φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปรับเปลี่ยนการแสดงผล pandas ใน jupyter
เขียนเมื่อ 2016/10/23 12:11
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในเนื้อหา pandas เบื้องต้นบทที่ ๒ ได้มีเขียนถึงไปว่าเดตาเฟรมใน jupyter จะแสดงผลในลักษณะตารางที่สร้างขึ้นจากโค้ด html

เกี่ยวกับการติดตั้งและใช้งาน jupyter มีคนเขียนถึงไว้แล้วอ่านได้ใน
https://python3.wannaphong.com/2015/09/ติดตั้งเครื่องมือ-python.html
http://naiwaen.debuggingsoft.com/2016/08/jupyter-with-python-part2

นอกจากแค่ใช้แสดงผลเป็นตารางได้ธรรมดาแล้ว การแสดงผลของเดตาเฟรมใน jupyter นั้นยังสามารถปรับแต่งใส่ลูกเล่นต่างๆได้ด้วย

สำหรับบทความนี้จะพูดถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผล โดยใช้เมธอดต่างๆที่อยู่ภายในตัวเดตาเฟรม

เนื้อหาแปลและตัดต่อเรียบเรียงจาก http://sinhrks.hatenablog.com/entry/2015/11/22/202640

ลองสร้างเดตาเฟรมขึ้นมาอันหนึ่งเพื่อใช้เป็นตัวอย่าง โดยประกอบด้วยคอลัมน์ที่เป็นตัวเลข แล้วก็ที่เป็นตัวหนังสือ
import pandas as pd
pokemon = pd.DataFrame([
        ['ฟุชิงิดาเนะ','พืช/พิษ',0.7,6.9],
        ['ฟุชิงิโซว','พืช/พิษ',1.0,13.0],
        ['ฟุชิงิบานะ','พืช/พิษ',2.4,155.5],
        ['ฮิโตคาเงะ','ไฟ',0.6,8.5],
        ['ลิซาร์โด','ไฟ',1.1,19.0],
        ['ลิซาร์ดอน','ไฟ/บิน',1.7,101.5],
        ['เซนิงาเมะ','น้ำ',0.5,9.0],
        ['คาเมล','น้ำ',1.0,22.5],
        ['คาเม็กซ์','น้ำ',1.6,101.1]],
    columns=['สายพันธุ์','ชนิด','ส่วนสูง','น้ำหนัก'],
    index=[1,2,3,4,5,6,7,8,9])
pokemon

โดยปกติจะได้ตารางเรียบๆออกมาแบบนี้



การปรับการแสดงผลนั้นทำได้โดยพิมพ์คำว่า .style ต่อท้ายตัวแปรที่เก็บเดตาเฟรมอยู่ แล้วตามด้วยเมธอดที่ต้องการ

ในที่นี้จะยกตัวอย่างแค่ส่วนหนึ่งขึ้นมาลองใช้ ได้แก่
.style.set_properties() ปรับค่าการแสดงผลทุกช่องตารางเหมือนกัน
.style.apply() ปรับค่าการแสดงผลโดยแยกแต่ละแถวหรือแต่ละคอลัมน์ตามค่าโดยกำหนดด้วยฟังก์ชัน
.style.applymap() ปรับค่าการแสดงผลโดยแยกตามค่าของแต่ละช่องโดยกำหนดด้วยฟังก์ชัน
.style.highlight_max() เติมสีให้ช่องที่ค่าสูงสุด
.style.highlight_min() เติมสีให้ช่องที่ค่าต่ำสุด
.style.highlight_null() เติมสีให้ช่องที่ค่าเป็น NaN
.style.background_gradient() เปลี่ยนสีฉากหลังแต่ละช่องตามค่าตัวเลข
.style.bar() แสดงแผนภูมิแท่งขึ้นภายในตารางตามค่าตัวเลข

เริ่มจาก style.set_properties คำสั่งนี้จะปรับการแสดงผลโดยใช้โค้ด css หากใครใช้ css เป็นอยู่แล้วก็สามารถปรับแต่งอะไรต่างๆได้ตามใจชอบโดยไม่ต้องจำอะไรเพิ่มเติม

ค่าคุณสมบัติต่างๆเขียนในรูปแบบ .style.set_properties(คุณสมบัติ1=ค่า1,คุณสมบัติ2=ค่า2,...=...) แบบนี้ได้

ตัวอย่าง ลองเปลี่ยนสีอักษรในตาราง
pokemon.style.set_properties(color='#aa7711')



เพียงแต่ว่าหากชื่อมีขีด - อยู่ด้วยจะใช้วิธีนี้ไม่ได้ ต้องใช้การเขียนในรูปดิกชันนารีแทน โดยใส่ดอกจันสองอันนำหน้า .style.set_properties(**{คุณสมบัติ1:ค่า1,คุณสมบัติ2:ค่า2,...:...}) แบบนี้

