φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วิวัฒนาการของตัวอักษรจากอักษรฟินิเชียและอักษรพราหมีมาเป็นอักษรต่างๆ
เขียนเมื่อ 2022/02/02 19:06
แก้ไขล่าสุด 2022/07/18 16:14
หน้านี้เป็นเนื้อหาเสริมจากบทความเรื่อง ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี

ในหน้านี้จะลงแผนผังสรุปวิวัฒนาการของตัวอักษรต่างๆ ซึ่งวาดโดยใช้ matplotlib

ที่จริงภาพเหล่านี้ได้ลงไว้ใน facebook ด้วย แต่ก็เอามาลงในนี้อีกทีพร้อมลงรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละภาพ



อย่างที่รู้กันว่าอักษรไทยมีทั้งหมด ๔๔ ตัวในปัจจุบัน แต่ละอักษรก็มีที่มาต่างกันไป แต่โดยรวมแล้ว ๓๕ ตัวมีที่มาจากอักษรพราหมี และในจำนวนนั้น ๒๑ ตัวยังมีรากเชื่อมโยงไปได้ถึงอักษรฟินิเชีย ซึ่งอักษรนี้กเป็นรากของอักษรอื่นๆอีกมากมายที่ใช้ทั่วไปในประเทศต่างๆในโลกนี้ เช่น อักษรกรีก, อักษรโรมัน, อักษรซิริลลิก, อักษรอาหรับ, อักษรฮีบรู, ฯลฯ

ในที่นี้จะแสดงวิวัฒนาการของอักษรตระกูลพราหมีไปสู่อักษรชนิดต่างๆที่ใช้ในภาษาต่างๆในประเทศทางแถบนี้ ที่จริงมีเยอะกว่านี้มาก แต่ในภาพนี้แสดงอักษรเพียง ๑๖ ชนิด โดยเลือกเฉพาะที่สำคัญบางส่วนมา

อักษร ๒๑ ตัวที่มีรากจากอักษรฟินิเชียก็จะวาดโยงถึงอักษรฟินิเชียด้วย ส่วนตัวที่เหลือจะเริ่มรากแค่ตั้งแต่อักษรพราหมี



เริ่มจากอักษรตัวแรก นั่นก็คือ



อักษร มีที่มาที่สืบรากลงไปได้ถึงอักษรฟินิเชีย 𐤊 โดยอักษรฟินิเชียตัวนี้ยังเป็นรากของอักษรกรีก Κ κ (แคปปา) ที่เป็นรากของอักษร K k ในอักษรโรมัน ดังนั้นก็ถือได้ว่าอักษร กับ k มีรากที่มาเดียวกันนั่นเอง เสียงอ่านก็เหมือนกัน คือเป็นเสียง /k/





สำหรับอักษร นั้นมีที่มาจากอักษร 𐤒 ในอักษรฟินิเชีย โดยอักษรนี้ยังเป็นรากของอักษรโรมัน Q q อีกด้วย แต่ว่าเสียงอ่านจะต่างกัน โดยในอักษรตระกูลพราหมีได้นำมาใช้อ่าน /kʰ/ (คือเสียง "ค") แต่เดิมในอักษรฟินิเชียใช้เป็นเสียงหยุดลิ้นไก่ไม่ก้อง /q/ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย



สำหรับ นั้นมีที่มาจากอักษรฟินิเชีย 𐤂 ซึ่งเป็นรากของอักษรกรีก Γ γ (แกมมา) ซึ่งเป็นรากของอักษรโรมันตัว G g โดยเสียงเดิมนั้นอ่านเป็นเสียง /g/ ก็คือเหมือนเสียง g ในภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย พอมาเป็นในภาษาไทยเสียงก็กลายเป็น /kʰ/  ซึ่งไปซ้ำกับ อีกที เพียงแต่ว่าเป็นอักษรต่ำ



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤇 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Η η (เอตา) และอักษรโรมัน H h ด้วย แต่เสียงอ่านต่างออกไป โดยเดิมทีนั้นออกเสียง /ħ/ แต่พอมาเป็นอักษรพราหมี 𑀖 ก็กลายเป็นเสียง /gʰ/ ซึ่งก็ไม่มีในภาษาไทย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀗 ซึ่งอักษรตัวนี้ไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย แต่เดิมทีเสียงเสียง /ŋ/ (ตรงกับ "ง" ในภาษาไทย) นี้ไม่มีในอักษรฟินิเชียและภาษาทางยุโรปส่วนใหญ่ด้วย แต่มีในภาษาทางอินเดียซึ่งไทยก็รับมาตามนั้น



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤑 ซึ่งไม่ได้มีรากเชื่อมโยงไปถึงอักษรโรมัน แต่มีความเชื่อมโยงกับอักษรซิริลลิก Ц ц ซึ่งออกเสียงเป็น /t͡s/ ที่ไม่มีในภาษาไทย แต่ก็ยังใกล้เคียงกันเสียง จ /t͡ɕ/ ในภาษาไทย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀙 ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤆 โดย ซึ่งเป็นรากของอักษรกรีก Ζ ζ และอักษรโรมัน Z z เดิมทีออกเสียง /z/ เหมือนกับ z ในภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาไทยไม่มีเสียงนี้ ออกเสียงเป็น ช /t͡ɕʰ/ แทน



