φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์รถไฟจีนสาขาเจิ้งหยางเหมิน
เขียนเมื่อ 2015/03/30 12:28
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 28 มี.ค. 2015

ปักกิ่งอากาศอุ่นขึ้นเรื่อยๆในช่วงที่ผ่านมา ค่อยๆสมกับเป็นฤดูใบไม้ผลิมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นช่วงเวลาที่อากาศน่าเที่ยวมากที่สุด

คราวนี้มีโอกาสได้แวะไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์รถไฟจีน (中国铁道博物馆) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจแห่งหนึ่งในปักกิ่ง จัดแสดงข้อมูลประวัติศาสตร์ต่างๆเกี่ยวกับรถไฟ

ที่ที่เรียกว่าพิพิธภัณฑ์รถไฟจีนนั้นมีอยู่สองแห่งในปักกิ่ง คือพิพิธภัณฑ์รถไฟจีนสาขาเจิ้งหยางเหมิน (中国铁道博物馆正阳门馆) ซึ่งเน้นจัดแสดงประวัติศาสตร์และมีแผ่นป้ายและแบบจำลองต่างๆให้ดู

ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือพิพิธภัณฑ์รถไฟจีนสาขาชานเมืองตะวันออก (中国铁道博物馆东郊馆) ซึ่งตั้งอยู่นอกตัวเมืองไกลออกไปหน่อยไม่มีรถไฟฟ้าไปถึง ที่นั่นเน้นจัดแสดงรถไฟสมัยก่อนที่เลิกใช้แล้วเอามาวางไว้ให้คนชมเพื่อจะสัมผัสรถไฟของจริงอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ยังมีหออนุสรณ์จานเทียนโย่ว (詹天佑纪念馆) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์รถไฟจีนเหมือนกัน อยู่ใกล้กับกำแพงเมืองจีนด่านปาต๋าหลิ่ง (八达岭长城) จานเทียนโย่ว (詹天佑) คือวิศวกรรถไฟคนสำคัญของจีน มีบทบาทสำคัญตั้งแต่ยุคแรกๆที่จีนเริ่มมีการใช้รถไฟ

ตอนนี้ขอเริ่มจากสาขาเจิ้งหยางเหมินก่อนเพราะไปง่ายและเน้นจัดแสดงข้อมูลต่างๆมากกว่า โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ ทำให้ได้รู้วิวัฒนาการรถไฟตั้งแต่ยุคแรกเริ่มมาจนถึงปัจจุบัน

เจิงหยางเหมิน (正阳门) หรือที่ปกติเรียกกันว่าเฉียนเหมิน (前门) เป็นประตูเมืองทางทิศใต้ของปักกิ่ง เป็นย่านท่องเที่ยวที่สำคัญ เคยเขียนถึงไปแล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120403

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับเฉียนเหมิน การเดินทางมาก็ทำได้ง่ายโดยนั่งรถไฟฟ้ามาลงสถานีเฉียนเหมิน (前门站) แล้วเดินมาทางตะวันออกแป๊บเดียวก็ถึง



อาคารที่ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์นี้เมื่อก่อนเคยใช้เป็นสถานีรถไฟสมัยยุคแรกๆ เรียกว่าท่ารถตะวันออกเจิ้งหยางเหมิน (正阳门东车站) และได้เปิดทำการเป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2010

อาคารนี้สร้างตั้งแต่ปี 1901 ออกแบบโดวิศวกรชาวอังกฤษ เป็นอาคารลักษณะแบบตะวันตก ถูกใช้เป็นสถานีรถไฟมาตลอดจนถึงปี ถือเป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดในจีนในยุคนั้น 1959 ช่วงปี 1949 - 1959 ซึ่งเป็นช่วงท้ายของการใช้งาน สถานีนี้ถูกเรียกว่าสถานีปักกิ่ง

หลังจากนั้นในปี 1959 สถานีปักกิ่ง (北京站) ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกสร้างเสร็จ ทำให้สถานีที่เจิ้งหยางเหมินนี้ถูกเลิกใช้งาน สถานีปักกิ่งแห่งใหม่ได้ใช้งานเป็นสถานีกลางของปักกิ่งมาจนถึงปัจจุบัน

