φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ครัวเซ ชุมทางวงกต ณ ต่างแดน ตอนที่ 1-2
เขียนเมื่อ 2011/07/17 06:48
แก้ไขล่าสุด 2022/10/08 19:01
หน้านี้เขียนขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาฝรั่งเศส และข้อมูลเพิ่มเติมบางอย่างที่ปรากฏในอนิเมะเรื่อง ครัวเซ ชุมทางวงกต ณ ต่างแดน (ikoku meiro no croisée) ตอนที่ ๑ ถึง ๒
 
https://phyblas.hinaboshi.com/20110630
 
คำอ่านภาษาฝรั่งเศสทั้งหมดยึดตามราชบัณฑิต อาจไม่ตรงกับเสียงอ่านจริงนัก เพราะเสียงอ่านจริงๆของภาษาฝรั่งเศสอ่านยากมาก เรียกได้ว่าฟังแล้วไม่รู้จะเขียนเป็นตัวไทยยังไงเลยทีเดียว จึงต้องยึดตามราชบัณฑิตเป็นหลัก

ก่อนเข้าเรื่องบอกคร่าวๆเกี่ยวกับภาษาฝรั่งเศสว่าคนอาจสับสนได้เนื่องจากภาษาฝรั่งเศส
- คำสะกดอ่านแปลกไปจากสามัญสำนึกของคนทั่วไปมาก เช่น oi อ่าน "อัว" an อ่าน "อ็อง" in อ่าน "แอ็ง" บางทีตัวสะกดก็ไม่อ่านออกเสียง เช่น les อ่านว่า "เล"
- มีการแบ่งเพศของคำนามด้วย เพศในที่นี่เป็นเพศทางไวยากรณ์ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับเพศจริงๆเลยสักนิด เพราะสิ่งของเองก็มีการแบ่งเพศ แปลกดีนะ อาจดูไม่ค่อยมีเหตุผลเท่าไหร่แต่มันเป็นหลักไวยากรณ์สำคัญของภาษาในยุโรปแทบทุกภาษา
 
อนึ่ง ผู้เขียนรู้ภาษาฝรั่งเศสแค่เพียงเบื้องต้นเท่านั้น แม้พยายามหาข้อมูลอย่างเต็มที่ก็อาจมีข้อผิดพลาดได้ หากผู้เชี่ยวชาญบังเอิญผ่านมาอ่านและพบข้อผิดพลาดก็ขอคำชี้แนะด้วย
 
 
 
1. galerie
เริ่มมาถึงก็เป็นฉากที่แสดงบรรยากาศภายในเมือง คุณปู่ออสการ์พายุเนะเดินอยู่ในกาเลอรี เขาได้แนะนำให้ยุเนะรู้จักว่าสถานที่ลักษณะเป็นโถงทางเดินยาวซึ่งเขาเรียกว่ากาเลอรี
คำว่ากาเลอรี (galerie) เป็นภาษาฝรั่งเศส ความหมายก็คือ แกลเลอรี (gallery) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง คำว่าแกลเลอรีนี้คนไทยคุ้นเคยในความหมายของแกลเลอรีรูป หรือหอศิลป์
คำว่าแกลเลอรีรูปคือ photo gallery และหอศิลป์ก็คือ art gallery งั้นคำว่าแกลเลอรีเฉยๆล่ะ?
 
แม้ว่าปัจจุบันพูดถึงแกลเลอรีเฉยๆทุกคนจะนึกถึงเกี่ยวกับศิลปะ นั่นน่าจะเป็นเพราะส่วนใหญ่มันถูกใช้ในทางด้านนี้ แต่ความหมายดั้งเดิมของตคำว่าแกลเลอรีเองนี้น่าจะหมายถึงลักษณะรูปแบบตัวอาคารมากกว่า
คือลักษณะอาคารสถานที่ดังที่เห็นภายในเรื่องนี้ เมื่อได้ดูอนิเมะเรื่องนี้ไปเรื่อยๆทุกคนก็จะคุ้นเคยไปเรื่อยๆว่าแกลเลอรีหรือกาเลอรีนั้นเป็นยังไง

สำหรับบรรยากาศของกาเลอรีของจริงในฝรั่งเศสให้เข้าไปดูใน ๖ ลิงค์ข้างล่างนี้ มีคนที่บ้าเรื่องนี้จนถึงขั้นไปตามเก็บข้อมูลของกาเลอรีที่ฝรั่งเศสเลยทีเดียว มีอยู่ถึง ๖ แห่ง
กาเลอรีที่นั่นหลายแห่งก็ถูกเรียกว่าปาซาฌ (passage เขียนเหมือนคำว่าแพสเซจในภาษาอังกฤษแต่อ่านไม่เหมือนกันนะระวัง) ซึ่งก็หมายถึงสถานที่ในลักษณะเดียวกัน

