φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ซัวเม็นลินนะ ป้อมปราการบนเกาะ มรดกโลกในเฮลซิงกิ
เขียนเมื่อ 2014/07/17 11:33
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 12 พ.ค. 2014

เรือเดินทางออกจากเกาป์ปะโตะริ (Kauppatori) https://phyblas.hinaboshi.com/20140715

เป้าหมายคือซัวเม็นลินนะ (Suomenlinna) ป้อมปราการกลางทะเลซึ่งเป็นสถานที่เที่ยวที่สำคัญของเฮลซิงกิ

ป้อมปราการแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1748 ซึ่งสมัยนั้นฟินแลนด์ยังเป็นของสวีเดนอยู่ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นป้อมสำหรับต่อสู้กับรัสเซีย โดยตัวป้อมอยู่บนหมู่เกาะใกล้ชายฝั่งทางตะวันออกของเฮลซิงกิ ต่อมาสวีเดนก็พ่ายแพ้และฟินแลนด์ก็ตกเป็นของรัสเซีย ป้อมแห่งนี้ก็อยู่ภายใต้การดูแลของรัสเซีย

ในตอนแรกที่นี่ใช้ชื่อว่าสเวียบอรี (Sveaborg) ซึ่งเป็นภาษาสวีเดนแปลว่าป้อมปราการของสวีเดน แต่ต่อมาในปี 1918 ก็เปลี่ยนเป็นซัวเม็นลินนะซึ่งแปลว่าป้อมปราการของฟินแลนด์

ที่นี่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 1991



ระหว่างนั่งเรืออยู่ระหว่างทางเห็นเกาะเล็กๆโดดเดี่ยว นี่คือเกาะลนนะ (Lonna)



เรือจะมาจอดที่เกาะหลักคือเกาะอิโสะมุสตะซาริ (Iso Mustasaari) แปลว่าเกาะดำใหญ่



ข้างๆนั้นเป็นเกาะปิกกุมุสตะซาริ (Pikku Mustasaari) แปลว่าเกาะดำเล็ก ตึกที่เห็นคือโรงเรียนนายเรือ เชื่อมกันกับเกาะอิโสะมุสตะซาริอยู่ด้วยสะพาน และยังมีทางเชื่อมไปเกาะเล็กอีกเกาะคือเกาะแล็นซิมุสตะซาริ (Länsi Mustasaari) แปลว่าเกาะดำตะวันตก



เรือจอดเทียบท่า ที่เห็นทันทีอยู่ด้านหน้าคือตึกหลักของที่นี่ซึ่งมีทั้งภัตตาคารและที่ทำการไปรษณีย์อยู่



เดินทะลุผ่านตึกนี้ไปก็จะเป็นทางเดินที่ไปสู่ด้านในของเกาะ



มีโบสถ์เล็กๆอยู่ด้วย



ภายในเกาะมีอาคารอะไรต่างๆอยู่หลายหลัง เป็นพวกที่ทำการต่างๆแล้วก็มีร้านอาหารประปราย









เดินไปเรื่อยๆจนสุดเกาะก็ได้เห็นทิวทัศน์ริมน้ำที่สวยงาม





ที่สุดปลายเกาะเป็นเรือนจำ



ในนี้ห้ามเข้า



จากนั้นเดินย้อนกลับมาแล้วเลี้ยวไปอีกทางจะเจอพิพิธภัณฑ์ซัวเม็นลินนะ (Suomenlinna-museo) ภายในจัดแสดงพวกอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆที่พบที่นี่



ตอนที่ไปมันก็เปิดอยู่ด้วย แม้จะเป็นวันจันทร์ก็ตาม การจะเข้าไปชมต้องซื้อตั๋วซึ่งก็มีค่าใช้จ่าย ดังนั้นเลยตัดสินใจไม่เข้าไป



ภายในอาคารของพิพิธภัณฑ์มีร้านขายของกินและของที่ระลึก



ก็เลยไปซื้อโดนัทมาทานรองท้องสักหน่อย



ข้างๆพิพิธภัณฑ์เป็นสะพานข้ามไปเกาะใหญ่อีกเกาะ คือเกาะซุซิซาริ (Susisaari) แปลว่าเกาะหมาป่า




ในเกาะนี้จะเห็นตัวกำแพงป้อมอยู่มาก




ข้างใต้มีอุโมงค์ด้วย



ออกมาริมทะเล



นี่คือเรือดำน้ำเวะซิกโกะ (Vesikko) ซึ่งถูกใช้ตั้งแต่ปี 1936 เป็นของกองทัพเรือฟินแลนด์ ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้วจึงนำมาตั้งไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าไปชมภายในได้



ดูเหมือนจะไปในช่วงวันที่กำลังเปิดอยู่พอดี แต่น่าเสียดายว่ามาเช้าไป กว่าที่นี่จะเปิดก็ตั้่งสิบเอ็ดโมง คงจะรอถึงตอนนั้นไม่ไหว



