φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



日本語の勉強は意外と大変だけどやり甲斐がある - ภาษาญี่ปุ่นยากกว่าที่คิดแต่คุ้มที่จะเรียน
เขียนเมื่อ 2022/03/21 12:49
日本語にほんごうつくしくて優秀ゆうしゅう言語げんごである。わたしも日本語の勉強べんきょうたのしくかんじている。でももし日本語は簡単かんたんなのかとかれたら……これはこたえづらいかもね。おそらく「はい」と気軽きがるこたえるする人はほとんどいないだろうね。
ภาษาญี่ปุ่นนั้นเป็นภาษาที่สวยงามและดีเลิศมากทีเดียว เราเองก็เรียนภาษาญี่ปุ่นแล้วรู้สึกสนุก แต่ว่าถ้าถามว่าภาษาญี่ปุ่นนั้นเรียนง่ายมั้ยละก็... ดูจะตอบยาก คงแทบไม่มีใครตอบว่า "ง่าย" หรอกนะ

たしかに日本語は勉強し甲斐がいがあるというのは事実じじつだけど、残念ざんねんながらその勉強の道程みちのりはかなきついもので、途中とちゅうあきらめるひとおおい。これはまぎれもなく事実だとわかっているだろう。
จริงอยู่ว่าภาษาญี่ปุ่นนั้นเป็นภาษาหนึ่งที่น่าเรียน แต่ก็ไม่ใช่ภาษาที่เรียนเข้าใจได้ง่ายๆ มีส่วนยากอยู่หลายข้อ ซึ่งทำให้มีคนเรียนแล้วก็ต้องตัดใจล้มเลิกไปไม่น้อย นี่เป็นความจริงที่ต้องยอมรับ

日本語がだいきでちゃんと勉強したいけど、「き」だけでは多分たぶんまだりないだろう。私もできればみんなに日本語を習得しゅうとくできたらいいなと思っているけど、成功せいこうする人は多くないのは現状げんじょうだ。原因は色々いろいろあるだろう。なか人間にんげんには個人差こじんさ不向ふむきがある。とくに外国語のことはその傾向けいこういちじるしい。
ถึงจะรู้สึกชอบภาษาญี่ปุ่นและอยากเรียนรู้ แต่ว่าแค่ "ชอบ" เท่านั้นอาจจะไม่พอหรอก ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ทุกคนได้เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายๆเหมือนกัน แต่คนที่เรียนสำเร็จจริงๆนั้นมีไม่มากจริงๆ ซึ่งก็เป็นเพราะหลายสาเหตุด้วยกัน คนบนโลกนี้มีความแตกต่างกันมาก มีทั้งเรื่องที่ถนัดและไม่ถนัด เรื่องภาษานี้ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่เห็นแนวโน้มตรงนี้ได้ชัดเลย

私は「日本語が好きだ」と、いつも言っているけど、この言葉ことばにどれくらい真実しんじつなのか? 別にうそいていないが、100%好きっていうわけではない。そんなのありないよね。全体的ぜんたいてきにはきでたのしくやっているけど、あまりきではないのにやらなければならない部分ぶぶんも少なくない。
เราเองก็มักจะพูดว่า "ชอบภาษาญี่ปุ่น" อยู่เสมอ แต่ว่าเรื่องนี้เป็นความจริงสักแค่ไหนกัน? แน่นอน ไม่ได้กำลังจะบอกเป็นเรื่องโกหกหรอก แต่ถึงอย่างนั้นก็คงบอกว่าชอบไม่ได้เต็ม ๑๐๐% เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว โดยภาพรวมแล้วชอบ รู้สึกเรียนสนุกก็จริง มีบางส่วนที่ไม่ได้ชอบเลยแต่ก็ต้องทนพยายาม



「好きな人のことをよく知るということは、時々知りたくないことも知ることになる」
"การจะรู้เรื่องของคนที่เราชอบเนี่ย บางครั้งก็ทำให้ต้องรู้แม้แต่เรื่องที่ไม่อยากรู้ด้วย"

これはアニメ「かみちゃまかりん」の主人公しゅじんこうである花園はなぞの花鈴かりん台詞せりふ
นี่เป็นคำพูดของฮานาโซโนะ คาริง จากอนิเมะเรื่อง "คามิจามะ คาริง"

