φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
เดินเล่นสวนสาธารณะบนเนินเขาในเมืองซามะ
เขียนเมื่อ 2014/01/26 14:45
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อังคาร 12 พ.ย. 2013
หลังจากที่เดินเล่นในสวนสาธารณะใกล้ๆ JAXA เสร็จแล้วก็เดินมาขึ้นรถไฟ
https://phyblas.hinaboshi.com/20140124
เป้าหมายคือ
สวนสาธารณะซามะยาโตยามะ (座間谷戸山公園)
ซึ่งอยู่ที่
เมืองซามะ (座間市)
ซึ่งอยู่ข้างๆนี้เอง
สวนสาธารณะซามะยาโตยามะมีพื้นที่ ๐.๓๐๖ ตร.กม. ตั้งอยู่บนเนินเขา ภายในเป็นพื้นที่ที่มีการจัดระบบนิเวศอย่างดีเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่า มีพื้นที่ลุ่มน้ำสำหรับสัตว์ที่อาศัยในที่ชื้น พื้นที่ป่าที่อนุรักษ์แมลง ทุ่งหญ้าสำหรับนกป่า แล้วก็บึงสำหรับนกน้ำ มีพื้นนาที่มีการดำอยู่ มีป่าที่ปลูกต้นไม้ชนิดต่างๆ
แผนที่จังหวัดคานางาวะ แสดงตำแหน่งเมืองซามะ สีชมพูเข้ม
การเดินทางไปนั้นเริ่มจากนั่งรถไฟไป ซึ่งต้องไปต่อที่
สถานีมาจิดะ (町田駅)
สถานีมาจิดะตั้งอยู่ใน
เมืองมาจิดะ (町田市)
จังหวัดโตเกียว หากดูแผนที่แล้วจะเห็นว่าเมืองนี้เป็นติ่งของจังหวัดโตเกียวที่ยื่นเข้ามาในจังหวัดคานางาวะ ดังนั้นการเดินทางในจังหวัดคานางาวะก็อาจต้องผ่านเมืองนี้
แผนที่โตเกียว แสดงตำแหน่งเมืองมาจิดะ สีชมพูเข้ม
นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ได้เหยียบจังหวัดโตเกียว เพราะตอนขามาที่เดินทางมาจากสนามบินนาริตะนั่งรถโดยตรงจากจังหวัดจิบะข้ามผ่านโตเกียวมาถึงจังหวัดคานางาวะเลย ไม่ได้ลงมาเดินหรือเปลี่ยนเครื่อง
บรรยากาศที่สถานีมาจิดะ ที่นี่เป็นสถานีใหญ่ คนคับคั่งมาก
มาเปลี่ยนขึ้นรถไฟ
สายโอดาวาระ (小田原線)
ของบริษัทรถไฟ
โอดะคิว (小田急)
ซึ่งเป็นบริษัทรถไฟท้องถิ่นที่มีเส้นทางอยู่ในจังหวัดโตเกียวและคานางาวะ สายโอดาวาระเริ่มต้นที่ชินจุกุ และไปจนถึง
สถานีโอดาวาระ (小田原駅)
ใน
เมืองโอดาวาระ (小田原市)
และยังต่อไปจนถึง
ฮาโกเนะ (箱根)
ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดัง
ภายในคนเยอะเหลือเกิน สมกับที่เป็นเวลาเช้าที่ผู้คนต่างออกไปทำงาน
สถานีซามะอยู่ห่างจากสถานีมาจิดะไป ๕ สถานี ข้อควรระวังก็คือสถานีซามะไม่ใช่สถานีหลัก ดังนั้นถ้าขึ้นรถประเภทรถด่วนก็จะโดนข้ามไป
ไม่นานก็มาถึงสถานีซามะ
บรรยากาศบริเวณรอบๆสถานี
ก่อนอื่นขอไปแวะซื้ออะไรมาเป็นอาหารเช้าสักหน่อย ในร้านสะดวกซื้อที่อยู่ตางตึกด้านตรงข้ามกับสถานี ได้โดนัทแกงกะหรี่ราคา ๑๓๐ เยน กับชาข้าวสาลี ๑๔๗ เยน
