φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
เฮลซิงกิในค่ำคืนก่อนฟ้ามืด
เขียนเมื่อ 2014/07/13 00:28
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 11 พ.ค. 2014
จากที่ตอนที่แล้วเครื่องบินออกเดินทางจากสตอกโฮล์ม
https://phyblas.hinaboshi.com/20140711
ใช้เวลาไม่นานเราก็บินมาถึงเฮลซิงกิเวลา 19:40 ตามเวลาของฟินแลนด์ซึ่งเร็วกว่าสวีเดนอยู่หนึ่งชั่วโมง
เฮลซิงกิ (Helsinki)
เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟินแลนด์ ตั้งอยู่ติดทะเลบอลติก ที่ละติจูดประมาณ ๖๐ องศาเหนือ ทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองที่อยู่เหนือที่สุดที่เราได้ไปเที่ยวมาในเที่ยวนี้ และไม่รู้ว่าหลังจากนี้จะมีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ละติจูดสูงกว่านี้เมื่อไหร่ ถ้าเลยต่อไปอีกทางเหนือไม่มากก็เป็นบริเวณที่เห็นพระอาทิตย์เที่ยงคืนได้แล้ว
หากเทียบกับสตอกโฮล์มแล้วเฮลซิงกิอาจไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่า ไม่ได้ดูคับคั่งเท่า ไม่ได้สวยงามเท่า ไม่ได้มีประวัติความเป็นมายาวนานเท่า
ฟินแลนด์เมื่อสมัยก่อนเคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดน หลังจากนั้นในปี 1809 จึงมาอยู่ใต้การปกครองของรัสเซีย และได้เป็นอิสระในปี 1917
ดังนั้นวัฒนธรรมของฟินแลนด์จึงมีความเกี่ยวพันกับสวีเดนและรัสเซียค่อนข้างมาก แต่ในขณะเดียวกันฟินแลนด์เองก็มีอะไรหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่นเรื่องภาษา เนื่องจากภาษาฟินแลนด์ต่างจากภาษาส่วนใหญ่ในยุโรปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นต่อให้รู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาสวีเดนก็แทบไม่อาจอ่านภาษาฟินแลนด์ได้เลย
นอกจากภาษาฟินแลนด์แล้ว ในฟินแลนด์มีประชากรอยู่ประมาณ ๕% ที่พูดภาษาสวีเดนเป็นภาษาแม่ ดังนั้นภาษาสวีเดนจึงถือเป็นภาษาราชการในฟินแลนด์ด้วย และป้ายต่างๆแทบทุกที่ในฟินแลนด์จะต้องมีติดภาษาสวีเดนคู่กับภาษาฟินแลนด์เสมอ โดยรวมแล้วชาวฟินแลนด์พูดภาษาสวีเดนได้พอๆกับภาษาอังกฤษ และยังมีไม่น้อยที่พูดภาษารัสเซียได้ด้วย
คำว่าฟินแลนด์ที่เรียกกันในภาษาอังกฤษนั้นจริงๆแล้วมาจากภาษาสวีเดนคำว่าฟินลันด์ (Finland) ส่วนในภาษาฟินแลนด์จะเรียกว่าซัวมิ (Suomi)
ชื่อเมืองหลวงเฮลซิงกินี้เป็นชื่อที่เรียกในภาษาฟินแลนด์ แต่ในภาษาสวีเดนจะเรียกว่าเฮลซิงฟอร์ส (Helsingfors) แต่ในภาษาอื่นจะนิยมเรียกตามภาษาฟินแลนด์ ดังนั้นชื่อเรียกเมืองนี้ในภาษาสวีเดนจะต่างจากในภาษาอื่น
