φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยคันไซกับสถานีซึยตะและรถไฟขากลับ
เขียนเมื่อ 2024/03/11 06:40
แก้ไขล่าสุด 2024/03/22 05:00
# เสาร์ 2 มี.ค. 2024

ต่อจากตอนที่แล้วที่ได้มาตามรอยอนิเมะ CLANNAD ถึงแถวมหาวิทยาลัยคันไซ (関西大学かんさいだいがく) ตั้งอยู่ในเมืองซึยตะ (吹田市すいたし) จังหวัดโอซากะ https://phyblas.hinaboshi.com/20240310

ไหนๆก็แวะมาแล้วก็ขอถือโอกาสชมภายในมหาวิทยาลัยนี้ด้วย ซึ่งก็ดูแล้วเป็นมหาวิทยาลัยที่ดูสวยงามและน่าอยู่กว่าที่คิด

ภายในนี้มีพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยคันไซ (関西大学博物館かんさいだいがくはくぶつかん) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่จัดแสดงด้านโบราณคดี มีพวกวัตถุโบราณที่คนสมัยก่อนได้เหลือทิ้งเอาไว้ การเดินเที่ยวในมหาวิทยาลัยครั้งนี้จึงใช้เวลาภายในพิพิธภัณฑ์นี้เป็นหลัก ส่วนจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ไม่ใหญ่มาก และเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

แล้วหลังจากที่ชมมหาวิทยาลัยเสร็จก็เดินทางกลับไปยังสถานีชินโอซากะ นั่งชินกันเซงไปลงสถานีโตเกียว แวะไปอากิฮาบาระเจอเพื่อน แล้วสุดท้ายจึงเดินทางนั่งชิงกันเซงต่อกลับถึงเซนได เป็นอันสิ้นสุด


ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย อาคารต่างๆดูออกแบบมาสวยดี หลายหลังก็ดูมีเอกลักษณ์















อาคารพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย



เข้าไปชมด้านใน






ส่วนแรกตรงนี้จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนี้



ภายในเล็กนิดเดียว และไม่ได้มีพวกของจริงอะไรวางอยู่ ดูผ่านๆแป๊บเดียวก็เสร็จ





ส่วนหลักของพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นที่จัดแสดงพวกวัตถุโบราณต่างๆอยู่ทางนี้




ตรงนี้เริ่มจัดแสดงพวกวัตถุเก่าแก่สุดตั้งแต่ยุคโจวมง (縄文時代じょうもんじだい, ประมาณ 14000-300 ปีก่อน ค.ศ.)




พวกเครื่องปั้นเป็นรูปตุ๊กตาทำจากดิน



อันนี้เป็นไหสำหรับฝังศพเด็ก



ส่วนตรงนี้เป็นพวกของยุคยาโยอิ (弥生時代やよいじだい, ประมาณ 300 ปีก่อน ค.ศ. - กลางศตวรรษที่ 3)




ระฆังสำริด



ทางนี้เป็นส่วนของวัตถุยุคโคฟุง (古墳時代こふんじだい, กลางศตวรรษที่ 3 - ศตวรรษที่ 7) ซึ่งเป็นส่วนที่มีเยอะที่สุด



ฮานิวะ (埴輪はにわ)





ส่วนตรงนี้มีของยุคอาสึกะ (飛鳥時代あすかじだい, ปี 592-710) และยุคนาระ (奈良時代, ปี 710-794) มีไม่มาก ไม่ใช่ส่วนหลักของที่นี่



ตรงนี้มีวางโลงศพดินเผา



หัวพระพุทธรูปของวัดโควฟุกุ (興福寺こうふくじ) ในเมืองนาระ แต่ว่านี่เป็นของจำลอง



ชุดเกราะยุคโคฟุงที่สร้างจำลองขึ้นตามข้อสันนิษฐาน



คินุงาตะฮานิวะ (𧞔形埴輪きぬがたはにわ) ในป้ายที่เขียนอธิบายจะใช้อักษร 𧞔 ที่เกิดจากการประกอบระหว่าง 衤 กับ 蓋 แต่ว่าอักษรนี้ไม่มีไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้ทั่วไปจึงมักเขียนเป็นแค่ ไปเลยเฉยๆมากกว่า



ชมพิพิธภัณฑ์เสร็จเท่านี้ จากนั้นก็เดินออกมาแล้วก็ได้เวลาเดินทางกลับ โดยขากลับเราเลือกที่จะขึ้นรถเมล์ไปลงสถานีรถไฟ

