φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เปรียบเทียบพยัญชนะและสระของอักษรชนิดต่างๆในตระกูลอักษรพราหมี
เขียนเมื่อ 2022/03/02 14:15
แก้ไขล่าสุด 2023/10/12 15:57
ก่อนหน้านี้ได้แนะนำเกี่ยวกับอักษรชนิดต่างๆในกลุ่มพราหมีและความเกี่ยวพันกับภาษาไทยไปแล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20220131

จะเห็นว่าอักษรในตระกูลพราหมีนั้นมีพยัญชนะที่มีรากมาจากอักษรพราหมีและปรับเพิ่มลดอักษรให้เข้ากับอักษรตัวเองอีกที

คราวนี้อยากจะลองเอาอักษรแต่ละชนิดมาวางเปรียบเทียบกันดูสักหน่อย โดยจะขอยกมาเฉพาะอักษรที่มีรากมาจากอักษรพราหมีโดยตรง ส่วนที่เพิ่มมาใหม่นั้นจะไม่แสดงในนี้

อักษรพราหมีนั้นประกอบด้วยอักษรพยัญชนะกับสระ โดยเขียนของภาษาไทยที่เป็นตัวเทียบประกอบไว้ดังนี้



สระประกอบไปด้วยสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ ไอ โอ เอา นอกจากนี้ยังมี ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ด้วย แต่จะไม่ขอแสดงในนี้ เพราะถูกใช้น้อยและมักถูกตัดออกไป

ต่อไปนี้จะแสดงพยัญชนะ โดยถือว่ามีทั้งหมด ๓๕ ตัว แม้ว่าจริงๆแล้วอักษร อ นั้นในอักษรพรามีเดิมเป็นสระ แต่ในภาษาไทยและอีกหลายภาษาใช้เป็นพยัญชนะ ดังนั้นในนี้ก็จะแสดง อ เป็นอักษรตัวสุดท้ายไว้ด้วย

ส่วน ฬ นั้นจะมีแค่ในบางภาษา เพราะเป็นอักษรที่ถูกใช้เฉพาะในภาษาบาลี ไม่ได้ถูกใช้ในภาษาสันสกฤต

รายละเอียดอื่นๆเช่นว่า ๕ วรรคหลักคืออะไร สระลอยกับสระจมต่างกันยังไงนั้นได้เขียนไว้ในบทความที่แล้ว ดังนั้นในที่นี้ก็จะขอละไว้เช่นกัน

แผนผังการวิวัฒนาการของอักษรก็ได้แสดงไว้ในบทความที่แล้ว ดังนั้นในที่นี้จะไล่ลำดับตามผังนั้น

อักษรที่วิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีโดยตรง นั้นแบ่งเป็น ๓ ชนิดหลักคืออักษรคุปตะ อักษรกทัมพะ และอักษรปัลลวะ

อย่างไรก็ตาม อักษรเหล่านี้ล้วนไม่มีบรรจุในยูนิโค้ด จึงไม่อาจทำภาพมาแสดงในนี้ได้ จึงขอละไว้

ขอเริ่มจากอักษรทางสายที่วิวัฒนาการจากอักษรคุปตะ ซึ่งได้แก่อักษรสิทธัม อักษรเทวนาครี อักษรทิเบต และอักษรไภกษุกี

ในจำนวนนั้นอักษรไภกษุกีที่ถูกใช้อยู่ในแค่ช่วงสั้นๆ และไม่ได้มีวิวัฒนาการต่อไปเป็นอักษรชนิดอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นอักษรที่สวยงามมีลักษณะเด่น โดยเฉพาะที่มีหัวเป็นลูกศรแบบนี้



ต่อมาคืออักษรสิทธัม ซึ่งเป็นอักษรที่ถูกใช้กว้างขวาง และยังประสบความสำเร็จในการวิวัฒนาการ เพราะเป็นต้นแบบของอักษรชนิดอื่นๆอีกมากมาย แม้ว่าอักษรสิทธัมจะไม่ได้ถูกใช้แล้วในปัจจุบัน แต่อักษรหลักต่างๆในอินเดียก็ล้วนวิวัฒนาการมาจากอักษรสิทธัมทั้งนั้น



หนึ่งในนั้นคืออักษรเทวนาครี ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด ปัจจุบันใช้เขียนทั้งภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาเนปาล ภาษมราฐี ฯลฯ ดังนั้นน่าจะเป็นอักษรในตระกูลพราหมีที่คุ้นตาชาวโลกมากที่สุด



