φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



สถานีโคโงตะ จุดเปลี่ยนรถไฟที่สำคัญทางตอนเหนือของจังหวัดมิยางิ
เขียนเมื่อ 2022/10/08 20:47
แก้ไขล่าสุด 2023/09/29 10:34
#เสาร์ 8 ต.ค. 2022

วันนี้นั่งรถไฟไปเที่ยวทางตอนเหนือของจังหวัดมิยางิมา เป้าหมายคราวนี้มีอยู่ ๒ ที่คือเมืองวากุยะ (涌谷町わくやまち) และเมืองมินามิซันริกุ (南三陸町みなみさんりくちょう)

การเดินทางไปยังเมืองวากุยะนั้นไปได้โดยรถไฟ โดยจากสถานีเซนไดนั่งรถไฟสายหลักโทวโฮกุ (東北本線とうほくほんせん) ไปเปลี่ยนรถที่สถานีโคโงตะ (小牛田駅こごたえき) แล้วจึงนั่งรถไฟสายอิชิโนมากิ (石巻線いしのまきせん) ซึ่งเป็นสายรถไฟที่เชื่อมระหว่างสถานีโคโงตะไปยังเมืองอิชิโนมากิ (石巻市いしのまきし) และยาวไปถึงเมืองโอนางาวะ (女川町おながわちょう)

สถานีโคโงตะนี้เป็นจุดเปลี่ยนรถไฟที่สำคัญของรถไฟ ๓ สายด้วยกัน นอกจากสายหลักโทวโฮกุและสายอิชิโนมากิแล้วก็ยังมีสายริกุอุตะวันออก (陸羽東線りくうとうせん) ซึ่งสามารถนั่งไปถึงเมืองชินโจว (新庄市しんじょうし) จังหวัดยามางาตะได้

สำหรับตัวสถานีโคโงตะนั้นตั้งอยู่ในเมืองมิซาโตะ (美里町みさとまち) ซึ่งที่จริงแล้วเมืองนี้ในอดีตเคยมีชื่อว่าเมืองโคโงตะ (小牛田町こごたちょう) เช่นเดียวกับชื่อสถานี แต่ว่าในปี 2006 เมืองโคโงตะได้ถูกควบรวมเข้ากับเมืองนังโงว (南郷町なんごうちょう) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ข้างๆกัน พอรวมกันแล้วก็เลยตั้งชื่อใหม่เป็นเมืองมิซาโตะ

เมืองมิซาโตะนั้นเป็นแค่เมืองเล็กๆที่ไม่ได้มีสถานที่เที่ยวอะไรโดดเด่น จึงแค่มีบทบาทสำคัญในฐานะจุดเปลี่ยนรถไฟเท่านั้น

ตำแหน่งเมืองมิซาโตะภายในจังหวัดมิยางิ แสดงเป็นสีเหลืองเข้มในแผนที่




ในการเดินทางเที่ยวนี้เรานั่งรถไฟซึ่งออกจากสถานีเซนไดเวลา 8:11 และถึงสถานีโคโงตะเวลา 8:58 จากนั้นรถไฟรอบต่อไปที่จะวิ่งไปตามสายอิชิโนมากินั้นคือเวลา 9:27 นั่นทำให้มีช่วงเวลาว่างประมาณเกือบครึ่งชั่วโมง

ดังนั้นแทนที่จะรอรถไฟอยู่เฉยๆในสถานี เราก็ถือโอกาสเดินเที่ยวในตัวเมืองดูสักหน่อยด้วย แม้ว่าเมืองนี้จะไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษก็ตาม

สำหรับตอนแรกนี้จะเริ่มเล่าเรื่องการเดินทางจนถึงสถานีโคโงตะและบรรยากาศภายในเมืองแถวๆนั้น แล้วตอนต่อไปจึงเล่าเรื่องการเที่ยวในเมืองวากุยะ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักจริงๆของเที่ยวนี้



การเดินทางเริ่มจากสถานีเซนไดในตอนเช้า วันนี้อากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส เย็นสบาย




ชานชลาที่ขึ้นรถไฟไปตามสายหลักโทวโฮกุอยู่ทางนี้



ตอนที่มาถึงรถไฟได้จอดรออยู่แล้ว



ภายในรถไฟ



ระหว่างทางจากสถานีเซนไดไปยังสถานีโคโงตะนั้นผ่านหลายสถานี ระหว่างทางได้ถ่ายรูปบางสถานีเท่าที่จะมีโอกาสถ่ายได้ก่อนถึงปลายทาง เช่นสถานีคาชิมาได (鹿島台駅かしまだいえき) ซึ่งอยู่ในเขตเมืองโอซากิ (大崎市おおさきし) ที่จริงแถวนี้เคยเป็นเมืองคาชิมาได (鹿島台町かしまだいまち) แต่ในปี 2006 ถูกยุบรวมเข้ากับเมืองรอบๆข้างกลายเป็นเมืองโอซากิ



แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองโอซากิเป็นสีชมพูเข้ม จะเห็นว่าเป็นแนวยาวกินอาณาเขตขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของจังหวัดมิยางิ โอบล้อมรอบเมืองมิซาโตะอยู่



แล้วถัดมาก็ถึงสถานีมัตสึยามะมาจิ (松山町駅まつやままちえき) ซึ่งเป็นสถานีก่อนถึงสถานีโคโงตะ สถานีนี้ก็อยู่ในเขตเมืองโอซากิเช่นกัน โดยเมื่อก่อนเคยเป็นอีกเมืองชื่อเมืองมัตสึยามะ (松山町まつやままち) แต่ถูกยุบรวมเข้ากับเมืองโอซากิในปี 2006 เช่นเดียวกับเมืองคาชิมาได



แล้วในที่สุดก็มาถึงสถานีโคโงตะ



ที่สถานีนี้มีคนพลุกพล่านไม่น้อย เพราะเป็นจุดเปลี่ยนรถที่สำคัญ



จากนั้นเราก็แตะบัตรเพื่อออกมาจากสถานีนี้ ค่าโดยสารเป็น ๗๗๐ เยน



จากนั้นก่อนอื่นเรามาที่เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติเพื่อซื้อตั๋วสำหรับไปยังสถานีวากุยะ (涌谷駅わくやえき) ราคาตั๋ว ๒๑๐ เยน ต้องซื้อแยกอีกทีเพราะว่ารถไฟสายนี้ไม่สามารถใช้ Suica ได้




ที่จริงแล้วถ้าเราแค่มาเปลี่ยนรถไฟเฉยๆ โดยรออยู่ภายในสถานีนี้ไม่ได้ออกไปไหนละก็ ค่ารถไฟจากสถานีเซนไดถึงสถานีวากุยะคือ ๘๖๐ เยนเท่านั้น แต่เพราะเราต้องการออกมาเดินเล่นนอกสถานีระหว่างรอรถ จึงต้องจ่ายเป็น ๗๗๐ + ๒๑๐ = ๙๘๐ เยน ซึ่งก็แพงขึ้นหน่อย แต่ก็คุ้มที่ทำให้ได้ออกมาเดินเล่น ดีกว่าจะให้นั่งรออยู่ในสถานีตั้งเกือบครึ่งชั่วโมง

แล้วเราก็ออกมานอกสถานี ถ่ายภาพสถานีจากด้านหน้า




แล้วเราก็เริ่มเดินไปทางตะวันตก เป้าหมายคือที่ว่าการเมืองมิซาโตะ (美里町役場みさとまちやくば) ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเป็นสถานที่ที่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่ว่าไหนๆมาเมืองนี้แล้วก็น่าลองแวะไปยังที่ว่าการเมือง ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของเมืองนั้นๆ

เสานาฬิกาหน้าสถานี



ถนนหน้าสถานี






ตรงนี้เป็นสวนสาธารณะเล็กๆ เรียกว่าสวนสาธารณะหน้าสถานีโคโงตะ (小牛田駅前公園こごたえきまえこうえん)



เดินต่อมาตามทางเรื่อยๆ





แล้วก็มาถึงอาคารที่ว่าการเมืองมิซาโตะ ซึ่งก็ไม่มีอะไร และเป็นวันเสาร์จึงเปิดทำการอยู่ด้วย





จากนั้นก็ใกล้เวลาแล้ว จึงรีบวิ่งตามเส้นทางเดิม กลับมายังสถานีมิซาโตะให้ทัน ไม่ให้ตกรถไฟ




ตอนที่มาถึงเป็นเวลา 9:23 ซึ่งก็ทันรถไฟรอบ 9:27 ที่จะขึ้น




รถไฟสายอิชิโนมากินั้นมีเพียงโบกี้เดียวเล็กๆ




ภายในขบวนรถไฟ



แล้วรถไฟก็ออก ระหว่างทางผ่านสถานีคามิวากุยะ (上涌谷駅かみわくやえき) ซึ่งเป็นสถานีเล็กๆภายในเมืองวากุยะ




แล้วถัดมาในที่สุดรถไฟก็มาถึงสถานีวากุยะเวลา 9:35 ใช้เวลาแค่ ๘ นาทีเท่านั้น

ที่สถานีนี้ไม่มีคนตรวจตั๋ว ดังนั้นตอนลงจากสถานีนี้จะต้องคืนบัตรให้คนขับรถไฟด้วย



แล้วก็ลงจากรถไฟมา ได้เวลาเที่ยวแล้ว




ตอนต่อไปจะได้เวลาเล่าถึงการท่องเที่ยวในเมืองนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20221009



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文