φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



รถไฟในไต้หวัน
เขียนเมื่อ 2011/05/28 10:50
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
หลังจากที่คราวก่อนเล่าเรื่องรถเมล์ไป https://phyblas.hinaboshi.com/20110413
ครั้งนี้จะเล่าถึงรถไฟของที่นี่ซึ่งเราต้องนั่งอยู่ทุกวันเช่นกัน
 
 
 
นี่เป็นแผนที่ทางรถไฟของไต้หวัน จะเห็นว่าเป็นวงรอบเกาะเลย อย่างไรก็ตาม เราเคยนั่งแค่เสี้ยวด้านเหนือสุดของเกาะคือระยะระหว่างไทเปถึงซินจู๋เท่านั้นเอง
 
 
 
รถไฟที่นี่หลักๆแล้วมีอยู่สองประเภทก็คือ ชวีเจียน (區間) กับจื้อเฉียง (自強) จะขึ้นแบบไหนต้องดูให้ดี

แบบชวีเจียนคือรถไฟแบบปกติ จะจอดทุกสถานี ในขณะที่จื้อเฉียงจะจอดเฉพาะสถานีหลักๆเท่านั้น
นั่นคือถ้าใครที่ต้นทางกับปลายทางเป็นสถานีหลักๆอยู่แล้ว จะนั่งชวีเจียนหรือจื้อเฉียงก็ไม่ต่างกัน แต่แบบจื้อเฉียงจะเหมาะสำหรับเดินทางไกลๆมากกว่า
แบบชวีเจียนจะมาบ่อยกว่าจื้อเฉียงพอสมควร โดยทั่วไปถ้าเดินทางใกล้ๆไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นแบบจื้อเฉียง
 
รถไฟแบบชวีเจียน ประตูอยู่กลางๆโบกี้
 
ข้อดีของแบบจื้อเฉียงคือสามารถจองที่นั่งได้ คือถ้าซื้อตัวพร้อมที่นั่งก็สบายใจได้ว่าไม่ต้องยืนไปจนตลอดทางแน่นอน ดังนั้นตั๋วแบบจื้อเฉียงนั้นจะแพงกว่าแบบชวีเจียนพอสมควร
ส่วนคนที่ซื้อแค่ตั๋วแบบชวีเจียนก็สามารถนั่งจื้อเฉียงได้ เพราะเขาไม่มีตรวจหรอกว่าเราขึ้นรถไฟแบบไหน แต่จะได้นั่งต่อเมื่อถ้ามีที่ว่างเท่านั้น แต่ถ้ามีเจ้าของที่มาทวงก็ต้องลุกทันที ในขณะที่ถ้าขึ้นชวีเจียนธรรมดานี่คือใครมาก่อนก็ได้นั่งก่อน

ดังนั้นถ้าเราแน่ใจว่าช่วงเวลาที่เราขึ้นรถเนี่ยมีผู้โดยสารน้อยก็ไม่ต้องซื้อตั๋วแบบจื้อเฉียงให้เปลืองเลย ยังไงก็มีที่นั่งโดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
 
รถไฟแบบจื้อเฉียง ประตูอยู่ริมโบกี้
 
ภายในขบวนรถก็จะเห็นว่าต่างกันชัดเจน ชวีเขียนเป็นที่นั่งแบบสองแถวหันหน้าเข้าหากัน และมีที่ให้คนยืนเหลือเฟือ ส่วนจื้อเฉียงเป็นที่นั่งแบบรถเมล์ เก้าอี้เป็นตัวๆนั่งสบาย ทุกคนหันไปด้านหน้า มีที่ให้ยืนน้อยมาก บางเวลามีพนักงานเข็นรถเข็นมาขายอาหารด้วย
 

รถไฟแบบชวีเจียน ที่นั่งแบบสองแถว
 

รถไฟแบบจื้อเฉียง ที่นั่งแบบรถเมล์
 
เราเองไม่เคยซื้อตั๋วแบบจื้อเฉียงเลย เพราะไม่มีความจำเป็นต้องนั่ง ไม่เคยไปไหนไกล บางครั้งก็ได้ที่นั่ง บางครั้งนั่งๆอยู่เจอเจ้าของที่มาทวงคืน เรียกได้ว่าต่อให้ได้นั่งก็นั่งได้อย่างไม่เป็นสุขเท่าไหร่ ขึ้นชวีเจียนดีที่สุด ถ้าเรานั่งแล้วจะไม่มีใครมาแย่งที่เราได้
 
