φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปรับปรุงเว็บรวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่นครั้งใหม่
เขียนเมื่อ 2020/04/11 13:13
แก้ไขล่าสุด 2024/03/28 23:03
เมื่อวานนี้ 10 เม.ษ. 2020 ในที่สุด FF7 ภาคทำใหม่ก็ออกวางขายแล้ว...!!

แต่นั่นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหัวข้อที่จะเขียนถึงต่อไปนี้ แค่บังเอิญว่าวันตรงกันเท่านั้น

เนื่องจากเมื่อวานนี้เองเพิ่งได้มีการปรับปรุงเว็บ https://hinaboshi.com ซึ่งรวบรวมวลีเด็ดคำแปลจากญี่ปุ่นขึ้นมา

หน้าตาบล็อกในตอนนี้เป็นแบบนี้

หน้าแรก

หน้าแสดงวลีเด็ด

ดูเผินๆแล้วก็คล้ายของเดิม เพราะไม่ได้เปลี่ยนการออกแบบ ลงสีแบบเดิม แต่ว่าถ้าดูเนื้อในจะเห็นว่าโครงสร้างต่างไปจากเดิมมาก

ก่อนหน้านี้เว็บใช้ ruby on rails + jquery + bootstrap

แต่ตอนนี้ใช้ ruby on rails + webpacker + vue.js + vuetify

หลังจากที่เว็บนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ 20 ส.ค. 2016 ดังที่เขียนบันทึกไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20160820

ที่ผ่านมาเกือบ ๔ ปี เว็บก็ไม่ได้มีการปรับปรุงอะไรมากมาย นอกจากแค่ใส่ข้อมูลวลีเด็ดเพิ่มไปเรื่อยๆเท่านั้น

แต่เมื่อช่วงประมาณเดือนนี้ของปีที่แล้วได้เริ่มมีคนติมาว่าตัวเว็บดูโบราณ น่าจะทำให้เป็น responsive สักหน่อย

ตอนนั้นก็ตั้งใจว่าถ้ามีเวลาอยากจะศึกษาเรื่องการทำเว็บให้เป็น responsive เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงเว็บ แต่ก็ยังไม่มีเวลาศึกษาเกี่ยวกับเว็บเพิ่มเติมนักจึงได้แต่ตั้งเป้าเอาไว้ก่อน

จนเวลาผ่านไป มีโอกาสได้ศึกษาเรื่องจาวาสคริปต์เพิ่มเติม ถึงขนาดเขียนบทเรียนจาวาสคริปต์ขึ้นมาในบล็อกด้วย https://phyblas.hinaboshi.com/saraban/javascript

นอกจากนี้ก็ได้ฝึก vue.js ให้มากขึ้นกว่าเดิม พอมีพื้นฐานจาวาสคริปต์ดีแล้วก็ช่วยให้เข้าใจอะไรขึ้นได้มากทีเดียว อีกทั้งส่วนที่ใช้ axios ซึ่งต้องพัวพันกับเรื่องของการทำงานแบบไม่ประสานเวลาก็ได้มีโอกาสศึกษามาแล้ว

ภาษารูบีและตัว ruby on rails เองก็ได้ซื้อหนังสือมาอ่านเพิ่มเติมเช่นกัน

ตัวเว็บใหม่ที่ทำครั้งนี้ยังคงใช้ ruby on rails เป็นเฟรมเวิร์กเหมือนอย่างแต่ก่อน แต่ที่เพิ่มเติมคือใช้ร่วมกับ webpacker และใช้ vuetify เป็นตัววางโครงสร้างเว็บ

vuetify เป็นเฟรมเวิร์กที่ใช้ vue.js เป็นพื้นฐาน จึงช่วยให้ทำอะไรได้ยืดหยุ่นสะดวกขึ้น และพอใช้แล้วเว็บก็จะเป็น responsive และเป็น material design ด้วย

อย่างหน้าแสดงรายชื่อนักพากย์นี้ซึ่งมีการตัดเปลี่ยนหน้าและค้นคำเพื่อคัดกรองชื่อ แถมยังตั้งให้สามารถเรียงลำดับตามแบบที่ต้องการด้วย https://hinaboshi.com/seiyuuthangmot



ถ้าเป็นเมื่อก่อนใช้ jquery ทำ เขียนยุ่งยากกว่ามากทีเดียว และมี BUG ด้วย แต่พอเปลี่ยนมาใช้ vuetify เขียนก็กลายเป็นเรื่องง่ายไป

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้การเขียนเว็บเป็นเรื่องง่ายขึ้นไปมาก สมัยก่อนไม่มีแม้แต่ jquery ต้องเขียนโค้ดจาวาสคริปต์แบบดั้งเดิมยืดยาว แล้วพอสมัยที่เริ่มหัดเขียนเว็บใหม่ๆ jquery ยังเป็นกระแสหลัก เวลาผ่านไปเริ่มมี angular.js แล้วก็ตามมาด้วย vue.js ความง่ายในการเขียนเว็บก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ตัวโค้ดจาวาสคริปต์ในเบราว์เซอร์ทั่วไปตอนนี้ก็ใช้ ES6 กันเป็นปกติ โค้ดดูจะเขียนง่ายขึ้น มีฟังก์ชันอะไรช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น (แม้จะยังสู้ไพธอนหรือรูบีไม่ได้)

การเขียนเว็บถือว่ายากอยู่ ต้องใช้ความรู้หลายๆอย่าง หลายๆภาษามารวมเข้าด้วยกัน แต่ก็เป็นอะไรที่สนุกดี ถ้าทำออกมาสำเร็จได้ก็แสดงว่าเรามีความรู้ความเข้าใจอะไรต่างๆมากพอจึงสามารถทำออกมาได้ ระหว่างทำจึงได้เรียนรู้อะไรเยอะ

ในช่วงปีที่ผ่านมานี้ได้ซื้อหนังสือจาก kindle มาหลายเล่ม เป็นตัวชั่วเพิ่มพูนทักษะในการเขียนเว็บได้เป็นอย่างดี หลักๆที่เกี่ยวกับเว็บก็คือ ๖ เล่มนี้



ยิ่งช่วงนี้ปัญหาไวรัสโคโรนาทำให้ต้องเก็บตัวอยู่ แทบไม่ได้ไปไหน ทำให้เวลามาลงที่หน้าคอมเยอะ จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับทั้งอ่านหนังสือและเขียนโปรแกรมมากขึ้น

ที่จริงยังได้อ่านไปอีกหลายเล่ม เช่น เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ ไพธอน ฯลฯ



ตัวเว็บยังคงต้องปรับปรุงไปอีกเรื่อยๆ แม้จะเป็นแค่เว็บเล็กๆที่ทำขึ้นมาด้วยความชอบส่วนตัว ไม่ได้เกี่ยวกับงาน ไม่ได้ใช้ทำกำไร

สุดท้ายนี้ ใครตั้งหน้าตั้งตารอเล่น FF7 อยู่ขอให้โชคดี~~~



"ruby on rails ก็เหมือนรถไฟขบวนนี้ มีรางที่ถูกวางไว้ให้วิ่งตาม"


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันทึก

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文