๑. ปาซาฌเดแปรงส์ (Passage des Princes) http://www.jpcul.jp/articles/view/1436.html
๒. ปาซาฌฌูฟรัว (Passage Jouffroy) http://www.jpcul.jp/articles/view/1467.html
๓. ปาซาฌแวร์โด (Passage Verdeau) http://www.jpcul.jp/articles/view/1538.html
๔. ปาซาฌปาโนรามา (Passage Panoramas) http://www.jpcul.jp/articles/view/1610.html
๕. กาเลอรีเวโร-โดดา (Galerie Vero-dodat) http://www.jpcul.jp/articles/view/1686.html
๖. กาเลอรีวีเวียน (Galerie Vivienne) http://www.jpcul.jp/articles/view/1812.html

กาเลอรีเป็นสิ่งที่ค่อนข้างโบราณแล้ว หากเทียบกับห้างสรรพสินค้าแล้ว คนนิยมน้อยกว่ามาก จึงค่อยๆหายไปตามกาลเวลา การที่หลงเหลืออยู่นั้นก็ถือเป็นสิ่งที่มีค่าในเชิงอนุรักษ์



2. galerie du roy & enseignes du roy
ชื่อกาเลอรีที่พวกโกล๊ดทำงานอยู่ กาเลอรีดูว์รัว (galerie du roy) แปลว่ากาเลอรีแห่งรัว
และชื่อร้านของโกล๊ดซึ่งอยู่ในกาเลอรี ชื่ออ็องแซญดูรัว (enseignes du roy) แปลว่าป้ายแห่งรัว
โดยที่คำว่า ดูว์ (du) นั้นเป็นคำแสดงความเป็นเจ้าของนั่นเอง แต่ใช้กับคำนามเพศชายเท่านั้น ถ้าเป็นคำนามเพศหญิงใช้ เดอลา (de la)
ส่วน roy ถ้าเป็นชื่ออังกฤษคงอ่านว่า "รอย" แต่นี่เป็นชื่อฝรั่งเศสเลยอ่านว่า "รัว" แน่นอนว่าเป็นชื่อของผู้ชาย ก็เลยใช้ du
คำว่า อ็องแซญ (enseigne) แปลว่าแผ่นป้าย โดยเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษคือเติม s เข้าไปเป็นพหูพจน์ แต่จะสังเกตว่า s ตัวนี้เติมมาเฉยๆแต่ไม่ออกเสียง



3. Japonaise
ฌาปอแน (Japonais) = ชายญี่ปุ่น
ฌาปอแนซ (Japonaise) = สาวญี่ปุ่น

*อันนี้ต้องแก้นิดนึงว่าที่เขียนไว้ในซับตอน ๑ ที่ออกไปนั้นเขียนเป็น Japonese ซึ่งผิด ต้องเป็น Japonaise


คำว่าฌาปอแนซ (Japonaise) กับฌาปอแน (Japonais) นี้เทียบเท่ากับคำว่า Japanese ในภาษาอังกฤษนั่นเอง เพียงแต่ว่าในภาษาฝรั่งเศสจะมีการแยกเพศ

จะสังเกตเห็นว่าต่างกันแค่ e เท่านั้นเอง คือ s ตัวท้ายจะไม่ออกเสียงถ้าไม่มี e มาต่อท้าย ถ้ามี e มาต่อท้ายถึงจะออกเสียง แต่ตัว e เองก็ไม่ออกเสียงอยู่ดี ภาษาฝรั่งเศสออกจะดูแปลกๆนิดหน่อยตรงนี้
ตัวอย่างประเทศอื่นเช่น ไตล็องแด (thaïlandais) = ชายไทย, ไตล็องแดซ (thaïlandaise) = สาวไทย
ไม่ว่าจะชาวประเทศไหนก็จะมีการแยกเพศ



4. atelier
ช่วงกลางเรื่องมีอยู่ช่วงหนึ่งที่โกล๊ดเล่าเรื่องในอดีตใหนยุเนะฟัง พูดถึงว่าเมื่อก่อนมีอาเตอลีเยขนาดใหญ่คอยจัดการสร้างสิ่งต่างๆภายในกาเลอรี
อาเตอลีเย (atelier) เป็นคำภาษาฝรั่งเศสที่มีใช้ในภาษาอังกฤษด้วย มีความหมายว่าห้องที่ใช้ทำงานด้านศิลปะ
 http://en.wikipedia.org/wiki/Atelier (art)

