φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



pyqt เบื้องต้น บทที่ ๑๖: การสร้างและใช้งานพื้นที่เลื่อนได้
เขียนเมื่อ 2021/08/18 09:14
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๑๕

ในบทนี้จะพูดถึงเรื่องการสร้างพื้นที่ซึ่งสามารถเลื่อนไปมาเพื่อดูส่วนต่างๆได้ ซึ่งมีประโยชน์เวลาที่มีพื้นที่อยู่จำกัด ทำให้สามารถวางของที่ใหญ่กว่าพื้นที่ที่มีอยู่ได้




การสร้างพื้นที่เลื่อนได้ {QScrollArea}

พื้นที่เลื่อนได้สร้างได้โดยสร้างออบเจ็กต์ QScrollArea ขึ้นมา แล้วก็ใส่ widget ที่ต้องการให้เลื่อนได้ลงไปในนั้นโดยใช้เมธอด .setWidget

ตัวอย่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel,QFrame,QScrollArea

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

phuenluean = QScrollArea(natang)
phuenluean.setGeometry(10,10,120,80)
khokhwam = QLabel('พื้นที่เลื่อนได้')
phuenluean.setStyleSheet('background-color: #ebe0ff; font-size: 45px; font-family: Tahoma')
phuenluean.setWidget(khokhwam)

natang.show()
qAp.exec_()

จะได้พื้นที่ศึ่งมีแถบเลื่อนติดอยู่แล้วสามารถเลื่อนได้แบบนี้ ในที่นี้มีแต่ในแนวนอน ไม่มีในแนวตั้ง เพราะว่าในแนวตั้งมีความสูงพออยู่แล้ว แต่ถ้าสูงไม่พอก็จะมีแถบเลื่อนในแนวตั้งด้วย






การใส่กรอบ {.setFrameShape}

ที่จริงแล้ว QSCrollArea นั้นเป็นซับคลาสของ QFrame (รายละเอียดอ่านในบทที่ ๖) ดังนั้นจึงสร้างกรอบล้อมได้ โดยหากสร้างกรอบขึ้นมา เงาที่ขอบจะเป็นแบบ Sunken คือเหมือนเป็นพื้นที่จมลงไป ถ้าจะให้เป็นกรอบธรรมดาไม่มีเงาก็ตั้ง .setFrameShadow เป็น Plain ได้
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel,QFrame,QScrollArea

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

phuenluean = QScrollArea(natang)
phuenluean.setGeometry(10,10,110,140)
xxyyzz = QLabel('xxxxx\nyyyyy\nzzzz')
phuenluean.setStyleSheet('background-color: #ffe0f4; font-size: 55px')
phuenluean.setLineWidth(5) # ตั้งความหนาของขอบ
phuenluean.setFrameShape(QFrame.Panel) # ตั้งรูปแบบขอบ
#phuenluean.setFrameShadow(QFrame.Plain) # เอาเงาขอบออก ถ้าไม่ต้องการให้เป็นพื้นจม
phuenluean.setWidget(xxyyzz)

natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้พื้นที่เลื่อนที่มีกรอบดูแล้วเหมือนจมลงไปแบบนี้






การตั้งว่าจะให้มีแถบเลื่อนหรือไม่ในกรณีต่างๆ {.setHorizontalScrollBarPolicy .setVerticalScrollBarPolicy}

ปกติแล้วพื้นที่ใน QScrollArea จะมีแถบเลื่อนปรากฏขึ้นมาโดยอัตโนมัติเมื่อ widget ที่ใส่ในนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าขนาดของ QScrollArea ที่ตั้งไว้

แต่หากต้องการให้แนวนอนหรือแนวตั้งมีแถบเลื่อนอยู่เสมอไม่ว่าจะพื้นที่เกินหรือเปล่าก็ทำได้โดยใช้ .setHorizontalScrollBarPolicy สำหรับแนวนอน และ .setVerticalScrollBarPolicy สำหรับแนวตั้ง โดยให้ใส่แฟล็ก Qt.ScrollBarAlwaysOn ลงไป

ตัวอย่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QScrollArea
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

phuenluean = QScrollArea(natang)
phuenluean.setGeometry(10,10,150,110)
phuenluean.setStyleSheet('background-color: #ffcece')

phuenluean.setHorizontalScrollBarPolicy(Qt.ScrollBarAlwaysOn)
phuenluean.setVerticalScrollBarPolicy(Qt.ScrollBarAlwaysOn)

natang.show()
qAp.exec_()