นอกจากนี้ก็มีรถไฟแบบจวี่กวาง (莒光) ซึ่งราคาอยู่ระหว่างกลาง จำนวนสถานีที่จอดก็อยู่ระหว่างกลางระหว่างชวีเจียนกับจื้อเฉียง ส่วนลักษณะขบวนรถจะคล้ายๆกับจื้อเฉียง แต่จำนวนรถจวี่กวางมีน้อยมาก ตั้งแต่ขึ้นรถไฟมาไม่รู้กี่ครั้งเพิ่งจะมีครั้งเดียวเองที่ได้นั่งจวี่กวาง
 
รถไฟแบบจวี่กวาง ดูภายนอกคล้ายๆกับจื้อเฉียง
 

ภายในก็เป็นที่นั่งแบบรถเมล์คล้ายกับจื้อเฉียง
 
ภาพสถานีเถาหยวน (桃園火車站) ที่เราขึ้นประจำ
 
ภายนอกสถานี
 
ชานชลา
 
อุโมงค์สำหรับข้ามไปอีกฝั่งของทางรถไฟ
 
 
อันนี้เป็นสถานีจงลี่ (中壢火車站) ดูแล้วใหญ่กว่าสถานีเถาหยวนนิดหน่อย
 
ภายนอก
 

ชานชลา
 
สถานนีอิงเกอ (鶯歌火車站) อิงเกอเป็นเขตหนึ่งในจังหวัดไทเป สถานีนี้เป็นสถานีย่อยไม่ใช่สถานีหลักจึงไม่มีจื้อเฉียงมาลง แม้จะเป็นเพียงสถานีย่อยแต่กลับดูหรูกว่า เพราะเป็นตึกสองชั้นสวยทีเดียว
 
ชั้นล่าง
 
ชั้นสอง
 
ชานชลา
 
 
สถานีซินจู๋ (新竹火車站) มีครั้งหนึ่งได้ไปเที่ยวมาเลยถ่ายเอาไว้ด้วย สถานีนี้ออกแนวตะวันตกนิดหน่อย
 
 
 
อันนี้เป็นวิวข้างทางถ่ายระหว่างเดินทางขึ้นจื้อเฉียงจากสถานีจงลี่ไปซินจู๋ พอดีโชคดีมีที่นั่งสบาย รถจื้อเฉียงนี้วิ่งตรงจากจงลี่ไปซินจู๋โดยไม่มีแวะที่ไหนเลย (ทะลุผ่านสถานีที่ถ้าเป็นชวีเจียนต้องจอดไปหลายสถานี) ใช้เวลา ๒๕ นาทีก็ถึง
 
 
 
 
 
 
 
 
และข้อดีอีกอย่างหนึ่งของรถไฟที่นี่ก็คือสามารถใช้รูดบัตรแทนการซื้อตั๋วได้ เหมือนกับที่รถไฟฟ้าเลย อันนี้ใช้บัตรอันเดียวกับรถไฟฟ้าที่ไทเป
อย่างไรก็ตาม รูดบัตรสามารถไปได้ไกลสุดแค่ถึงซินจู๋เท่านั้นเอง ถ้าไกลกว่านี้ยังไงก็ต้องซื้อตั๋ว
และการรูดบัตรมีค่าเท่ากับการนังชวีเจียนดังนั้นถ้าอยากได้ที่นั่งในจื้อเฉียงก็ต้องซื้อเอา
 
 
และที่สถานีรถไฟของที่นี่ก็มีเรื่องให้แปลกใจอีกเช่นเดียวกับรถเมล์ นั่นคือ...
 
 
ลองสังเกตป้ายทางมุมขวาล่างกับซ้ายบนของภาพให้ดี
 
 
มันมีภาษาไทยด้วยน่ะสิ!! และก็มีภาษาเวียดนามกับอินโดนีเซีย



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文