φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



รวมรายชื่อโปเกมอนในภาษาต่างๆ
เขียนเมื่อ 2016/08/19 23:15
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
กระแสโปเกมอนโกที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้ก็ได้ทำให้เราเริ่มกลับมาสนใจเกี่ยวกับโปเกมอนขึ้นมา ถึงกับไปหยิบโปเกมอนภาคใหม่ที่ยังไม่เคยดูตอนเด็กมาลองดูต่อ

และตอนนี้จึงได้ทำเว็บใหม่ขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลชื่อโปเกมอน

>> http://hinaboshi.com/ruamraichuepokemon

ชื่อโปเกมอนที่เราคุ้นเคยกันนั้นเป็นชื่อที่เรียกตามเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น แต่ที่จริงแล้วชือโปเกมอนได้ถูกแปลเป็นหลายภาษา ชื่อต่างกันออกไปทั้งหมด

แต่ยังหาไม่เจอเว็บไหนที่รวบรวมรายชื่อในแต่ละภาษามาไว้เป็นตารางในหน้าเดียวให้เรียบร้อย ดังนั้นจึงลองจัดทำขึ้นมาเอง

พร้อมกันนั้นก็ได้พยายามเขียนชื่อในเวอร์ชันญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องมากที่สุดด้วย จากที่เดิมทีเห็นว่าหลายคนเรียกชื่อมาผิด ซึ่งอาจเนื่องจากมังงะหรืออนิเมะที่แปลไทยมานั้นเรียกชื่อคลาดเคลื่อนไป

รายชื่อในวิกิพีเดียไทยเองนั้นเดิมทีก็มีผิดเยอะ ดังนั้นจึงได้เข้าไปแก้ในนั้นให้เหมือนกันด้วย

ลองเข้าไปดูในนี้ได้ หากลองกดไปดูที่ประวัติก็จะเห็นชื่อเก่าและเทียบได้ว่าแก้ไปแค่ไหน https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อโปเกมอน



การแปลชื่อให้ถูกต้องนั้นจริงๆแล้วก็เรียกได้ว่าไม่ใช่ง่ายๆเลย ครั้งนี้ซึ่งเราได้พยายามสังคยานาชื่อโปเกมอนก็ต้องใช้เวลาและความพยายามพอสมควรเหมือนกัน

การแปลยึดตามชื่อในภาษาญี่ปุ่นซึ่งเขียนเป็นคาตาคานะ (เช่น リザードン) และชื่อที่ถอดเป็นอักษรโรมัน (เช่น Lizardon) นอกจากนี้ยังต้องดูความหมายที่มาของชื่อด้วย เพราะชื่อโปเกมอนแต่ละตัวมีที่มา ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆแบบไม่ได้คิดอะไร

ซึ่งที่มาก็มักจะมาจากภาษาต่างๆหลายภาษา เพื่อจะให้รู้ว่าควรแปลคำอ่านเป็นอะไรจึงต้องศึกษาวิธีการอ่านชื่อภาษาต่างๆอีกทั้งหลักการทับศัพท์ไว้บ้าง

ยกตัวอย่างเช่น 124 รูฌลา (ルージュラ, Rougela) คำว่า Rouge มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่าสีแดง จึงใช้หลักการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส >> อ้างอิงวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/การเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส

ส่วน 129 โคยคิง (コイキング,Koiking) นั้น Koi มาจากคำว่า "โคย" เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของปลาคาร์ฟ ดังนั้นจึงแปลเป็น "โคยคิง" ไม่ใช่ "คอยคิง"

และก็มีชื่อบางชื่อที่เรียกกันผิดเล็กๆน้อยๆเนื่องจากยึดตามคาตาคานะมากแต่พอได้รู้ตัวสะกดแบบโรมันจริงๆจึงรู้ว่าควรแก้ เช่น 052 เนียร์ธ (ニャース, Nyarth) เดิมทีคนส่วนใหญ่เรียกเป็นเนียส แต่พอรู้ว่า ス ในที่นี้แทน th จึงควรเปลี่ยนเป็น "ธ" แทน "ส" เป็นต้น

แล้วก็มีอีกหลายตัวอย่าง ถ้าให้ยกมาพูดถึงในนี้ก็คงจะไม่ไหว

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ชื่อคาตาคานะกับชื่อโรมันเกิดขัดแย้งกันเองด้วย เช่น 384 เรย์ควาซา (レックウザ, Rayquaza) ซึ่งถ้าดูจากคาตาคานะแล้วน่าจะอ่านเป็น "เร็กกูซา" อย่างไรก็ตามเลือกที่จะยึดตามชื่อโรมันมากกว่าเพราะชื่อนี้ถูกใช้เรียกในภาษาอื่นๆเหมือนๆกันหมดด้วย

โดยรวมแล้วก็คิดว่าชื่อทั้งหมดที่รวบรวมมานี้ต่อให้ไม่ได้ถูกต้อง 100% แต่ก็ถูกมากกว่าข้อมูลในวิกิพีเดียเดิมและชื่อที่หลายคนคุ้นเคยกันมาก่อนหน้า



สำหรับเรื่องของชื่อในภาษาต่างๆนั้น ชื่อของโปเกมอนถูกแปลต่างออกไปทั้งหมด ๗ แบบได้แก่
- ญี่ปุ่น
- จีน
- กวางตุ้ง
- เกาหลี
- อังกฤษ
- ฝรั่งเศส
- เยอรมัน

โปเกมอนบางตัวชื่อต่างกันไปทั้งหมด ๗ แบบใน ๗ ภาษาเลย เช่น 062 เนียวโรบอน
ญี่ปุ่น: ニョロボン (Nyorobon)
จีน: 蚊香泳士 (wén xiāng yǒng shì, แปลว่า "นักว่ายน้ำขดยากันยุง")
กวางตุ้ง: 大力蛙 (daai lik waa, แปลว่า "กบจอมพลัง")
เกาหลี: 강챙이 (Gangchaengi)
อังกฤษ: Poliwrath
ฝรั่งเศส: Tartard
เยอรมัน: Quappo

ในขณะเดียวกันโปเกมอนบางตัวก็ชื่อเหมือนกันหมดทุกภาษา เช่น 025 พีคาชู (ピカチュウ, Pikachu)

สำหรับประเทศที่ใช้ภาษานอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็มีทั้งที่ใช้ตามชื่อภาษาญี่ปุ่นและที่ใช้ตามภาษาอังกฤษ

ในเกมโปเกมอนโกภาษาของเกมจะเปลี่ยนไปตามภาษาที่ตั้งไว้ในเครื่อง และชื่อโปเกมอนก็จะเปลี่ยนไปตามภาษานั้นด้วย



ความหลากหลายทางภาษาทำให้อาจเกิดการสื่อสารกันไม่รู้เรื่องเวลาที่ไปคุยกับโปเกมอนเทรนเนอร์ต่างชาติ

ดังนั้นแล้วหวังว่าตารางรายชื่อที่ทำไว้นี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> เกม >> โปเกมอน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文