φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เมืองเป่าติ้ง อดีตเมืองเอกของมณฑลเหอเป่ย์
เขียนเมื่อ 2014/12/09 16:43
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42


#พฤหัส 4 ธ.ค. 2014

หลังจากที่เที่ยวในเมืองติ้งโจวเสร็จแล้วในตอนก่อน https://phyblas.hinaboshi.com/20141206

ก็ได้เวลาเดินทางไปเที่ยวเมืองต่อไปนั่นก็คือเมืองเป่าติ้ง (保定市)

เมืองเป่าติ้งเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในมณฑลเหอเป่ย์ มีความสำคัญที่ในอดีตเป็นเมืองเอกของมณฑลจื๋อลี่ (直隸省) ซึ่งก็คือมณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบันนั่นเอง มณฑลเปลี่ยนชื่อเป็นเหอเป่ย์ในปี 1928

เป่าติ้งเป็นเมืองเอกของมณฑลเหอเป่ย์มาตลอดจนถึงปี 1958 ได้เปลี่ยนเมืองเอกเป็นเทียนจิน แต่ตอนหลังในปี 1966 เทียนจินก็ถูกยกกลายเป็นเทศบาลนคร เป่าติ้งก็เลยกลับมาเป็นเมืองเอกอีก แต่เนื่องจากเมืองสือเจียจวางเติบโตขึ้นมากในช่วงหลังมานั้นทำให้ได้เมืองเอกเปลี่ยนเมืองสือเจียจวางแทนในปี 1968

เมืองเป่าติ้งไม่ได้มีสถานที่เที่ยวที่โดดเด่นมากอย่างหอคอยเลี่ยวตี๋ในเมืองติ้งโจว แต่ก็ถือโอกาสแวะมาเที่ยวด้วยเพราะเป็นทางผ่านอยู่แล้ว ถือว่ามารู้จักเมืองเพิ่มอีกเมือง และเป่าติ้งก็เป็นเมืองค่อนข้างใหญ่ น่ามาลองเดินเล่นในเมืองเปิดหูเปิดตาสักหน่อย



การเดินทางจากเมืองติ้งโจวมายังเป่าติ้งเราเลือกเดินทางโดยรถบัสเนื่องจากความสะดวก แต่ก็พบปัญหาที่ไม่คาดถึงว่ามันใช้เวลาเดินทางนานกว่าที่คิดมากเลย

ถ้าหากนั่งรถไฟจะใช้เวลาประมาณ ๓๐ - ๔๐ นาที ก็เลยคิดว่านั่งรถบัสน่าจะใช้เวลาสักชั่วโมง แต่นั่นเป็นการคาดการณ์ที่ผิด เพราะปรากฏว่าใช้เวลาไปจริงๆมากกว่าชั่วโมงครึ่ง

ระหว่างทางรถจอดที่อำเภอว่างตู (望都县) ด้วย ซึ่งเป็นเมืองระหว่างทาง หยุดอยู่นานพอสมควร เลยทำให้เสียเวลาไปมาก



หลังจากที่ออกจากติ้งโจวประมาณบ่ายโมงก็มาถึงเมืองเป่าติ้งประมาณสองโมงครึ่ง แถมพอมาถึงแล้วรถก็ไม่ได้มุ่งตรงไปยังสถานีรถไฟเลยด้วย แต่เลือกเดินทางอ้อมรอบเมืองเหมือนกับว่าจะส่งคนลงตามจุดต่างๆแล้วค่อยไปสถานีรถไฟสุดท้าย



เราใช้ GPS ในมือถือดู เห็นรถวิ่งห่างออกจากสถานีรถไฟไปเรื่อยๆ เห็นท่าไม่ดีก็เลยลงระหว่างทางไม่งั้นคงต้องลงเสียเวลาอ้อมเมืองกว่าจะได้ลงแน่เลย อีกอย่างคือถึงไม่ตั้งหลักที่สถานีรถไฟเราก็สามารถเดินไปยังสถานีที่เที่ยวได้จึงหาจุดลงที่เหมาะสม นั่นเป็นการตัดสินใจที่ถูกแล้ว