ระหว่างทางเดินไปยังอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยก็ชมทิวทัศน์สวยๆในบริเวณนี้แล้วก็ถ่ายภาพไปเรื่อย








ตรงนี้มีสนามเบสบอล เห็นคนกำลังเล่นกันอยู่ด้วย



แถวนี้ดูจะเป็นนอกบริเวณมหาวิทยาลัยแล้ว





แล้วก็มาถึงป้ายรถเมล์ที่จะขึ้นเพื่อกลับคือป้ายคามิยามาเตะโจว (上山手町かみやまてちょう)



รอจนรถเมล์มา



ภายในรถเมล์



แล้วก็มาลงที่หน้าสถานีซึยตะ (吹田駅すいたえき) โดยที่อันนี้เป็นสถานีของการรถไฟญี่ปุ่น JR ในขณะที่นอกจากนี้แล้วยังมีอีกสถานีที่เป็นของฮังกิว (阪急はんきゅう) อยู่ไกลจากตรงนี้ไปอีก ถือเป็นคนละแห่งกัน ดังนั้นต้องระวังขึ้นผิดที่ด้วย

จากจุดป้ายรถเมล์ที่ลงมายังไม่ถึงทางเข้าสถานี ต้องเดินต่ออีกนิด







แถวนี้ดูมีตึกมากอยู่ มองไปเห็นตึกสูง



ทางเข้าไปในสถานี



ผ่านที่ตรวจตั๋ว




เข้ามารอรถในบริเวณชานชลา






ระหว่างทางรถไฟมีแวะจอดทีนึงที่สถานีฮิงาชิโยโดงาวะ (東淀川駅ひがしよどがわえき) อยู่ในเขตเมืองโอซากะ



แล้วก็มาถึงสถานีชินโอซากะ



แล้วก็มาที่เครื่องขายอัตโนมัติ ซื้อตั๋วชิงกันเซงไปยังโตเกียวโดยที่ยังไม่ต้องแตะบัตรออกไปโดยหยิบบัตร Suica ที่ใช้แตะจากสถานีซึยตะมาด้วย เครื่องจะทำการคิดตังค์ค่าเดินทางจากสถานีซึยตะ รวมกับค่าชิงกันเซงแบบไม่ระบุที่นั่งจากชินโอซากะไปยังโตเกียว รวมเป็น ๑๔,๐๔๐ เยน



มารอชิงกันเซงที่ชานชลา



ขบวนที่ขึ้นคราวนี้คือโนโซมิรอบ 14:06 คนมารอขึ้นเพียบ ต่อแถวยาว



แล้วพอขึ้นมาก็พบว่าในโบกี้แบบไม่ระบุที่นั่งนั้นเบียดจนแทบไม่มีที่นั่ง มีหลายคนที่ยืนอยู่ ตอนแรกคิดว่าเราก็อาจต้องยืนด้วย แต่ก็ยังดีที่พอจะหาที่นั่งได้ เพียงแต่ว่าไม่ใช่ที่ริมหน้าต่าง อยากมองทิวทัศน์ก็ไม่ง่าย



ระหว่างทางได้ดื่มชาชิซึโอกะซึ่งซื้อที่ตู้ขายอัตโนมัติในชานชลาตอนที่รอ ชานี้มีรูปภูเขาฟุจิ ดูแล้วเข้ากันดีกับการนั่งชิงกันเซงสายนี้ซึ่งผ่านบริเวณที่มองเห็นภูเขาฟุจิได้ในบริเวณจังหวัดชิซึโอกะ



จากนั้นชิงกันเซงก็แวะจอดที่สถานีเกียวโต เราพยายามหาที่นั่งริมหน้าต่าง แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จนมาแวะจอดอีกทีที่สถานีนาโงยะ ในที่สุดก็ได้ที่นั่งริมหน้าต่างจนได้ เรียกได้ว่าต้องมาคอยรอแย่งที่นั่งกันดุเดือด ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะให้ได้ชมภูเขาฟุจิระหว่างทางเหมือนอย่างตอนขามา



ตั๋วสำหรับเดินทางครั้งนี้ ถ่ายหลังจากที่ได้ที่นั่งริมหน้าต่างแล้ว



จากนั้นก็ผ่านแถวที่ภูเขาไฟฟุจิอยู่ แล้วก็ต้องพบกับความเป็นจริงที่น่าเสียดายว่าแถวนั้นกำลังเมฆหน้าทำให้มองไม่เห็นภูเขาฟุจิเลย จังหวะไม่ดีเท่าไหร่ แต่ดูเหมือนว่านี่จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะอย่างน้อยตอนขาไปก็ได้เห็นไปแล้วทีนึง เท่านี้ก็เพียงพอ อย่างน้อยทิวทัศน์ก็สวย ไม่ได้เสียเปล่าที่อุตส่าห์พยายามแย่งที่นั่งริมหน้าต่าง



