φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วิธีการมอนเตการ์โล
เขียนเมื่อ 2020/09/18 14:05
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 20:05

วิธีการมอนเตการ์โล (蒙特卡洛方法, Monte Carlo method) เป็นอัลกอริธึมแบบหนึ่งที่นิยมใช้ในการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ

ชื่อเรียกนี้จริงๆถูกใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งโดยรวมมักจะหมายถึงกลุ่มอัลกอริธึมที่อาศัยผลจากการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งคำตอบที่ได้จะมีความไม่แน่นอน ต่างกันไปในแต่ละครั้งที่ทำการคำนวณ

และวิธีการมอนเตการ์โลก็เป็นพื้นฐานสำคัญของวิธีการมอนเตการ์โลห่วงโซ่มาร์คอฟ (MCMC) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน

ในบทความนี้จะเขียนถึงพื้นฐานของวิธีการมอนเตการ์โลส่วนหนึ่ง โดยยกตัวอย่างเรื่องการคำนวณหาปริพันธ์ และการหาค่า π




การหาปริพันธ์ด้วยวิธีการมอนเตการ์โล

ประโยชน์ใช้งานอย่างหนึ่งของวิธีการมอนเตการ์โลก็คือใช้หาปริพันธ์ของฟังก์ชันบางอย่างที่ไม่อาจแก้ได้ง่ายๆ

เช่นสมมุติว่ามีฟังก์ชัน f(x) เป็นฟังก์ชันอะไรบางอย่างที่ยุ่งๆเช่นแบบนี้


หากต้องการหาปริพันธ์ โดยทั่วไปก็จะคำนวณดังนี้


แต่ว่าถ้า f(x) ไม่อาจคำนวณปริพันธ์ได้ในเชิงวิเคราะห์ เพราะยุ่งเกินไป แบบนั้นก็ได้แต่ใช้วิธีเชิงคำนวณ

หากใช้วิธีการมอนเตการ์โล อาจหาปริพันธ์ได้โดยทำโดยสุ่มค่า x ซึ่งมีการแจกแจงความน่าจะเป็นเป็น ขึ้นมาทั้งหมด n ค่า แล้วคำนวณ


โดยการแจกแจง นั้นจะใช้เป็นการแจกแจงแบบไหนก็ได้ที่เราสามารถสุ่มขึ้นมาได้จริงง่ายๆ ถ้าให้ง่ายที่สุดก็คือการแจกแจงแบบเอกรูป คือให้เท่ากันทั้งหมดในพื้นที่ที่กำหนด

ขอลองยกตัวอย่างฟังก์ชันที่สามารถคำนวณจริงๆได้ เพื่อจะได้เปรียบเทียบผลลัพธ์ได้ เช่น


วาดเป็นกราฟออกมาดู
import matplotlib.pyplot as plt
import numpy as np

def f(x):
    return np.pi*np.sin(np.pi*x/3)

x = np.linspace(0,3,201)
fx = f(x)
plt.axes(xlabel='x',ylabel='f(x)')
plt.plot(x,fx,c='#63e')
plt.grid(ls='--')
plt.show()



ลองหาปริพันธ์ตั้งแต่ 0 ถึง 3 ซึ่งจริงๆสามารถคำนวณออกมาได้ง่ายๆคือ


คราวนี้ลองหาด้วยวิธีการมอนเตการ์โล โดยการแจกแจงในที่นี้ก็ใช้ง่ายๆเป็นการแจกแจงเอกรูปในช่วง 0 ถึง 3


ก็จะคำนวณได้โดย


ลองเขียนโค้ดจำลองการหาคำนวณ โดยสุ่มสักแสนตัว
x = np.random.uniform(0,3,100000)
fx = f(x)
print(3*fx.mean()) # แสดงผลการคำนวณ

คำตอบออกมาควรจะได้ประมาณใกล้เคียงกับ 6 ซึ่งเป็นคำตอบจริงๆที่ควรจะเป็น

แต่เนื่องจากเป็นผลที่ได้จากการสุ่ม ย่อมมีความคลาดเคลื่อนอยู่ คำตอบที่ได้จึงไม่อาจเรียกได้ว่าเที่ยงตรง แต่สามารถเพิ่มความเที่ยงตรงได้โดยการเพิ่มตัวอย่างให้มากขึ้น

ลองดูผลลัพธ์ของตัวอย่างเดิมโดยเทียบค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเมื่อเทียบกับจำนวนค่าที่ใช้ดู
n = np.arange(1,1+len(x))
plt.plot(n,((6-3*fx.cumsum()/n)**2),c='#63e')
plt.loglog() # แสดงสัดส่วนเป็นลอการิธึมทั้งสองแกน
plt.grid(ls='--')
plt.show()



จะเห็นได้ว่ายิ่งเพิ่มจำนวนการสุ่มก็ยิ่งมีแนวโน้มจะแม่นขึ้นจริงๆ หากจำนวนมากเป็นอนันต์ผลที่ได้ก็จะมีความแน่นอน

ดังนั้นวิธีการนี้จะเห็นว่าแม้จะให้ผลลัพธ์ที่มีความไม่แน่นอนอยู่ แต่ก็ให้ผลดีขึ้นได้เมื่อจำนวนการสุ่มมากๆเข้า