(นอกเรื่อง) บางคนอาจจะพอได้ยินเกมในซีรีส์อาเตอลีเยซึ่งออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัย play station
http://en.wikipedia.org/wiki/Atelier (series)



5. les petites abeilles
โกล๊ดได้ให้หนังสือยุเนะมาเล่มหนึ่ง (ด้วยความที่ไม่รู้ว่ายุเนะพูดภาษาฝรั่งเศสได้แล้ว) เป็นหนังสือเรียนภาษาฝรั่งเศสของอนุบาล ชื่อว่า เลเปติตซาเบอิย์ (les petites abeilles) ซึ่งแปลว่าผึ้งน้อย (หลายตัว)
ก็คือเหมือนที่เราเรียนภาษาอังกฤษกันท่อง a ant b boy c cat แต่ใช้คำภาษาฝรั่งเศสเวลาท่อง โดยเริ่มจาก อาเบอีย์ (abeille) = ผึ้ง ก็คือชื่อหนังสือนั่นเอง (โดยเติม s เพื่อทำเป็นรูปพหูพจน์เหมือนภาษาอังกฤษ แต่จะไม่ออกเสียง คือออกเสียงเหมือนเดิม)
แถมสังเกตว่าชื่อเรียกตัวอักษรก็ต่างกันออกไปด้วย ไม่ใช่ เอ บี ซี ดี อี ที่เราคุ้นเคย แต่ฝรั่งเศสจะอ่านเป็น
"อา เบ เซ เด เออ แอ็ฟ เฌ อัช อี ฌี กา แอล แอม แอน โอ เป กูว์ แอร์ แอ็ส เต อูว์ เว ดูเบลอเว อิกซ์ อีแกร็ก แซค"
les petites abeilles ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ the little bees นั่นเอง แต่จะยุ่งยากตรงที่ถ้ามีผึ้งแค่ตัวเดียวละก็จะกลายเป้น la petit abeille จะเห็นว่าเปลี่ยนทั้ง ๓ คำเลย ในขณะที่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็คงเป็น the little bee คือเปลี่ยนแค่คำสุดท้าย
นั่นเพราะในภาษาฝรั่งเศส ถ้าคำนามเปลี่ยนรูป คำที่มาขยายมันก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย คำขยายเอกพจน์กับพหูพจน์ไม่เหมือนกัน



6. fromage
โฟรมาฌ (fromage) = เนยแข็ง
เป็นชื่อตอน และเป็นสาระสำคัญของตอนนี้ คนญี่ปุ่นไม่คุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์จากนม ในขณะที่คนฝรั่งเศสขาดมันไม่ได้เลย เป็นความแตกต่างด้านวัฒนธรรมการกิน
 
(นอกเรื่อง) พูดถึงคำว่าโฟรมาฌแล้วทำให้นึกถึงมังงะเรื่อง ทสึกิโยะ โนะ โฟรมาฌ (tsukiyo no fromage, 月夜のフロマージュ) ที่วาดภาพโดย อ.ทิงคุรุ เป็นอะไรที่ภาพงามมาก




7. baguette
บาแก็ต (baguette) = ขนมปังฝรั่งเศส
ขนมปังฝรั่งเศส ก้อนใหญ่ๆ ยาวๆ แข็งๆ อย่างที่เห็นกันบ่อยๆ ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่าบาแก็ต มักจะเจออยู่เสมอในหนังหรืออนิเมะที่เกี่ยวกับฝรั่งเศส อย่างที่รู้ว่าฝรั่งชอบทานขนมปัง
ลักษณะการกินของคนฝรั่งเศสกับญี่ปุ่นก็ต่างกันพอดู ตอนเช้าคนเอเชียชอบทานข้าว คนยุโรปชอบทานขนมปัง
http://en.wikipedia.org/wiki/Baguette



8. grand magasin
กร็องมากาแซ็ง (grand magasin) = ห้างสรรพสินค้า
โกล๊ดได้พายุเนะมาเดินในเมืองจนผ่านสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นตึกใหญ่ นั่นคือกร็องมากาแซ็ง หรือห้างสรรพสินค้านั่นเอง ร้านนี้เป็นคู่แข่งของกาเลอรีเนื่องจากแย่งลูกค้าไป
ตามที่พูดถึงไปในด้านบนว่ากาเลอรีเป็นชองเก่าที่ค่อนข้างล้าสมัย และสิ่งที่เข้ามาแทนก็คือกร็องมากาแซ็งนี่เอง ไม่ว่าโกล๊ดจะทุกข์ใจเพียงแค่ไหนก็ไม่อาจฝืนกระแสของเวลาได้
คำว่า กร็อง (grand) แปลว่าใหญ่โต, มากาแซ็ง (magasin) แปลว่าร้านค้า



