φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปาต้าชู่ ศาสนสถานแปดแห่งบนเขา
เขียนเมื่อ 2015/07/16 23:20
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 7 ต.ค. 2011 & เสาร์ 27 มิ.ย. 2015

เมื่อสมัยที่เพิ่งมาปักกิ่งใหม่ๆตอนปี 2011 นั้นยังไม่ค่อยรู้สถานที่เที่ยวมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเพื่อนที่ชวนไปเที่ยวตามที่ต่างๆ

สถานที่หนึ่งที่เคยตามเพื่อนไปแบบไม่ค่อยรู้อะไรเลยก็คือปาต้าชู่ (八大处) เป็นสถานที่แรกๆที่ได้ไป แต่เนื่องจากตอนนั้นที่ไปนั้นได้เดินแค่นิดเดียวเท่านั้นก็เลยไม่ค่อยมีอะไรเล่ามากเลยไม่ได้เขียนถึง ตั้งใจว่าจะรอไปอีกครั้งแล้วค่อยเขียนทีเดียว

ครั้งนี้ได้มีโอกาสแวะไปอีกครั้งจนได้ ไม่ได้มากับเพื่อนแต่ว่ามากับครอบครัว โดยเป็นการเที่ยวต่อจากที่ไปเที่ยววัดเทียนหนิงและสวนสาธารณะสระบัวแล้วแวะทานติ่มซำมื้อเที่ยงมา

บันทึกที่เขียนต่อไปนี้จะเขียนถึงการไป ๒ ครั้งรวมกัน ทั้งสองครั้งไปในช่วงที่ต่างกันของปี อากาศก็ต่างกันก็ให้บรรยากาศที่ต่างกันออกไปบ้าง

ปาต้าชู่เป็นชื่อสถานที่ที่ประกอบไปด้วยศาสนสถานทางพุทธศาสนา ๘ แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในภูเขา ๓ ลูก จึงเรียกกว่าปาต้าชู่ ซึ่งแปลว่า "แปดแห่งใหญ่" สถานที่ตั้งอยู่ในภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองปักกิ่ง อยู่ใกล้กับเซียงซาน (香山) แต่ว่าเป็นเขาคนละลูกกัน

สถานที่ ๘ แห่งนั้นประกอบไปด้วย
๑. วัดฉางอาน (长安寺)
๒. วัดหลิงกวาง (灵光寺)
๓. อารามซานซาน (三山庵)
๔. วัดต้าเปย์ (大悲寺)
๕. หอหลงหวาง (龙王堂)
๖. วัดเซียงเจี้ย (香界寺)
๗. ถ้ำเป่าจู (宝珠洞)
๘. วัดเจิ้งกั่ว (证果寺)

ในจำนวนนั้นวัดฉางอานไม่ได้เปิดให้ชม ส่วนวัดเจิ้งกั๋วอยู่ไกลจากอันอื่น นอกจากนั้นอีก ๖ แห่งที่เหลืออยู่ในเส้นทางเดียวกัน

ในปี 1900 ซึ่งพันธมิตร ๘ ชาติได้บุกเข้าปักกิ่งหลังเหตุการณ์กบฏนักมวยนั้นได้มีการทำลายที่นี่ไปเยอะ ทำให้สิ่งก่อสร้างจำนวนมากที่เห็นอยู่ตอนนี้เป็นของที่สร้างขึ้นใหม่แทน



ในการมาครั้งแรกที่มากับเพื่อนนั้นมาด้วยรถเมล์ ที่นี่มีรถเมล์หลายสายที่สามารถมาถึงได้

รถเมล์ลงแถวนี้ ใกล้ทางเข้า



ซื้อบัตรผ่านประตูแล้วผ่านเข้าไปข้างใน



ในนี้คนเยอะ ระหว่างทางตั้งขายของอยู่เต็มไปหมด



ศาสนสถานที่แรกที่จะพบก็คือวัดหลิงกวาง (灵光寺) ซึ่งเป็นหมายเลขสอง ที่นี่มีหอคอยสวยเด่นซึ่งเห็นได้จากไกล



