φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
บ้านเก่าของซุนยัดเซนในเมืองจงซาน
เขียนเมื่อ 2012/08/29 21:41
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 19 ส.ค. 2012
หลังจากที่ได้ไปเที่ยวในตัวเมืองจงซานมาแล้วเที่ยวหนึ่งดังที่เล่าไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20120811
เราได้กลับไปที่เมืองจงซานอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ย่านใจกลางเมืองแต่อยู่ห่างออกมาในบริเวณที่เรียกว่าตำบล
หนานหล่าง (南朗)
ที่นี่มีสถานีรถไฟทำให้มาได้สะดวก
เป้าหมายการมาเที่ยวรอบนี้คือไปเยี่ยมชม
บ้านเก่าของซุนยัดเซน (孙中山故居)
เขาเกิดที่นี่ ปัจุบันบ้านที่เขาเคยอาศัยอยู่นั้นก็ยังคงอยู่และได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมือง
ซุนยัดเซนเกิดในปี 1966 ที่หมู่บ้าน
ชุ่ยเฮิง (翠亨)
ตำบลหนานหล่าง เมืองจงซาน เขาได้ไปเรียนต่อที่ฮาวายตั้งแต่เด็ก หลังจากนั้นก็ไปเรียนแพทย์ที่ฮ่องกง ก่อนที่หลังจากนั้นเขาจะเริ่มหันเหมาสนใจเรื่องการปฏิวัติเพื่อล้มล้างระบบกษัตริย์ของราชวงศ์ชิง
เขาได้ก่อการปฏิวัติหลายครั้ง แต่ก็ล้มเหลวแล้วต้องหนีลี้ภัยหลายครั้ง จนในที่สุดในปี 1911 เขาก็เป็นแกนนำในการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ เรียกว่า
การปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命)
และก่อตั้งสาธารณรัฐจีนขึ้น แต่กลับให้
หยวนซื่อไข่ (袁世凯)
ซึ่งเป็นผู้นำ
รัฐบาลเป่ย์หยาง (北洋政府)
เป็นประธานาธิบดี
แล้วก็เกิดความขัดแย้งกันภายในขึ้นระหว่างหยวนซื่อไข่กับทางซุนยัดเซน ทำให้ซุนยัดเซนต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่น ระหว่างอยู่ที่นั่นเขาก็ยังพยายามทำการปฏิวัติเพื่อต่อต้านมาโดยตลอด
จนในปี 1915 หยวนซื่อไข่ตั้งตัวเองขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ แต่อยู่ได้ไม่นานก็กลับป่วยตายในปี 1916
ปี 1917 ซุนยัดเซนกลับมายังจีนด้วยความหวังที่จะปกครองประเทศและทำให้ประเทศชาติเป็นปึกแผ่นสงบเรียบร้อย โดยแรกสุดตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่กว่างโจว แต่ตอนนั้นจีนก็ยังคงเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เขาไม่สามารถทำอะไรได้มาก
จนในปี 1919 เขาได้ก่อตั้ง
พรรคก๊กมินตั๋ง (国民党)
ขึ้น และได้ทุ่มเทเวลาที่เหลือทั้งหมดให้กับการปฏิวัติเพื่อรวมประเทศจีนเเต่จนเขาตายลงก็ยังคงรวมประเทศไม่สำเร็จ
เขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับในปี 1925 ที่ปักกิ่งขณะอายุ ๕๘ ปี ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่
หนานจิง (南京)
ปัจจุบันหลุมฝังศพของเขาที่หนานจิงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง
ซุนยัดเซนนั้นมีชื่อเรียกอยู่ด้วยกันหลายชื่อ ชื่อซุนยัดเซนนั้นเป็นชื่อที่ชาวตะวันตกส่วนใหญ่รู้จักเขา นั่นเพราะเวลาเขาเขียนชื่อตัวเองเป็นภาษาอังกฤษเขาจะเขียนว่า Sun Yat-sen
ซึ่งชื่อนี้มาจากชื่อ
孙逸仙
ซึ่งอ่านตามสำเนียงจีนกลางว่า
ซุนอี้เซียน
อ่านตามสำเนียงกวางตุ้งว่า
ซวิ้นหยัดซิ้น