จะได้พื้นที่เลื่อนที่มีลูกศรทั้งแนวตั้งและแนวนอน แม้ว่าจะเลื่อนไม่ได้ก็ตาม



ในทางกลับกัน ถ้าจะให้ไม่มีแถบเลื่อนแม้ว่าขนาด widget ภายในใหญ่เกินก็ทำได้โดยตั้งแฟล็ก Qt.ScrollBarAlwaysOff

ตัวอย่างเช่น
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel,QFrame,QScrollArea
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

phuenluean = QScrollArea(natang)
phuenluean.setGeometry(5,5,100,100)
phuenluean.setStyleSheet('background-color: #c3febd')
phuenluean.setVerticalScrollBarPolicy(Qt.ScrollBarAlwaysOff) # ตั้งให้แนวตั้งไมีแถบเลื่อน
phuenluean.setLineWidth(3)
phuenluean.setFrameShape(QFrame.Box)

siliam = QLabel('■')
siliam.setStyleSheet('color: #b12661; font-size: 150px')
phuenluean.setWidget(siliam)

natang.show()
qAp.exec_()

จะได้พื้นที่เลื่อนแบบนี้ ซึ่งจะเห็นว่าทั้งแนวตั้วและแนวนอนล้วนมีขนาดเกิน แต่แต่ในแนวตั้งไม่มีแถบเลื่อนเพราะตั้ง Qt.ScrollBarAlwaysOff ไว้ แต่แม้ว่าจะไม่มีแถบเลื่อนปรากฏอยู่ให้เห็นก็สามารถจะใช้ปุ่มกลางของเมาส์เพื่อนหมุนเลื่อนได้อยู่ ลองเลื่อนดูได้






การปรับแต่งแถบเลื่อนแนวนอนและแนวตั้ง {.setHorizontalScrollBar .setVerticalScrollBar}

แถบเลื่อนในแนวนอนและแนวตั้งที่อยู่ด้านล่างและขวาของพื้นที่เลื่อนได้นั้นจริงๆแล้วก็คือตัว QScrollBar ซึ่งเขียนถึงไปในบทที่ ๑๕ นั่นเอง

ปกติแล้ว QScrollBar ๒ อันจะถูกสร้างขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติอยู่แล้วเมื่อสร้าง QScrollArea ขึ้น แต่ก็สามารถสร้างใหม่ใส่เข้าไปเองได้ โดยใช้ .setHorizontalScrollBar และ .setVerticalScrollBar

ซึ่งการที่สร้างอันใหม่ใส่เข้าไปเองนั้นก็จะทำให้กำหนดสามารถกำหนดรูปแบบหรือควบคุมอะไรต่างๆของตัวแถบนั้นๆได้

ตัวอย่างเช่น ลองสร้างแถบเลื่อนทั้งแนวตั้งและแนวนอนขึ้นมาใหม่ แล้วใส่สีให้แยกกัน
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel,QScrollArea,QScrollBar

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

phuenluean = QScrollArea(natang)
phuenluean.setGeometry(10,10,420,300)

khokhwam = QLabel('พื้นที่\nเลื่อนได้')
khokhwam.setStyleSheet('font-family: Tahoma; font-size: 150px; color: #155')
phuenluean.setWidget(khokhwam)

thaeplueannon = QScrollBar() # แถบเลื่อนแนวนอน
thaeplueannon.setStyleSheet('background-color: #a885ee')
phuenluean.setHorizontalScrollBar(thaeplueannon)

thaeplueantang = QScrollBar() # แถบเลื่อนแนวตั้ง
thaeplueantang.setStyleSheet('background-color: #ee859e')
phuenluean.setVerticalScrollBar(thaeplueantang)

natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้พื้นที่เลื่อนที่มีแถบเลื่อนแนวตั้งและแนวนอนเป็นสีต่างกันแบบนี้ออกมา






การตั้งค่าตำแหน่งที่เลื่อนภายในพื้นที่เลื่อน {.setValue}

ถ้าแถบเลื่อนแนวตั้งและแนวนอนเป็น QScrollBar ที่เราสร้างขึ้นมาเองก็สามารถจะดูและปรับค่าของของแถบเลื่อนนั้นได้ ซึ่งก็จะทำให้พื้นที่ QScrollArea นั้นเลื่อนไปตามที่ค่าถูกปรับด้วย จึงทำให้เราสามารถเลื่อนตำแหน่งภายในพื้นที่เลื่อนได้นั้นได้โดยไม่ต้องไปกดเลื่อนโดยตรง

