป็นสระอา ดังนั้น ă̤ อ่าน "เอ๊" ในขณะที่ á̤ อ่าน "อ่า"

หรืออย่างเสียง o̤ ก็ด้วย เสียงแน่นจะเป็นสระโอ เช่น ŏ̤ = "โอ๊" แต่เสียงคลายจะเป็นสระออ เช่น ó̤ = "อ่อ"

และในทางตรงกันข้ามก็มีบางกลุ่มที่วิธีการเขียนต่างกันแต่เสียงไม่ต่างกันมากจึงเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยเหมือนกัน



ต่อไปเป็นตารางแจกแจงสระกับตัวสะกดและวรรณยุกต์ พร้อมยกตัวอย่าง

ในที่นี้วรรณยุกต์ 3,4,6 เป็นเสียงคลาย สระอาจต่างจากวรรณยุกต์ 1,2,5,7 จึงทำเป็นตัวสีเขียวไว้ให้แยกได้ชัด

สระและตัวสะกด วรรณยุกต์
1
ă
ตรี
2
ā
สามัญ
3
á
เอก
4
áh/ák
จัตวา
5
à
โท
6
â
จัตวา
7
ăh/ăk
ตรี
a
ah
ă
อ๊า
ā
อา
á
อ่า
áh
อ๋า
à
อ้า
â
อ๋า
ăh
อ๊ะ
嘉 = gă = ก๊า
骂/罵 = má = หม่า
客 = káh = ขา
ang
ak
ăng
อั๊ง
āng
อัง
áng
อ่าง
ák
อ๋า
àng
อั้ง
âng
อ๋าง
ăk
อ๊ะ
山 = săng = ซั้ง
达/達 = dăk = ต๊ะ
姓 = sáng = ส่าง
萨/薩 sák = สา
ai ăi
อ๊าย
āi
อาย
ái
อ่าย
  ài
อ้าย
âi
อ๋าย
 
开/開 = kăi = ค้าย
海 = hāi = ฮาย
在 = câi = จ๋าย
au ău
อ๊าว
āu
อาว
áu
อ่าว
  àu
อ้าว
âu
อ๋าว
 
郊 = gău = ก๊าว
口 = kāu = คาว
透 = táu = ถ่าว
闹/鬧 = nâu = หนาว

a̤h
ă̤
เอ๊
ā̤
เอ
á̤
อ่า
á̤h
อ๋า
à̤
เอ้
â̤
อ๋า
ă̤h
เอ๊ะ
西 = să̤ = เซ้
妻 = chă̤ = เช้
济/濟 = cá̤ = จ่า
eng / aing
eik / aik
ĕng
เอ๊ง
ēng
เอง
áing
อ่ายง์
áik
อ๋าย
èng
เอ้ง
âing
อ๋ายง์
ĕk
เอ๊ย์
灯/燈 = dĕng = เต๊ง
邓/鄧 = dâing = ต๋ายง์
克 = káik = ขาย
黑 = háik = หาย
eu / aiu ĕu
เอ๊ว
ēu
เอว
áiu
อ่าว
  èu
เอ้ว
âiu
อ๋าว
 
狗 = gēu = เกว
牟 = mèu = เม่ว
料 = lâiu = หลาว
e̤ / ae̤
e̤h / ae̤h
ĕ̤
เอ๊อ
ē̤
เออ
áe̤
อ่อ
áe̤h
อ๋อ
è̤
เอ้อ
âe̤
อ๋อ
ĕ̤h
เอ๊อะ
初 = chĕ̤ = เช้อ
e̤ng / ae̤ng
e̤k / ae̤k
ĕ̤ng
เอิ๊ง
ē̤ng
เอิง
áe̤ng
อ่อง
áe̤k
อ๋อย
è̤ng
เอิ้ง
âe̤ng
อ๋อง
ĕ̤k
เอ๊ย
东/東 = dĕ̤ng = เติ๊ง
觉/覺 = gáe̤k = ก๋อย
i / e
ih / eh
ĭ
อี๊
ī
อี
é
เอ่ย์
éh
เอ๋ย์
ì
อี้
ê
เอ๋ย์
ĭh
อิ๊
之 = cĭ = จี๊
字 = cê = เจ๋ย์
气/氣 = ké = เข่ย์
ing / eng
ik / ek
ĭng
อิ๊ง
īng
อิง
éng
เอ่ง
ék
เอ๋ย์
ìng
อิ้ง
êng
เอ๋ง
ĭk
อิ๊
宾/賓 = bĭng = ปิ๊ง
秦 = cìng = จิ้ง
密 = mĭk = มิ
剩 = sêng = เสง
毕/畢 = ék = เป๋ย์
ia
iah