ตำแหน่งที่มาลงคือหน้าโรงพยาบาล ตอนที่ไปถึงนั้นก็เกือบจะสามโมงแล้ว มีเวลาอีกแค่ประมาณชั่วโมงเท่านั้นก่อนที่รถไฟจะออก แต่เวลาเที่ยวจริงๆยิ่งน้อยกว่านั้นเพราะต้องเผื่อเวลาไปรอรถไฟ การเที่ยวในนี้จึงต้องเร่งสุดๆ ไม่อาจทำอะไรได้เต็มที่



ที่นั่นไม่ไกลจากสถานที่เที่ยวที่ตั้งเป้าว่าจะไปมากนัก เดินไปวิ่งไปใช้เวลาประมาณสิบกว่านาที ระหว่างทางก็ชมเมืองถ่ายภาพไปเรื่อย เมืองนี้ดูแล้วเจริญดี




แล้วก็เดินทางถึงสี่แยกสำคัญซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของสถานที่เที่ยว เป็นจุดตัดระหว่างถนนเหลียนฉือหนาน (莲池南大街) กับถนนยวี่หัวซี (裕华西路) ตรงนี้มีห้างชื่อจงโหลวซางเซี่ย (钟楼商厦) มี KFC เด่นมาแต่ไกล
มีพิซซาฮัทด้วย



จงโหลว (钟楼) หมายถึงหอระฆัง เพราะห้างนี้สร้างขึ้นข้างหอระฆังของเมือง หอระฆังเป็นส่วนหนึ่งของเมืองต่างๆในสมัยก่อน และแต่ละเมืองก็มักจะอนุรักษ์หอระฆังเอาไว้ไมว่าไปเมืองไหนก็เลยมักจะเจอ แถวบริเวณนี้เป็นย่านสำคัญเต็มไปด้วยร้านค้าและสถานที่เที่ยวหลักของเมือง



เดินต่อนิดหน่อยก็จะเห็นช่องทางที่เข้าไปยังสถานที่เที่ยวเป้าหมายที่แรก นั่นคือต้าฉือเก๋อ (大慈阁) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างโบราณของเมืองนี้ ถูกสร้างตั้งแต่ปี 1227



ทางเข้าด้านใน ตรงนี้มีที่ขายตั๋ว ค่าเข้า ๑๐ หยวน แต่เป็นนักเรียนก็ได้ลดครึ่งราคาเป็น ๕ หยวน



เข้ามาด้านใน





ระฆัง แต่เขาเขียนป้ายไว้ว่าห้ามตี



ตัวอาคารหลัก




ด้านใน




สามารถขึ้นไปชั้นสอง จากตรงนั้นสามารถมองไปรอบๆเห็นทิวทัศน์ของเมืองได้






ภายในอาคารชั้นสอง



ก็หมดอยู่เท่านี้ ที่นี่ค่อนข้างเล็ก



เสร็จแล้วก็เดินกลับไปยังสี่แยกเดิมที่จากมาเมื่อกี้ เดินไปทางตะวันตกข้ามไปฝั่งตรงข้ามของหอระฆังก็จะเจอกับโบสถ์คริสต์ตั้งเด่นอยู่ เป็นโบสถ์คาธอลิก



เข้าไปดูใกล้ๆตัวอาคาร



เดินต่อไปสองข้างทางยังคงเต็มไปด้วยห้างร้าน เห็นร้านโยชิโนยะด้วย





เดินผ่านมาก็จะเจอสถานที่เที่ยวอีกแห่ง นั่นคือสำนักงานอุปราชจื๋อลี่ (直隶总督署) เป็นที่ทำการของมณฑลจื๋อลี่สมัยก่อนตั้งแต่สมัยที่เมืองเป่าติ้งเป็นเมืองเอกของมณฑลนี้

อาคารถูกสร้างในปี 1730 สมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง เป็นที่ทำการระดับมณฑลสมัยราชวงศ์ชิงแห่งเดียวในจีนที่อนุรักษ์ไว้อย่างดี ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของที่นี่