เช่นลองสร้างพื้นที่เลื่อนขึ้นมาพร้อมกับปุ่มที่ถ้ากดแล้วให้ตำแหน่งของแถบเลื่อนจะไปอยู่จุดเริ่มต้น ทำให้ตำแหน่งในพื้นที่เลื่อนกลับไปอยู่ซ้ายบนด้วย
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel,QScrollArea,QScrollBar,QHBoxLayout,QPushButton

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
hbl = QHBoxLayout()
natang.setLayout(hbl)

phuenluean = QScrollArea(natang)
hbl.addWidget(phuenluean)
phuenluean.setFixedSize(120,100)

thaeplueannon = QScrollBar() # แถบเลื่อนแนวนอน
phuenluean.setHorizontalScrollBar(thaeplueannon)
thaeplueannon.setStyleSheet('background-color: #bdf')

thaeplueantang = QScrollBar() # แถบเลื่อนแนวตั้ง
phuenluean.setVerticalScrollBar(thaeplueantang)
thaeplueantang.setStyleSheet('background-color: #efb')

siliam = QLabel()
siliam.setFixedSize(400,300)
phuenluean.setWidget(siliam)

# สร้างปุ่มที่เมื่อกดปุ่มแล้วให้เลื่อนกลับไปอยู่ที่ตำแหน่ง 0,0 (คือมุมซ้ายบน)
def paibonsai():
    thaeplueannon.setValue(0)
    thaeplueantang.setValue(0)
pum = QPushButton('0')
pum.setFixedSize(50,50)
hbl.addWidget(pum)
pum.clicked.connect(paibonsai)

print(thaeplueannon.maximum()) # พิมพ์ค่าสูงสุดแนวนอน
print(thaeplueantang.maximum()) # พิมพ์ค่าสูงสุดแนวตั้ง
# ตั้งตำแหน่งในตัวเลื่อนตอนเริ่มต้น
thaeplueannon.setValue(int(thaeplueannon.maximum()/2)) # ตั้งให้แนวนอนเลื่อนไปอยู่ตรงกลาง
thaeplueantang.setValue(int(thaeplueantang.maximum())) # ตั้งให้เลื่อนไปอยู่ล่างสุด

natang.show()
qAp.exec_()

ลงกดปุ่มดูก็จะพบว่าตำแหน่งภายในช่องนี้เลื่อนไปอยู่ที่ซ้ายบนสุด






การสร้างช่องแบ่งที่เลื่อนปรับขนาดได้ {QSplitter}

หากต้องการสร้างพื้นที่ที่แบ่งส่วนโดยสามารถเลื่อนเพื่อปรับขนาดได้ อาจทำได้โดยใช้ QSplitter

วิธีการใช้จะคล้ายกับการสร้างโครงด้วย QHBoxLayout หรือ QVBoxLayout แต่จะเลื่อนปรับขนาดได้อย่างอิสระ

เวลาที่สร้างให้ใส่ Qt.Horizontal หรือ Qt.Vertical เพื่อกำหนดว่าจะให้แบ่งแนวนอนหรือว่าแนวตั้ง

ตัวอย่างกรณีที่แบ่งในแนวนอน
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QSplitter,QPushButton
from PyQt5.QtCore import Qt
    
qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.setStyleSheet('font-family: Courier New; font-size: 19px;')
baengsaikhwa = QSplitter(Qt.Horizontal,natang) # สร้างช่องแบ่งตามซ้ายขวา
baengsaikhwa.setGeometry(10,10,360,140)
baengsaikhwa.addWidget(QPushButton('ซ้าย'))
baengsaikhwa.addWidget(QPushButton('กลาง'))
baengsaikhwa.addWidget(QPushButton('ขวา'))
natang.show()
qAp.exec()

ก็จะได้หน้าต่างที่มีตัวแยกแบ่งเป็น ๓ ส่วนแบบนี้ออกมา ลองเอาเมาส์ไปกดเลื่อนปรับขนาดดูได้



ลองดูอีกตัวอย่าง คราวนี้เป็นในกรณีที่แบ่งตามแนวตั้ง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QSplitter,QPushButton
from PyQt5.QtCore import Qt
    
qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
baengbonlang = QSplitter(Qt.Vertical,natang) # สร้างช่องแบ่งตามบนล่าง
baengbonlang.setGeometry(10,10,150,240)
for i in range(1,6): # วนซ้ำเพื่อไล่ใส่ปุ่มที่มีเลข 1 ถึง 5
    baengbonlang.addWidget(QPushButton('%d'%i))
natang.show()
qAp.exec()

ก็จะได้ ๕ ปุ่มที่แบ่งกันอยู่ในแนวตั้งแบบนี้ สามารถลองคลิกลากเพื่อปรับขนาดแต่ละช่องดูได้





อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๑๗





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pyqt

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文