φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



pyqt เบื้องต้น บทที่ ๑๕: การสร้างและใช้งานตัวเลื่อน
เขียนเมื่อ 2021/08/17 07:27
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๑๔

ในบทนี้จะแนะนำ QSlider ซึ่งเป็น widget ที่เอาไว้ใช้เลื่อนเพื่อปรับค่าตัวเลข รวมถึง QScrollBar และ QDial ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันด้วย




การสร้างตัวเลื่อนปรับค่า {QSlider}

QSlider เป็นแถบที่มีหลอดและลูกเลื่อนซึ่งใช้แสดงถึงค่าปริมาณบางอย่าง ค่าตัวเลขนั้นจะไม่ปรากฏโดยตรง แต่สามารถรู้ค่าได้โดยใช้เมธอด .value

ขอบเขตค่าสูงสุดต่ำสุดของตัวเลื่อนสามารถปรับได้โดย .setRange

ตัวอย่าง ลองสร้างตัวเลื่อนขึ้นมา แล้วให้แสดงค่าเป็นตัวเลขในปุ่ม พอปรับตัวเลื่อนแล้วกดปุ่มก็จะเป็นการแก้ค่าตัวเลขในปุ่มด้วย
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QSlider,QPushButton,QHBoxLayout

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
hbl = QHBoxLayout()
natang.setLayout(hbl)

tualuean = QSlider() # สร้างตัวเลื่อนปรับค่า
hbl.addWidget(tualuean)
tualuean.setRange(1000,2000) # ตั้งขอบเขต
tualuean.setValue(1800) # ตั้งค่าตั้งต้น

pumkha = QPushButton() # สร้างปุ่มกด
hbl.addWidget(pumkha)
pumkha.setFixedSize(90,60)
# เมื่อกดปุ่มให้แสดงค่าตัวเลขของตัวเลื่อนนั้นในปุ่ม
def sadaengkha():
    pumkha.setText(str(tualuean.value()))
pumkha.clicked.connect(sadaengkha)
sadaengkha()

natang.show()
qAp.exec_()






การตั้งคำสั่งให้ทำงานเมื่อเลื่อนตัวเลื่อน {.sliderMoved .valueChanged}

หากมีคำสั่งที่ต้องการให้ทำงานเมื่อมีการเลื่อนตัวเลื่อนก็ตั้งได้ที่ .sliderMoved หรือ .valueChanged โดยข้อแตกต่างก็คือ .sliderMoved จะทำงานเมื่อผู้ใช้กดลากตัวเลื่อนนั้นเอง แต่ .valueChanged จะทำงานในกรณีที่ค่าของตัวเลื่อนถูกปรับด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม เช่นเมื่อถูกปรับค่าโดยใช้เมธอด .setValue

ตัวอย่างเช่นลองสร้างตัวเลื่อนขึ้นมาพร้อมกับวางปุ่ม QPushButton และข้อความ QLabel ไว้ โดยให้ข้อความใน QLabel นั้นแสดงค่าของตัวเลื่อนซึ่งจะเปลี่ยนค่าตามเมื่อมีการเลื่อนตัวเลื่อน จึงตั้ง .sliderMoved

ส่วนปุ่มนั้นถ้ากดจะเป็นการตั้งค่าในตัวเลื่อนให้เป็น 0 และในปุ่มนั้นก็มีค่าตัวเลขอยู่ด้วย
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QSlider,QLabel,QPushButton,QHBoxLayout

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
hbl = QHBoxLayout()
natang.setLayout(hbl)

pumkha = QPushButton('-10')
hbl.addWidget(pumkha)
pumkha.setFixedSize(50,60)
# ตั้งให้เมื่อกดปุ่มแล้วค่าของตัวเลื่อนจะกลายเป็น 0
pumkha.clicked.connect(lambda: tualuean.setValue(0))

dukha = QLabel('-10')
hbl.addWidget(dukha)

tualuean = QSlider()
hbl.addWidget(tualuean)
tualuean.setRange(-40,40) # ตั้งขอบเขตค่าของตัวเลื่อน
tualuean.setValue(-10) # ตั้งค่าเริ่มต้นที่ -10
# ตั้งให้ปรับค่าใน QLabel เมื่อมีการเลื่อนตัวเลื่อน
tualuean.sliderMoved.connect(lambda: dukha.setText(str(tualuean.value())))
# ตั้งให้ปรับค่าใน QPushButton เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวเลื่อนไม่ว่ากรณีใดๆ
tualuean.valueChanged.connect(lambda: pumkha.setText(str(tualuean.value())))

natang.show()
qAp.exec_()