เอี๊ย

เอีย

เอี่ย
iáh
เอี๋ย

เอี้ย

เอี๋ย
iăh
เอี๊ยะ
奇 = kiă = เคี้ย
iang
iak
iăng
เอี๊ยง
iāng
เอียง
iáng
เอี่ยง
iák
เอี๋ย
iàng
เอี้ยง
iâng
เอี๋ยง
iăk
เอี๊ยะ
声/聲 = siăng = เซี้ยง
成 = chiàng = เชี่ยง
ie
ieh

อี๊

อี

อี่
iéh
อี๋

อี้

อี๋
iĕh
อี๊
鸡/雞 = giĕ = กี๊
 系/係 = hiê = หี
ieng
iek
iĕng
อี๊ง
iēng
อีง
iéng
อี่ง
iék
อี๋
ièng
อิ้ง
iêng
อี๋ง
iĕk
อิ๊
天 = tiĕng = ที้ง
穴 = hiĕk = ฮิ
业/業 = ngiĕk = งิ
薛 = siék = สี
别/別 = biék = ปี๋
ieu iĕu
อี๊ว
iēu
อีว
iéu
อี่ว
  ièu
อี้ว
iêu
อี๋ว
 
烧/燒 = siĕu = ซี้ว
超 = chiĕu = ชี้ว
焦 = ciĕu = จี๊ว
d, t, n, l, c, ch
นำหน้า
io
ioh

ตั๊ว

ตัว

ตั่ว
ióh
ตั๋ว

ตั้ว

ตั๋ว
iŏh
อั๊วะ
主 = ciō = จัว
绿/綠 = liŏh= ลัวะ
อื่นๆนำหน้า
เอวี๊ย

เอวีย

เอวี่ย
ióh
เอวี๋ย

เอวี้ย

เอวี๋ย
iŏh
เอวี๊ยะ
桥/橋 = giò = เกวี้ย
d, t, n, l, c, ch
นำหน้า
iong
iok
diŏng
ต๊วง
diōng
ตวง
dióng
ต่วง
diók
ตั๋ว
diòng
ต้วง
diông
ต๋วง
diŏk
ตั๊วะ
墙/牆 = chiòng = ช่วง
想 = siōng = ซวง
略 = liŏk = ลัวะ
雪 = siók = สัว
อื่นๆนำหน้า iŏng
เอวี๊ยง
iōng
เอวียง
ióng
เอวี่ยง
iók
เอวี๋ย
iòng
เอวี้ยง
iông
เอวี๋ยง
iŏk
เอวี๊ยะ
香 = hiŏng = เฮวี้ยง
强/強 = giòng = เกวี้ยง
疟/瘧 = ngiŏk = เงวี้ยะ
若 = iŏk = เอวี๊ยะ
样/樣 = iông = เอวี๋ยง
iu / eu
อี๊ว

อีว
éu
อี่ว
 
อี้ว
êu
อี๋ว
 
秋 = chiŭ = ชี้ว
酒 = ciū = จีว
救 = cêu = จี๋ว
秀 = séu = สี่ว
ong / aung
ok / auk
ŏng
โอ๊ง
ōng
โอง
áung
อ่อง
áuk
อ๋อว
òng
โอ้ง
âung
อ๋อง
ŏk
โอ๊ว
缸 = gŏng = โก๊ง
堂 = dòng = โต้ง
诺/諾 = nŏk = โน้ว
作 = cáuk = จ๋อว
oi / o̤i ŏi
เอ๊ย
ōi
เอย
ó̤i
อ่อย
  òi
เอ้ย
ô̤i
อ๋อย
 
