φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เรียนรู้การทำงานของระบบเน็ตเวิร์กผ่านตัวละครโมเอะ
เขียนเมื่อ 2016/02/29 19:25
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

เรียนรู้การทำงานของระบบเน็ตเวิร์กผ่านตัวละครโมเอะ

พอดีช่วงนี้เริ่มซื้อ kindle มาอ่านหนังสือโดยซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วงนี้คงเข้าสู่ยุคของการซื้อขายหนังสือทางออนไลน์แบบนี้แล้วจริงๆเพราะถ้าสั่งหนังสือเป็นเล่มกว่าจะส่งมาถึงก็หลายวันและเปลืองค่าส่งด้วย

มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้ซื้อตอนช่วงลดราคาพอดี และเห็นว่าน่าสนใจมากก็เลยลองเอามาแนะนำกันดูสักหน่อย เป็นหนังสือความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

จะเป็นอย่างไรถ้าโปรแกรมต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ถูกวาดภาพแทนด้วยตัวละครน่ารักๆ!?

หนังสือเล่มนี้ได้ใช้วิธีจำลองโพรโทคอลต่างๆในระบบเน็ตเวิร์กให้เป็นตัวละครโมเอะเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
ชื่อของหนังสือเล่มนี้คือ 擬人化でまなぼ!ネットワークのしくみ ซึ่งแปลว่า "มาเรียนรู้โดยเปรียบเสมือนคนจริง! การทำงานของเน็ตเวิร์ก"

>> ดูใน amazon

ราคาตอนขณะที่เราซื้อนั้นอยู่ในช่วงลดราคา จึงจ่ายแค่ 1069 เยนเท่านั้น แต่ตอนนี้ราคากลับมาแพงแล้ว

พูดถึงระบบต่างๆในคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ประกอบด้วยศัพท์เฉพาะเต็มไปหมด ส่วนใหญ่ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ บางตัวก็ชื่อยาวจนต้องย่อ และก็จำยาก ซึ่งอาจทำให้คนเบื่อที่จะเรียนรู้

ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้จึงได้ลองนำเสนอโดยนำตัวละครโมเอะมาใช้แทนที่โพรโทคอลต่างๆเช่น HTTP MPEG JPEG TCP UDP IP ฯลฯ โดยตัวละครต่างๆในนี้ถูกเรียกว่า systers

ภาพหน้าปกคือ IP กับ HTTP

ภาพนี้จากซ้ายไปขวาคือ MPEG, HTTP และ JPEG

เนื้อหาแบ่งเป็นบทต่างๆ

ภายในเล่มประกอบด้วยส่วนที่เป็นมังงะ แต่ก็มีอยู่แค่ไม่กี่หน้าเท่านั้น

หน้าส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแบบนี้ คือตัวละครคุยกันไปเรื่อยๆ

มีแผนภาพประกอบอยู่เรื่อยๆ

ภาพสวยๆแทรกระหว่างเล่มอยู่ประปราย

อีเธอร์เน็ตผู้ไม่สามารถเดินทางผ่านรูเตอร์ออกไปได้

ในจินตนาการของคนเขียนแล้ว ดูเหมือนว่า DNS จะเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก

ตัวละครบางส่วนไม่ได้ออกโรงในเรื่องแต่ก็มีวาดภาพเอาไว้

อ่านเล่มนี้จบแล้วรู้สึกเข้าใจระบบการทำงานอะไรต่างๆ ช่วยได้ดีทีเดียว จากที่เมื่อก่อนไม่ค่อยจะเข้าใจสักเท่าไหร่ เพราะเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดซับซ้อน ต้องจำอะไรมากมาย

ผู้เขียนพยายามเปลี่ยนจุดเด่นของโพรโทคอลแต่ละตัวให้กลายเป็นนิสัยของตัวละครเพื่อให้จำง่ายขึ้น เป็นวิธีการสอนที่ดี

เพียงแต่มีความรู้สึกว่าที่จริงผู้เขียนอาจใส่จินตนาการของตัวเองเยอะไปหน่อย นิสัยหรือลักษณะเด่นบางอย่างของตัวละครก็เหมือนจะคิดขึ้นมาเองโดยไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตัวโพรโทคอลต้นแบบ

น่าเสียดายที่ไม่ได้ออกมาเป็นมังงะเต็มรูปแบบ มีภาพประกอบน้อย เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นบทสนทนาโต้ตอบไปเรื่อยๆ ไม่ได้เห็นความเคลื่อนไหวของตัวละครชัดนัก ถ้าเป็นมังงะล้วนน่าจะอ่านง่ายกว่านี้มาก แต่ก็คงจะเปลืองหน้ากระดาษมากกว่านี้และราคาก็อาจจะแพงกว่านี้มาก

อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วถือว่าน่าอ่าน ตัวละครก็วาดออกมาได้สวยน่ารักมากด้วย บทสนทนาโต้ตอบก็ใช้คำพูดได้น่าอ่านดี ค่อยๆอธิบายให้เข้าใจไปเรื่อยๆเป็นขั้นเป็นตอน

พออ่านเล่มนี้จบไปแล้ว หลังจากนี้ไปพอเวลาพูดชื่อโพรโทคอลมา ภาพตัวละครเหล่านี้ก็ผุดขึ้นมาในหัวทันที...



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文