อักษรเทวนาครีนั้นยังได้ถูกพัฒนาต่อไปเป็นอักษรอื่นๆเช่นอักษรคุชราต ซึ่งใช้ในภาษาคุชราชในรัฐคุชราตของอินเดีย จะเห็นว่าใกล้เคียงกับอักษรเทวนาครีมาก แต่ตัดขีดด้านบนออก



แล้วก็อักษรโมฑี ซึ่งเคยถูกใช้เขียนภาษามราฐีที่ใช้ในรัฐมหาราษฏระ ซึ่งรวมถึงเมืองมุมไบ เมืองที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียด้วย แต่ว่าอักษรนี้เลิกใช้ไปแล้ว เพราะภาษามราฐีหันมาใช้อักษรเทวนาครีเป็นหลัก



และอักษรปรัจลิต ซึ่งใช้ในภาษาเนวาร์ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศเนปาลและในรัฐสิกขิมของอินเดียด้วย



นอกจากนี้อักษรสวยัมภู หรืออักษรซอย็อมบอ (соёмбо) ที่เคยใช้ในการเขียนภาษามองโกล ก็พัฒนาขึ้นจากอักษรเทวนาครีเช่นกัน แต่ก็ได้ตัดสระลอยทิ้งและเหลือแค่สระจมบางส่วนไว้เท่านั้น นอกจากนั้นก็มีพยัญชนะหรือสระที่เพิ่มมาใหม่อีกมาก เพื่อให้เข้ากับภาษามองโกล



อักษรอีกชนิดที่วิวัฒนาการมาจากอักษรสิทธัมก็คืออักษรเบงกอล ซึ่งก็จะเห็นว่ามีหน้าตาคล้ายกับอักษรเทวนาครีมาก อักษรนี้ใช้ในภาษาเบงกอล ซึ่งเป็นภาษาหลักของประเทศบังกลาเทศ และใช้กว้างขวางในประเทศอินเดียแถบตะวันออก นอกจากนี้ยังใช้เขียนภาษาอัสสัมด้วย



และอักษรติรหุตา ซึ่งเคยถูกใช้เขียนภาษาไมถิลี เป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้พูดอยู่มากในอินเดีย แต่ว่าปัจจุบันภาษาไมถิลีกลับนิยมเขียนด้วยอักษรเทวนาครีมากกว่า



ต่อมาก็อักษรไกถี ซึ่งเคยถูกใช้เขียนภาษาอวัธ ที่มีผู้พูดจำนวนเล็กน้อยในอินเดีย แต่ปัจจุบันก็หันไปใช้อักษรเทวนาครีเป็นหลักแทน



และอักษรไกถีนั้นยังคาดว่าเป็นต้นแบบของอักษรสิเลฏินาครี ซึ่งใช้ในการเขียนภาษาสิเลฏี ซึ่งมีผู้พูดอยู่บังกลาเทศและอินเดียตะวันออก



นอกจากนี้ก็มีอักษรโอริยา ซึ่งใช้ในภาษาโอริยา ซึ่งใช้ในรัฐโอฑิศาในอินเดีย



และอักษรคุนชลาโคนฑีซึ่งเคยถูกใช้เขียนภาษาโคนฑีซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆในอินเดียตอนใต้ก็มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มนี้ แต่ยังไม่อาจยืนยันได้แน่ว่ามีที่มาจากอักษรชนิดไหน





สายของอักษรสิทธัมก็ขอแนะนำถึงเท่านี้ ต่อไปมาดูอีกสายซึ่งวิวัฒนาการจากอักษรคุปตะเช่นกัน นั่นคืออักษาศารทา



อักษรศารทานั้นเคยถูกใช้เขียนาภาษาสันสกฤต แต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ถูกใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นอักษรอื่นๆอีกหลายชนิดที่ยังใช้อยู่ถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นที่เป็นรู้จักที่สุดก็คืออักษรคุรมุขี ซึ่งใช้เขียนภาษาปัญจาบในอินเดีย



นอกจากนี้ก็ยังมีอักษรขุทาพาทีที่ถูกใช้เขียนภาษาสิทธีซึ่งมีผู้พูดในอินเดียและปากีสถาน