บรรยากาศภายในบริเวณวัด








หอคอย



จากตรงนี้ถ้าเดินขึ้นไปก็จะไปยังที่หมายเลขสามและสี่ต่อไปได้ แต่ว่าเราไม่ได้เดินต่อแต่กลับลงไป เพราะเพื่อนที่พามาเองก็ไม่ได้กะจะขึ้นไปดูด้านบนต่อ



ลงมาตรงนี้มีย่านขายของกิน



มีอะไรขายอยู่เยอะทีเดียว พวกเราก็ทานกันให้เสร็จแล้วค่อยกลับ





ตรงนี้ชี้บอกทางสำหรับไปขึ้นรถกระเช้าเพื่อขึ้นไปยังส่วนยอดเขา แต่เราไม่ได้ขึ้น





สำหรับเรื่องเล่าจากการมาในครั้งแรกเมื่อปี 2011 ก็หมดแค่นี้ ในตอนนั้นไม่ค่อยได้ดูอะไรมากรีบกลับไปอย่างเร็ว


พอถึงปี 2015 เราจึงได้กลับมาใหม่ โดยแวะมาเที่ยวหลังจากที่ได้พาครอบครัวเที่ยววัดเทียนหนิงแล้วก็ต่อด้วยชมดอกบัวที่สวนสาธารณะเหลียนฮวาฉือ แล้วก็ไปทานติ่มซำที่ศูนย์การค้าจินหยวน https://phyblas.hinaboshi.com/20150714

เรานั่งแท็กซีเดินทางจากศูนย์การค้าจินหยวนมาถึงนี่ ซึ่งถือว่าไม่ไกล ไม่นานก็มาถึง

หน้าประตูทางเข้าที่ต้องซื้อบัตร ครั้งนี้อากาศไม่ค่อยดีมีหมอกทำให้เห็นอะไรไม่ชัด ว่าไปแล้วก็น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน



ครั้งนี้เรามาเก็บตกสิ่งที่พลาดไม่ได้ดูไปในครั้งก่อน นั่นคือการขึ้นกระเช้าไปดูศาสนสถานที่อยู่ด้านบน เราเดินไปตามทางที่จะมาขึ้นรถกระเช้าแทนที่จะเดินไปทางที่ไปสู่วัดหลิงกวางเหมือนครั้งก่อน



กระเช้าที่นี่เป็นแบบนี้ ตู้หนึ่งนั่งได้ ๒ คน ค่ากระเช้าคนละ ๕๐ หยวน



ข้างๆทางของรถกระเช้ายังเห็นทางรถเลื่อนด้วย ดูแล้วคล้ายๆกับที่กำแพงเมืองจีนด่านมู่เถียนยวี่ซึ่งเคยไปมา แต่ที่นี่สูงกว่ามาก เส้นทางเลื่อนจึงยาวไกล



ข้างใต้เส้นทางรถกระเช้าก็เป็นเส้นทางเดินสำหรับคนที่จะเดินขึ้นเขา แต่ว่านี่เป็นแค่เส้นทางเดินทางหนึ่ง ขาลงเราจะเดินลงอีกทางไม่งั้นก็จะไม่เห็นอะไรเลย



จากตรงนี้สามารถมองเห็นอาคารวัดได้จากไกลๆ แต่น่าเสียดายว่ามีหมอกก็เลยไม่อาจเห็นได้ชัดเท่าไหร่




แล้วกระเช้าก็ขึ้นมาถึงด้านบน เขาสูงกว่าที่คิดมาก มีความรู้สึกว่าขึ้นมาไกลมาก ภายในกระเช้าก็ร้อนมากไม่มีลม กว่าจะถึงนี่เหงื่อแตก