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀛 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀝 ซึ่งก็ไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย

ในที่นี้อักษรลาว นั้นถ้าว่ากันให้ถูกต้องจริงๆแล้วมีรากมาจากตัว 𑀬 ซึ่งเป็นรากของตัว แต่ถูกใช้แทนเสียง ญ /ɲ/ ในภาษาลาว เสียงนี้ปัจจุบันในภาษาไทยไม่มีแล้ว ออกเสียงเป็น ย /j/ แทน



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀝 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย รวมถึงอักษรตัวอื่นในวรรคฏะ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ นั้นทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอักษรฟินิเชียเลย เพราะเป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาฟินิเชียเดิมรวมถึงภาษาทางยุโรป และจริงๆก็ไม่มีในภาษาไทยด้วย ดังนั้นอักษรกลุ่มนี้ทั้งหมด และมีในหลายภาษาที่ไม่ได้ใช้อักษรกลุ่มนี้ หรืออาจใช้เพียงแค่ในคำศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตและบาลีเท่านั้น



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀞 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀟 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀠 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀡 ซึ่งก็ไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤕 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Τ τ (เทา) และอักษรโรมัน T t ด้วย เสียงอ่านก็ตามนั้นเลยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤈 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Θ θ (เธตา) เสียงอ่านก็ต่างไปจากอักษรฟินิเชียเดิม แต่เสียง /tʰ/ นั้นสืบทอดมาตั้งแต่อักษรพราหมี 𑀣 และตรงกับเสียง Θ θ ในภาษากรีกโบราณด้วย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀤 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษณฟินิเชีย เดิมทีอักษร 𑀤 นั้นอ่านเป็นเสียง /d/ (ตรงกับ "ด" ในภาษาไทย)



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤃 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Δ δ (เดลตา) และอักษรโรมัน D d แต่เสียงอ่านต่างไปจากเดิม โดยเดิมทีออกเสียง /d/



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤍 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ν ν (นิว) และอักษรโรมัน N n โดยที่ยังออกเสียงเหมือนกันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤐 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Π π (ไพ) และอักษรโรมัน P p และเสียงอ่านก็ยังคงออกเหมือนเดิมไม่ได้ต่างออกไป



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀨 ซึ่งไม่ได้มีรากโยงไปถึงอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤁 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Β β (เบตา) และอักษรโรมัน B b แต่เสียงอ่านเดิมทีเป็นเสียงซึ่งต่างจากในภาษาไทย คือเป็นเสียง /b/ (ตรงกับ "บ" ในภาษาไทย)



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀪 ซึ่งไม่ได้มีรากโยงไปถึงอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤌 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Μ μ (มิว) และอักษรโรมัน M m อีกด้วย โดยที่เสียงอ่านก็คงเดิมตามนั้นไม่ได้เปลี่ยนไป



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤉 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ι ι (อิโอตา) และเป็นรากของอักษรโรมัน I i และ J j อีกด้วย โดยที่เสียงอ่านก็คือ /j/ เหมือนกันไม่ได้เปลี่ยนจากเดิม



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤓 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ρρ (โร) และเป็นรากของอักษรโรมัน R r อีกด้วย โดยยังออกเสียงใกล้เคียงจากเดิม



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤋 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Λ λ (แลมบ์ดา) และเป็นรากของอักษรโรมัน L l โดยที่เสียงอ่านก็คือ /l/ ไม่ได้ต่างไปจากเดิม



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤅 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Υυ (อิปซิลอน) และเป็นรากของอักษรโรมันอีกหลายตัวด้วย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤔 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Σ σ ς (ซิกมา) และอักษรโรมัน S s ด้วย เดิมทีออกเสียง /ʃ/ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤎 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ξ ξ (คไซ)



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรพราหมี 𑀲 ซึ่งไม่ได้มีรากมาจากอักษรฟินิเชีย



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤄 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Ε ε (เอปซิลอน) และอักษรโรมัน E e ด้วย อย่างไรก็ตาม เดิมทีเสียงอ่านเป็นเสียง /h/ ซึ่งตรงนี้ในภาษาไทยยังคงเดิมแต่ในทางสายอักษรกรีกตัวนี้กลายเป็นสระไป



อักษร นั้นมีรากมาจากอักษรฟินิเชีย 𐤀 ซึ่งยังเป็นรากของอักษรกรีก Α α (อัลฟา) และอักษรโรมัน A a ด้วย โดยเสียงอ่านก็เหมือนเดิมคือเป็นเสียง /ʔ/ แต่ว่าในฝั่งอักษรกรีก ตัวนี้จะถูกใช้เป็นสระ




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประวัติศาสตร์
-- ภาษาศาสตร์ >> ตัวอักษร
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาลาว
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาเขมร

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文