แล้วก็เริ่มเดินเพื่อมุ่งหน้าไปยังสวนสาธารณะ ระหว่างทางเดินจะเห็นว่าเมืองนี้ตั้งอยู่บนทางลาดเขาจึงมีทิวทัศน์ที่สวยงาม
ทิวทัศน์ที่มองจากตรงนี้ลงไปสวยงามมาก
บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในตำแหน่งดีมาก มีสวนหน้าบ้านที่มองเห็นทิวทัศน์ข้างล่างชัดเจน ถ้าได้อยู่ในบ้านแบบนี้คงจะมีความสุขน่าดู
เดินต่อไปตามย่านชุมชนบนทางลาดเขาเรื่อยๆ
ในที่สุดก็มาถึงถนนสายที่ผ่านสวนสาธารณะ ที่เหลือก็แค่หาทางเข้า
เดินต่อมาตามถนนก็จะเจอจุดตัดรางรถไฟ
ซึ่งก็เป็นรถไฟสายที่นั่งมาเมื่อครู่นี้เอง
เลี้ยวขวาก่อนถึงทางรถไฟแล้วเดินมาอีกนิดเดียวก็จะเจอประตูทางเข้าสวนสาธารณะ
ประตูนี้เป็นประตูตะวันตก เรียกว่า
นางายะมง (長屋門)
หน้าประตูมีใบไม้เปลี่ยนสีกำลังสวย
เข้ามาด้านใน
สิ่งที่เห็นก่อนก็คือพื้นนา มีหุ่นไร่กาอยู่ด้วย
มีป้ายอธิบายเรื่องการปลูกข้าวของที่นี่ไว้ด้วย
เดินขึ้นบันไดมาจะเจออาคารไม้เก่า
เป็นร้านสำหรับให้ยืมอุปการณ์ต่างๆเช่นเก้าอี้ล้อหรือกล้องส่องทางไกลสำหรับสังเกตการณ์ธรรมชาติได้
พอดีตรงนี้มีโต๊ะและเก้าอี้ให้นั่งพักได้
ก็เลยเอาของที่ซื้อเมื่อครู่มานั่งกินตรงนี้แหละ
จากบนนี้มองกลับลงไปตรงท้องนาทิวทัศน์สวยงามดีมาก
ทานเสร็จก็ไปเดินต่อ บริเวณถัดมาเป็นสวนระบบนิเวศแบบพื้นที่ชุ่มน้ำ
เป็นที่อยู่อาศัยของพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่ชื้น
มีป้ายอธิบายด้วย เขาเขียนถึงว่าในระดับน้ำที่ตื้นลึกต่างกันพืชที่งอกก็จะต่างกันไป บางชนิดดูคล้ายกันแต่ดูในรายละเอียดแล้วจะต่างกันไป
มีทางให้เดินเข้าสัมผัสกับระบบนิเวศภายใน แต่ว่าห้ามลงไปย่ำเพราะจะรบกวนสิ่งมีชีวิตในนั้น
เดินไปตามทางเรื่อยๆ
ก็จะถึงบริเวณบ่อนกน้ำ
มองเข้าไปไกลๆเห็นมีพวกนำว่ายน้ำเล่นอยู่
ที่นี่มีกบอยู่ด้วย ตรงนี้อธิบายวิถีชีวิตของกบ
หลังจากตรงนี้ก็จะเป็นทางเดินบนเขา เส้นทางวกวนอยู่แต่ก็มีป้ายบอกทาง
เดินมาเรื่อยๆจะเจอบ่อน้ำเล็กๆอีกแห่งกลางหุบเขา แถวนี้เรียกว่าหุบเขาน้ำพุ บ่อน้ำที่เห็นนี้มาจากน้ำที่ผุดมาจากใต้ดิน
ป้ายอธิบายระบบนิเวศของที่นี่
หลังจากเดินออกจากบ่อน้ำพุตรงนี้ ก็เดินวนอยู่ในเส้นทางวกวนบนเขา ระหว่างทางไม่มีอะไรมาก แต่ก็มีจุดที่มองกลับไปยังพื้นที่นาที่ผ่านมาตอนแรกจากมุมสูงได้
ตอนนั้นดูนาฬิกาพบว่าเกือบจะเก้าโมงอยู่แล้ว ต้องรีบแล้ว เพราะต้องกลับถึงก่อนสิบโมง ที่จริงในนี้ยังมีอะไรให้ดูอีก แต่ถ้าไม่รีบกลับก็ไม่ทัน
ว่าแล้วก็รีบวิ่งเพื่อจะไปออกทางประตูใต้ แต่เส้นทางก็วกวนกว่าที่คิด สุดท้ายเลยไปออกทางประตูตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อออกมาแล้วเกินไม่แน่ใจเส้นทางสักเท่าไหร่เลยถามคนแถวนั้นว่าจะกลับไปที่สถานีซามะยังไงดี แต่เขาก็ตอบมาว่าตรงนี้ใกล้กับอีกสถานีนึงมากกว่า นั่นคือ