อาคารสถานีเจิ้งหยางเหมินเก่านี้ได้ถูกเปลี่ยนไปใช้งานเป็นอย่างอื่น เปลี่ยนการใช้งานอยู่หลายครั้งจนในปัจจุบันได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์



ข้างๆทางเข้าพิพิธภัณฑ์มีที่ขายตั๋วรถไฟอยู่ ถึงจะไม่ได้เกี่ยวอะไรกันโดยตรงแต่ก็รู้สึกได้ว่าเขาพยายามเอาอะไรที่เกี่ยวกับรถไฟมาตั้งไว้ที่นี่



ซื้อตั๋วแล้วเดินเข้ามาด้านใน ค่าตั๋ว ๒๐ หยวน แต่เป็นนักศึกษาแสดงบัตรนักเรียนก็ลดเหลือ ๑๐ หยวน



ที่นี่แบ่งออกเป็น ๔ ชั้น คือชั้น ๑ ถึง ๓ แล้วก็มีชั้นใต้ดิน โดยชั้น ๑ กับ ๒ จะบรรยายถึงประวัติรถไฟของจีนไล่เรียงปีไปเรื่อยๆโดยแบ่งเป็นช่วงยุคต่างๆ

เริ่มจากยุคแรก 1876 - 1911

เรื่องเริ่มเล่าย้อนไปตั้งแต่ที่ปี 1825 รถไฟคันแรกถูกสร้างขึ้นในอังกฤษ จากนั้นในปี 1865 พ่อค้าชาวอังกฤษก็ได้มาสร้างรถไฟในปักกิ่ง เส้นทางยาวแค่ ๕๐๐ เมตร เป็นแค่รถไฟสำหรับนั่งชมเท่านั้น



จากในปี 1876 มีการเปิดทางรถไฟสายแรกในจีนขึ้น เป็นเส้นทางจากเซี่ยงไฮ้ไปยังอู๋ซง (吴淞) เป็นระยะทาง ๑๔.๕ กม. เป็นราง ๗๖๒ มม. ตามมาตรฐานอังกฤษ นี่นับเป็นจุดเริ่มต้นของรถไฟจีน



จากนั้นในปี 1881 จึงได้มีการสร้างทางรถไฟสายแรกที่สร้างโดยทางการจีนเอง นี่คือแบบจำลองของรถไฟที่ใช้ในเส้นนั้น มีชื่อรุ่นว่าจงกั๋วหั่วเจี้ยน (中国火箭) แปลว่าจรวดจีน



จากนั้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นั้นเป็นช่วงที่จีนตกต่ำสุดๆ ชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์และได้ยึดกรรมสิทธิ์กิจการต่างๆในจีนเป็นจำนวนมาก รวมถึงรถไฟจีนด้วย ช่วงนั้นก็ได้มีการสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ



สถานีท่ารถตะวันออกเจิ้งหยางเหมินซึ่งก็คืออาคารที่เป็นพิพิธภัณฑ์ในตอนนี้ก็ได้ถูกสร้างขึ้นในปี 1901 นี่คืออิฐที่ใช้ในการก่อสร้างตอนนั้น



หลังจากนั้นพอเข้าศตวรรษที่ 20 ได้เกิดความเคลื่อนไหวเพื่อจะนำกรรมสิทธิ์รถไฟในจีนกลับมาสู่คนจีน ได้มีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา รวบรวมเงินทุนและสร้างทางรถไฟขึ้นมาเองใหม่ ในช่วงปี 1903 - 1907 มีการสร้างทางรถไฟใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือทางรถไฟสายเฉาซ่าน (潮汕) คือรถไฟระหว่างเมืองแต้จิ๋วกับซัวเถา ขอยกสายนี้มาเป็นตัวอย่างสักหน่อยเพราะเป็นบ้านเกิดบรรพบุรุษเราเอง ตลอดสายยาว ๓๙ กม. เริ่มสร้างปี 1904 เสร็จในปี 1906 ในรูปนี้คือสถานีแต้จิ๋ว นอกจากนี้ก็ยังมีสร้างอีกหลายเส้นเซี่ยงไฮ้-หางโจว, จางโจว-เซี่ยเหมิน, ฯลฯ



