φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



บันทึกการไปฉีดวัคซีน COVID-19 เข็มที่ ๑ ที่สวนวิทยาศาสตร์ซินจู๋
เขียนเมื่อ 2021/10/30 23:12
แก้ไขล่าสุด 2021/12/03 17:38
ช่วงนี้ในที่สุดที่ไต้หวันก็เปิดให้คนทุกวัยสามารถฉีดวัคซีนเข็มแรกกันได้แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้เปิดให้ฉีดโดยจำกัดอายุในกลุ่ม ๔๐ ปีขึ้นไป หรือไม่ก็ ๒๒ ปีลงมา ส่วนพวกที่เหลือถูกทิ้งไว้ในช่วงอายุระหว่างกลางนี้ก็เลยต้องรอมานาน

เพียงแต่ว่าวัคซีนที่ให้เลือกฉีดได้ตอนนี้มีแค่วัคซีน biontech (อ่านว่า "ไบโอเอ็นเทค", ที่ไต้หวันมักเรียกย่อว่า BNT) เท่านั้น

ที่จริงก่อนหน้านี้ไต้หวันมีวัคซีนอีก ๓ ชนิดที่ให้ฉีดได้ คือ astrazeneca (AZ), moderna และวัคซีนเกาตวาน (高端) ที่เป็นยี่ห้อไต้หวันเอง แต่ว่าก็ไม่ได้เปิดให้ฉีดได้ทุกกลุ่มอายุ

ดังนั้นในที่สุดจึงได้แต่เลือกฉีดวัคซีน biontech ซึ่งช่วงหลังๆมานี้ทางไต้หวันสั่งซื้อมาเยอะเป็นพิเศษและได้กลายมาเป็นวัคซีนตัวหลักในตอนนี้

การจะไปฉีดวัคซีนจำเป็นต้องจองล่วงหน้า โดยทำผ่านเว็บ https://1922.gov.tw/

สำหรับรอบนี้เปิดให้จองได้ตอนช่วงวันที่ 25-27 ตุลาคม พอถึงวันที่ 28 ก็เริ่มฉีด

เราจองได้รอบวันที่ 30 ตุลาคม ก็คือวันนี้ จึงไปฉีดแล้วเขียนเล่าลงในนี้สักหน่อย



สำหรับสถานที่ฉีดนั้นสามารถเลือกได้ตามความสะดวก มีอยู่หลายจุด สำหรับที่เราเลือกไปฉีดครั้งนี้คือที่ศูนย์กิจกรรมของสวนวิทยาศาสตร์ซินจู๋ (新竹科學工業園區) ซึ่งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยชิงหัวที่เราอยู่ สามารถเดินไปได้



วันนี้อากาศดีเย็นสบายตั้งแต่เช้า เมฆเต็มฟ้า ไม่มีแดด เดินได้สบาย ระหว่างทางแถวนี้บรรยากาศดีทีเดียว




ทางเข้าสวนวิทยาศาสตร์ซินจู๋



ตึกที่เปิดให้เป็นสถานที่ฉีดวัคซีนนั้นคืออาคารศูนย์กิจกรรม (活動中心)



เมื่อมาถึงก็เห็นผู้คนมากมายมาต่อแถวอยู่หน้าอาคาร เพื่อจะเข้าไปฉีดวัคซีน



ก่อนอื่นก็ต้องเข้าไปต่อแถว เพื่อจะได้เข้าไปข้างใน



ที่หน้าทางเข้ามีเขียนบอกขั้นตอนสำหรับการฉีดวัคซีนที่นี่ แล้วยังมีแผนที่ให้เห็นชัดด้วย สามารถดูฆ่าเวลาไประหว่างต่อแถวได้



จากนั้นเข้ามาด้านใน เริ่มจากวัดอุณหภูมิร่างกาย แล้วก็ยื่นบัตรประกันสุขภาพให้เขาตรวจดูว่าเราเป็นผู้ที่มีสิทธิ์จะได้ฉีดรอบนี้และได้จองไว้



แล้วเขาก็จะให้ใบมากรอกข้อมูล เช่น ชื่อ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์



แล้วทุกคนก็มานั่งกรอกข้อมูลกันในนี้



เสร็จแล้วก็มาเข้าแถวคิวเพื่อจะเข้าไปในห้องฉีด




ภายในห้องที่ฉีดวัคซีนนั้นไม่ได้ถ่ายรูปเก็บมาด้วย เพราะไม่สะดวกที่จะถ่าย

จากนั้นก็ฉีดวัคซีนเสร็จ แล้วก็ต้องมานั่งรอที่ห้องสนามบาสซึ่งเขาเตรียมเก้าอี้ไว้ให้นั่งรักษาระยะห่างกันระหว่างรอ ๑๕ นาทีเพื่อดูว่ามีผลข้างเคียงอะไรที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนหรือไม่



ระหว่างรอก็นั่งอ่านพวกคำอธิบายและข้อควรระวังสำหรับผู้ทำการวัคซีนซึ่งเขาแจกไว้ด้วยได้



ผ่านไป ๑๕ นาที ไม่มีปัญหาอะไร ก็ออกมาได้ เป็นอันเสร็จ ดูเหมือนจะไม่มีผลข้างเคียงอะไร แต่ตอนหลังพบว่าบริเวณแขนที่โดนฉีดนั้นเริ่มปวดขึ้นมาทำให้ขยับลำบาก แต่ก็ไม่ได้หนักหนาอะไร





เรื่องการฉ๊ดวัคซีนก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ ที่เหลือเป็นบันทึกเรื่อยเปื่อยต่อจากนั้น

จากนั้นก็เลยลองเดินเล่นภายในสวนวิทยาศาสตร์ซินจู๋สักหน่อย ไหนๆก็มีโอกาสได้แวะมาแล้ว และวันนี้ก็อากาศดีเหมาะกับการเดินเล่นด้วย






แล้วก็เดินกลับคนละทางกับขามา ระหว่างทางก็ถ่ายรูปข้างทางแถวนั้นไปด้วย



















ระหว่างทางแวะกินมื้อเที่ยงที่ร้านพิซซา family pizza ซึ่งอยู่แถวนั้น




เมนู



ที่สั่งมากินคือพิซซาหน้าปลาเล็กและถั่วลิสง






ถึงแม้จะช้ากว่าคนอื่นไปพอสมควร แต่ในที่สุดวันนี้ก็ได้ฉีดวัคซีน COVID-19 จนได้ ก็สบายใจไปได้หน่อยหนึ่ง แต่ก็เพิ่งจะแค่เข็ม แรก ไว้ยังต้องมาฉ๊ดเข็มที่สองอีกที

ตอนนี้สถานการณ์ COVID-19 ถือว่าอยู่ในสภาวะที่ดีมาก ทั้งควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดได้ แล้วยังมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วงนี้จึงอยู่ได้อย่างสบายไม่ต้องห่วงมาก แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการป้องกันโรคก็ยังคงต้องทำอยู่เสมอ ไปไหนก็ต้องสวมหน้ากาก วัดอุณหภูมิ และฉีดยาฆ่าเชื้อ และคงจะยังเป็นอย่างนี้ต่อไปอักสักพัก



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ซินจู๋

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文