催 = chŏi = เช้ย
衰 = sŏi = เซ้ย
帅/帥 = só̤i = ส่อย
碎 = chó̤i = ฉ่อย

o̤h
ŏ̤
โอ๊
ō̤
โอ
ó̤
อ่อ
ó̤h
อ๋อ
ò̤
โอ้
ô̤
อ๋อ
ŏ̤h
โอ๊ะ
歌 = gŏ̤ = โก๊
枣/棗 = cō̤ = โจ
落 = lŏ̤h = โละ
贺/賀 / hô̤ = หอ
u / o
uh / oh
ŭ
อู๊
ū
อู
ó
โอ่ว
óh
โอ๋ว
ù
อู้
ô
โอ๋ว
ŭh
อุ๊
孤 = gŭ = กู๊
胡 = hù = ฮู่
木 = mŭk = มุ
度 = dô = โต๋ว
数/數 = só = โส่ว
ung / ong
uk / ok
ŭng
อุ๊ง
ūng
อุง
óng
โอ่ง
ók
โอ๋ว
ùng
อุ้ง
ông
โอ๋ง
ŭk
อุ๊
春 = chŭng = ชุ้ง
准/準 = cūng = จุง
谷 = gók = โก๋ว
动/動 = dông = โต๋ง
ua
uah

อั๊ว

อัว

อั่ว
uáh
อั๋วะ

อั่ว

อั๋ว
uăh
อ๊วะ
花 = huă = ฮั้ว
话/話 = uâ = อั๋ว
跨 = kuá = ขั่ว
化 = huá = หั่ว
uang
uak
uăng
อ๊วง
uāng
อวง
uáng
อ่วง
uák
อั๋ว
uàng
อ้วง
uâng
อ๋วง
uăk
อ๊วะ
欢/歡 = huăng = ฮ้วง
活 = uăk = อั๊วะ
换/換 = uâng = อ๋วง
阔/闊 = kuák = ขัว
uai uăi
อ๊วย
uāi
อวย
uái
อ่วย
  uài
อ้วย
uâi
อ๋วย
 
歪 = uăi = อ๊วย
ui / oi ŭi
อู๊ย
ūi
อูย
ói
อู่ย
  ùi
อู้ย
ôi
อู๋ย
 
辉/輝 = hŭi = ฮู้ย
蕊 = lūi = ลูย
翠 = chói = ฉู่ย
uo
uoh

อั๊ว

อัว

อั่ว
uóh
อั๋วะ

อั้ว

อั๋ว
uŏh
อั๊วะ
靴 = kuŏ = คั้ว
过/過 = guó = กั่ว
uong
uok
uŏng
อ๊วง
uōng
อวง
uóng
อ่วง
uók
อั๋ว
uòng
อ้วง
uông
อ๋วง
uŏk
อั๊วะ
光 = guŏng = ก๊วง
郭 = guŏk = กั๊วะ
月 = nguŏk = งัวะ
况/況 = kuóng = ข่วง
uoi uŏi
อู๊ย
uōi
อูย
uói
อู่ย
  uòi
อู้ย
uôi
อู๋ย
 
杯 = buŏi = ปู๊ย
粿 = guōi = กูย
水 = cūi = จูย
梅 = muòi = มู่ย
贵/貴 = uói = กู่ย
ṳ / e̤ṳ
ṳh / e̤ṳh
ṳ̆
อวี๊
ṳ̄
อวี
é̤ṳ
เอ่ย
é̤ṳh
เอ๋ย
ṳ̀
อวี้
ê̤ṳ
เอ๋ย
ṳ̆h
อวิ๊
须/須 = sṳ̆ = ซวี้
猪/豬 = dṳ̆ = ตวี๊
许/許 = hṳ̄ = ฮวี
序 = sê̤ṳ = เสย
ṳng / e̤ṳng
ṳk / e̤ṳk
ṳ̆ng
อวิ๊ง
ṳ̄ng
อวิง
é̤ṳng
เอิ่ง
é̤ṳk
เอ๋ย
ṳ̀ng
อวิ้ง
ê̤ṳng
เอิ๋ง
ṳ̆k
อวิ๊
银/銀 = ngṳ̀ng = งวิ่ง
续 = sṳ̆k = ซวิ
曲 = ké̤ṳk = เขย
触/觸 = ché̤ṳk = เฉย



พยัญชนะต้น

โดยพื้นฐานแล้วในภาษาจีนฮกจิวมีพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๕ เสียง แต่นอกจากนี้ยังมี ๒​ เสียงที่อาจเกิดขึ้นได้เพิ่มเติมเมื่อบางคำไปตามหลังคำอื่นบางคำ จึงรวมเป็น ๑๗

