φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
สะพานใหญ่ข้ามช่องแคบอากาชิ ระเบียงทางเดินเหนือพื้นน้ำ และหอที่ระลึกซุนยัดเซน
เขียนเมื่อ 2013/02/07 00:26
แก้ไขล่าสุด 2022/11/18 09:08
#ศุกร์ 18 ม.ค. 2013
จากตอนที่แล้วซึ่งไปเที่ยว
ปราสาทอากาชิ (明石城)
ใน
เมืองอากาชิ (明石市)
มา
https://phyblas.hinaboshi.com/20130205
เมื่อเที่ยวเสร็จเราก็กลับมานั่งรถไฟเพื่อไปยังสถานที่เที่ยวต่อไปนั่นคือ
สะพานใหญ่ข้ามช่องแคบอากาชิ (明石海峡大橋)
ซึ่งอยู่ที่
สถานีไมโกะ (舞子駅)
ซึ่งอยู่ถัดจากสถานีอากาชิไปเพียงสองสถานี ระยะทาง ๔.๓ กิโลเมตร ใช้เวลานั่งรถไฟเพียง ๓ นาทีก็ถึง
ช่องแคบอากาชิ (明石海峡)
เป็นช่องแคบที่กั้นระหว่างเกาะหลักคือ
เกาะฮนชู (本州島)
กับ
เกาะอาวาจิ (淡路島)
เกาะย่อยที่ใหญ่ที่สุดในทะเลเซโตะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสามเมืองในจังหวัดเฮียวโงะ
ช่องแคบนี้แม้ว่าจะชื่อว่าอากาชิแต่ก็ไม่ได้อยู่ในเมืองอากาชิ แต่กลับอยู่ในเขตของ
เมืองโควเบะ (神戸市)
ซึ่งเป็นเมืองหลักของจังหวัดเฮียวโงะ
สะพานใหญ่ข้ามช่องแคบอากาชินั้นเป็นสะพานยาวที่ใช้เชื่อมระหว่างเกาะหลักฮนชูกับเกาะอาวาจิ ซึ่งเป็นทางผ่านไปสู่
เกาะชิโกกุ (四国島)
เกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะหลักสี่เกาะของญี่ปุ่น ดังนั้นสะพานนี้จึงมีความสำคัญมาก
สะพานมีความยาว ๓๙๑๑ เมตร โดยมีความยาวระหว่างตอม่อ ๑๙๑๑ เมตร เป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก เริ่มสร้างขึ้นในปี 1986 และเปิดใช้งานในวันที่ 5 เมษายน 1998 เป็นสะพานสำหรับรถยนต์ข้ามเท่านั้น ไม่มีรถไฟผ่าน
ปัจจุบันสะพานใหญ่ข้ามช่องแคบอากาชิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองโควเบะ เพราะมีเปิดระเบียงทางเดินเหนือพื้นน้ำให้คนมาเดินเล่นด้านบนสะพาน และบริเวณใต้สะพานยังมี
หอที่ระลึกซุนยัดเซน (孫文記念館)
ตั้งอยู่ด้วย
ตำแหน่งเมืองโควเบะ สีม่วงเข้มในแผนที่ เกาะสีชมพูคือเกาะอาวาจิ ตำแหน่งของสะพานใหญ่ข้ามช่องแคบอากาชิอยู่ระหว่างชองแคบระหว่างเกาะนี้กับเมืองโควเบะ
รถไฟมาถึงสถานีไมโกะ ซึ่งอยู่ใกล้กับสะพาน
ทันทีที่ออกมาก็เห็นทะเลพร้อมทั้งตัวสะพานอย่างชัดเจน
จากตัวสถานี ข้ามสะพานลอยไปฝั่งที่อยู่ริมทะเล
ก็จะมาโผล่ที่ใต้ฐานของสะพาน
ซึ่งจะเจอกับฐานสะพานส่วนที่เป็นเหมือนอาคารซึ่งเปิดให้คนทั่วไปเข้าได้ ตรงนี้คือทางขึ้นเพื่อไปยังระเบียงทางเดินเหนือผิวน้ำ
การจะขึ้นไปก็ต้องเสียค่าเข้า โดยค่าเข้าจ่ายโดยผ่านเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ วันธรรมดากับวันหยุดราคาจะต่างกันไป วันธรรมดา ๒๔๐ เยน วันหยุดเสาร์อาทิตย์ ๓๐๐ เยน วันที่ไปโชคดีว่าเป็นวันธรรมดา