เนื่องจากตอนที่ไปถึงนั้นเวลาเหลือน้อยมากจึงต้องเร่งอย่างสุดๆ แม้ว่าข้างในจะใหญ่พอสมควรแต่เราใช้เวลาเดินดูอยู่ข้างในเพียง ๑๕ นาที แทบไม่ได้เก็บรายละเอียดอะไรเลย

ทางเข้าด้านหน้า ค่าเข้าชม ๓๐ หยวน แต่เป็นนักเรียนก็ลดครึ่งราคาเหลือ ๑๕ หยวน



เข้ามาด้านใน



ภายในประกอบด้วยอาคารย่อยหลายหลัง จัดแสดงอะไรต่างๆมากมาย ขอลงรูปโดยไม่อธิบาย เพราะตอนเข้าไปครั้งนี้แทบจะเดินเข้าไปกดถ่ายๆๆๆๆแล้วก็ออกมา ไม่ค่อยได้จำอะไรเลย การเที่ยวแบบนี้ไม่ใช่อะไรที่อยากทำเท่าไหร่ เวลาเที่ยวจริงๆควรตั้งใจดูด้วยตามากกว่า แต่ครั้งนี้ไม่มีทางเลือก







ตรงส่วนนี้จัดแสดงเกี่ยวกับธรรมเนียมการใช้ชีวิตในสมัยราชวงศ์ชิง






นี่คืออาคารด้านในสุด เรียกว่าอาคารที่ ๔ (四堂) เป็นสถานที่ที่อุปราชและครอบครัวอาศัยอยู่ ปกติจะไม่ให้ใครเข้าไป



อาคารนี้ไม่สามารถเข้าไปได้ แต่สามารถส่องดูจากด้านนอก แต่ก็ต้องเบียดผู้คนจำนวนมากที่พยายามจะเข้าไปดู ก็เลยไม่ได้เข้าไป ที่จริงมองจากไกลๆก็พอเห็นด้านในได้ แต่ไม่สามารถถ่ายรูปมาให้ดูได้



ไม่จบแค่นี้ พอดูตรงนี้เสร็จยังมีทางให้ผ่านไปยังด้านข้างซึ่งเป็นซอยแคบ ตรงส่วนนี้ก็ยังมีอะไรจัดแสดงอยู่อีกเช่นกัน



นี่เป็นอาคารสำนักงานของรัฐบาลมณฑลเหอเป่ย์ที่ถูกสร้างในทศวรรษ 1950 แต่ตอนนี้กลายเป็นสำนักงานของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไป



ตรงนี้ก็มีอาคารจัดแสดงอยู่อีกเล็กน้อย





ส่วนตรงนี้จัดแสดงผลงานเขียนพู่กันและภาพวาด




หมดแค่นี้ ที่เล่ามาดูเหมือนน้อย แต่จริงๆมีอะไรเยอะพอสมควรแค่ไม่มีเวลาดูอย่างละเอียดเท่านั้น



พอเดินเสร็จก็ออกมาแล้วข้ามถนนไปฝั่งตรงข้าม ตรงนั้นมีที่เที่ยวอีกแห่งคือสระบัวเก่า (古莲花池) แต่เนื่องจากไม่มีเวลาแล้ว คิดว่ายังไงถ้าเข้าไปชมที่นี่ด้วยคงไม่ทันแน่จึงไม่ได้เข้า อีกอย่างคือสระบัวน่าจะสวยของฤดูร้อน ถ้าเข้าไปดูในฤดูหนาวแบบนี้ไม่น่าจะสวยเท่าดังนั้นจึงตัดใจไม่ยาก ขณะนั้นบ่ายสามโมงครึ่งแล้ว เหลือเวลาอีกราวๆ ๔๐ นาทีเท่านั้นก่อนที่รถไฟจะออก


นี่คือหน้าทางเข้า ได้เห็นแค่นี้ก็พอแล้ว ไม่มีโอกาสเข้าไป



ที่ขายตั๋ว



ร้านกาแฟหน้าทางเข้าสระบัว



ใกล้ๆกันนั้นมีลานกว้างที่ชื่อว่าลานกว้างสำนักงานอุปราช (总督署广场, จ่งตูสู่กว๋างฉ่าง)



