φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เที่ยวพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสึมิดะใต้ฐานโตเกียวสกายทรีก่อนเดินทางกลับ
เขียนเมื่อ 2023/05/25 19:10
แก้ไขล่าสุด 2023/05/27 05:01
# ศุกร์ 19 พ.ค. 2023

หลังจากที่ได้ขึ้นไปบนหอคอยของโตเกียวสกายทรีมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20230524

ต่อมาเราจะปิดการเที่ยวครั้งด้วยการการเที่ยวพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสึมิดะ (すみだ水族館すいぞくかん) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณฐานของโตเกียวสกายทรี

หลังจากที่ลงจากหอคอยมา เราก็มาโผล่ชั้น ๕ จากตรงนี้มองลงไปตรงระเบียงชั้น ๔ เห็นว่าฝนกำลังตกอยู่



พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นอยู่แยกจากส่วนห้างแสะส่วนหอคอย แต่ก็เชื่อมกันอยู่ด้วยระเบียงชั้น ๔ ซึ่งเป็นกลางแจ้ง แต่มีส่วนที่ร่ม ทำให้เดินข้ามไปได้โดยไม่ต้องกางร่ม



บันไดทางขึ้นไปยังส่วนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ อยู่ชั้น ๕ ของอาคาร



หน้าทางเข้า



เมื่อเข้ามาก็ต้องมาซื้อตั๋วเข้าชมก่อน ค่าเข้าชม ๒๕๐๐ เยน



ซื้อเสร็จเดินเข้ามา ผ่านที่ตรวจตั๋วตรงนี้เข้าไป



จากนั้นเดินขึ้นไป เริ่มชมจากชั้น ๖ ก่อน



เมื่อเข้ามาถึงด้านใน ส่วนแรกที่พบก็คือตู้ที่มีพวกปลาเล็กๆ แต่ว่าบนตู้ไม่ได้เขียนบอกอะไรเลยไม่รู้ว่าเป็นปลาอะไร




ถัดมาเป็นตู้ที่มีแมงกะพรุน เห็นแมงกะพรุนสวยๆมากมายล่องลอยไปมาในน้ำ แมงกะพรุนไฟ Chrysaora fuscescens



ส่วนี่คือแมงกะพรุนแดง Chrysaora pacifica



ตัวเล็กๆนี่คือแคนนอนบอลเจลลี Stomolophus meleagris



ตู้กระจกรูปโค้ง มีแมงกะพรุนหลายชนิดอยู่



ที่เด็ดคือตู้ตรงนี้ เป็นสระขนาดใหญ่ที่มีแมงกะพรุนเต็มไปหมด ดูสวยดีแต่ก็น่ากลัว ถ้าหากตกลงไป




ส่วนตรงนี้เป็นตู้ขนาดใหญ่ที่นำลองระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตหมู่เกาะโองาซาวาระ (小笠原おがさわら)



ตรงนี้มีบอกว่ามีปลาอะไรอยู่บ้าง



ตู้นี้ขนาดใหญ่มาก กินพื้นที่ ๒ ชั้น ทั้งชั้น ๕ และชั้น ๖ โดยสามารถมองจากชั้น ๖ ตรงนี้ก็ได้ ลงไปดูจากชั้น ๕



ส่วนตรงนี้เป็นตู้ยาวๆหลายตู้ที่ใส่ปะการังและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกับปะการัง






อันนี้ปลาปักเป้าหนู Diodon hystrix



ส่วนในตู้นี้เต็มไปด้วยปลาไหลอานาโงะ (穴子アナゴ) ตัวเล็กๆที่ชอบมุดดินอยู่




ตรงนี้เลี้ยงเต่าที่มาจากโองาซาวาระไว้ ๒ ตัว พร้อมบันทึกการเจริญเติบโต




ตู้ตรงนี้ก็มีเต่า



ซาลามานเดอร์โตเกียว Hynobius tokyoensis



ตรงส่วนชั้น ๖ ก็เดินทั่วแล้ว ที่เหลือก็เดินลงชั้น ๕



จากชั้น ๖ นั้นสามารถมองลงไปเห็นสระขนาดใหญ่ที่อยู่ชั้น ๕ ได้ โดยสระนี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน ฝั่งนี้เป็นส่วนเลี้ยวแมวน้ำ