9. marché
มาร์เช (marché) = ตลาด
ต่างจากกร็องมากาแซ็งหรือกาเลอรีที่เป็นในร่ม มาร์เชจะเป็นสถานที่กลางแจ้ง เน้นขายอาหาร
ตลาดแบบนี้เห็นบ่อยๆตามหนังหรืออนิเมะที่เป็นแนวแฟนตาซี มันต่างจากตลาดบ้านเราตรงที่แผงค่ายตั้งกลางแจ้งโดยไม่มีหลังคาเลย ถ้าเป็นบ้านเราก็ร้อนตายไม่ต้องได้ขายกันเป็นแน่



10. centime & franc
 หน่วยเงินฝรั่งเศสสมัยก่อนคือฟรัง (franc) ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้หน่วยยูโรตามสากล ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (เป็นสวิสฟรัง) และอีกบางประเทศ
ซองตีม (centime) คือหนึ่งส่วนร้อยของฟรัง ก็เหมือนกับที่หน่วย cent คือหนึ่งส่วนร้อยของ dollar หรือสตางค์เป็นหนึ่งส่วนร้อยของบาท
http://en.wikipedia.org/wiki/Centime



11. dîner
ดีเน (dîner) = อาหารเย็น คำนี้ก็คล้ายๆกับคำว่า dinner ในภาษาอังกฤษ ใช้ได้ทั้งเป็นคำนามและกริยา คนอังกฤษไปดินเนอร์ ส่วนคนฝรั่งเศสไปดีเน




12. pot-au-feu
คุณปู่ออสการ์กลับมาบ้านได้กลิ่นหอมฉุยก็รู้ทันทีว่าโกล๊ดกำลังทำโปโตเฟอ (pot-au-feu) มันคือสตูเนื้อที่นิยมทานในฝรั่งเศส
http://en.wikipedia.org/wiki/Pot-au-feu



13. café au lait
กาเฟโอแล (café au lait) คือกาแฟใส่นมแบบฝรั่งเศส ซึ่งคล้ายๆกับแบบอิตาลีที่เรียกว่า กัฟแฟะ ลัตเต (caffè latte) หรือที่คนไทยเรียกว่ากาแฟลาเต้ ต่างกันตรงที่ความเป็นฝรั่งเศสหรืออิตาลี คือต่างเล็กน้อยที่ภาชนะและชนิดกาแฟที่ใช้
http://en.wikipedia.org/wiki/Café_au_lait
 
 
ปิดท้าย เรามาชำแหละคำจากชื่อเรื่องกันดูสักหน่อย
La croisée dans un labyrinthe étranger
ลาครัวเซด็องเซิงลาบีแร็งเตทรองเฌ

ครัวเซ (croisée) = ชุมทาง
ด็อง (dans) = ใน
ลาบีแร็งต์ (labyrinthe) = เขาวงกต
เอทร็องเฌ (étranger) = ต่างแดน

ลา (la) เป็นคำ article คล้ายๆ the ในภาษาอังกฤษ แต่ใช้กับคำนามเพศหญิง ถ้าเป็นคำนามเพศชายจะใช้ เลอ (le) ถ้าเป็นพหูพจน์ใช้ เล (les)
เนื่องจาก croisée เป็นคำนามเพศหญิงเลยใช้ la

เอิง (un) เป็นคำ article คล้ายๆ a, an ในภาษาอังกฤษ แต่ใช้กับคำนามเพศชาย ถ้าเป็นคำนามเพศหญิงใช้ อูน (une)
เนื่องจาก labyrinthe เป็นคำนามเพศชายเลยใช้ un

นอกจากนี้จะเห็นว่า dans อยู่เดี่ยวๆปกติอ่านเป็น ด็อง โดยตัว s ไม่ออกเสียง แต่เมื่อต่อด้วยคำที่ไม่มีเสียงพยัญชนะเช่น un เสียงตัว s จะมาปรากฏขึ้น เลยอ่านเป็น ด็องเซิง ไม่ใช่ ด็องเอิง (แต่ถ้าต่อด้วยคำที่มีเสียงพยัญชนะอยู่แล้ว เสียง s ก็จะไม่ปรากฏ)

เมื่อรวมแล้วก็จะแปลออกมาง่ายๆเป็น ชุมทางในวงกตต่างแดน


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> อนิเมะ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文