แล้วก็มีโรงละครจื๋อลี่ (直隶大剧院, จื๋อลี่ต้าจวี่ย่วน) ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้ๆสระบัวและสำนักงานอุปราชจื๋อลี่





พอตัดสินใจไม่เที่ยวสระบัวต่อเลยพอมีเวลาจึงตัดสินใจเดินไปสถานีรถไฟ ซึ่งระยะห่างจากตรงนี้ถึงสถานีรถไฟก็พอให้เดินๆวิ่งๆแล้วไปถึงทันได้ในเวลาที่มีอยู่


ภาพถ่ายระหว่างทาง








เราเดินไปเรื่อยๆโดยดูแผ่นที่ในมือถือตลอดทาง แต่พอไปถึงตรงตำแหน่งที่น่าจะเป็นสถานีรถไฟแล้วก็พบว่าไม่เห็นอะไรเลย กลับเป็นบริเวณก่อสร้างร้างๆ พอถามคนแถวนั้นก็ได้ความว่าสถานีรถไฟถูกย้ายไปไว้อีกฝั่งหนึ่งของรางรถไฟแล้ว ต้องอ้อมไปอีกไกลกว่าจะถึง พอรู้เช่นนั้นก็รู้สึกว่าชิบหายแล้ว เหลือเวลาอีกแค่ ๒๐ นาทีรถไฟจะออก เราไม่ได้เผื่อเวลาไว้สำหรับเรื่องผิดพลาดนี้เลย

แต่ในตอนนั้นก็มีรถรับจ้างคันเล็กๆวิ่งผ่านมาพอดี คนที่เราถามทางเขาก็เลยเรียกรถคันนั้นให้หยุดแล้วให้เราขึ้นไปเลย เราก็รีบขึ้นรถนั้นไปโดยที่ยังไม่ได้ตกลงราคา ยังไงถ้าไม่รีบก็คงไม่ทันแน่ รถพาเราไปส่งถึงสถานีในเวลาไม่ถึงสิบนาที ทำให้ถึงสถานีรถไฟก่อนรถไฟออกสิบนาทีกว่า ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่เฉียดฉิวมากแต่ก็ยังทัน รถคิดค่าโดยสาร ๖ หยวน ก็ถือว่าไม่แพงและถ้าเขาไม่มาจังหวะนั้นเราก็อาจจะแย่ได้ก็เลยไม่คิดจะต่อราคาอะไร ยังไงก็ต้องขอบคุณทั้งคนที่เราถามทางและก็คนขับรถคนนี้ด้วย

มาถึงสถานีก่อนเวลารถไฟออกแค่สิบนาทีจึงไม่มีเวลาทำอะไรมาก ได้วิ่งเข้าไปในสถานีทันที ไม่มีเวลาถ่ายรูปอะไรเลย ตอนตรวจสัมภาระเพื่อเข้าสถานีก็รีบร้อนเต็มที่ แต่พอเข้าไปในสถานีแล้วก็พบข่าวที่ไม่รู้ว่าดีหรือร้าย นั่นคือรถไฟที่จะขึ้นนั้นมาช้ากว่ากำหนด จากเดิมควรจะออก 16:10 กลายเป็นออก 16:18



ที่จริงแล้วต่อให้รถไฟไม่มาสายก็ถือว่ามาทันอยู่ดี แต่พอรถไฟมาช้าก็เลยยิ่งมีเวลาพักสบายๆสักครู่

แม้ว่ารถไฟจะมาช้าลง แต่ตอนที่มาถึงผู้คนก็มาเข้าแถวเตรียมที่จะไปขึ้นรถไฟกันแล้ว



หลังจากนั้นก็เวลาก็ถูกเลื่อนอีกเป็น 16:24 เลยต้องรอนานออกไปอีก แต่ในที่สุดก็ได้เวลาเรียกเข้าชานชลา แล้วสักพักรถไฟก็มา การเดินทางก็จบลงเท่านี้