ไม่ใช่แค่ชื่อเมืองเท่านั้น ชื่อสถานที่ต่างๆภายในฟินแลนด์มักจะมีชื่อภาษาฟินแลนด์และภาษาสวีเดนที่ต่างกัน จะเห็นได้ชัดจากป้ายที่เขียนกำกับตามที่ต่างๆ อย่างไรก็ตามชื่อส่วนใหญ่ที่เรียภกันในภาษาอื่นก็มักจะเรียกตามภาษาฟินแลนด์มากกว่า ดังนั้นไม่จำเป็นต้องไปจำชื่อภาษาสวีเดนให้เหนื่อย
ภาพถ่ายจากท้องฟ้าก่อนที่เครื่องจะลง ความจริงครั้งนี้ไม่ได้นั่งริมหน้าต่าง แต่เห็นคนที่นั่งริมหน้าต่างเขาเริ่มเอากล้องขึ้นมาถ่ายก็เลยขอเขาถ่ายตาม ที่จริงทิวทัศน์ที่เห็นจากบนเครื่องมันสวยพอสมควร แต่พอถ่ายภาพผ่านกระจกแล้วก็เลยไม่ชัด ดูไม่ค่อยสวยอย่างที่ได้เห็น
กลับมาที่สนามบินเฮลซิงกิแห่งนี้อีกแล้วเป็นครั้งที่ ๒ แต่คราวนี้ไม่ใช่แค่มาเปลี่ยนเครื่องแต่จะได้แวะเที่ยวในเฮลซิงกิจริงๆ
ก่อนอื่นออกมาเดินหาที่แลกเงินในสนามบินเพื่อเปลี่ยนเงินโครนสวีเดนเป็นเงินยูโร นี่เป็นความยุ่งยากอย่างหนึ่งในการเที่ยวในประเทศแถบยุโรปเหนือ เพราะว่าทุกชาติใช้เงินต่างกันหมด ถ้าเป็นยุโรปตะวันตกจะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโรกันเกือบหมดแล้ว แถบยุโรปเหนือนี้มีแต่ฟินแลนด์ที่ใช้ยูโร
จากนั้นออกจากอาคารสนามบินมาเพื่อไปขึ้นรถเมล์ที่ป้ายรถเมล์ซึ่งอยู่ด้านหน้าสถานี สถานีที่เรามาขึ้นนี้เรียกว่า
เล็นโตะอะเสะมะ (lentoasema)
แปลว่าสนามบิน
รถที่จะต้องขึ้นก็คือหมายเลข 615 ซึ่งมีปลายทางอยู่ที่ป้าย
เราตะเตียนโตะริ (rautatientori)
ซึ่งแปลว่าจตุรัสหน้าสถานีรถไฟ
ยืนรอตรงนี้
การเดินทางเที่ยวภายในเฮลซิงกินั้นสามารถใช้ตั๋วโดยสารแบบรายวันซึ่งจะทำให้ขึ้นพาหนะหลักๆในเมือง เช่น รถเมล์, รถไฟฟ้า, รถราง และเรือ ได้ทั้งหมด ตั๋วมีแบ่งออกเป็นตั๋วเดินทางภายในเขต กับตั๋วเดินทางสองเขต และสามเขต ราคาก็จะต่างกัน ถ้าเที่ยวแค่ในเฮลซิงกิอย่างเดียวซื้อตั๋วแบบเขตเดียวก็พอแล้วจะถูกมาก แต่เนื่องจากสนามบินอยู่คนละเขตกับตัวเมืองเฮลซิงกิดังนั้นเราจะต้องซื้อตั๋วแบบสองเขต ซึ่งตั๋วรายวัน ๑ วันราคา ๑๒ ยูโร ถือว่าคุ้มมากเพราะแค่เดินทางจากสนามบินเข้าตัวเมืองก็ราคา ๕ ยูโรแล้ว ไปกลับก็ ๑๐ ยูโร
ตั๋วรายวันนี้ใช้ได้ ๒๔ ชั่วโมง นั่นหมายความว่าพรุ่งนี้ก็ยังใช้ได้อยู่ตราบใดที่ยังไม่เลยเวลา เท่ากับตลอดเที่ยวนี้เราสามารถใช้บัตรนี้ได้ตลอดเพราะพรุ่งนี้จะออกจากที่นี่ตอนเย็นอยู่แล้ว ถือว่า ๑๒ ยูโรคุ้มมากทีเดียว เพราะจ่ายแค่นี้แล้วก็แทบไม่มีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตามมาเลย
วิธีการซื้อตั๋วก็ง่ายมาก ตรงป้ายรถเมล์จะมีเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติอยู่