ตารางแสดงพยัญชนะต้นทั้งหมด

ปั่งงั่วเจ๋ย์ IPA ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
b /p/ 宝/寶 = bō̤ = โป
p /pʰ/ พ, ผ 炮 = páu = เผ่า
m /m/ 猫/貓 = mà = ม่า
d /t/ 到 = dó̤ = ต่อ
t /tʰ/ ท, ถ 桃 = tò̤ = โท่
n /n/ 脑/腦 = nō̤ = โน
l /l/ 老 = lâu = หลาว
g /k/ 高 = gŏ̤ = โก๊
k /kʰ/ ค, ข 靠 = kó̤ = ข่อ
ng /ŋ/ 牙 = ngà = ง่า
h /h/ ฮ, ห 号/號 = hô̤ = หอ
c /ʦ/ 造 = cô̤ = จ๋าว
ch /ʦʰ/ ช, ฉ 草 = chāu = ชาว
s /s/ ซ, ส 掃 = sáu = ส่าว
ไร้พยัญชนะต้น - 澳 = ó̤ = อ่อ
  /β/  
  /ʒ/  

เสียง /β/ จะเกิดขึ้นกับเสียง b หรือ p เมื่อตามหลังคำอื่น

/β/ เป็นเสียงคล้ายๆ "บ" จึงให้ทับศัพท์เป็น "บ"

ส่วน /ʒ/ จะเกิดขึ้นกับเสียง c หรือ ch เมื่อตามหลังคำอื่น

/ʒ/ เป็นเสียงคล้าย "จ" แต่เป็นเสียงแบบเสียดแทรก ให้ทับศัพท์เป็น "จ"

สรุปกฎการเปลี่ยนเสียงเมื่อตามหลังคำอื่น

ตัวสะกดของคำหน้า พยัญชนะต้น เปลี่ยนเป็น ตัวอย่าง
k ไม่มีการเปลี่ยนเสียง
ng b p m 閩北 = mìng-báe̤k = หมิ่งหมอย
d t l s n 青岛/青島 = chĭng-dō̤ = ชิ่งโน
汕头/汕頭 = sáng-tàu = ซั้งเน่า
广西/廣西 = guōng-să̤ = ก่วงเน้
อ g k h ng 沈阳/瀋陽 = sīng-iòng = สิ่งเงวี่ยง
韩国/韓國 = hàng-guók = หั่งหงัว
上海 = siông-hāi = ซ่วงงาย
c ch /ʒ/ 南昌 = nàng-chuŏng = นั้งจ๊วง
杭州 = hòng-ciŭ = โฮ้งจี๊ว
m n ng ไม่เปลี่ยน
อื่นๆ b p /β/ 台北/臺北 = dài-báe̤k = ต่ายบ๋อย
d t s l 台东/臺東 = dài-dĕ̤ng = ต๊ายเลิ้ง
朝鲜/朝鮮 = dièu-siēng = ตีวลีง
g k h 美国/美國 = mī-guók = มี้อั๋ว
武汉/武漢 = ū-háng = อู๊อ่าง
c ch /ʒ/ 潮州 = dièu-ciŭ = ตี๊วจี๊ว
อ m n ng l ไม่เปลี่ยน

แต่ถ้ามี * แทรกอยู่ระหว่างคำจะหมายถึงว่าไม่มีการเปลี่ยนเสียงเนื่องจากตัวหน้าหรือตัวหลัง



ตัวอย่าง

ตัวเลข

0 〇/零 lìng /l̃iŋ⁵³/ ลิ่ง
1 ék /ɛiʔ²⁴/ เอ๋ย์
2 /nˡɛi²⁴²/ เหนย์
3 săng /saŋ⁵⁵/ ซั้ง
4 /sɛi²¹³/ เส่ย์
5 ngô /ŋou²⁴²/ โหงว
6 lĕ̤k /l̃øyʔ⁵/ เล้ย
7 chék /t͡sʰɛiʔ²⁴/ เฉย์
8 báik /paiʔ²⁴/ ไป๋
9 gāu /kau³³/ เกา
10 sĕk /sɛiʔ⁵/ เซ้ย์
100 báh /pɑʔ²⁴/ ป๋า
1,000 chiĕng /t͡sʰieŋ⁵⁵/ ชี้ง
10,000 万/萬 uâng /uɑŋ²⁴²/ อ๋วง
100,000,000 亿/億 é /ɛi²¹³/ เอ่ย์
1,000,000,000,000 diêu /tiɛu²⁴²/ ตี๋ว