จะได้หน้าต่างแบบนี้ออกมา หากเลื่อนลูกเลื่อน ค่าตัวเลขบน QPushButton และ QLabel ก็จะเปลี่ยนไป แต่ถ้ากดปุ่มเพื่อให้ค่าในตัวเลื่อนกลายเป็น 0 จะพบว่าค่าใน QLabel ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ค่าใน QPushButton จะเปลี่ยนเป็น 0






การทำให้ตัวเลื่อนวางตัวในแนวนอน {.setOrientation}

โดยค่าตั้งต้นแล้ว QSlider จะวางตัวในแนวตั้ง แต่ถ้าหากต้องการให้วางตัวในแนวนอนก็ทำได้โดยใช้เมธอด .setOrientation โดยใส่แฟล็กกำหนดทิศ Qt.Horizontal จาก PyQt5.QtCore เข้าไป

ตัวอย่าง QSlider ที่เลื่อนในแนวนอน
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QSlider,QLabel,QVBoxLayout
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
vbl = QVBoxLayout()
natang.setLayout(vbl)

tualuean = QSlider()
vbl.addWidget(tualuean)
tualuean.setRange(200000,320000)
tualuean.setValue(225000)
tualuean.setOrientation(Qt.Horizontal) # ตั้งให้อยู่ในแนวนอน
def pliankha():
    dukha.setText(str(tualuean.value()))
tualuean.valueChanged.connect(pliankha)

dukha = QLabel()
vbl.addWidget(dukha)
dukha.setAlignment(Qt.AlignCenter)
pliankha()

natang.show()
qAp.exec_()






การตั้งคำสั่งให้ทำงานเมื่อกดและปล่อยตัวเลื่อน {.sliderPressed .sliderReleased}

เมื่อมีฟังก์ชันที่ต้องการให้ทำเมื่อตัวเลื่อนดูกเลื่อนหรือปล่อยหรือจับ ก็ตั้งได้ที่ .sliderPressed และ .sliderReleased

ตัวอย่างเช่น สร้างตัวเลื่อนและสร้างกล่องขึ้นมาด้านล่าง แล้วให้กล่องนั้นปรับความยาวและตำแหน่งตามจุดที่กดและปล่อยตัวเลื่อน
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QSlider,QFrame
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

def kot(): # ฟังก์ชันที่ทำเมื่อกดตัวเลื่อน
    global roem
    roem = tualuean.value() # ให้บันทึกค่าเมื่อกดไว้
    siliam.move(0,50)
    siliam.setFixedWidth(300)

def ploi(): # ฟังก์ชันที่ทำเมื่อปล่อยตัวเลื่อน
    chop = tualuean.value() # ค่าเมื่อปล่อย
    siliam.setFixedWidth(abs(chop-roem)) # ตั้งความยาวให้เป็นค่าค่าระหว่างจุดที่ปล่อยกับกับจุดที่กด
    if(chop>roem): # ถ้าจุดปล่อยอยู่ทางขวาของจุดกด
        siliam.move(roem,40)
        siliam.setStyleSheet('background-color: #3a8990')
    else: # ถ้าจุดกดอยู่ทางขวาของจุดปล่อย
        siliam.move(chop,40)
        siliam.setStyleSheet('background-color: #b9aa80')

tualuean = QSlider(natang)
tualuean.setOrientation(Qt.Horizontal) # จัดวางในแนวนอน
tualuean.setRange(0,300) # ตั้งขอบเขตค่าของตัวเลื่อนให้เท่ากับความยาวของกล่อง
tualuean.setGeometry(0,0,300,40)
tualuean.sliderPressed.connect(kot) # เมื่อกด
tualuean.sliderReleased.connect(ploi) # เมื่อปล่อย

siliam = QFrame(natang) # สร้างกล่อง
siliam.setFrameShape(QFrame.Box) # ให้ขอบ
siliam.setLineWidth(3) # ความหนาขอบ
siliam.setFrameShadow(QFrame.Raised) # ให้มีเงา
siliam.setGeometry(0,40,300,40)

natang.show()
qAp.exec_()

ลองเลื่อนตัวเลื่อนแล้วดูผลความเปลี่ยนแปลงของกล่องด้านล่างดูได้






การสร้างแถบเลื่อน {QScrollBar}

QScrollBar นั้นจะคล้ายๆกับ QSlider เพียงแต่จะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่มีปุ่มลูกศรให้กดปรับค่าได้ด้วย