勉強のこともおなじだ。日本語がきで色々いろいろ知りたいけど、その同時どうじにあまりのぞましくない事実も知ってしまうよね。実際にどの言語でも欠点けってん難点なんてんがある。これは言語を勉強するものにとってけられないことだ。多少困難こんなんがあるというのは間違まちがいない。
เรื่องของการเรียนก็เหมือนกันเลย ชอบภาษาญี่ปุ่นอยากจะเรียนอะไรต่างๆมากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้รู้ถึงส่วนที่ไม่ค่อยจะชอบใจนักด้วยนะ ในความเป็นจริงนั้นไม่ว่าภาษาไหนก็มีจุดด้อยและข้อยากอยู่ทั้งนั้น นี่เป็นสิ่งที่คนเรียนภาษาต้องเผชิญอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คงไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าความยากลำบากนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเจอเป็นธรรมดา



「やりたいことを思いっきりやるためには、やりたくないことも思いっきりやなきゃいけないんだ」
"เพื่อที่จะได้ทำเรื่องที่อยากทำได้อย่างเต็มที่ ก็จำเป็นที่จะต้องทำเรื่องที่ไม่ได้อยากทำให้เต็มที่ด้วยเช่นกัน"

これはアニメ「ちはやふる」の駒野こまのつとむというキャラの台詞せりふだ。
นี่เป็นคำพูดของตัวละคร โคมาโนะ ทสึโตมุ จากอนิเมะ "จิฮายะฟุรุ"

結果的けっかてきに日本語を習得しゅうとくできたらしあわせでいい思い出になるんだろう。でもその過程かていなかであまり好きではないこともきっとざっている。好きなことだけやり続けられるほどこのなかあまくないのだ。
ในท้ายที่สุดแล้วถ้าได้ภาษาญี่ปุ่นก็คงจะมีความสุขและเป็นความทรงจำที่ดีได้ แต่ว่ากว่าจะไปถึงตรงนั้นได้ระหว่างทางก็มีทั้งเรื่องที่ไม่ได้ชอบปนอยู่ด้วยแน่นอน โลกนี้น่ะไม่ได้ง่ายดายขนาดที่ว่าจะทำแต่สิ่งที่ชอบแล้วไปต่อได้เรื่อยๆหรอก

ここで日本語を勉強している、それともこれから勉強する予定よていがあるあなたに伝えたいことがあるよ。日本語を勉強するのにどんな困難こんなんっているか。これをあらかじめ知って覚悟かくごしてしい。そしてえられたらそのさきどんないいことがっているかもつたえたい。
ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่น หรือกำลังคิดที่จะเรียน เลยอยากจะบอกให้รู้ไว้ตรงนี้สักหน่อย ว่าเรียนภาษาญี่ปุ่นจะต้องเจออะไรยากลำบากรออยู่ เป็นอะไรที่รู้ไว้ก่อนก็ดี รวมถึงเรื่องที่ว่าถ้าก้าวพ้นมันไปได้แล้วจะมีอะไรดีๆรออยู่

っておきたいことが沢山たくさんあるので、一気いっきつたえるのは無理むりだろう。すうパートにけて少しずつべていきたいけど、そのまえにやっぱり簡潔かんけつ説明せつめいだけはここにまとめておきたい。
ที่จริงมีประเด็นที่น่าพูดถึงอยู่มากมาย ให้เขียนหมดในคราวเดียวคงจะไม่ไหว อาจต้องแบ่งเป็นหลายๆส่วนแล้วค่อยๆพูดถึงไป แต่ก่อนอื่นขอสรุปแต่ละข้อแบบสั้นๆไว้ตรงนี้สักหน่อย

1. 「主語しょご目的語もくてきご動詞どうし」という語順ごじゅんはタイ語の「主語→動詞→目的語」とは構造こうぞうが違うのでこれはきつい。でもこのような文法は意外いいところがあるのでれたらむしろ表現が豊富ほうふでやりやすいようにも見える。プログラミングみたいなロジックってものにも見える。
๑. โครงสร้าง "ประธาน→กรรม→กริยา" นั้นต่างจากภาษาไทยที่เป็น "ประธาน→กริยา→กรรม" ก็เลยยากสำหรับคนไทย แต่จริงๆไวยากรณ์แบบนี้มีข้อดีอยู่ ถ้าหากชินแล้วกลับจะรู้สึกว่ามันสะดวกใช้งานได้ รู้สึกเป็นตรรกะคล้ายกับเวลาเขียนโปรแกรมอะไรแบบนั้นเลย

2. 「ひらがな、カタカナ、漢字かんじ」という3種類しゅるい文字もじ同時どうじに使うなんて面倒めんどくさい。でもじつはそのおかげみやすい文章ぶんしょうになるのだからこういう工夫くふうはやり甲斐がいがあるものだともえる。こんな沢山たくさん文字もじわせを使う言語なんて滅多めったにないのだし。
๒. การที่ต้องใช้อักษรถึง ๓ ชนิด "ฮิรางานะ คาตาคานะ คันจิ" ดูแล้วช่างยุ่งยาก แต่ว่าก็เพราะเขียนแบบนี้จึงทำให้อ่านง่าย ดังนั้นก็เรียกได้ว่าคุ้มค่าที่จะเหนื่อยตรงนี้ ภาษาที่ใช้อักษรหลากหลายชนิดรวมกันแบบนี้คงจะหาที่ไหนไม่ได้ง่ายๆด้วยสิ

