φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



pyqt เบื้องต้น บทที่ ๗: การใส่รูปภาพ
เขียนเมื่อ 2021/08/09 10:39
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๖

บทนี้จะพูดถึงการเอาภาพมาใส่วางใน GUI รวมถึงการปรับขนาดภาพให้ได้ขนาดที่ต้องการด้วย




การใส่รูป {.setPixmap QPixmap}

การใส่รูปภาพทำได้โดยใช้เมธอด .setPixmap ใน QLabel โดยใส่ออบเจ็กต์ของคลาส QPixmap ลงไป

คลาส QPixmap นั้นเป็นคลาสของออบเจ็กต์ที่ใส่รูปภาพ เรียกใช้ได้จาก PyQt5.QtGui

เช่นลองใช้ภาพนี้เป็นตัวอย่าง

chinousa.jpg (ที่มา https://www.pixiv.net/artworks/62718666)

chinousa.jpg


เขียนโค้ดให้แสดงภาพนี้ขึ้นมา
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel
from PyQt5.QtGui import QPixmap

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.setWindowTitle('จิโนะกับกระต่ายน้อย')
natang.resize(291,353)
rup = QLabel(natang)
rup.setPixmap(QPixmap('chinousa.jpg'))
rup.move(10,10)
natang.show()
qAp.exec_()






การดูข้อมูลขนาดของภาพ {.width .height .size}

ข้อมูลขนาดของภาพสามารถดูได้จากเมธอด .width, .height และ .size โดยหากต้องการดูแค่ขนาดแนวนอน (ความกว้าง) ก็ใช้ .width() ถ้าดูแค่แนวตั้ง (ความสูง) ก็ใช้ .height() และหากต้องการทั้งความกว้างและความสูงก็อาจใช้ .size() โดยผลที่ได้มานั้นจะเป็นออบเจ็กต์ชนิด QSize ซึ่งมีข้อมูลทั้งความกว้างและความสูงบรรจุอยู่

ต่อไปขอยกตัวอย่างโดยใช้ภาพนี้

senkomofumofu.jpg (ที่มา https://www.pixiv.net/artworks/74360894)


ลองให้โปรแกรมทำการตรวจดูขนาดของภาพเอาเอง แล้วกำหนดขนาดของหน้าต่างให้พอดีตามนั้นไป
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel
from PyQt5.QtGui import QPixmap

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
rup = QLabel(natang)
pix = QPixmap('senkomofumofu.jpg')
rup.setPixmap(pix)
rup.move(15,15) # วางภาพที่ตำแหน่ง 15,15
khanat = pix.size() # ดูขนาด
print(khanat) # ได้ PyQt5.QtCore.QSize(300, 363)
# ตั้งขนาดหน้าต่างให้ใหญ่กว่ารูปภาพสัก 30 พิกเซล
natang.setFixedSize(pix.width()+30,pix.height()+30)
natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้ภาพแบบนี้ขึ้นมา ซึ่งมีขนาดหน้าต่างถูกตั้งไว้พอเหมาะกับขนาดภาพ






ดูว่าภาพโหลดมาสำเร็จหรือไม่ {.isNull}

เมื่อใช้ QPixmap เพื่อทำการโหลดภาพขึ้นมานั้น ต่อให้ไฟล์ในตำแหน่งของภาพที่ระบุนั้นไม่มีอยู่จริงก็ไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดใดๆ แค่จะได้เป็นภาพเปล่าๆมาเท่านั้น

เราอาจตรวจสอบว่าภาพโหลดขึ้นมาสำเร็จหรือไม่โดยใช้เมธอด .isNull
from PyQt5.QtGui import QPixmap

pix = QPixmap('xxx.jpg')
print(pix.isNull()) # ได้ True
pix = QPixmap('senkomofumofu.jpg')
print(pix.isNull()) # ได้ False

นอกจากนี้จริงๆแล้ว QPixmap ยังอาจใช้สร้างภาพเปล่าๆขึ้นมาได้ โดยแทนที่จะใส่เป็นชื่อไฟล์ก็ให้ใส่เป็นตัวเลข ๒ ตัวที่แทนความกว้างและความสูงของภาพ
pix = QPixmap(140,160)
print(pix.size())

ซึ่งภาพลักษณะนี้ถ้าใช้ .isNull ก็จะได้ False เช่นกัน

print(QPixmap(110,110).isNull()) # ได้ False




การย่อขยายรูป {.scaled}

ภาพที่สร้างขึ้นใน QPixmap นั้นสามารถทำการย่อขยายได้โดยใช้เมธอด .scaled โดยกำหนดความกว้างและความสูงลงไป