ทางรถไฟสายจิงจาง (京张铁路) เป็นรถไฟที่เชื่อมระหว่างปักกิ่งกับจางเจียโข่ว (张家口) เริ่มสร้างปี 1905 เปิดใช้งานปี 1909



แบบจำลองภูมิทัศน์เส้นทางรถไฟสายจิงจางตรงช่วงที่ผ่านแถวกำแพงเมืองจีนด่านปาต๋าหลิ่ง



รูปปั้นจานเทียนโย่ว วิศวกรรถไฟคนสำคัญของจีน เป็นผู้นำการสร้างทางรถไฟสายจิงจาง



รูปขบวนรถไฟในช่วงยุคแรกๆ



ตรงนี้เล่าถึงความเกี่ยวพันระหว่างรถไฟกับการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) นั่นเพราะรัฐบาลของราชวงศ์ชิงนำกิจการรถไฟไปขายให้ต่างชาติทำให้ประชาชนไม่พอใจ จึงเป็นเหตุของการลุกฮือที่อู่ชาง (武昌革命) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิงและนำประเทศเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐจีน



เมื่อมาถึงตรงนี้ก็เข้าสู่ช่วงที่ ๒ ต่อไป ช่วงนี้คือช่วงยุคสาธารณรัฐจีน คือปี 1911 - 1949 หลังการปฏิวัติสำเร็จซุนยัดเซนได้มาบริหารกิจการรถไฟด้วยตัวเอง
เพราะเห็นความสำคัญของรถไฟเป็นอย่างมาก



ตั้งแต่ปี 1906 ญี่ปุ่นได้เข้ามาก่อตั้งบริษัทการรถไฟที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และได้ควบคุมกิจการรถไฟแถบนั้น



นี่คือใบหุ้นของบริษัทมหาชนการรถไฟหมั่นโจวใต้ (南满洲铁道株式会社) ที่ญี่ปุ่นมาตั้ง



เหมาอี่เซิง (茅以升, 1896 - 1989) บุคคลสำคัญอีกคนในวงการรถไฟจีน เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสะพาน เป็นคนออกแบบสะพานใหญ่ข้ามแม่น้ำเฉียนถาง (钱塘江大桥) ที่เมืองหางโจว ซึ่งเริ่มสร้างในปี 1934 และสร้างเสร็จในปี 1937 เคยเล่าถึงไปตอนที่เที่ยวหางโจว https://phyblas.hinaboshi.com/20120307



รถไฟที่ตั้งชื่อรุ่นเป็นบุคคลสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามคนคือ เหมาเจ๋อตง (毛泽东) โจวเอินไหล (周恩来) และ จูเต๋อ (朱德) แบบจำลองสีทองตรงกลางคือรุ่นเหมาเจ๋อตง ขวาล่างคือรุ่นโจวเอินไหล ซ้ายล่างคือรุ่นจูเต๋อ



ต่อมาเข้าสู่ช่วงที่ ๓ คือช่วงปี 1949 - 1978 ซึ่งเป็นช่วงที่จีนถูกปกครองโดยเหมาเจ๋อตง ตั้งแต่ 1 ต.ค. 1949 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ก่อตั้งขึ้นมา การรถไฟก็ได้ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาล และที่อยู่ในกรอบแดงนี่คือตราสัญลักษณ์ของรถไฟจีนซึ่งถูกใช้มาจนปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่ปี 1950 แล้ว



ช่วงนั้นได้มีการซ่อมแซมทางรถไฟที่ถูกทำลายไปในช่วงสงครามจำนวนมากมาย



และได้สร้างทางรถไฟขยายเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง



รถไฟพลังไอน้ำเป็นที่นิยมในช่วงนั้น



ปี 1958 ได้มีการเริ่มสร้างรถไฟพลังไฟฟ้าขึ้นใช้ รถไฟพลังไฟฟ้าที่สร้างขึ้นมาแรกๆนั้นตั้งชื่อว่ารุ่นเสาซาน (韶山) ซึ่งเป็นชื่อเมืองบ้านเกิดของเหมาเจ๋อตง