สถานีโซวบุไดมาเอะ (相武台前駅)
ซึ่งเป็นอีกสถานีหนึ่งของเมืองซามะ เมืองนี้เป็นแค่เมืองเล็กๆที่มีอยู่แค่สองสถานี
แล้วเขาก็ชี้ทางให้เดินตรงตามถนนสายนี้เรียบสวนสาธารณะไปเรื่อยๆแล้วก็จะไปตัดกับทางรถไฟ
ระหว่างทางเดินผ่านประตูตะวันออกของสวนสาธารณะ มีลักษณะเป็นลานกว้าง
ทางเข้าเล็กๆอีกทางตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หลังจากนั้นต้องเดินไปตามทางเรื่อยๆ
จนถึงทางรถไฟตามที่เขาบอก
จังหวะนั้นมีรถไฟผ่านพอดี เป็นทิศทางที่เรากำลังต้องไปพอดีด้วย แต่ว่าเป็นรถด่วน ดังนั้นจึงไม่จอดสถานีที่เรากำลังจะไปขึ้น ถือว่ารอดไปไม่งั้นเท่ากับตกรถไฟต้องรอขบวนต่อไป
ข้ามรางรถไฟมาแล้วที่เหลือก็แค่เดินไปตามถนนที่เรียบทางรถไฟจนถึงสถานี แต่ที่จริงก็แอบคิดเหมือนกันว่าถ้าเดินไปตามทางรถไฟนี่เลยจะเป็นไง
ระหว่างทางเห็นรถติดทีเดียว
มีรถเมล์ที่วิ่งตามเส้นทางที่เราเดินมาด้วย ผ่านสถานีเหมือนกัน แต่ดูแล้วรถติดแบบนี้ถ้าวิ่งยังเร็วกว่านั่งรถเลย
ถึงสถานีแล้ว
รอไม่นานรถไฟก็มา
มาลงที่
สถานีซางามิโอโนะ (相模大野駅)
ที่นี่เป็นสถานีใหญ่ที่สำคัญของเมืองซางามิฮาระ จากตรงนี้สามารถนั่งรถเมล์กลับไปที่วิทยาเขตซางามิฮาระได้
บรรยากาศด้านนอกสถานี
ตอนที่ถึงก็เกือบจะเก้าโมงครึ่งแล้วต้องรีบเต็มที่ รีบมองหาป้ายบอกทางว่ารถเมล์ไปขึ้นตรงไหน
จุดที่ขึ้นรถเมล์อยู่ด้านล่าง ใต้ทางเดินลอยฟ้าข้างสถานี ตอนที่มาถึงรถเมล์กำลังออกพอดี พอขึ้นไปก็รีบถามให้แน่ใจว่าใช่รถเมล์ที่จะไปถึงหรือเปล่า แล้วก็ถามว่าใช้เวลาแค่ไหน เขาก็บอกว่าประมาณ ๒๐ นาที ก็เป็นไปตามที่หาข้อมูลมา ไม่มีผิดแผนอะไร
สุดท้ายก็กลับไปถึงป้ายรถเมล์ตรงแยกเคียววะยงโจวเมะซึ่งอยู่หน้าวิทยาเขตซางามิฮาระก่อนสิบโมงเพียงสิบนาที แล้วก็รีบวิ่งเข้าไปยังห้องเล็กเชอร์ทันเวลาพอดี
เลยกลายเป็นวันที่เหนื่อย เล่นเอาลุ้นแทบแย่เหมือนกัน ได้วิ่งออกกำลังแต่เช้าเลย แต่สุดท้ายก็ทันเวลา
หมดแล้วสำหรับการเที่ยวช่วงเช้า ตอนต่อไปจะกลับมาเป็นเรื่องวิชาการต่อ
https://phyblas.hinaboshi.com/20140131
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
คานางาวะ
--
ท่องเที่ยว
>>
รถไฟ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
แวะไปกินร้านชิจิฟุกุเตย์ราเมงที่ย่านมินามิคาตาเอะในเขตโจวนังแถวมหาวิทยาลัยฟุกุโอกะ
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文