3. 漢字が煩雑はんざつで、かた色々いろいろおぼえなければならないことが多くてむずかしい。でもおぼえられるとこれはとても効果こうかのいい書法しょほうだと理解できるだろう。漢字をおぼえることは絶対ぜったい無駄むだなことではない。漢字を書くのがたのしいと認識にんしきしている人もすくなくない。
๓. คันจิมีความซับซ้อนยุ่งยาก เสียงอ่านก็มีหลายแบบมีอะไรให้ต้องจำเยอะช่างยากนัก แต่ว่าหากจำได้แล้วก็จะเข้าใจได้ว่านั่นเป็นวิธีการเขียนที่มีประสิทธิภาพดี การจำคันจินั้นไม่ใช่เรื่องสูญเปล่าอย่างแน่นอน คนที่รู้สึกสนุกกับการเขียนคันจิก็มีอยู่ไม่น้อย

4. 同音異義語どうおんいぎご沢山たくさんあって、区別くべつむずかしい。それは日本語の音韻おんいんが少ない所為せいだから仕方しかたないことだ。でもだからこそ漢字が必要ひつようになる。くちしゃべときにも実は意味を区別くべつするのにいろんな方法があるのでなんとかなるよね。
๔. มีคำพ้องเสียงที่ความหมายต่างกันอยู่มากแยกไม่ถูก นี่เป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงค่อนข้างน้อยเลยช่วยไม่ได้ แต่ก็เพราะอย่างนั้นจึงเห็นความจำเป็นของคันจิขึ้นมา หรือต่อให้เป็นเวลาพูดคุยจริงๆมีวิธีมากมายในการช่วยแยกแยะความหมาย ดังนั้นไม่ได้เป็นปัญหาอะไรนักหรอก

5. 日本語は繊細せんさいなところが多くて、ちょっと言い方を変えたら意味や表現は全然変わってしまう。解釈かいしゃく困難こんなん誤解ごかいする可能性かのうせいすらある。でもこれは表現力ひょうげんりょくゆたかである所為せいだろう。面倒めんどうだと感じる人もいるかもしれないが、これも日本語の魅力みりょくの一つとも言える。使つかこなせたらなかなか便利なものだよね。
๕. ภาษาญี่ปุ่นมีส่วนละเอียดอ่อนมากมาย บางทีแค่เปลี่ยนวิธีพูดไปนิดหน่อยความหมายก็ผิดไปมากเลย บางทีอาจตีความยากชวนให้เข้าใจผิดได้ด้วย แต่ว่านั่นก็เพราะภาษาญี่ปุ่นมีความสามารถการแสดงออกที่หลากหลายมากด้วย คงมีคนไม่น้อยรู้สึกว่ามันยุ่งยาก แต่นี่ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น หากใช้ได้คล่องแล้วจะสะดวกมากทีเดียว

6. まわしが多くて曖昧あいまい場合ばあいも少なくない。これはたしかに仕方しかたないことだよね。今の日本語は日本社会しゃかい影響えいきょう形成けいせいそれてきたのだから。でもこれは日本文化ぶんかや人々にとってわかるための助けにもなる。それにこの問題はほとん口語こうごかぎることだ。書物しょもつにする場合ばあいあまり曖昧あいまいなく厳密げんみつに書くのが一般的いっぱんてきであるので読みやすい。
๖. วิธีการพูดอ้อมค้อมมากมาย บางทีก็มีความคลุมเครือ นี่ก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ เพราะเป็นอิทธิพลจากสภาพสังคมญี่ปุ่นนั่นเอง แต่นั่นก็ทำให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นตัวช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับคนญี่ปุ่นและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ด้วย อีกทั้งจริงๆแล้วลักษณะภาษาที่มีปัญหาดังที่ว่านั้นส่วนใหญ่จะเป็นแค่ในภาษาพูดเท่านั้น ในการเขียนหนังสือนั้นปกติจะเขียนอย่างรัดกุมเป็นระเบียบไม่คลุมเครือจึงอ่านได้ง่าย