นี่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับภายในรถไฟพลังไฟฟ้า



จนถึงปี 1978 รถไฟในจีนได้ขยายไปทั่วประเทศโดยเฉพาะเมืองสำคัญทางฝั่งตะวันออก รถไฟยังเชื่อมไปไกลถึงซินเจียง แต่ยังไม่มีรถไฟไปถึงทิเบต





ส่วนจัดแสดงของชั้น ๑ จบลงเพียงเท่านี้ ต่อไปขึ้นต่อที่ชั้น ๒ ซึ่งจัดแสดงประวัติศาสตร์ของรถไฟในช่วงถัดไป


ช่วงที่ ๔ คือช่วงปี 1978 - 2002 หลังจากที่ประเทศจีนเปิดประเทศแล้ว และเข้าสู่ยุคใหม่ ทางรถไฟยังคงขยายต่อไปอีกเรื่อยๆ



นี่เป็นรถไฟสายสำคัญที่เชื่อมระหว่างปักกิ่งกับฮ่องกง ความยาว ๒๔๐๖ กม. เราเคยนั่งสายนี้มาแล้วจากปักกิ่งไปกว่างโจว https://phyblas.hinaboshi.com/20120624



รูปสถานีตะวันตกปักกิ่ง (北京西站) ซึ่งเป็นต้นทางของทางรถไฟสายนี้



ป้ายรถไฟ จากสถานีตะวันตกปักกิ่งไปยังสถานีเกาลูน (九龙, จิ่วหลง) โดยผ่านสถานีตะวันตกกว่างโจว (广州东)



เส้นทางรถไฟที่เชื่อมเอเชียกับยุโรปเข้าด้วยกัน



ตามทางมีพวกอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในรถไฟจัดแสดงอยู่ประปรายด้วย




ตรงนี้พูดถึงรถไฟขนส่งสินค้า  แบบจำลองในตู้กระจกด้านล่างคือขบวนรถไฟขนน้ำมัน


ขบวนรถขนของ



เทคโนโลยีการสร้างสะพาน



แบบจำลองสะพานแบบมีฐานโค้งด้านล่างรองรับ



เทคโนโลยีการสร้างอุโมงค์



ทางรถไฟในจีนจนถึงปี 2002 มันขยายขึ้นไปอีกมาก



จากนั้นก็เข้าสู่ช่วงสุดท้าย คือปี 2002 ถึงปัจจุบัน ช่วงนี้เป็นยุคที่เริ่มมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงขึ้น นี่คือรถไฟความเร็วสูงสายแรกของจีน เชื่อมระหว่างปักกิ่งกับเทียนจิน เรียกว่าสายจิงจิน (京津) เริ่มสร้างในปี 2005 และเปิดใช้ตั้งแต่ปีะ 2008 ความยาวแค่ ๑๒๐ กม. แต่เป็นก้าวแรกที่สำคัญ



ปี 2010 รถไฟเชือมเมืองเซี่ยงไฮ้กับหางโจว สายฮู่หาง (沪杭) เปิดทำการ สายนี้เราเคยได้นั่งมาแล้วตอนที่ไปอยู่หางโจว



จากนั้นปี 2011 รถไฟเชื่อมระหว่างปักกิ่งกับเซี่ยงไฮ้ เรียกว่าสายจิงฮู่ (京沪) ก็เปิดทำการ เป็นสายที่สำคัญเพราะเชื่อมเมืองใหญ่สองเมืองเข้าด้วยกัน สายนี้เสร็จก่อนที่เราจะเริ่มมาอยู่ปักกิ่งพอดี แต่ว่าก็ยังไม่มีโอกาสได้นั่งเลย



แล้วก็มีอีกหลายสายทั้งที่เปิดแล้วและวางแผนไว้กำลังสร้าง



นี่คือทางรถไฟทั้งหมดในปี 2010 เส้นหนาคือรถไฟความเร็วสูง ข้อมูลนี้ไม่เป็นปัจจุบัน จะเห็นว่าสายที่เชื่อมปักกิ่งกับเซี่ยงไฮ้ซึ่งเปิดเมื่อปี 2011 ไม่ได้อยู่ในนี้ด้วย



แบบจำลองรถไฟหัวจรวด รุ่นเหอเสีย (和谐) ขนาด 1:10



ส่วนอันนี้เป็นแบบจำลองขนาดใกล้เคียงของจริงสามารถเข้าไปนั่งแล้วจำลองเหมือนได้นั่งอยู่จริง แต่ว่าตอนนี้งดให้บริการอยู่