เราสามารถซื้อตั๋วสำหรับเดินทางแบบรายวันได้ ซื้อที่เครื่องเอาได้เลย มีภาษาอังกฤษให้เลือก
แล้วก็จะได้ตั๋วมา ซึ่งมีเขียนบอกเวลาที่เราซื้อตั๋วและเวลาหมดอายุเอาไว้ อย่างในนี้ก็คือเขียนว่าใช้ได้ถึงวันที่ 12 พ.ค. เวลา 20:19 ซึ่งก็คือวันรุ่งขึ้นเวลาเดิมจากตอนนี้ ถึงเวลานั้นเราก็บินกลับไปแล้ว บัตรที่ได้มามีแต่ภาษาฟินแลนด์กับภาษาสวีเดน ไม่มีภาษาอังกฤษเลย แต่ก็ไม่เป็นไรพอจะเดาเนื้อหาได้ เราอยู่สวีเดนมานานหลายวันจนเริ่มคุ้นเคยกับภาษาสวีเดนแล้ว
รอสักพักหมายเลข 615 ก็มาถึง
บรรยากาศบนรถเมล์
เป้าหมายของเราก็คือโรงแรม CheapSleep Helsinki ซึ่งอยู่ใกล้กับป้าย
ฮัตตุลันเตีย (Hattulantie)
ซึ่งอยู่ไม่ได้ใกล้ใจกลางเมืองนัก แต่ก็อยู่บนเส้นทางผ่านระหว่างสนามบินกับสถานีรถไฟกลางเมือง จึงเดินทางสะดวก
ที่นี่เป็นโฮสเทลแบบถูกๆ ราคาแค่คืนละ ๒๐ ยูโรเท่านั้น ถือว่าถูกมาก แต่ว่าห้องเป็นที่พักแบบพักรวมกับคนอื่นหลายๆคนในห้องเดียว และห้องน้ำก็ต้องใช้ร่วมกับคนอื่น แต่ก็ไม่ได้ลำบากอะไรขนาดนั้น คิดว่าใครที่เป็นขาลุยหน่อยไม่น่ามีปัญหากับการพักแบบนี้ แถมยังมีข้อดีด้วยคืออาจได้คุยกับคนที่เป็นนักท่องเที่ยวด้วยกันที่อาจมาจากประเทศต่างๆหลายแห่ง
เราเดินทางมาลงที่ป้ายฮัตตุลันเตีย
ตอนนั้นเวลาเกือบสามทุ่มแล้ว ฟ้าก็เริ่มมืดลงเล็กน้อย แต่ก็ยังสว่างสบายๆอยู่
โรงแรมอยู่ตรงตึกสีดำทางซ้ายนี้
ถึงแล้ว ประตูนี้เราไม่สามารถเข้าได้ถ้าไม่มีคีย์การ์ด ต้องกดอินเทอร์คอมคุยกับคนของโรงแรมให้เขามาเปิดให้
ภายในอาคารจะมีอะไรหลายๆอย่างไม่ได้มีแค่โรงแรม ส่วนของโรงแรมเป็นแค่ชั้นเดียวภายในอาคารนี้เท่านั้นเอง ไม่ใหญ่เท่าไหร่นัก
บรรยากาศภายในห้องนั่งเล่นของโรงแรมเป็นแบบนี้ แต่ว่าภาพนี้ถ่ายตอนเช้าตรู่ก่อนที่จะออกจากโรงแรมไปมันเลยดูเงียบเหงา ถ้าเป็นตอนกลางคืนละก็ที่นี่จะคึกคักเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมายนั่งเล่นอยู่ คนเยอะมากจนไม่กล้าถ่ายรูปเลยต้องมาถ่ายตอนเช้าที่เงียบๆแทน
ตรงนี้มีแผนที่เฮลซิงกิแปะไว้ให้ดูได้ และมีแผ่นพับแนะนำสถานที่แจก บางอันมีให้เลือกได้หลายภาษา เราก็เลือกหยิบภาษาญี่ปุ่นไป
เมื่อเข้ามาก็เช็กอินแล้วก็จ่ายค่าพักแล้วเขาก็จะให้คีย์การ์ดมา เจ้าของโรงแรมดูหน้าตาน่ากลัวแต่ว่าใจดีมาก คุยด้วยก็ยิ้มแย้มดี ถามอะไรก็เต็มใจตอบ ทั้งเรื่องโรงแรมและเรื่องที่เที่ยวถามได้หมด เขาดูเป็นมิตรมาก
และตรงนี้คือหน้าห้องพัก ห้องพักต้องมีคีย์การ์ดถึงจะเข้าได้