และอีกส่วนเลี้ยงเพนกวิน ทั้ง ๒ ส่วนนี้แยกขาดจากกันโดยมีหินตรงกลางกั้น ถ้าปล่อยให้แมวน้ำกับเพนกวินมาเจอกันคงจะเจอปัญหาเพราะจะโดนจับกัน




ลงมาด้านล่าง ดูสระเพนกวินอย่างใกล้ชิด





ส่วนตรงนี้ก็มีแมงกะพรุนอีกแล้ว



ตู้นี้เป็นแมงกะพรุนสายพันธุ์ Cassiopea ornata จะเห็นว่ามันเอาส่วนหัวลงแล้วจมอยู่ใต้ก้นตู้ ชื่อภาษาญี่ปุ่นก็คือ サカサクラゲ แปลว่าแมงกะพรุนกลับหัว



ตรงนี้เป็นทางเดินที่มีตู้ปลาทองวางอยู่




เดินเข้ามาด้านใน เห็นทางขวาเป็นสระที่แมวน้ำอยู่



ตรงนี้เป็นถ้ำที่เข้าไปดูตู้แมวน้ำจากข้างใต้ได้



แต่แมวน้ำว่ายน้ำเร็ว เลยถ่ายภาพชัดๆไม่ได้เลย



แต่กลับถ่ายภาพนักประดาน้ำที่อยู่ในนี้ได้แทน



จากนั้นก็หมดแต่เพียงเท่านี้ เดินออกไปทางนี้



พอออกมาจากส่วนจัดแสดงสัตว์น้ำก่อนจะออกไปถึงด้านนอกก็ต้องผ่านร้านขายของที่ระลึก ซึ่งใหญ่พอสมควร มีอะไรมากมาย




ที่น่าสนใจคือพวกตุ๊กตารูปสัตว์น้ำต่างๆ ซึ่งก็ดูสวยงามน่ารักน่าซื้อไปใช้กอดเล่นทั้งนั้น






หลังจากนั้นก็แวะกินมื้อเที่ยงที่ร้านอาหารที่อยู่ในตึกนั้น ตอนแรกคิดว่าจะมีแต่ร้านแพงๆ แต่ก็เจอร้านที่ไม่ได้แพงอย่างที่คิด



เมนูของร้านนี้ มีที่ไม่ถึงพันอยู่ด้วย



ที่เราสั่งกินคือราเมงคนเนียกุ (こんにゃくラーメン) ซึ่งไม่ใช้เส้นราเมง แต่เอาคนเนียกุมาทำเป็นเส้นแทนราเมง ก็อร่อยดี ราคา ๘๙๐ เยน



เสร็จแล้วเราก็เดินลงมาชั้น ๑ มายังที่ฝากกระเป๋าเพื่อเอาสัมภาระที่ฝากไว้คืน



จากนั้นก็ได้เวลาเดินทางกลับกันแล้ว โดยไปขึ้นรถไฟจากสถานีโอชิอาเงะ (押上駅おしあげえき)

ภาพระหว่างทางเดินไปหาสถานี




ตัวสถานีอยู่ใต้ดิน ต้องเดินลงไป



จากนั้นเราก็แยะจกาเพื่อนตรงนี้ เพราะเพื่อนจะเดินทางไปยังสนามบินนาริตะเพื่อบินกลับไทย ส่วนเราจะไปที่สถานีอุเอโนะเพื่อนั่งชิงกันเซง สามารถขึ้นจากสถานีโอชิอาเงะได้เหมือนกันแต่ไปคนละทาง



การเดินทางจากสถานีโอชิอาเงะไปสถานีอุเอโนะนั้นต้องต่อรถที่สถานีอาซากุสะ (浅草駅あさくさえき)



แล้วเราก็มาถึงสถานีอุเอโนะ



ซื้อตั๋วเดินทางจากอุเนโนะไปเซนได ยามาบิโกะ รอบเวลา 15:06 และไปถึงเซนไดเวลา 16:57



หลังจากนั้นก็เดินทางกลับถึงเซนไดตามเวลา เป็นอันจบการพาเพื่อนเที่ยวญี่ปุ่น ๕ วันเพียงเท่านี้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ท่องเที่ยว >> สวนสัตว์ >> พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文