เนื่องจากเขาเป็นคนกวางตุ้งก็เลยเขียนชื่อตัวเองตามคำอ่านแบบกวางตุ้ง แต่เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีหลักการเขียนชื่อภาษาอังกฤษที่แน่นอน เขาจึงเขียนตามที่เขาสะดวก คือเขียนเป็น Sun Yat-sen คนไทยเริ่มแรกรู้จักเขาจากชื่อนี้ก็เลยเรียกเขาว่าซุนยัดเซนตามที่เขียน
แต่ชื่อที่คนจีนนิยมเรียกเขามากที่สุดก็คือชื่อ
ซุนจงซาน (孙中山)
ซึ่งชื่อนี้ที่จริงแล้วมาจากชื่อภาษาญี่ปุ่น เนื่องจากสมัยก่อนเขาเคยอาศัยอยู่ญี่ปุ่นก็เลยมีการใช้ชื่อญี่ปุ่น เขาใช้ชื่อว่า
นากายามะ โชว (中山樵)
ซึ่งนามสกุลนากายามะนี้อ่านเป็นภาษาจีนว่าจงซาน เขาก็เลยนำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่อเขาในตอนหลัง
ชื่อเดิมของเขาซึ่งเป็นอีกชื่อที่คนนิยมเรียกกันก็คือ
ซุนเหวิน (孙文)
ปัจจุบันชื่อสถานที่ต่างๆทั้งสวนสาธารณะ ถนนต่างๆจะพบว่ามีหลายแห่งใช้ชื่อจงซาน ส่วนใหญ่ชื่อเหล่านี้คือเพิ่งถูกเปลี่ยนมาภายหลังเพื่อเป็นเกียรติแก่ซุนยัดเซน
สำหรับเมืองจงซานนั้นถูกตั้งชื่อใหม่ในปี 1925 ทันทีที่เขาตาย เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในฐานะที่ที่นี่เป็นบ้านเกิดของเขา เดิมที่เมืองนี้มีชื่อว่า
เซียงซาน (香山)
ซุนยัดเซนเคยอาศัยอยู่ในหลายที่ทั้งในประเทศจีนและในต่างประเทศ แต่ละสถานที่จึงมีบ้านเก่าของเขาอยู่มากมาย แต่สำหรับในเมืองจงซานนี้มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นบ้านเกิดของเขา ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก
ภายในบริเวณบ้านเก่าของซุนยัดเซนประกอบไปด้วยตัวบ้านซึ่งรอบๆก็มีบ้านเก่าแบบโบราณอยู่จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันไม่มีใครอยู่ในบริเวณนั้นเพราะว่ากลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ตามตัวบ้านเก่ามีจัดแสดงของต่างๆเกี่ยวกับหมู่บ้านชุ่ยเฮิง
และข้างๆตัวอาคารบ้านเก่าของซุนยัดเซนก็มีหอที่ระลึกซุนยัดเซน ซึ่งภายในจัดแสดงประวัติของซุนยัดเซนและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด
เรานั่งรถไฟจากสถานีใต้กว่างโจวมาลงยังสถานีรถไฟหนานหล่าง จากนั้นก็นั่งรถเมล์ต่อมาไม่กี่ป้ายก็มาถึงบ้านเก่าของซุนยัดเซน
ด้านหน้าทางเข้า
สามารถรับบัตรเข้าชมได้ฟรี สาเหตุที่เข้าฟรีแต่ต้องใช้บัตรคงเพราะเขาต้องการรู้ยอดจำนวนคนเข้าชม
ข้างในนี้คนมหาศาลเลย
ภายในบริเวณ ก่อนจะเดินถึงส่วนอาคารก็เป็นสวนสวยๆ
นี่คืออาคารบ้านเก่าของซุนยัดเซน
เนื่องจากบ้านไม่ได้ใหญ่มาก จำนวนคนเข้าได้จำกัด เลยต้องต่อคิวเพื่อเข้า
แต่ว่าภายในตัวบ้านเขาไม่ให้ถ่ายรูป จึงถ่ายมาได้แค่รูปนี้ ซึ่งเป็นรูปหน้าบ้านชั้นล่างสุด หลังจากนั้นก็ต้องเก็บกล้องแล้ว
พอออกจากตัวบ้านมา รอบๆตัวบ้านนี้ก็มีพวกอาคารบ้านเก่าอยู่เต็มไปหมด
บางอาคารก็จัดแสดงพวกของเก่าๆไว้ภายใน
อาหารนี่ไม่ใช่ของจริงนะ แต่เหมือนดี
พวกร้านค้าก็มีเยอะ หาของที่ระลึกได้จากตรงนี้
ลองสังเกตผนังบางส่วนของที่นี่จะพบว่าทำจากซากเปลือกหอย
ขยายดูให้ชัดๆ
ข้างๆตัวอาคารบ้านเก่าของซุนยัดเซนนั้นมีอนุสรณ์สถานของเขาตั้งอยู่ เป็นอาคารใหญ่สูงสองชั้น
เมื่อเข้ามาถึงก็จะพบรูปปั้นของซุนยัดเซนตั้งอยู่เด่นตรงหน้า แต่สังเกตดีๆผ้าที่ปูด้านบนสีคุ้นๆนะ นั่นมันธงไทยนี่นา!