ภายในห้องพักหน้าตาแบบนี้ จะเห็นว่ามีเตียงอยู่มากมาย ทุกคนนอนร่วมกันในห้องเดียว แต่ว่าคืนที่เราไปนั้นคนค่อนข้างน้อย เห็นมีคนนอนอยู่ไม่ถึงครึ่งของเตียงที่มี
เข้าไปพักเข้าห้องน้ำและอาบน้ำสักครู่ก็ออกมาเดินข้างนอกตอนประมาณสี่ทุ่มกว่าเพื่อจะหาอะไรกิน ตอนนั้นหิวจะแย่เพราะมื้อเย็นไม่ได้กิน เครื่องบินไม่ได้ให้อาหารเพราะเป็นการเดินทางแค่ระยะสั้น
สี่ทุ่มกว่าแล้วแท้ๆแต่ท้องฟ้าก็ยังไม่มืดเลย ยังมีแสงสนธยาอยู่ กว่าจะมืดก็อีกสักพักหนึ่งเพราะนี่เป็นช่วงใกล้ฤดูร้อน และฟินแลนด์ก็มีการใช้เวลาออมแสงเช่นเดียวกับสวีเดน
สิ่งที่พบก็คือร้านต่างๆพากันปิดไปเกือบหมดแล้ว ที่จริงแถวนี้มีร้านอาหารเยอะอยู่ น่าเสียดายที่มันดึกเกินไป
อย่างอันนี้เป็นร้านอาหารญี่ปุ่น
แล้วก็ร้านพิซซาก็มี
ที่จริงมีอยู่ร้านหนึ่งที่ยังเปิดอยู่ แต่ว่ามันกำลังจะปิดแล้ว เขาไม่รับสั่งอาหารนอกจากว่าจะสั่งแบบเอากลับ และราคาก็ค่อนข้างแพง ก็เลยคิดว่าไม่เอาดีกว่า
สุดท้ายก็หาอะไรทานไม่เจอ ก็เลยกลับไปหาเจ้าของโรงแรมว่าทำยังไงดี เขาก็เสนอว่าให้ลองไปดูในตู้เย็น อาจมีของที่นักท่องเที่ยวที่ไม่อยู่แล้วเหลือเอาไว้
ตู้เย็นที่นี่มีกฎอยู่ว่านักท่องเที่ยวทุกคนสามารถเอาของมาแช่ได้แต่ต้องเขียนชื่อและเวลาเช็กอินไว้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นของที่ไม่มีเจ้าของ ใครจะหยิบก็ได้ และถ้าหากว่าเวลาปัจจุบันเลยวันที่เขียนเช็กอินไปแล้วก็สามารถหยิบได้เช่นกันเพราะถือว่าเจ้าของไม่อยู่แล้วทิ้งเอาไว้
เราก็ไปค้นดูจนเจอนมกล่องหนึ่งที่สามารถหยิบได้ ดูเหมือนจะเป็นนมจากรัสเซีย ก็เลยเอามาดื่มรองท้องได้ ก็พอแก้ขัดไปได้
แต่ไม่นานหลังจากนั้นเจ้าของโรงแรมก็มาบอกเราว่าตอนนี้เขาไปคุยกับเจ้าของร้านขายอาหารข้างๆที่ตอนแรกทำท่าว่าจะปิดนั่นแล้วว่าให้ช่วยเปิดต่อ แล้วตอนนี้เขาก็เปิดต่อจริงๆ แต่ตอนนั้นเราขี้เกียจออกไปแล้วก็เลยได้แต่ขอบคุณเขาแล้วบอกว่าไม่ต้องแล้ว เรื่องนี้ทำให้ยิ่งรู้สึกว่าเจ้าของโรงแรมช่างใจดีจริงๆ รู้สึกว่าเลือกมาพักได้ไม่ผิดที่เลย
หลังจากนั้นก็ได้เวลาต้องกลับไปพักผ่อนในห้อง
พรุ่งนี้จะเป็นวันสุดท้ายของการเที่ยวแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20140715
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ต่างแดน
>>
ยุโรป
>>
ฟินแลนด์
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
ซากุระโนะบาบะ โจวไซเอง ย่านร้านค้าชิโมโตริ ซากุระมาจิคุมาโมโตะ
ชมปราสาทคุมาโมโตะที่ยังเต็มไปด้วยรอยแผลจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文