7. 口語こうご文語ぶんごの違いがおおきい。上述じょうじゅつの通り、曖昧あいまいで言い回しの多い口語と、かたいけど厳密げんみつでわかりやすい文語、これは同じ日本語なのになかなか違うと感じる。それに個人差こじんさも多くておぼえなければならないパターンも多い。敬語けいご謙遜語けんそんごなどもかなり厄介やっかいである。でもこうやって場合ばあいおうじて使つかけすることで日本語の表現のゆたかさにつながるものでもある。
๗. ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความแตกต่างกันมาก ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ภาษาพูดที่คลุมเครือและมีรายละเอียดในการแสดงออกมากมาย กับภาษาเขียนที่เน้นความรัดกุมให้เข้าใจง่ายนั้นค่อนข้างต่างกันทั้งๆที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน อีกทั้งยังมีความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย ไหนจะคำสุภาพหรือคำยกย่อง วุ่นวายมากทีเดียว แต่ว่าการแยกใช้ต่างกันไปในกรณีต่างๆแบบนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลายในการแสดงออกของภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง

8. 語彙ごいおおすぎておぼれない。日本語は語彙ごいの組み合わせで新しい語彙ごいが作られることがよくあるから、これは実際に厄介やっかいなことだ。母語ぼごではないかぎり、日本人ほど語彙力ごいりょくを持つのは非常ひじょうむずかしくて大変たいへんなことになる。でもそのおかげこまかいことまで表現しやすくなる。よく使えればほかの言語では上手うまつたえることができない表現もある。
๘. คำศัพท์เยอะมาก จำไม่หวาดไม่ไหว นี่ก็เป็นเพราะว่าภาษาญี่ปุ่นมีประสมคำแล้วสร้างศัพท์ใหม่ขึ้นมามาก จึงเป็นเรือ่งยุ่งยากที่ต้องมาจำ สำหรับคนต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่แล้วเป็นการยากมากที่จะจำได้เท่าคนญี่ปุ่น ช่างลำบากอย่างช่วยไม่ได้เลย แต่ก็เพราะความหลายหลายนี้ทำให้อธิบายรายละเอียดอะไรได้ง่าย ถ้าสามารถใช้ให้คล่องแล้วจะสามารถอธิบายได้คล่องแม้แต่คำพูดที่ใช้ภาษาอื่นๆอธิบายได้ยาก

9. 方言ほうげんが多くて、違う地域ちいき言葉ことばでおたが意思いし疎通そつうできない場合も多い。日本の各地かくちにはいまでも方言の違いをたもっている。でも現代日本で標準語ひょうじゅんごが話せない人はほとんどいない。各地の言葉の違いを尊敬そんけいしてみとめながらみんなに共通語きょうつうごが通用するというのは日本のいいところでもある。方言に興味きょうみない外国人がいこくじんにとって無理むりせずに標準語だけマスターしていけばいい。
๙. มีความหลากหลายทางสำเนียงมาก แต่ละพื้นที่ในญี่ปุ่นพูดต่างกันจนอาจสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง เพราะญี่ปุ่นได้อนุรักษ์ความหลากหลายทางสำเนียงไว้อย่างดี เพียงแต่ปัจจุบันนี้ที่ญี่ปุ่นแทบทุกคนพูดสำเนียงมาตรฐานได้อยู่แล้ว และการที่ยอมรับในความหลากหลายทางภาษาแต่ทุกคนก็ยอมรับที่จะใช้ภาษากลางร่วมกันแบบนี้ถือเป็นเรื่องดีของญี่ปุ่น สำหรับคนต่างชาติที่ไม่ได้สนใจเรื่องสำเนียงก็ไม่ต้องฝืน ให้ตั้งใจเรียนแค่สำเนียงมาตรฐานให้ได้ก็พอแล้ว

以上いじょう、日本語の勉強はこのように色々いろいろ大変たいへんなところがあるけど、けっして無駄むだなことはない。面倒めんどうなところもちゃんと意味をっている。それらを理解して克服こくふくしてこのけわしい坂道さかみちのぼっていこう。
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องลำบากที่น่าจะต้องเจอเมื่อเรียนภาษาญี่ปุ่นกันไป แต่ก็ไม่ใช่เรื่องสูญเปล่า แม้แต่เรื่องที่ดูยุ่งยากก็ล้วนมีความหมายในตัวมันอยู่ พยายามทำความเข้าใจและพิชิตมันได้แล้วก็ปีนขึ้นทางลาดเขาอันสูงชันนี้ไปกันเถอะ



おまけに、私と日本語との出会いに関することはこの記事に書いてある
ส่วนสำหรับเรื่องการพบกันระหว่างเรากับภาษาญี่ปุ่นได้เขียนไว้ในบทความนี้
https://phyblas.hinaboshi.com/20220319


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文