เข้าไปจะมีลิฟต์ให้กดเอาเอง ขึ้นไปยังชั้น ๘
เมื่อขึ้นมาถึง ทางเดินเหนือน้ำก็อยู่ตรงหน้านี้แล้ว
ทางเดินบนนี้ไม่มีกระจกล้อมแต่มีรั้วเหล็กล้อมโดยรอบ
หากมองลงไปข้างล่างก็จะเห็นถนนซึ่งรถวิ่ง
แต่ทางเดินตรงนี้ก็ไม่ได้ลากยาวไปไกลนัก แค่พอให้คนได้มาเดินแล้วเห็นอะไรนิดหน่อยเท่านั้น ที่น่าสนใจคือจุดประสงค์ของการสร้างสะพานนี้ขึ้นก็คือให้รถผ่าน แต่เขาก็ยังไม่ลืมที่จะทำทางเดินสำหรับชมทิวทัศน์ให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปด้วย
มองออกไปทางซ้ายเห็นหอที่ระลึกซุนยัดเซนซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลอย่างชัดเจน
เมื่อลองสังเกตดีๆก็พบว่าตัวอาคารกำลังซ่อมแซมอยู่ ทำให้ใจไม่ดีว่ามันอาจปิดไม่สามารถเข้าไปชมได้ก็เป็นได้ แต่ตอนหลังก็รู้ว่าแค่ปิดซ่อมภายนอก ไม่มีผลต่อการเข้าชม
พื้นส่วนหนึ่งเขาทำเป็นกระจกโปร่งใสด้วย
ซึ่งถ้ามองไปข้างล่างละก็ จะเห็นว่าทะเลอยู่ข้างล่างเรานี่เอง มองในภาพถ่ายอาจไม่รู้สึกอะไรมาก แต่ตอนที่เราไปยืนอยู่ตรงนั้นจริงๆจะรู้สึกว่าหวาดเสียวมาก
ต่อไปเรามาที่หอที่ระลึกซุนยัดเซนซึ่งอยู่ข้างๆกัน
ที่นี่จะเห็นว่ากำลังซ่อมแซมอยู่ แต่ก็แค่ภายนอก สามารถเข้าไปชมด้านในได้
เกี่ยวกับว่าซุนยัดเซนเป็นใคร เราเคยเขียนเอาไว้ในหน้านี้ตอนที่ไปเที่ยวบ้านเกิดของเขาที่เมืองจงซานในจีน
https://phyblas.hinaboshi.com/20120829
ซุนยัดเซนเป็นนักปฏิวัติที่นำพาจีนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ตลอดช่วงชีวิตของเขานั้นได้มีการไปพำนักอยู่ต่างประเทศบ่อยครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลี้ภัย ญี่ปุ่นก็เป็นเป้าหมายหนึ่งซึ่งเขาไปบ่อยและอยู่ยาว
อนุสรณ์สถานของซุนยัดเซนนั้นมีอยู่หลายแห่งในประเทศจีนและในต่างประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่นเองก็มีอยู่ที่นี่ที่หนึ่ง
อาคารที่ตั้งของหอที่ระลึกซุนยัดเซนนั้นเรียกว่า
อิโจวกากุ (移情閣)
ถูกสร้างขึ้นในปี 1915 โดย
อู๋จิ่นถาง (呉錦堂)
พ่อค่าชาวจีนผู้ร่ำรวยซึ่งอาศัยอยู่ในโควเบะ
โดยแรกเริ่มเดิมที่บริเวณนี้เป็นบ้านพักตากอากาศชื่อว่า
บ้านพักตากอากาศโชวไก (松海別荘)
ซึ่งในช่วงปี 1913 ซุนยัดเซนได้เดินทางมาที่ญี่ปุ่นซึ่งก็ได้แวะมาที่โควเบะด้วย โดยพ่อค้าชาวจีนได้พาเขามาเลี้ยงข้าวที่บ้านพักตากอากาศโชวไกแห่งนี้