อักษรฏากรีที่ใช้เขียนเคยถูกใช้เขียนภาษาโฑครี ซึ่งมีผู้พูดอยู่เล็กน้อยในอินเดีย



และอักษรโฑครีซึ่งใช้ในภาษาโฑครีในปัจจุบันก็วิวัฒนาการมาจากอักษรฏากรี



อักษรมหาชนีซึ่งเคยใช้เขียนภาษามาร์วารี อีกภาษาหนึ่งในอินเดีย แต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนไปใช้อักษรเทวนาครีแทน



อักษรโขชกี ใช้เขียนภาษากัจฉิและภาษาสิทธี ซึ่งมีผู้พูดในอินเดียและบังกลาเทศ





สำหรับสายอักษรศารทานั้นก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้

มาที่อีกสายหนึ่งที่วิวัฒนาการมาจากอักษรคุปตะเช่นกัน นั่นคืออักษรทิเบต ซึ่งใช้เขียนภาษาทิเบตและภาษาอื่นๆในกลุ่มใกล้เคียงเช่นภาษาภูฏาน นอกจากนี้ยังวิวัฒนาการต่อไปเป็นอักษรอีกหลายชนิด อักษรทิเบตไม่ใช้สระลอย ดังนั้นอักษรในกลุ่มนี้มีลักษณะร่วมกันก็คือตัดสระลอยทิ้งไปทั้งหมด



อักษรพักปาซึ่งเคยถูกใช้เขียนภาษามองโกลในยุคราชวงศ์หยวนก็พัฒนามาจากอักษรทิเบต แต่อักษรชนิดนี้มีความพิเศษกว่าอักษรชนิดอื่นในตระกูลอักษรพราหมีตรงที่ถูกเขียนในแนวตั้งจากบนลงล่าง



มีคนตั้งข้อสังเกตว่าอักษรฮันกึลที่ใช้ในภาษาเกาหลีนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอักษรพักปาด้วย แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยัน ถ้าใช่จริงๆอักษรฮันกึลก็อาจถือได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับอักษรตระกูลพราหมี แม้จะแค่เล็กน้อยก็ตาม

อักษรชญานวัชระซึ่งเป็นอักษรอีกชนิดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เขียนภาษามองโกลก็พัฒนามาจากอักษรพักปา แต่ต่างจากอักษรพักปาตรงที่เขียนในแนวนอนจากซ้ายไปขวาตามปกติ อักษรนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงยุคราชวงศ์ชิง ผู้คิดก็เป็นคนเดียวกับอักษรสวยัมภู แต่ไม่ได้ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางเท่าไหร่นัก



อักษรมาร์เชน ที่ใช้ในภาษาซังซุง ซึ่งเป็นชนเผ่ากลุ่มเดียวกับทิเบต ก็ดัดแปลงมาจากอักษรทิเบต แต่ชนเผ่านี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดนานแล้วเพราะโดนจักรวรรดิทิเบตกลืน



อักษรเลปชา ใช้ในภาษาเลปชาซึ่งก็เป็นภาษาในตระกูลทิเบต ที่พูดในแถบเทือกเขาหิมาลัย



อักษรลิมบู ใช้เขียนภาษาลิมบู ซึ่งเป็นอีกภาษาในตระกูลทิเบต ซึ่งใช้ในแถบเทือกเขาหิมาลัย



อักษรมณีปุระ ใช้เขียนภาษามรีปุระซึ่งใช้ในรัฐมณีปุระทางตะวันออกของอินเดีย ก็วิวัฒนาการมาจากอักษรทิเบต





สายของอักษรคุปตะก็ขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้ ต่อมามาดูอีกสาย นั่นคืออักษรที่วิวัฒนาการจากอักษรปัลลวะและอักษรกทัมพะ

อักษรเตลูกู ใช้ในภาษาเตลูกู เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียนซึ่งถูกใช้อย่างกว้างขวางที่สุดทางตอนใต้ของอินเดีย



อักษรกันนาดา ใช้เขียนภาษากันนาดา ซึ่งก็เป็นอีกภาษาในตระกูลดราวิเดียนที่มีผู้พูดอยู่มากทางตอนใต้ของอินเดีย



และอักษรทมิฬ ใช้เขียนภาษาทมิฬ ซึ่งก็เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียนที่ถูกใช้ทั้งในตอนใต้ของอินเดียและในศรีลังกา รวมไปถึงสิงคโปร์ด้วย อย่างไรก็ตาม อักษรทมิฬได้ตัดเอาอักษรดั้งเดิมจากอักษรพราหมีไปมาก



