φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลิวหลีฉ่าง ถนนสายวัฒนธรรมนอกประตูเมืองฝั่งใต้
เขียนเมื่อ 2015/04/01 11:55
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 28 มี.ค. 2015

หลังจากเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์รถไฟจีน (中国铁道博物馆) เสร็จ https://phyblas.hinaboshi.com/20150330

มีอีกสถานที่หนึ่งที่อยากแวะไปสักหน่อยก่อนจะกลับ เป็นสถานที่ที่เคยมาเมื่อ ๓ ปีก่อน แต่ว่าตอนนั้นมันยังซ่อมๆแซมอยู่ไม่เรียบร้อยก็เลยไม่ได้เล่าถึงไป สถานที่นั้นคือถนนวัฒนธรรมหลิวหลีฉ่าง (琉璃厂文化街)

ตอนนั้นมาเดินถนนเฉียนเหมิน (前门大街) จากนั้นก็เดินเลี้ยวเข้าถนนต้าจ้าหลาน (大栅栏) แล้วก็ทะลุไปถึงถนนวัฒนธรรมหลิวหลีฉ่าง

เรื่องต้าจ้าหลานเคยเล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120410

ครั้งนี้ก็จะเดินไปตามทางเหมือนกับตอนนั้น



หลิวหลีฉ่าง (琉璃厂) แปลว่าโรงงานเครื่องแก้วหลากสีหรืออาจแปลว่าโรงงานกระเบื้องเคลือบ นั่นเพราะว่าเมื่อสมัยก่อนเป็นโรงงานที่ใช้ทำพวกเครื่องแก้วเครื่องกระเบื้องตั้งแต่นานมาแล้ว

ประวัติศาสตร์ของที่นี่ย้อนไปได้ถึงยุคราชวงศ์เหลียว (辽朝, 916 - 1125) สมัยนั้นที่นี่ไม่ได้อยู่ในตัวเมือง แต่เป็นชานเมือง เรียกว่าหมู่บ้านไห่หวาง (海王村) ต่อมาในยุคราชวงศ์หยวน (元朝, 1271 - 1368) ได้มีการสร้างโรงงานกระจกสีกระเบื้องเคลือบที่นี่ พอถึงยุคราชวงศ์หมิง (明朝, 1368 - 1644) ตัวเมืองได้ขยายมาถึงบริเวณนี้ ดังนั้นทำให้บริเวณนี้ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นโรงงานอีกต่อไปแล้ว เลยย้ายไปอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองออกไปอีก ไปอยู่ในหมู่บ้านหลิวหลีฉวี (琉璃渠村) ซึ่งอยู่ในบริเวณที่เป็นเขตเหมินโถวโกว (门头沟区) ในปัจจุบัน

หลังจากโรงงานต่างๆถูกย้ายออกไปหมดบริเวณหลิวหลีฉ่างนี้ก็กลายเป็นย่านขายหนังสือแทนและงานศิลปะต่างๆแทน แต่ว่าชื่อหลิวหลีฉ่างก็ยังเหลือทิ้งไว้เรียกมาจนถึงปัจจุบัน เวลาผ่านมาถึงปัจจุบันบริเวณนี้ก็ถูกตั้งให้เป็นถนนสายวัฒนธรรมเพราะมีพวกงานศิลปะและของเก่าๆขายเป็นจำนวนมาก บ้านก็ยังถูกรักษาไว้เป็นแบบโบราณอยู่ จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไป

ที่นี่เป็นย่านโบราณแห่งหนึ่งในปักกิ่ง ซึ่งหากว่ากันตามจริงแล้วก็อาจไม่ได้เด่นอะไรเป็นพิเศษ แต่หากใครสนใจซื้อพวกงานศิลปะหรือของโบราณก็ลองมาเดินที่นี่ได้ มีเยอะมากมาย

ถนนหลิวหลีฉ่างไม่ใช่ถนนเส้นเดียวยาวตลอด แต่มีถนนซินหัวหนาน (新华南街) ตัดกลางทำให้แบ่งเป็นสองส่วนตะวันตกกับตะวันออก หากเดินทางมาจากทางเฉียนเหมินก็จะผ่านฝั่งตะวันออกก่อนแล้วจึงค่อยข้ามไปฝั่งตะวันตก



หลังออกจากพิพิธภัณฑ์รถไฟจีนมาเราก็กลับมายังหน้าถนนเฉียนเหมิน



จากนั้นเดินเลี้ยวขวาเข้าถนนต้าจ้าหลานเหมือนกับเมื่อ ๓ ปีก่อน



เดินตรงไปเรื่อยๆข้ามถนนไปฝั่งตะวันตกแล้วก็เดินต่อไปเรื่อยๆจนคนเริ่มบางตาลง เป็นสัญญาณว่าย่านท่องเที่ยวถนนต้าจ้าหลายสิ้นสุดลงแค่นี้



ที่สุดทางตรงนี้มีพวกคนสูงอายุล้อมวงเล่นหมากรุกจีนกันอยู่



คุณป้าฝรั่งนักท่องเที่ยวที่อยู่มุมขวาล่างในรูปคนนี้ก็มาแอบถ่ายคนพวกนี้เหมือนกับเราเลย



จากตรงนี้เป็นทางแยกเดินต่อมาทางขวา



จากนั้นต้องผ่านทางเลี้ยวอีกมากมายเลย ถนนซับซ้อนมาก ถ้าไม่เปิดแผนที่ดูไปเรื่อยๆจะเดินผิดทางแล้วหลงเอาได้