ซึ่งนั่นเป็นเวลาก่อนที่อาคารอิโจวกากุจะถูกสร้างขึ้นมาตั้งสองปี อาคารนี้จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับซุนยัดเซนโดยตรง แต่หลังจากนั้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน 1984 ที่นี่ก็ได้ถูกเปิดเป็นหอที่ระลึกซุนยัดเซน
ต่อมาปี 1994 เนื่องจากการสร้างสะพานข้ามช่องแคบอากาชิทำให้อิโจวกากุต้องถูกย้ายตำแหน่ง โดยอาคารที่เห็นในปัจจุบันก็คืออาคารที่ถูกสร้างใหม่ อยู่ห่างจากตำแหน่งเดิมไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๒๐๐ เมตร
ที่นี่ต้องจ่ายค่าเข้าชม ๓๐๐ เยน ผู้ดูแลดูเหมือนจะพูดภาษาจีนได้ด้วย ข้างในไม่ได้ห้ามถ่ายรูปก็เลยถ่ายมาเล็กน้อย
ตั๋วเข้าชม
ภายใน
จะเข้าข้างในต้องถอดรองเท้าเปลี่ยนเป็นรองเท้าแตะด้วย
ข้างในจัดแสดงสิ่งของและเรื่องราวเกี่ยวกับซุนยัดเซนมากมาย
ตรงนี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างซุนยัดเซนกับเมืองโควเบะ
มีฉายวีดิทัศน์แนะนำชีวประวัติของซุนยัดเซนด้วย
ส่วนตรงนี้เป็นประวัติของอู๋จิ่นถาง ผู้ที่สร้างที่นี่ขึ้นมา
อาคารไม่ใหญ่เท่าไหร่ ก็เลยดูแป๊บเดียวก็ทั่วแล้ว จากนั้นก็ออกมา พอเห็นตัวอาคารที่กำลังซ่อมอยู่ก็ยิ่งรู้สึกว่าน่าเสียดาย ไม่งั้นคงได้เห็นตัวอาคารสวยๆ
ได้เวลาเดินกลับไปที่สถานีรถไฟเพื่อไปเที่ยวยังที่ต่อไปซึ่งจะเหนื่อยกว่าที่นี่อีกมาก
ท้ายที่สุดแล้วต้องยอมรับอย่างว่าที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่เที่ยวที่ผิดหวังที่สุดในบรรดาสถานที่ที่ไปเที่ยวมาในเที่ยวนี้ เพราะว่าไม่ค่อยมีอะไรให้ดูมากนัก ทิวทัศน์บริเวณโดยรอบสะพานไม่ค่อยสวยเด่นอะไร แถมมาจังหวะที่อาคารปิดซ่อมอยู่ก็เลยยิ่งเสียดาย
แต่ก็ไม่ใช่ว่าผิดหวังว่าไม่ควรจะมาเลยอะไรแบบนั้น เพียงแค่ถ้าให้เทียบกับที่อื่นที่มีโอกาสไปมาทั้งหมดแล้วที่นี่ถือว่าด้อยกว่าอยู่หน่อยเท่านั้น เพราะว่าแต่ละที่ที่ไปมาล้วนน่าสนใจมาก ไม่ค่อยจะมีที่ผิดหวังเลย
จะว่าไปแล้วการที่เราตั้งใจมาเที่ยวที่นี่แต่แรกก็เลยทำให้ตัดสินใจถือโอกาสแวะปราสาทอากาชิซึ่งอยู่ใกล้กันไปด้วย แต่กลายเป็นว่ากลับถูกใจปราสาทอากาชิมากกว่าที่นี่เสียอีก
แต่ว่าที่ถูกใจมากที่สุดของวันนั้นยังไงก็คือสถานที่ที่ไปต่อจากที่นี่ ซึ่งจะเขียนถึงในหน้าต่อไป ติดตามชมกันต่อได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20130209
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
พิพิธภัณฑ์
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
เฮียวโงะ
--
ท่องเที่ยว
>>
ทะเล
--
ท่องเที่ยว
>>
รถไฟ
--
ท่องเที่ยว
>>
หิมะ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文