φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เดินกลับมากินยากิคาเรของขึ้นชื่อของโมจิโกวเรโทรแล้วเดินเล่นก่อนนั่งรถไฟกลับ
เขียนเมื่อ 2024/12/07 22:43
แก้ไขล่าสุด 2024/12/09 19:17
# พุธ 13 พ.ย. 2024

บันทึกการเที่ยวคิตะคิวชูต่อ หลังจากที่ตอนที่แล้วปีนเขาโคโจวเสร็จแล้วเดินกลับลงมา https://phyblas.hinaboshi.com/20241206

ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของการเที่ยวโมจิโกวแล้ว โดยแวะไปเดินแถวย่านใกล้สถานีโมจิโกว หาอะไรกินเสร็จแล้วก็กลับ

จากตอนที่แล้วเพื่อนเราไม่ได้ขึ้นไปปีนเขาด้วย จึงได้กลับไปเดินแถวโมจิโกวก่อนแล้ว และเราใช้เวลาบนเขาไปนานกว่าที่คิดจึงรีบเดินกลับเพราะไม่อยากให้รอนาน

ที่จริงตอนแรกยังตั้งใจว่าจะนั่งรถเมล์เพื่อกลับไปยังตรงสถานีโมจิโกว แต่รอบรถเมล์มีน้อย มีประมาณชั่วโมงละเที่ยวเท่านั้น และตอนที่เราเดินลงมาถึงป้ายรถเมล์บนถนนหลักด้านล่างก็เลยเวลารถเมล์ไปนานแล้ว กว่าจะถึงรอบถัดไปก็อีกนาน ดังนั้นจึงได้แต่เดินกลับ



ระหว่างทางเดินกลับ โดยหลักแล้วก็ผ่านทางเดิมที่เดินมาตอนแรก




ผ่านตรงริมทางรถไฟที่เต็มไปด้วยใบไม้เปลี่ยนสี





แล้วก็ผ่านสถานีหอศิลป์อิเดมิตสึ (出光美術館駅いでみつびじゅつかんえき) ซึ่งเป็นอีกสถานีของสายท่องเที่ยวโมจิโกวเรโทร ตอนแรกเราไม่ได้เดินผ่านตรงนี้เพราะไปเดินเลียบทะเลมาก่อน




แล้วก็มองเห็นตึกโมจิโกวเรโทรไฮมาร์ตตั้งเด่นเหมือนตอนขาไป



แล้วก็เดินกลับมาจนถึงย่านร้านค้าริมฝั่งก่อนถึงสถานีโมจิโกว เจอเพื่อนตรงนี้



ตอนมาถึงเพื่อนกำลังกินขนมทาโกะโนะฮิบิกิ (たこの響き) เป็นเซมเบ้ไส้หมึกยักษ์แผ่นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่กว้าง ๓๖ ซม. ราคา ๗๐๐ เยน เราเลยขาแบ่งมากินด้วยนิดหน่อย แต่ไม่ได้ถ่ายรูปเอาไว้ ก็อร่อยดีแต่เคี้ยวยาก



แล้วก็มาหาร้านอาหารกิน ก็เจอร้านโมจิโกวเรโทรโชกุโดว (門司港もじこうレトロ食堂しょくどう) ซึ่งขายยากิคาเร (きカレー) ของขึ้นชื่อของย่านโมจิโกว เป็นข้าวราดแกงกะหรี่และเนยแข็งทำโดยการอบ



ตัวร้านอยู่ที่ชั้น ๒ ของตึกนี้




ภายในร้าน




เมนู มียากิคาเรให้เลือกหลายแบบ



เรา ๒ คนสั่งยากิคาเรใส่เนื้อวาฬ (くじら, คุจิระ) กับปลาปักเป้า (ふぐ, ฟุงุ) ซึ่งก็มีอยู่ ๒ ชิ้นทั้งคู่ ราคา ๑๓๐๐​ เยนเหมือนกัน (ในเมนูเขียน ๑๕๐๐ เป็นแบบชุดพร้อมสลัดและของหวาน แต่เราสั่งเดี่ยวเลยถูกลง ๒๐๐ เยน) แล้วก็เอามาสลับกันจะได้กินทั้งคู่

หน้าปลาปักเป้า



หน้าเนื้อวาฬ



หลังจากสลับเอาชิ้นนึง



ก็กินแล้วอร่อยดี เป็นครั้งแรกเลยด้วยที่ได้กินเนื้อวาฬ ก็ไม่คิดว่าจะได้มีโอกาสมากินที่นี่