เดินไปเรื่อยๆ ระหว่างทางก็จะเห็นว่าถนนก็เริ่มดูจะไม่น่าดูขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นย่านรกๆ จนดูไม่เหมือนย่านท่องเที่ยวเท่าไหร่



แต่ก็ยังเห็นรถขนนักท่องเที่ยวสวนผ่านอยู่ประปราย เป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าเรามาถูกทางแล้ว



เดินผ่านตลาดของย่านนี้



เดินเลี้ยวไปมาบางส่วนก็เห็นกำลังก่อสร้างอยู่ ดูไม่เรียบร้อย



เส้นทางไม่ได้ไกลมากมาย แต่บรรยากาศไม่ค่อยให้เท่าไหร่ อยากให้ผ่านตรงนี้ไปเร็วๆ




เห็นนักท่องเที่ยวเดินสวนทางมาบ้างประปราย และเริ่มเห็นร้านขายของโบราณ เป็นสัญญาณบอกว่าใกล้ถึงแล้ว



เลี้ยวตรงนี้ไปก็ถึง



ในที่สุดก็มาถึงแล้ว นี่เป็นจุดเริ่มต้นของถนนวัฒนธรรมหลิวหลีฉ่างฝั่งตะวันออก



ร้านขายของเก่ามากมายอย่างที่เขาว่ากันเลย






ตรงนี้ดอกยวี่หลาน (玉兰花) กำลังบานอยู่



รถคันนี้ทาสีเป็นธงสหราชอาณาจักร ท่าทางเจ้าของรถจะชอยอังกฤษนะ หรือว่าเป็นคนอังกฤษกันนะ



เต็มไปด้วยร้านต่างๆมากมายไปเรื่อยๆแบบนี้ตลอดทาง




สุดถนนแล้ว ถนนหลิวหลีฉ่างฝั่งตะวันออกก็จบแค่นี้



ตรงนี้มองย้อนกลับมาเห็นป้ายที่เหมือนเป็นป้ายบอกทางเข้า และมีข้อความแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ด้วย



ดอกยวี่หลานตรงนี้ส่วนหนึ่งก็กำลังบานสวย



ปากทางเข้ามีอาคารนี้ชื่อร้านไห่หวางชุนซื่อฉ่าง (海王村市场) ขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับที่อยู่ในซอยระหว่างทางที่ผ่านมา เลยเดินเข้าไปดูสักหน่อย



ข้างในขายพวกของเก่า แพงๆทั้งนั้น เห็นราคาแล้วก็ไม่กล้าแตะ แล้วก็มีร้านหนังสือด้วย



จากปากซอยมองออกไปฝั่งตรงข้ามคือถนนหลิวหลีฉ่างฝั่งตะวันตก ต้องข้ามถนนซินหัวหนานไป



เนื่องจากมีรั้วกั้นอยู่ตลอดแนวถนนทำให้การจะข้ามต้องใช้สะพานลอย



แม้แต่บนสะพานลอยก็มีคนตั้งขายพวกงานเขียนพู่กันอยู่ประปราย



จากบนสะพานลอยตอนเดินใกล้ถึงฝั่งตะวันตก มองกลับมาดูถนนฝั่งตะวันออกที่เราเดินผ่านมาสักหน่อย



เข้าไปยังซอยนี้ ถนนหลิวหลีฉ่างตะวันตก บรรยากาศดูต่างออกไปจากฝั่งตะวันออกนิดหน่อย ถนนดูกว้างขวางกว่า



ที่ไม่ต่างกันคือยังคงเต็มไปด้วยร้าน แต่ก็น่าเดินกว่าเพราะไม่แออัดเกินไป





บนถนนก็มีพวกร้านขายภาพวาดและงานเขียนพู่กัน




เดินชมบรรยากาศไปเรื่อยๆ ไม่ได้แวะร้านไหนเป็นพิเศษ





ระหว่างเดินอยู่เราก็ตาไวไปเห็นร้านนึงมีขายหนังสือการ์ตูนโคนันปะปนอยู่กับของเก่าด้วย ที่นี่ก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยเหมือนกันเรื่องนี้



และแล้วก็สุดทางของย่านนี้



พอเลยบริเวณไปแล้วถนนก็เริ่มกลับมาไม่น่าดูอีกครั้ง จากตรงนี้ไปเราเดินเลี้ยวอ้อมเพื่อจะกลับไปยังถนนซินหวาหนานโดยออกอีกทางนึง



เส้นทางอ้อมมาไกลพอดูเลย อันที่จริงแล้วไม่ควรจะเดินต่อ ถ้าสุดทางแล้วควรจะเดินกลับมาทางเดิมน่าจะดีกว่า เพราะระหว่างทางไม่มีอะไรเลย



ต้องมาออกทางถนนเซียงหลูอิ๋งโถวเถียว (香炉营头条) ซึ่งเป็นซอยที่อยู่ข้างๆกัน เดินมาจนใกล้ปากถนนเจอร้านขายขนมปังไส้เนื้อลา กำลังหิวอยู่พอดีจึงแวะเข้าไป



เข้าไปสั่งหุนตุ้น (馄饨) ทานก่อนกลับ วันนี้เที่ยวพอแค่นี้



พูดถึงถนนหลิวหลีฉ่างแล้ว ที่นี่เป็นฉากที่ใช้ในการเขียนการ์ตูนเรื่องเล่าในปักกิ่งด้วย ลองไปอ่านกันดูได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20120507



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文