ตัวอย่าง
pokemon.style.set_properties(**{'background-color':'#ff2266','color':'#11ff00','font-size':'20px'})



การใช้ style.set_properties แบบนี้จะเป็นการเปลี่ยนทุกแถวทุกหลักเหมือนกันหมด แต่ถ้าต้องการกำหนดรูปแบบโดยขึ้นอยู่กับค่าในแต่ละช่องก็ให้ใช้ style.applymap

ก่อนอื่นต้องสร้างฟังก์ชันที่ให้ค่าคืนกลับเป็นโค้ด css จากนั้นจึงนำฟังก์ชันนี้ไปใช้ style.applymap ฟังก์ชันจะถูกเรียกใช้โดยมีค่าของแต่ช่องตารางเป็นอาร์กิวเมนต์

ตัวอย่าง
def f(x):
    if(type(x)==str):
        return 'color: #00aa00'
    elif(x>50):
        return 'color: #ff0000'
    else:
        return ''
pokemon.style.applymap(f)



แต่หากต้องการแยกเป็นแต่ละคอลัมน์ให้ใช้ style.apply เพียงแต่ว่าค่าที่ฟังก์ชันคืนกลับมาจะต้องเป็นลิสต์ของโค้ด css ที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากับจำนวนแถว

ตัวอย่าง
def f(x):
    z = 'color: #110099; font-size: %dpx'%(50*len(str(x.max()))**-0.5)
    return [z]*len(x)
pokemon.style.apply(f)



หากต้องการแยกเป็นแต่ละแถวก็ใช้ style.apply แล้วใส่ axis=1 เช่น
def f(x):
    if('พืช' in x['ชนิด']):
        return ['','color: #00ee00','','']
    if('ไฟ' in x['ชนิด']):
        return ['','color: #ee0000','','']
    if(x['ชนิด']=='น้ำ'):
        return ['','color: #0000ee','','']
pokemon.style.apply(f,axis=1)



หากต้องการระบายสีช่องที่มีค่าสูงสุดหรือต่ำสุดให้ใช้ style.highlight_max หรือ style.highlight_min โดยระบุค่าสีที่ต้องการด้วยคีย์เวิร์ด color คำสั่งนี้จะมีผลเฉพาะคอลัมน์ที่เป็นค่าตัวเลขเท่านั้น

ตัวอย่าง
pokemon.style.highlight_max(color='#aaaaff')



สามารถใส่ซ้อนกันได้หากต้องการแสดงทั้งค่า max และ min
pokemon.style.highlight_max(color='#cc0000').highlight_min(color='#00cc00')



ส่วน style.highlight_null จะระบายสีช่องที่ค่าเป็น None หรือ NaN
pokemon.loc[10] = [None]*4
pokemon.style.highlight_null()



สำหรับ style.background_gradient จะเป็นการใส่สีให้แต่ละช่องของแต่ละแถงโดยเรียงตามค่าตัวเลขโดยเรียงสีตามคัลเลอร์แม็ป ให้ใส่คัลเลอร์แม็ปที่ต้องการลงในคีย์เวิร์ด cmap (เกี่ยวกับคัลเลอร์แม็ปได้อธิบายไว้ใน numpy & matplotlib เบื้องต้นบทที่ ๒๔)
pokemon.style.background_gradient(cmap='summer')



ปกติสีจะถูกใส่ให้กับทุกคอลัมน์ที่เป็นค่าตัวเลข แต่หากต้องการให้ใส่แค่บางคอลัมน์ก็ทำได้โดยใช้คีย์เวิร์ด subset แล้วระบุเฉพาะชื่อคอลัมน์ที่ต้องการ
pokemon.style.background_gradient(cmap='autumn',subset=['น้ำหนัก'])



สุดท้าย style.bar จะเป็นการสร้างแท่งสีขึ้นมาเป็นฉากหลังในตาราง โดยมีความยาวตามค่า

ตัวอย่าง
pokemon.style.bar(color='#aaffaa')



การแสดงผลของตารางทั้งหมดมาจากโค้ด html ซึ่งหากต้องการได้ตัวโค้ด html ออกมาในรูปสายอักขระทันทีก็ให้ใช้เมธอด render() พิมพ์ต่อท้ายไปอีก

เช่น
pokemon.style.bar(color='#aaffaa').render()

แบบนี้จะได้ตัวโค้ด html มา



นอกจากนี้แล้วยังมีความสามารถอื่นๆที่ทำได้อีกมากใน jupyter ที่ไม่ได้กล่าวถึงในนี้ สำหรับผู้ที่สนใจก็ไปลองๆใช้และศึกษากันดูเพิ่มเติมได้


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pandas

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文