ตัวอย่าง สร้างแถบเลื่อน QScrollBar แล้วให้ค่าในแถบเลื่อนนี้แสดงเป็นตัวเลขในกรอบทางขวา
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QScrollBar,QLabel,QFrame,QHBoxLayout
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
hbl = QHBoxLayout()
natang.setLayout(hbl)

thaepluean = QScrollBar() # สร้างแถบเลื่อน
hbl.addWidget(thaepluean)
thaepluean.setStyleSheet('background-color: #d0fbca') # เปลี่ยนสี
thaepluean.setFixedHeight(120) # ความสูง
thaepluean.setRange(-10,200) # ขอบเขตค่าสูงสุดและต่ำสุด
thaepluean.setValue(10) # ค่าตอนเริ่มต้น
# ฟังก์ชันที่ให้ทำงานเมื่อมีการเปลี่ยนค่าในแถบเลื่อน ให้แสดงค่าเป็นตัวเลข
def pliankha():
    dukha.setText(str(thaepluean.value()))
thaepluean.valueChanged.connect(pliankha)

dukha = QLabel() # ตัวเลขแสดงค่าในแถบเลื่อน
hbl.addWidget(dukha)
dukha.setAlignment(Qt.AlignCenter) # จัดให้วางอยู่ตรงกลาง
dukha.setFrameShape(QFrame.Box) # ใส่กรอบ
dukha.setFixedSize(40,120)
pliankha()

natang.show()
qAp.exec_()






การกำหนดขั้นในแต่ละการเลื่อน {.setSingleStep .setPageStep}

ค่าตัวเลขที่จะเลื่อนในแต่ละทีที่กดปุ่มลูกศรใน QScrollBar ปรับได้โดย .setSingleStep ส่วนค่าตัวเลขที่จะเปลี่ยนเมื่อเอาเมาส์ไปกดคลิกตรงที่ว่างปรับได้โดย .setPageStep

ตัวอย่างการใช้
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QScrollBar,QLabel,QVBoxLayout
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
vbl = QVBoxLayout()
natang.setLayout(vbl)

thaepluean = QScrollBar() # สร้างแถบเลื่อน
vbl.addWidget(thaepluean)
thaepluean.setStyleSheet('background-color: #f4f4bb') # ปรับสี
thaepluean.setFixedWidth(190) # ความสูง
thaepluean.setRange(-200,200) # ขอบเขต
thaepluean.setValue(100) # ค่าตอนเริ่มต้น
thaepluean.setSingleStep(4) # เมื่อกดปุ่มลูกศร เลื่อน 4
thaepluean.setPageStep(40) # เมื่อกดที่ว่าง เลื่อน 40
thaepluean.setOrientation(Qt.Horizontal) # จัดวางในแนวนอน
# ให้เปลี่ยนค่าตัวเลขที่แสดงอยู่ด้านล่าง เมื่อมีการเปลี่ยนค่าในแถบเลื่อน
def pliankha():
    dukha.setText(str(thaepluean.value()))
thaepluean.valueChanged.connect(pliankha)

dukha = QLabel()
vbl.addWidget(dukha)
dukha.setAlignment(Qt.AlignCenter)
pliankha()

natang.show()
qAp.exec_()








การสร้างแผงหมุนปรับค่า {QDial}

QDial จะคล้ายกับ QSlider แต่จะเป็นลักษณะของก้อนกลมๆที่ให้จับหมุนแล้วแทนค่าด้วยมุมที่ถูกเปลี่ยนไป

ตัวอย่างการใช้
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QDial,QLabel,QVBoxLayout
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
vbl = QVBoxLayout()
natang.setLayout(vbl)

phangmun = QDial() # สร้างแผงหมุน
vbl.addWidget(phangmun)
phangmun.setRange(-7,7) # ตั้งขอบเขตของค่า
phangmun.setValue(7) # ตั้งค่าเริ่มต้น
phangmun.setStyleSheet('background-color: #b8def4') # ทำให้เป็นสีฟ้า
def pliankha():
    dukha.setText(str(phangmun.value()))
phangmun.valueChanged.connect(pliankha)

dukha = QLabel()
vbl.addWidget(dukha)
dukha.setAlignment(Qt.AlignCenter) # ตั้งให้ตัวเลขบอกค่าอยู่ตรงกลาง
pliankha()

natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้ก้อนกลมๆแบบนี้ออกมา ลองกดคลิกลากเพื่อเปลี่ยนค่าดู ตัวเลขด้านล่างก็จะเปลี่ยนตาม






สรุปท้ายบท

ในบทนี้ได้แนะนำเรื่องการใช้ QSlider รวมถึง QScrollBar และ QDial ซึ่งเอาไว้ใช้สำหรับทำการเลื่อนหรือหมุนเพื่อปรับค่าต่างๆ

สำหรับ QScrollBar นั้นที่จริงแล้วนอกจากจะใช้เป็นตัวปรับค่าแล้ว โดยมากมักพบว่าถูกใช้เป็นส่วนประกอบของพื้นที่เลื่อนได้ เช่น QScrollArea ซึ่งจะกล่าวถึงในบทถัดไป



อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๑๖





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pyqt

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文