จังหวะนั้นมีเรื่องของไวกิงไลน์ซึ่งเดินทางระหว่างเฮลซิงกิและสตอกโฮล์มแล่นผ่านมาพอดีก็เลยถือโอกาสถ่ายรูปคู่กับเรือดำน้ำซะเลย



ใกล้ๆกันข้างๆนั้นดูเหมือนจะเป็นที่เก็บเรือ



ที่นี่นกเยอะมาก



ทางเดินยาวต่อไปเรื่อยๆมุ่งสู่ส่วนใต้ของเกาะซึ่งเรียกว่าเกาะกุสตานเมียกกะ (Kustaanmiekka) ที่จริงเป็นเกาะเดียวกันต่อเนื่องกันเพียงแต่มีคอคอดเลยมักเรียกกันว่าเป็นคนละเกาะ



ส่วนของเกาะนี้เป็นบริเวณที่มีป้อมอยู่หนาแน่น



ริมฝั่งเป็นสันดอนทรายทำให้มีทิวทัศน์ที่สวยงาม






และมีปืนใหญ่ตั้งหันออกไปทางทะเลมากมาย



นก



มองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือจะเห็นตัวเมืองเฮลซิงกิ



เห็นโบสถ์เซ็นต์จอห์น (Johanneksenkirkko) โดดเด่นแต่ไกล



บริเวณป้อมสุดปลายเกาะ






ตัวป้อมถูกทำเป็นแฉกๆดูสวยงาม ถ้ามองจากด้านนอกเกาะเข้ามาน่าจะยิ่งสวย



มีร้านพิซซาอยู่ด้วย



เห็นเรือใบแล่นผ่านมาพอดีก็เลยเก็บภาพไว้สักหน่อย



นี่คือประตูราชา (Kuninkaanportin) เป็นประตูทางเข้าป้อม ประตูนี้สร้างในที่ที่จักรพรรดิอดอล์ฟ เฟรดริก (Adolf Fredrik) แห่งสวีเดนมาถอนสมอเทียบท่าเมื่อตอนที่คุมการก่อสร้างที่นี่ ก็เลยได้ชื่อว่าประตูราชา



มองจากด้านนอก



ตรงนี้มีท่าเรือซึ่งสามารถขึ้นเรือเพื่อกลับเฮลซิงกิได้เหมือนกัน แต่ว่าเปิดทำการเฉพาะฤดูร้อน ซึ่งช่วงนี้ยังไม่ถึง จึงไม่สามารถขึ้นเพื่อกลับจากตรงนี้ได้



จากตรงนี้ยังเห็นเรือใบลำที่เห็นเมื่อครู่



ขยายเข้าไปเห็นคนบนเรือ



เมื่อเดินมาจนถึงสุดทางแล้วก็ได้เวลาย้อนกลับ




เดินกลับมาถึงตรงป้อมในเกาะซุซิซาริก็เจอกลุ่มเด็กเหมือนจะมาทัศนศึกษากัน คนผู้หญิงแต่งตัวซะหรูเชียว



ระหว่างทางยังได้เดินผ่านตรงจุดที่ตอนแรกข้ามไป คือหลุมศพของเอากุสติน เอเรินสแวร์ด (Augustin Ehrensvärd) เขาเป็นผู้สั่งให้สร้างที่นี่ขึ้นมา



และอาคารที่เห็นอยู่ใกล้ๆกันนี้ก็คือพิพิธภัณฑ์เอเรินสแวร์ด (Ehrensvärd-museo) แต่ตอนที่ไปก็ยังไม่เปิด ในนี้จัดแสดงพวกภาพวาด, เครื่องเรือน, อาวุธ และแบบจำลองเรือ



ใกล้ๆกันนั้นมีท่าเรือแห้ง (Kuivatelakka) ซึ่งไว้ใช้สำหรับต่อเรือ ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นของสวีเดน และตอนช่วงที่ฟินแลนด์ได้กลายเป็นประเทศอิสระแล้วที่นี่ยังใช้สร้างเครื่องบินลำแรกของฟินแลนด์ด้วย ปัจจุบันที่นี่ยังถูกใช้เพื่อเก็บและซ่อมแซมเรือไม้



หลังจากที่เดินเที่ยวจนทั่วก็ได้เวลานั่งเรือเพื่อกลับไปยังแผ่นดินใหญ่ ใช้เวลาเดินไปประมาณ ๒ ชั่วโมง เกาะทั้งหมดไม่ใหญ่มากแต่เดินแล้วเพลิดเพลินดี ทั้งชมความสวยงามของธรรมชาติและความอลังการของป้อมปราการบนเกาะนี้ ถือว่าคุ้มค่าที่ได้มาเดิน



ตอนต่อไปจะกลับไปเก็บบรรยากาศในตัวเมืองเฮลซิงกิต่อ ซึ่งก็คงเป็นตอนสุดท้ายของการเที่ยวทั้งหมดแล้ว การเดินทางที่ยาวนานกำลังจะสิ้นสุดลงเท่านี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20140719


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ต่างแดน >> ยุโรป >> ฟินแลนด์
-- ท่องเที่ยว >> มรดกโลก

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文