ชื่อสถานที่ในมณฑลฝูเจี้ยนและในเมืองฝูโจว

อักษรจีน ปั่งงั่วเจ๋ย์ IPA ทับศัพท์ จีนกลาง
福建 Hók-gióng /huʔ²⁴⁻⁵⁵ kyɔŋ²¹³/ ฮุเกวี่ยง ฝูเจี้ยน
闽东/閩東 Mìng-dĕ̤ng /miŋ⁵³⁻⁵⁵ (t-)nøyŋ⁵⁵/ มิ้งเนิ้ง หมิ่นตง
福州 Hók-ciŭ /huʔ²⁴⁻²¹ t͡sieu⁵⁵/ หุจี๊ว ฝูโจว
榕城 Ṳ̀ng-*siàng /yŋ⁵³⁻³³ siaŋ⁵³/ อวิงเซี่ยง หรงเฉิง
长乐/長樂 Diòng-lŏ̤h /tuoŋ⁵³⁻³³ (l-)nˡoʔ⁵/ ตวงเนาะ ฉางเล่อ
闽侯/閩侯 Mìng-âu /miŋ⁵³⁻²¹ (Ø-)ŋɑu²⁴²/ หมิ่งเหงา หมิ่นโฮ่ว
连江/連江 Lièng-gŏng /l̃ieŋ⁵³⁻⁵⁵ (k-)ŋouŋ⁵⁵/ ลี้งโง้ง เหลียนเจียง
罗源/羅源 Lô-goân /l̃o⁵³⁻³³ ŋuoŋ⁵³/ โลง่วง หลัวหยวน
闽清/閩清 Mìng-chiăng /miŋ⁵³⁻⁵⁵ (t͡sʰ-)ʒiaŋ⁵⁵/ มิ้งเจี้ยง หมิ่นชิง
永泰 Īng-tái /iŋ³³⁻⁵⁵ (tʰ-)nɑi²¹³/ อิ๊งหน่าย หย่งไท่
平潭 Bìng-tàng /piŋ⁵³⁻³³ (tʰ-)naŋ⁵³/ ปิงนั่ง ผิงถาน
福清 Hók-chiăng /huʔ²⁴⁻²¹ t͡sʰiaŋ⁵⁵/ หุเชี้ยง ฝูชิง
厦门/廈門 Â-muòng /a²⁴²⁻⁵⁵ muoŋ⁵³/ อ๊าม่วง เซี่ยเหมิน
龙岩/龍岩 Lṳ̀ng-ngàng /l̃yŋ⁵³⁻³³ ŋaŋ⁵³/ ลวิงงั่ง หลงหยาน
南平 Nàng-bìng /nˡaŋ⁵³⁻³³ (p-)miŋ⁵³/ นังมิ่ง หนานผิง
宁德/寧德 Nìng-dáik /nˡiŋ⁵³⁻²¹ (t-)naiʔ²⁴/ หนิ่งหนาย หนิงเต๋อ
莆田 Buò-dièng /puo⁵³⁻³³ (t-)lieŋ⁵³/ ปัวเลี่ยง ผูเถียน
泉州 Ciòng-ciŭ /t͡suoŋ⁵³⁻⁵⁵ (t͡s-)ʒieu⁵⁵/ จ๊วงจี๊ว เฉวียนโจว
三明 Săng-mìng /saŋ⁵⁵ miŋ⁵³/ ซั้งมิ่ง ซานหมิง
漳州 Ciŏng-ciŭ /t͡suoŋ⁵⁵ (t͡s-)ʒieu⁵⁵/ จ๊วงจี๊ว จางโจว
马祖/馬祖 Mā-cū /ma³³⁻³⁵ (t͡s-)ʒu³³/ หมาจู หมาจู่

จางโจวและเฉวียนโจวเป็นคนละเมืองกัน จีนกลางออกเสียงต่างกัน แต่ออกเสียงเหมือนกันในภาษาจีนฮกจิว



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาจีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文