อักษรสิงหล ใช้ในภาษาสิงหล ภาษาราชการของประเทศศรีลังกา



อักษรครันถะก็เป็นอักษรเก่าอีกชนิดที่วิวัฒนาการมาจากอักษรปัลลวะ



อักษรเสาราษฏร์ ใช้ในภาษาเสาราษฏร์ ซึ่งมีผู้พูดอยู่เล็กน้อยในอินเดีย วิวัฒนาการมาจากอักษรครันถะ



และอักษรมลยาฬัม ใช้ในภาษามลายาฬัม ซึ่งเป็นภาษาตระกูลดราวิเดียนอีกชนิดที่ใช้มากในตอนใต้ของอินเดีย ก็มาจากอักษรครันถะ เช่นกัน





ต่อมาข้ามมาทางฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันบ้าง อักษรกลุ่มที่ใช้ในแถบนี้เองก็พัฒนาขึ้นมาจากอักษณปัลลวะทั้งสิ้น

เริ่มจากอักษรเขมร ซึ่งใช้ในกัมพูชา และอักษรนี้เองที่เป็นต้นแบบของอักษรไทยและอักษรลาวด้วย



นอกจากนี้ที่เวียดนามยังมีการใช้อักษรจามในการเขียนภาษาจามของพวกจาม ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยภายในเวียดนาม แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยและไม่เป็นที่รู้จักนักในปัจจุบัน



อีกสายคือกลุ่มอักษรพม่า หรืออาจเรียกว่าเป็นอักษรมอญ ก็ถูกใช้ในภาษาพม่าและอีกหลายภาษาในพม่า



อักษรล้านนา ที่ใช้ในภาษาไทยถิ่นเหนือทางภาคเหนือของไทยก็วิวัฒนาการมาจากอักษรพม่านี้เอง



อักษรอาหม ใช้ในภาษาไทอาหม ซึ่งเป็นกลุ่มคนไทยที่เป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ในรัฐอัสสัมของอินเดีย ก็พัฒนาการมาจากอักษรพม่า



นอกจากนี้ยังมีอักษรจักมา ซึ่งถูกใช้ในภาษาจักมาของชนกฃุ่มน้อยที่อยู่ทางแถบตะวันออกของบังกลาเทศและอินเดีย แถบที่ติดกับพม่า ก็ดัดแปลงมาจากอักษรพม่า





นอกจากนี้ยังมีอักษรทางสายอักษรกวิ ซึ่งวิวัฒนาการมาจากอักษรปัลลวะเช่นกัน ส่วนใหญ่ใช้ในแถบอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ทั้งหมดนั้นเลิกใช้ไปแล้ว แม้ว่ากลุ่มนี้ที่จริงมีเยอะมาก ในที่นี้ขอยกมาแค่ส่วนหนึ่ง

เริ่มจากอักษรชวา เคยถูกใช้เขียนภาษาชวาซึ่งถูกพูดอย่างกว้างขวางในเกาะชวาของอินโดนีเซ๊ย แต่ปัจจุบันนี้ภาษาชวากลับหันมาใช้อักษรโรมันแทน อักษรนี้ก็เลยไม่ได้ใช้แล้ว



และอักษรบาหลี เคยใช้เขียนภาษาบาหลีในเกาะบาหลีของอินโดนีเซีย มีลักษณะคล้ายอักษรชวามาก



อักษรไบบายิน เคยถูกใช้ในภาษาตากาล็อก ภาษาหลักของฟิลิปปินส์ แต่ปัจจุบันนี้ภาษตากาล็อกหันไปใช้อักษรโรมันแทน

ภาษาตากาล็อกนั้นเดิมทีมีแค่ ๓ สระ และเสียงพยัญชนะก็น้อยด้วย จึงรับเอาอักษรมาใช้แค่ส่วนเล็กน้อย เสียงที่ซ้ำกันหรือไม่มีในภาษาตากาล็อกได้ถูกตัดออก





ก็ขอจบการนะนำอักษรชนิดต่างๆลงเท่านี้ แน่นอนว่าจริงๆแล้วยังมีอักษรอีกหลายชนิด ที่แนะนำไปในนี้ ๔๔ ชนิดเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

จะเห็นว่าอักษรไทยนั้นมีญาติอยู่มากมาย ทั้งใกล้และไกล ทั้งหมดล้วนอยู่ในตระกูลพราหมีและประกอบด้วยอักษรพื้นฐานที่เหมือนกัน และล้วนเป็นอักษรสระประกอบ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> ตัวอักษร
-- ประวัติศาสตร์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาเขมร

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文