แล้วก็เดินทางมาถึงสถานีโตเกียว



หลังจากนั้นก็เดินออกจากส่วนชานชลาชิงกันเซง เข้าสู่ส่วนที่ขึ้นรถไฟธรรมดา โดยที่ไม่ต้องออกไปด้านนอก มานั่งสายยามาโนเตะ



ลงที่สถานีอากิฮาบาระ นัดเจอเพื่อนตรงนี้ เป็นเพื่อนคนไทยที่ไม่ได้เจอกันนานแล้วเพิ่งรู้ว่ามาทำงานอยู่โตเกียว และชอบอนิเมะเหมือนกัน



ในช่วงนั้นที่ห้างอาเตรข้างๆสถานีอากิฮาบาระจัดร้านเป็นอนิเมะบจจิเดอะร็อก! (ぼっち・ざ・ろっく!)



จากนั้นก็ได้แวะไปหาอะไรกินแถวนั้น



ก็เจอร้านจิเงมงจัมปง (じげもんちゃんぽん)



ทั้ง ๒ คนกินคุโระจัมปง (黒ちゃんぽん) เพื่อนสั่งชามใหญ่ ราคา ๑๒๐๐ เยน เราสั่งชามเล็ก ราคา ๙๐๐ เยน ถ่ายรูปมาเทียบให้เห็นความแตกต่าง



จากนั้นก็ย้อนกลับมาที่ร้านอาเตรใกล้สถานีอากิบะ



ภายในนี้ตอนนี้เต็มไปด้วยพวกบจจิจัง



ขึ้นมาเจอร้านขายสินค้าเกี่ยวกับอนิเมะเรื่องนี้



ร้านไม่กว้างแต่คนมาเดินเต็มจนแน่นเลย






ของจำนวนมากขายหมดไปแล้วเพราะเป็นตอนเย็น แต่ก็ยังเห็นเหลืออะไรให้ดูอยู่



หลังจากนั้นก็ได้เวลาเดินทางกลับ โดยจากห้างอาเตรนี้มีทางเชื่อมไปยังสถานีอากิฮาบาระโดยตรง



เดินขึ้นรถไฟไปพร้อมกับเพื่อนด้วยเพราะไปทางเดียวกัน



แล้วเราก็ลงที่สถานีโตเกียว แยกจากเพื่อนตรงนี้



จากนั้นก็มาที่ช่องซื้อตั๋วชิงกันเซง ซึ่งอยู่ภายในด้านในไม่ต้องแตะบัตรผ่านที่ตรวจตั๋วออกไป ซื้อตั๋วชิงกันเซงสำหรับไปเซนไดจากตรงนี้ ค่าตั๋ว ๑๑,๔๑๐ เยน



เดินมาขึ้นรถไฟขบวนฮายาบุสะ (はやぶさ) รอบ 19:20 ไปถึงเซนไดเวลา 20:52



ตั๋วชิงกันเซงคราวนี้



จากนั้นก็กลับถึงเซนได สิ้นสุดการเดินทางระยะไกลที่สุดครั้งนี้ลงเท่านี้

ตารางสรุปค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งหมด

  ต้นทาง ปลายทาง วิธีเดินทาง ค่าโดยสาร
29
ก.พ.
เซนได โคกุระ ชิงกันเซง 29580
โคกุระ ทังงะ รถไฟรางเดี่ยว 100
1
มี.ค.
โคกุระ ฮากาตะ รถไฟ JR 1310
หน้าศาลเจ้าคุชิดะ ฮากาตะ รถไฟใต้ดิน 210
ฮากาตะ คาโดมัตสึ รถไฟ JR 230
2
มี.ค.
คาโดมัตสึ ฮากาตะ รถไฟ JR 230
ฮากาตะ ชินโอซากะ ชิงกันเซง 14750
ชินโอซากะ เรียวกุจิโควเอง รถไฟไต้ดิน 270
คามิยามาเตะ ซึยตะ รถเมล์ 230
ซึยตะ-ชินโอซากะ โตเกียว-อากิฮาบาระ รถไฟ JR + ชิงกันเซง + รถไฟ JR 14040
อากิฮาบาระ-โตเกียว เซนได รถไฟ JR + ชิงกันเซง 11410
   รวม 72360



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ท่องเที่ยว >> มหาวิทยาลัย
-- ประเทศญี่ปุ่น >> โอซากะ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文