ทางนี้จัดแสดงอุปกรณ์ต่างๆสำหรับรถไฟสมัยใหม่





ชั้น ๒ หมดเท่านี้ ต่อมาขึ้นไปชั้น ๓ มีส่วนจัดแสดงข้อมูลอื่นๆอยู่อีกเล็กน้อย



ตรงนี้พูดถึงรถไฟที่ข้ามชายแดน ใช้เดินทางระหว่างประเทศ



แล้วก็มีแสดงรูปที่ผู้นำจากประเทศต่างๆมาชมรถไฟ รูปนี้เป็นนายกรัฐมนตรีของไทยมาลองนั่งรถไฟรุ่นเหอเสียเมื่อปี 2009



เปรียบเทียบรถไฟจีนกับรถไฟประเทศอื่นในด้านต่างๆ ของจีนเป็นสีแดง จะเห็นว่าดีกว่าประเทศอื่นแทบทุกด้าน



นอกจากส่วนจัดแสดงแล้วชั้น ๓ ก็มีส่วนสำหรับเด็กเล่นด้วย มีเกมให้เล่นกัน



แล้วก็ตรงนี้เป็นร้านขายของที่ระลึก



มีพวกแบบจำลองอยู่เยอะ ส่วนใหญ่ก็แพงทั้งนั้น แต่ก็มีพวกที่เป็นของเล่นถูกๆ





ส่วนจัดแสดงยังไม่หมดแค่นี้ ยังมีด้านล่างชั้นใต้ดินอีก กลับลงมาดูตรงนี้ ชั้นนี้ค่อนข้างมืดๆหน่อย ชั้นนี้เป็นที่จัดแสดงพวกแบบจำลองต่างๆ มีแบบจำลองของหลายสถานีหลักๆที่สำคัญ อันนี้คือสถานีใต้กว่างโจว (广州南站) เราเคยไปขึ้นรถไฟที่นี่มาแล้วตอนที่อยู่กว่างโจว ตอนนั้นไปเที่ยวเมืองจงซาน https://phyblas.hinaboshi.com/20120811



ตรงนี้เป็นรางรถไฟขนาดและแบบต่างๆ



สิ่งที่ดูอลังการมากที่สุดในชั้นนี้ก็คือแบบจำลองเส้นทางรถไฟที่เชื่อมชิงไห่กับทิเบต ทางรถไฟนี้ยาว ๑๙๗๒ กม. ตัดซอกซอนในหุบเขาเส้นทางทรหด



บริเวณแถวเมืองลาซ่า (拉萨) เมืองเอกของทิเบต สีเหลืองคือทางรถไฟ กว่าทางรถไฟจะมาถึงที่นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย



ส่วนนี่คือเส้นทางรถไฟจากปักกิ่งสู่กว่างโจว ซึ่งเราก็เคยนั่งผ่านมาแล้ว



เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เราไม่เคยมีโอกาสได้นั่งสายนี้ก็เลยลองมาดูสักหน่อย หน้าจอนี้จะจำลองเหมือนกับว่าเรากำลังนั่งรถไฟผ่านสถานีต่างๆมองเห็นสถานที่เที่ยวระหว่างทาง เห็นแล้วก็อยากไปเที่ยวขึ้นมา



แบบจำลองสะพานต้าเซิ่งกวานข้ามแม่น้ำฉางเจียง (大胜关长江大桥) ที่หนานจิง เป็นสะพานข้ามแม่น้ำฉางเจียง (长江) แม่น้ำที่ยาวที่สุดในจีน



ใช้เวลาเดินทั้งหมดประมาณสองชั่วโมงกว่า การเดินชมพิพิธภัณฑ์ก็จบเท่านี้ แต่ว่านี่เป็นแค่แห่งหนึ่งเท่านั้น พิพิธภัณฑ์รถไฟปักกิ่งยังเหลืออีกสาขาหนึ่งซึ่งอยู่ที่ชานเมือง ซึ่งเรามีโอกาสไปเที่ยวในวันต่อมา https://phyblas.hinaboshi.com/20150403





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文