ครั้งนี้ก็เป็นอีกเที่ยวที่สนุก แม้ว่าจะมีอะไรผิดแผนจนทำให้เสียวแทบแย่เหมือนกัน แต่ก็เป็นบทเรียนให้เผื่อเวลามากกว่านี้ นี่ยังดีที่ยังพอเผื่อเวลาไว้บ้างก็เลยทัน เวลาเที่ยวไม่ควรจะจัดเวลาให้เฉียดฉิวจนเกินไป

ที่จริงความผิดพลาดมันเริ่มตั้งแต่ที่กะเวลาที่รถบัสวิ่งจากเมืองติ้งโจวมายังเป่าติ้งผิดพลาดแล้ว ถ้ารู้ว่าจะนานแบบนั้นก็คงจะนั่งรถไฟซึ่งจะประหยัดเวลาได้เกือบชั่วโมง คงจะทำให้ไม่ต้องรีบขนาดนี้ตอนเที่ยวในเมืองเป่าติ้ง และจะเก็บรายละเอียดอะไรได้มากกว่านี้

แต่ความผิดพลาดก็เป็นเรื่องคู่กับการเดินทางอยู่แล้ว ต่อให้เคยเดินทางมาบ่อยแค่ไหนมีประสบการณ์แค่ไหนก็ไม่อาจคาดการณ์ได้ทุกอย่าง ควรจะเตรียมใจไว้เผื่อ ไม่มีอะไรที่เราสามารถวางแผนคาดการณ์ได้ล่วงหน้าไปหมดตั้งแต่ยังไม่มาถึงสถานที่ เพราะข้อมูลในเน็ตไม่อาจครบถ้วนและมีคลาดเคลื่อน

เรื่องที่สถานีรถไฟถูกย้ายตำแหน่งไม่มีการเปลี่ยนแก้ในแผนที่ อยู่ดีๆถ้าไม่มีคนบอกเราก็ไม่มีทางรู้ได้ ถ้าไม่ได้มาถึงที่จริงๆก็คงไม่ทีทางรู้ นี่เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องเผื่อเวลา

ยังไงก็ตาม ก็ผ่านมาได้ด้วยดีอีกครั้ง บางทีก็รู้สึกว่าตัวเองมักจะโชคดีอยู่เสมอ แม้จะเจอข้อผิดพลาดให้เกือบแย่อยู่บ่อยครั้งแต่ก็รอดมาได้ ไม่เคยเจออะไรที่สาหัสจริงๆ



สรุปรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ค่าเดินทาง
- รถไฟจากปักกิ่งไปติ้งโจว ๓๒.๕
- รถเมล์ในเมืองติ้งโจว ๒+๒
- รถบัสจากติ้งโจวไปเป่าติ้ง ๑๕
- รถรับจ้างไปส่งสถานีเป่าติ้ง ๖
- รถไฟจากเป่าติ้งไปปักกิ่ง ๒๓.๕
- - รวม ๘๑

ค่าเข้าชมสถานที่
- หอคอยเลี่ยวตี๋ ๑๐+๓๐
- ก้งย่วนแห่งติ้งโจว ๑๐
- ต้าฉือเก๋อ ๕
- สำนักงานอุปราชจื๋อลี่ ๑๕
- - รวม ๗๐

- - - รวมทั้งหมด ๑๕๑

ถือว่าไม่แพงสำหรับเที่ยวต่างเมืองใน ๑ วัน ค่าใช้จ่ายจะมากกว่านี้ถ้าเลือกเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงซึ่งจะสะดวกกว่ามาก แต่ก็ไม่ถึงกับจำเป็นหากไม่รีบร้อนอะไร

รูปตั๋วเข้าชมสถานที่เที่ยวทั้งหมดที่ไปมารวมทั้งหมด ๔ ที่ เฉพาะหอคอยเลี่ยวตี๋วมีสองใบเพราะมีตั๋วผ่านเข้าบริเวณกับตั๋วปีนหอคอย แล้วก็มีตั๋วขึ้นรถบัสระหว่างเมืองติ้งโจวกับเป่าติ้ง

 
 
 
 



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> เหอเป่ย์
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文