การหาค่าไพจากพื้นที่วงกลมด้วยวิธีการมอนเตการ์โลในสองมิติ

ตัวอย่างที่แล้วเป็นกรณีหนึ่งมิติ คราวนี้ลองมาลองดูมอนเตการ์โลในสองมิติบ้าง ซึ่งตัวอย่างที่มักจะเจอบ่อยที่สุดเวลาพูดถึงวิธีการมอนเตการ์โลก็คือการหาค่า π จากพื้นที่วงกลม

สมมุติว่ามีข้อมูลสองมิติ x,y ปกติแล้วคำนวนปริพันธ์ได้ดังนี้


แต่ถ้าใช้วิธีการมอนเตการ์โลอาจคำนวณแบบนี้


สำหรับกรณีปัญหาพื้นที่วงกลมนั้นอาจพิจารณาฟังก์ชันลักษณะนี้


ให้การแจกแจงความน่าจะเป็นเป็น


เขียนโค้ดแสดงการคำนวณพร้อมวาดรูปประกอบได้ดังนี้
def f(x,y):
    return np.where(x**2+y**2<=1,1,0)

x = np.random.uniform(-1,1,10000)
y = np.random.uniform(-1,1,10000)
fxy = f(x,y)
plt.figure(figsize=[6,5])
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(x,y,c=fxy,ec='k',alpha=0.1,cmap='jet')
plt.grid(ls='--')
plt.tight_layout()
plt.show()
print(fxy.mean()/0.25) # แสดงค่าที่คำนวณได้



ในที่นี้พื้นที่สีแดงคือส่วนที่อยู่ในขอบเขตวงกลม คือส่วนที่จะให้มีค่าเป็น 1 ส่วนสีน้ำเงินอยู่ด้านนอก ให้เป็น 0 เมื่อหาค่าเฉลี่ยแล้วหารด้วยความน่าจะเป็นก็จะออกมาเป็นพื้นที่วงกลม ซึ่งในที่นี้ก็คือเท่ากับค่า π≈3.14

ผลที่ได้จากการคำนวณนี้ควรจะใกล้เคียงกับค่า 3.14




เทียบกับอัลกอริธึมเชิงกำหนดชัด

อัลกอริธึมที่ให้ผลไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการสุ่มอย่างวิธีการมอนเตการ์โลแบบนี้อาจเรียกว่าเป็นอัลกอริธึมเชิงไม่กำหนดชัด (非确定性算法, nondeterministic algorithm)

ซึ่งอาจนำไปเทียบกับอัลกอริธึมอีกแบบคือ เช่นหาพื้นที่ใต้กราฟโดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นช่วงๆย่อยๆ เช่นฟังก์ชันยุ่งๆในภาพนี้ ก็แบ่งเป็นแท่งๆแล้วคำนวณ



หรือรวมทั้งอาจทำเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู (梯形, trapezoid) หรือซับซ้อนกว่านั้นก็เป็นวิธีรุงเงอ-คุททา (龙格-库塔法, Runge-Kutta method) ซึ่งยิ่งแบ่งละเอียดย่อยผลการคำนวณก็ยิ่งเที่ยงตรง อีกทั้งคำนวณทุกครั้งก็จะได้ผลแบบเดิมทุกครั้งแบบนี้เรียกว่าอัลกอริธึมเชิงกำหนดชัด (确定性算法, deterministic algorithm)

วิธีการมอนเตการ์โลนั้นมีการสุ่มและให้คำตอบไม่แน่นอน ซึ่งดูเผินๆแล้วเหมือนจะด้อยกว่าอัลกอริธึมเชิงกำหนดชัด

แต่หากลองพิจารณาปัญหาในหลายมิติ เช่นถ้าปริมาณมี m มิติ เมื่อทำการหาปริพันธ์ก็ต้องคำนวณทุกมิติแบบนี้


ถ้าจะทำการแบ่งเป็นช่วงย่อยๆแล้วคำนวณ มิติเดียวคงไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อยิ่งมีมิติมากๆเข้าจำนวนช่วงที่แบ่งยิ่งเพิ่มมากอย่างรวดเร็ว

แต่ถ้าใช้วิธีการมอนเตการ์โล ไม่ว่าจะกี่มิติก็คำนวณเหมือนเดิม คือแค่คำนวณค่าฟังก์ชันและความน่าจะเป็นที่แต่ละตำแหน่งที่สุ่มได้นั้น โดยจำนวนการสุ่มก็ไม่ได้จำเป็นต้องเปลี่ยนไปตามจำนวนมิติที่เพิ่มขึ้น


จำนวนตัวอย่าง n เราเป็นคนกำหนดเอาเองได้ตามความเหมาะสม แน่นอนว่ายิ่ง n มากยิ่งเที่ยงตรง แต่ก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องเพิ่มมหาศาลแบบอย่างวิธีแบ่งช่วงคำนวณ

ดังนั้นข้อดีอย่างหนึ่งของวิธีการมอนเตการ์โลนั้นคือเมื่อเจอปัญหาที่มีจำนวนมิติมาก

แม้คำตอบที่ได้อาจมีความแม่แน่นอนอยู่ แต่ว่าในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นสถานการณ์แบบนี้ก็มีโอกาสเจออยู่มากมาย มอนเตการ์โลจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ถูกใช้อย่างกว้างขวาง



แหล่งอ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คณิตศาสตร์ >> ความน่าจะเป็น
-- คอมพิวเตอร์ >> การสุ่ม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文