ธงไทยยังพาดอยู่ตามระเบียงชั้นสองด้วย ไม่รู้ว่ามีความเกี่ยวข้องยังไงกับไทยหรือเปล่า
ชั้นล่างนี้มีส่วนที่ขายของ
ภายในมีจัดแสดงอะไรเยอะมาก ส่วนใหญ่จะมีสองภาษา จีนกับอังกฤษ
แผนภาพทางซ้ายอธิบายประวัติศาสตร์สมัย
กบฏไท่ผิง (太平天国)
สงครามกบฏต่อต้านราชวงศ์ชิงครั้งใหญ่ซึ่งสิ้นสุดลงไปก่อนที่ซุนยัดเซนจะเกิดได้ ๒ ปี
ตรงนี้เป็นประวัติศาสตร์เล่าถึงซุนยัดเซนในช่วงต่างๆ
แบบจำลองห้องที่ซุนยัดเซนใช้ในการฝึกวิชาแพทย์ เตียงเหล็กที่เห็นนั่นเป็นของที่เขาใช้จริงตอนอยู่มาเก๊า
แบบจำลองห้องที่ซุนยัดเซนอาศัยอยู่ในเซี่ยงไฮ้
ไปต่อกันที่ชั้นสอง
ห้องนี้จัดแสดงข้อมูลของลูกหลานและญาติพี่น้องของซุนยัดเซน
ภาพนี้คือภาพครอบครัวตระกูลซุน ลูกหลานของซุนยัดเซนซึ่งได้กลับมารวมตัวพร้อมหน้ากันที่บ้านเก่าแห่งนี้ในปี 1996
พูดถึงเรื่องครอบครัวแล้ว ซุนยัดเซนกับภรรยาคนแรกคือ
หลูมู่เจิน (卢慕贞)
มีลูกชายอยู่ ๑ คน ลูกสาวอยู่ ๒ คน นอกจากนี้เขายังมีลูกสาวกับภรรยาชาวญี่ปุ่นอีก ๑ คน แต่เขาลาจากญี่ปุ่นมาก่อนที่เธอจะเกิดเสียอีก ซุนยัดเซนมีภรรยาใหม่ซึ่งอายุน้อยกว่าเขาถึง ๒๗ ปี คือ
ซ่งชิ่งหลิง (宋庆龄)
หนึ่งในสามพี่น้องตระกูลซ่งอันโด่งดัง ซ่งชิ่งหลิงมีชีวิตอยู่ยืนยาวต่อมาและได้มีบทบาทสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์จีน
หลังจากดูตรงส่วนนี้จบไปก็เท่ากับจบการเที่ยวที่นี่ แต่ว่าการเที่ยวในเมืองจงซานยังไม่จบแค่นั้น ยังมีอีกสถานที่ซึ่งน่าสนใจซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตรงนี้ สถานที่นั้นคือ
เมืองภาพยนตร์จงซาน (中山城)
เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งมีการจำลองฉากสถานที่ต่างๆมากมาย
อ่านต่อ
https://phyblas.hinaboshi.com/20120831
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
กวางตุ้ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
แวะไปกินร้านชิจิฟุกุเตย์ราเมงที่ย่านมินามิคาตาเอะในเขตโจวนังแถวมหาวิทยาลัยฟุกุโอกะ
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文