คราวนี้ขอลองใช้ภาพนี้เป็นตัวอย่าง

chinotippi.jpg (ที่มา https://www.pixiv.net/artworks/64927195)


ลองทำการปรับขนาดให้เต็มหน้าต่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel
from PyQt5.QtGui import QPixmap

qAp = QApplication(sys.argv)
# สร้างหน้าต่างขนาด 350×200
natang = QWidget()
natang.resize(350,200)
rup = QLabel(natang)
pix = QPixmap('chinotippi.jpg') # โหลดภาพจากไฟล์
pix = pix.scaled(350,200) # ปรับให้ภาพมีขนาด 350×200
rup.setPixmap(pix)
natang.show()
qAp.exec_()

จะได้ภาพแบบนี้






การทำให้ย่อขยายโดยรักษาสัดส่วนเดิม

จากตัวอย่างที่แล้วจะเห็นว่าได้ขนาดตามที่ระบุไป แต่ว่าสัดส่วนของภาพถูกเปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าหากต้องการให้เมื่อย่อขยายแล้วยังรักษาสัดส่วนเดิมไว้ได้ก็ทำได้โดยใส่อาร์กิวเมนต์ตัวที่ ๓ ลงไป

หากต้องการให้รักษาสัดส่วนภาพเดิมโดยที่ขนาดไม่เกินขอบเขตที่กำหนด ให้ใช้ Qt.KeepAspectRatio
ลองแทนโค้ดในตัวอย่างที่แล้วในบรรทัด pix = pix.scaled(350,200) ด้วย
from PyQt5.QtCore import Qt
pix = pix.scaled(350,200,Qt.KeepAspectRatio)

ก็จะได้แบบนี้



แต่หากต้องการให้รักษาสัดส่วนโดยภาพขยายไปให้เต็มพื้นที่ขนาดที่ระบุก็ใช้ Qt.KeepAspectRatioByExpanding
pix = pix.scaled(350,200,Qt.KeepAspectRatioByExpanding)

ก็จะได้ออกมาแบบนี้






การย่อขยายให้ได้ความกว้างหรือความสูงที่กำหนด {.scaledToHeight .scaledToWidth}

การย่อหรือขยายขนาดภาพอาจทำโดยใช้เมธอด .scaledToHeight หรือ .scaledToWidth โดยที่แค่กำหนดความกว้างหรือความสูงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วภาพก็จะถูกเปลี่ยนขนาดไปเป็นตามนั้นโดยรักษาสักส่วนเดิม

ลองดูตัวอย่าง คราวนี้ใช้ภาพนี้

yunafina.jpg (ที่มา https://www.pixiv.net/artworks/87438484)


ลองทำปุ่มให้เมื่อกดแล้วขนาดย่อลงเรื่อยๆทีละครึ่ง จนสุดท้ายปิดหน้าต่างไป
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel,QPushButton
from PyQt5.QtGui import QPixmap
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
rup = QLabel(natang)
pix = QPixmap('yunafina.jpg')
natang.resize(pix.width()+60,pix.height())
rup.setPixmap(pix)
rup.setAlignment(Qt.AlignCenter) # ตั้งให้ภาพอยู่ตรงกลาง
rup.move(60,0)

# ฟังก์ชันที่ทำการย่อรูปเมื่อกดปุ่ม
def yolong():
    global pix
    kwang = int(pix.width()/2) # ตั้งความกว้างใหม่เหลือครึ่งจากเดิม
    if(kwang<10): # ถ้าย่อจนเล็กกว่า 10 พิกเซลแล้วก็ปิดไปเลย
        natang.close()
    pix = pix.scaledToWidth(kwang) # ย่อภาพ
    rup.setPixmap(pix) # ตั้งภาพใหม่ที่ย่อแล้ว
# สร้างปุ่ม
pumyo = QPushButton('-',natang)
pumyo.setGeometry(0,120,60,60)
pumyo.clicked.connect(yolong)
natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้หน้าต่างแบบนี้ออกมา ถ้ากดปุ่มภาพก็จะค่อยๆย่อเล็กลงทีละครึ่ง






สรุปท้ายบท

ที่จริงแล้ว pyqt สามารถใช้เพื่อปรับแต่งภาพได้ด้วย เช่นใช้ QGraphicView แต่เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ซึ่งจะยังไม่เขียนถึงในที่นี้

QPixmap นั้นปกติเอาไว้แค่ใช้เพื่อนำเอาภาพมาวางใส่ใน GUI ที่เราสร้างขึ้นเท่านั้น โดยสามารถปรับย่อขยายภาพให้เป็นขนาดตามที่ต้องการได้



อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๘





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pyqt

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文