φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษา python เบื้องต้น บทที่ ๓๖: บทส่งท้าย
เขียนเมื่อ 2016/05/01 23:41
แก้ไขล่าสุด 2024/02/12 19:23
print('''
หากใครอ่านตั้งแต่ต้นมาจนถึงบทนี้ก็น่าจะได้ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับภาษาไพธอนไปมากมายแล้ว

เริ่มจากอธิบายแนวคิดโดยทั่วไป ตามด้วยการลงโปรแกรมเพื่อใช้งาน อธิบายเรื่องตัวแปรและฟังก์ชันพื้นฐาน การตั้งเงื่อนไขและการทำซ้ำ ข้อมูลชนิดกลุ่มและลำดับแบบต่างๆ

จากนั้นก็เป็นเรื่องของการเรียกใช้มอดูลเพิ่มเติม การอ่านเขียนไฟล์ สร้างฟังก์ชัน แล้วจึงเริ่มเรียนรู้หลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุและการสร้างคลาส ตามด้วยการจัดการกับข้อผิดพลาด

เสร็จแล้วที่เหลือก็เป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างลึกขึ้นมาอย่างอิเทอเรเตอร์และเดคอเรเตอร์ค่อนข้างเข้าใจยาก แล้วก็ปิดท้ายด้วยการสร้างมอดูลและแพ็กเกจขึ้นมา

ทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาพื้นฐานที่น่าจะจำเป็นต้องใช้ไม่ว่าจะนำโปรแกรมไปทำอะไรต่อก็ตาม

อย่างไรก็ตาม นี่ก็เหมือนเป็นเพียงใบไม้ในป่าใหญ่ ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่ต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป ขึ้นอยู่กับว่าต้องการจะนำไปใช้เขียนอะไรต่อ

ไพธอนมีฟังก์ชันและคลาสอะไรต่างๆอีกมากมายอยู่ภายในมอดูลภายในตัว สามารถนำมาใช้ให้เหมาะกับงานตามที่แต่ละคนต้องการได้

นอกจากนี้ยังมีมอดูลภายนอกที่สามารถโหลดเพิ่มมาลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลต่างๆมีมากมายสามารถค้นหาตามเว็บต่างๆได้โดยอาจไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือเลย อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดายว่าข้อมูลที่เป็นภาษาไทยค่อนข้างน้อย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้ภาษาต่างชาติ

เช่น เว็บญี่ปุ่นมีข้อมูลเกี่ยวกับภาษาไพธอนที่คนเขียนลงบล็อกไว้เยอะมาก เมื่อลองค้นดูก็สามารถเจอเนื้อหาแทบทุกอย่าง ข้อมูลที่ลงในบล็อกนี้ทั้งหมดส่วนใหญ่ก็สรุปรวบรวมมาจากเว็บญี่ปุ่น ซึ่งได้เขียนไว้ในเอกสารอ้างอิงท้ายบทแต่ละบท

สาเหตุหลักที่มาเขียนบทความสอนภาษาไพธอนลงบล็อกก็เพราะอยากช่วยเพิ่มข้อมูลที่เป็นภาษาไทยให้มากขึ้นสักหน่อย เพื่อให้คนไทยเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น แม้ว่าคงจะอีกห่างไกลกว่าจะมีข้อมูลเยอะเหมือนอย่างภาษาญี่ปุ่น

ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาธรรมชาติที่สวยงามอ่านง่าย เหมาะแก่การอ่านค้นคว้าข้อมูล ในขณะเดียวกันภาษาไพธอนก็เป็นภาษาโปรแกรมที่สวยงามอ่านง่าย เหมาะแก่การเขียนเพื่อทำอะไรต่างๆมากมาย ให้ความรู้สึกคล้ายคลึงกันเป็นอย่างดี

ไม่ว่าจะเรียนภาษาธรรมชาติ หรือภาษาโปรแกรมก็ตาม ต่างมีหลักการคล้ายๆกันคือต้องทำความเข้าใจไวยากรณ์ จำศัพท์ และต้องฝึกใช้เยอะๆเรื่อยๆให้ชำนาญ

และไม่ว่าจะเรียนภาษาไหน พอได้รู้ภาษามากขึ้นก็เป็นการเปิดโลก เปิดหูเปิดตาให้กว้างไกลมากขึ้น

โดยเฉพาะภาษาไพธอนนั้นเป็นภาษาที่ใช้อยู่อย่างกว้างขวางในทุกวงการ ไม่ได้จำเพาะแค่ด้านใดด้านหนึ่ง สามารถทำแทบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่ภาษาอื่นทำได้ ดังนั้นจึงมีประโยชน์ที่จะเรียนรู้เป็นอย่างมาก



ต่อไปจะแนะนำมอดูลที่จำเป็นสำหรับคนที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าต่อในด้านต่างๆ ขอใส่แต่ชื่อเอาไว้ สามารถนำไปค้นตามเว็บต่อกันได้

การคำนวณคณิตศาสตร์
- numpy
- sympy

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
- scipy

วาดกราฟแสดงข้อมูล
- matplotlib
- mayavi

วิเคราะห์ข้อมูล
- pandas

ดาราศาสตร์
- astropy

การเรียนรู้ของเครื่อง
- scikit-learn
- keras
- pytorch

สถิติ
- statmodels

ภาษาธรรมชาติ
- gensim
- pythainlp
- pykakasi

จัดการรูปภาพ
- scikit-image
- imageio
- opencv

กราฟิก
- vpython
- pyopengl

ล้วงข้อมูลจากเว็บ
- beautifulsoup
- selenium

เขียนเว็บ
- django
- flask
- responder
- fastapi

ทำฐานข้อมูล
- sqlite
- sqlalchemy

สร้างแอปพลิเคชัน
- pyqt
- pyside
- wxpython
- kivy
- tkinter
- pysimplegui
- flet

สร้างเกม
- pygame
- pyglet

และอื่นๆอีกมากมายซึ่งไม่สามารถยกมาทั้งหมดได้

นอกจากนี้ไพธอนยังเป็นภาษาที่ถูกนำไปใช้เพื่อสั่งการโปรแกรมต่างๆ เช่นโปรแกรมด้านกราฟิกอย่าง maya, houdini, blender, nuke, metasequoia, ฯลฯ



หวังว่าข้อมูลทั้งหมดที่เขียนขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย
'''
)





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文