กินเสร็จมาเดินเล่นในย่านนี้ต่ออีกหน่อย



ที่เห็นตั้งเด่นริมน้ำตรงนี้คือบานานาแมน (バナナマン) เป็นตัวละครของที่นี่ เนื่องจากที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องกล้วย มีคนมาถ่ายรูปคู่กับบานานาแมนกันเยอะเลย



ตรงนี้มีฝาท่อโปเกมอน (https://local.pokemon.jp/tc/manhole/desc/201/)



ฝาท่อนี้โปเกมอนที่ปรากฏคือ เซอร์ไนต์ (サーナイト) กับ ลูนาโทน (ルナトーン) นอกจากนั้นแล้วที่จริงในเมืองคิตะคิวชูมีฝาท่อโปเกมอนอยู่ถึง ๕ แห่ง แต่เราไม่ได้ไปตามเก็บที่อื่น อันนี้ที่จริงคือแค่เจอโดยบังเอิญ ตอนแรกไม่รู้ว่าที่นี่มีฝาท่อโปเกมอนด้วยเลย



จากนั้นเข้ามาเดินในอาคารไคเกียวพลาซา (海峡かいきょうプラザ) ซึ่งมีร้านมากมาย รวมถึงร้านขายของฝาก



ตรงนี้ขายพวกของขึ้นชื่อของโมจิโกว โดยมีเขียนอันดับของขึ้นชื่อไว้ด้วย โดยอันดับ ๑ ก็คือยากิคาเร นั่นเอง ส่วนอันดับ ๒ คือคัสเตลลากล้วย (バナナカステラ)



ยากิคาเรก็มีขายตรงนี้ด้วย คงซื้อกลับไปทำกินเองได้ และยังมีแกงกะหรี่กล้วย (バナナカレー) ด้วย แปลกดี



นอกนั้นก็มีคุกกีวาฟเฟิลที่ทำจากเกลือในช่องแคบคัมมง



ตรงนี้ยังมีของขึ้นชื่อของเมืองชิโมโนเซกิที่อยู่ฝั่งตรงข้ามด้วย



เดินเสร็จแล้วก็ไม่มีอะไรแล้ว เราไม่ได้ซื้ออะไรกลับไปเป็นพิเศษ



จากนั้นก็เห็นควรแก่เวลาที่จะไปยังสถานีเพื่อขึ้นรถไฟเดินทางกลับแล้ว ตอนนี้ก็เดินดูแถวนี้จนพอใจแล้วด้วย ที่จริงเรายังไม่ได้ดูพวกพิพิะภัณฑ์ต่างๆเลย แต่ถ้าหากจะดูทั้งหมดละก็ทั้งวันก็อาจไม่พอ เรายังต้องไปเที่ยวที่โคกุระด้วย ดังนั้นการเดินเที่ยวโมจิโกวครั้งนี้จึงแค่เดินชมเอาบรรยากาศเป็นหลัก แต่ไว้ในอนาคตน่าจะยังมีโอกาสมาที่นี่อีก ถึงตอนนั้นอาจค่อยมาตามเก็บอีกทีก็ได้

ระหว่างทางเดินกลับก็ผ่านอาคารโอซากะโชวเซงเก่าเมืองคิตะคิวชู (北九州市旧大阪商船きたきゅうしゅうしきゅうおおさかしょうせん) เป็นอาคารเก่าแก่แห่งหนึ่งของที่นี่ สร้างในปี 1917



แล้วก็กลับมาจนถึงสถานี




เดินแตะบัตร Suica ผ่านที่ตรวจตั๋วเข้าไปยังชานชลา




แล้วก็ขึ้นรถไฟเพื่อกลับ โดยได้ขึ้นรอบที่ออกเวลา 14:03 ซึ่งไปถึงสถานีโคกุระเวลา 14:16




แล้วเราก็นั่งรถไฟย้อนกลับไปเที่ยวที่โคกุระต่อ เป็นอันจบการเที่ยวโมจิโกวแค่นี้ ตอนต่อไปจะเป็นการเที่ยวโคกุระ https://phyblas.hinaboshi.com/20241208



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุโอกะ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> ทะเล
-- บันเทิง >> เกม >> โปเกมอน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文