เป้าหมายอยู่ที่ถ้ำเป่าจูซึ่งเป็นสถานที่หมายเลขเจ็ด เป็นที่ที่อยู่สูงที่สุด เมื่อขึ้นกระเช้ามาถึงนี่แล้วก็เดินอีกไม่ไกลก็ถึง



ถึงแล้ว ทางเข้า ที่นี่แม้จะชื่อว่าเป็นถ้ำแต่ความจริงแล้วก็คือวัด แล้วก็มีถ้ำเล็กๆอยู่ข้างใน



อาคารวัด



ทางเข้าไปยังถ้ำซึ่งอยู่ด้านหลังอาคาร



ถ้ำเล็กๆด้านใน ภายในมีพระอยู่



จากนั้นเดินลงไปต่อ



ไม่นานก็ถึงวัดเซียงเจี้ย ซึ่งเป็นแห่งหมายเลขหก



วัดนี้ใหญ่พอสมควร ระหว่างเดินดูในนี้ไปเส้นทางก็ค่อยๆลงไปข้างล่าง






พอทะลุผ่านวัดออกมาก็เจอกับหินที่แสดงถึงร่องรอยของธารน้ำแข็งในยุคควอเทอร์นารี เป็นสมบัติที่อนุรักษ์ไว้ที่สำคัญของเขตนี้



แล้วก็เดินลงต่อไป คราวนี้เดินยาวพอสมควรกว่าจะถึงที่ถัดไป ที่จริงแล้วมีทางให้เลือกสองทางโดยทั้งสองทางมีศาสนสถานคนละแห่งคือวัดต้าเปย์ (大悲寺) ซึ่งเป็นแห่งหมายเลขสี่ กับหอหลงหวาง (龙王堂) ซึ่งเป็นแห่งหมายเลขห้า หากไม่อยากเดินย้อนก็ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเราเลือกไปทางวัดต้าเปย์ ดังนั้นจึงไม่ได้ผ่านหอหลงหวาง




เส้นทางบางส่วนซ้อนทับกับกระเช้าที่นั่งขึ้นมาตอนแรก



หลังจากที่เดินลงมาเรื่อยๆในที่สุดก็มาถึงวัดวัดต้าเปย์ซึ่งเป็นแห่งหมายเลขสี่



เดินขึ้นไปดูข้างในก็ใหญ่พอสมควร






จากนั้นกลับลงมาแล้วเดินต่อไม่ไกลก็มาถึงวัดอารามซานซาน (三山庵) ซึ่งเป็นแห่งหมายเลขสาม



เข้าไปชมด้านใน ไม่ค่อยใหญ่เท่าไหร่





เสร็จแล้วก็เดินต่อลงมา



ในที่สุดก็เดินกลับลงมาจนถึงวัดหลิงกวางซึ่งเป็นแห่งที่สอง และเป็นอันที่อยู่ล่างสุดซึ่งเราเคยแวะมาตอนครั้งแรก เมื่อมาถึงตรงนี้ก็เท่ากับว่าการเดินทางอันยาวไกลกำลังสิ้นสุดลงแล้ว ใช้เวลาไปเกือบ ๒ ชั่วโมงในการเดินทางหลังจากที่ลงจากกระเช้ามาค่อยๆเดินลงมาจนถึงทางออกด้านล่างสุด



จากนั้นก็เดินต่ออีกนิดหน่อยเพื่อกลับลงไปข้างล่าง บอกลาสถานที่แห่งนี้แค่นี้




จากนั้นขากลับเราไปขึ้นรถเมล์เพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีผิงกั่วหยวน (苹果园站) ซึ่งเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้ที่นี่มากที่สุด จากที่นั่นนั่งไปยังซีตานเพื่อหามื้อเย็นทานที่นั่น

แวะทานร้านไซเซริยะ (saizeriya, 萨莉亚) ซึ่งเป็นร้านอาหารอิตาลีของญี่ปุ่น ที่นี่มีแต่ของอร่อยๆทั้งนั้น แต่นี่ก็อาจเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้มาทานแล้ว




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ท่องเที่ยว >> ภูเขา

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文