φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วัดฝ่าหยวน สวนดอกกานพลูในวัดเล็กๆ
เขียนเมื่อ 2015/05/09 02:06
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อังคาร 21 เม.ย. 2015

หลังจากที่เที่ยวสวนสาธารณะกู่ถ่า (古塔公园) เสร็จแล้วนั่งรถไฟฟ้าสาย 7 เพื่อกลับเข้าสู่ใจกลางเมือง https://phyblas.hinaboshi.com/20150507

ก่อนกลับตัดสินใจแวะสถานที่เที่ยวอีกแห่ง คือวัดฝ่าหยวน (法源寺, ฝ่าหยวนซื่อ) เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากแห่งหนึ่ง ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 645 สมัยราชวงศ์ถัง (唐朝, ปี 618 - 907) แต่ก็พังและสร้างใหม่หรือซ่อมแซมซ้ำหลายครั้ง

ตั้งแต่ปี 1956 ที่นี่กลายเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยพุทธศาสนศึกษาจีน (中国佛学院) และในปี 1980 ก็มีการตั้งหอสมบัติทางวัฒนธรรมพุทธศาสนาจีน (中国佛教图书文物馆) ที่นี่ ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งวิจัยวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา

หลี่เอ๋า (李敖) นักเขียนชาวไต้หวันได้ใช้วัดฝ่าหยวนเป็นฉากแต่งนิยายเรื่องวัดฝ่าหยวนปักกิ่ง (北京法源寺) และได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม



รถไฟฟ้าสถานีที่ใกล้วัดนี้มากที่สุดคือสถานีไช่ซื่อโข่ว (菜市口站) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสาย 4 กับสาย 7



นั่งมาลงแล้วก็ออกประตูตะวันตกเฉียงใต้ จากนั้นเดินไปทางตะวันตกแล้วเลี้ยวเข้าซอยที่สองที่เจอ คือซอยเหลียนฮวาหูท่ง (莲花胡同)




เดินไปสุดซอยแล้วก็เลี้ยวขวาเดินไปอีกหน่อยแล้วก็เลี้ยวซ้ายอีกทีก็จะมาโผล่ที่ซอยซีจวานหูท่ง (西砖胡同)



เดินลงใต้ต่อมาเรื่อยๆจนเจอทางให้เลี้ยวขวาก็เลี้ยวขวามาก็จะเห็นวัดทันที ตรงนี้คือถนนชื่อฝ่าหยวนซื่อเฉียนเจีย (法源寺前街) แปลว่าถนนหน้าวัดฝ่าหยวน



ขณะที่เราถ่ายภาพหน้าวัดอยู่นั้นจู่ๆลุงแก่ๆคนหนึ่งที่ยืนอยู่หน้าวัดก็เข้ามาทักเพราะเห็นเราถ่ายติดเขาไปด้วยจึงขอให้รีบลบรูปออก ตั้งแต่อยู่จีนมาเพิ่งเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้เป็นครั้งแรก ไม่รู้ว่าคนแก่คนนี้เขามีลับลมคมในอะไรหรือเปล่าเลยไม่อยากให้ถ่ายรูปติดไป เราก็กังวลอยู่เล็กน้อยแต่ก็ช่างมันเถอะ ถ่ายใหม่ก็ดีจะได้ไม่มีคนบังหน้าวัดน้อยลง เราหันรูปที่ถ่ายให้เขาดูและกดลบให้เขาดูต่อหน้าเพื่อให้เขาสบายใจ

แผ่นป้ายที่บอกว่าที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของปักกิ่ง



เดินเข้าไปในวัด ที่ประตูทางเข้ามีคนเก็บเงิน ค่าเข้า ๕ หยวน ถือว่าไม่แพง แต่ก็สมกับขนาดวัดเพราะที่นี่มีขนาดค่อนข้างเล็ก



เช่นเดียวกับวัดทั่วไปในจีน ต้องมีหอกลอง (鼓楼)



และหอระฆัง (钟楼)



แผ่นหินจารึก



ตัวอาคารทางผ่านเข้าส่วนในของวัด และสิงโตหน้าทางเข้า



อาคารในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เปิดให้เข้าเลย ไม่มีอาคารที่จัดแสดงอะไรอยู่ เท่าที่สังเกตดูแล้วเหมือนวัดนี้จะไม่ได้ทำเป็นลักษณะสถานที่ท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ เหมือนเข้ามาก็เพื่อดูบรรยากาศในวัดเป็นหลัก



อาคารต้าสยงเป่าเตี้ยน (大雄宝殿) อาคารหลักของตัววัด



นี่คือส่วนที่โดดเด่นส่วนหนึ่งของวัด ความจริงแล้ววัดนี้มีชื่อเสียงเรื่องดอกกานพลู (丁香) ถ้าหากมันบานเต็มที่จะสวยงามมาก แต่เรามาช้าไปหน่อย เลยฤดูที่กานพลูบานเต็มที่มาแล้วก็เลยเหลือให้เห็นไม่มาก เหลือเพียงใบเขียวๆซะมาก




แต่ก็พอจะมีเหลือให้เห็นเป็นหย่อมๆ แม้จะไม่เพียงพอที่จะทำให้ประทับใจแต่ก็ดีกว่าไม่ได้เห็นเลย



ในนี้มีอาคารอยู่หลายห้อง ส่วนใหญ่เป็นอาคารสำหรับไหว้ หรือไม่ก็เป็นอาคารที่ปิดอยู่ไม่ให้คนทั่วไปเข้า เราจึงเดินอยู่ด้านนอกเป็นหลัก





เดินไปเดินมาก็มาโผล่บริเวณที่เหมือนเป็นบ้านคนอยู่อาศัยและมีสนามกีฬา แต่นี่ยังเป็นภายในบริเวณวัดอยู่ ไม่มีทางออกไปสู่ด้านนอก



แล้วก็เดินเข้ามาถึงด้านในสุดของวัด ตรงนี้บรรยากาศเงียบสงบดี เห็นหลายคนนั่งพักนั่งเล่นกันอยู่ เราต้องพยายามเดินเบาๆไม่ให้เสียงดังรบกวนใคร




เดินด้านในเสร็จก็ออกมา ด้านหน้าวัดก็มีพวกคนแก่กำลังนั่งเล่นอะไรๆกันอยู่หลายคน



เดินออกมาที่ถนนเพื่อไปยังป้ายรถเมล์




ที่จริงแล้ววัดนี้ถ้าขึ้นรถเมล์มาลงป้ายด้านหน้าวัดจะไม่ต้องเดินไกลมาก แต่เราไม่ได้เตรียมแผนมาก่อนจึงไม่รู้ว่ามีป้ายรถเมล์ตรงนี้

ตอนแรกเราตั้งใจว่าเที่ยววัดฝ่าหยวนเสร็จก็จะกลับเลย แต่พอเห็นว่าเวลายังพอเหลือก็เลยคิดว่าน่าจะพอไปเที่ยวไหนต่อได้อีกสักที่ และเมื่อมองดูชื่อป้ายต่างๆที่อยู่ตรงป้ายแล้วก็พบช่องทางที่จะไปเที่ยวยังสถานที่อีกแห่งต่อได้

ตอนต่อไปจะไปเที่ยวสถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานอีกแห่ง คือหอคอยวัดฉือโซ่ว (慈寿寺塔) https://phyblas.hinaboshi.com/20150511



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文