φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[python] วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบหลายตัวแปร
เขียนเมื่อ 2016/12/12 12:57
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 15:29
ต่อจากตอนที่แล้วซึ่งได้อธิบายถึงการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นในมิติเดียว https://phyblas.hinaboshi.com/20161210

คราวนี้จะขยายไปสู่ปัญหาที่เป็นทั่วไปมากขึ้น คือกรณีที่มีมากกว่าหนึ่งมิติ

ในธรรมชาติแล้ว ค่าของอะไรต่างๆมักไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรเพียงอย่างเดียว มีสิ่งที่มาเกี่ยวข้องด้วยมากมาย

แบบนี้ค่าผลลัพธ์อาจหาได้จากผลรวมของค่าของตัวแปรตามแต่ละตัวคูณด้วยน้ำหนักของตัวแปรต้นนั้น แล้วบวกด้วยค่าไบแอส
h = x1w1 + x2w2 + ... + xnwn + b


โดย n เป็นจำนวนมิติ (จำนวนตัวแปรต้น) ของปัญหา

ในที่นี้ j เป็นเลขลำดับของตัวแปรต้น แต่ละตัวแปรต้นมีค่าน้ำหนักของตัวเอง ซึ่งเป็นตัวบอกว่าตัวแปรต้นนั้นมีความสำคัญ มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์แค่ไหน

ค่า SSE ยังคงหาได้จากสมการเดิมเหมือนตอนมิติเดียว เพียงแต่ค่า h มีจำนวนพจน์ที่ต้องบวกกันมากขึ้นเท่านั้น


ค่าอนุพันธ์ย่อยสำหรับน้ำหนักแต่ละตัวก็จะเป็นไปตามนี้


และค่าน้ำหนักที่ต้องเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งของการเรียนรู้ก็จะเป็น




ขอเริ่มจากยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาในสองมิติ

สมมุติว่าเล่นเกมเกมหนึ่ง ในนั้นมีให้เลี้ยงอสูรเพื่อไปต่อสู้กัน และพลังโจมตีของอสูรขึ้นกับอาหารที่ทาน

ผู้เล่นคนหนึ่งทดลองเลี้ยงอสูรหลายตัวโดยให้อาหารในปริมาณต่างๆกันแล้วดูว่าสุดท้ายแล้วอสูรมีพลังโจมตีเท่าไหร่

สมมุติว่าอาหารที่ควบคุมให้เป็นตัวแปรต้นนั้นมีอยู่สองชนิดคือผลไม้กับผัก

ผลที่ได้สามารถวาดกราฟออกมาได้ดังนี้



โดยในแกน x และ y คือปริมาณผลไม้และผักที่ให้อสูรทาน แกน z เป็นพลังโจมตี

ในภาพจะเห็นแนวโน้มเป็นเชิงเส้นชัดเจน ยิ่งให้อาหารมากก็ยิ่งพลังโจมตีสูง

เนื่องจากมีสองตัวแปร จึงอาจสมมุติสมการของคำตอบได้เป็น
h = x1w1 + x2w2 + b



โค้ดของภาพนี้เป็นดังนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

from mpl_toolkits.mplot3d import Axes3D


phonlamai = np.random.uniform(0,10,100) # ปริมาณผลไม้
phak = np.random.uniform(0,10,100) # ปริมาณผัก
chomti = 10+phonlamai*2+phak*3+np.random.randn(100)*3 # คำนวณพลังโจมตี

plt.figure(figsize=[8,8])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.set_xlabel(u'ผลไม้',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_ylabel(u'ผัก',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_zlabel(u'พลังโจมตี',fontname='Tahoma',fontsize=20)
# กำหนดสีของเส้นและจุดตามค่า
def si(x):
    x = (x-chomti.min())/(chomti.max()-chomti.min())
    return plt.get_cmap('jet')(x)
# วาดเส้นลากจากพื้นให้กับทุกจุด
for i in range(100):
    ax.plot([phonlamai[i],phonlamai[i]],[phak[i],phak[i]],[0,chomti[i]],color=si(chomti[i]))
# วาดจุด
ax.scatter(phonlamai,phak,chomti,c=si(chomti),edgecolor='k')
plt.show()

จากโค้ดนี้จะเห็นได้ว่าคำตอบคือ w1=2, w2=3, b=10

พจน์ random ที่เพิ่มเข้ามาเป็นความไม่แน่นอนซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่นอาหารชนิดอื่นที่เราไม่ได้ควบคุม หรืออาจเกิดจากค่าสุ่มต่างๆในเกมก็ได้

วิธีการแก้ปัญหาเราจะนำโค้ดจากตอนที่แล้วซึ่งใช้วิธีการเคลื่อนลงตามความชันในหนึ่งมิติมาแก้เล็กน้อยให้ใช้สำหรับปัญหาสองมิติได้

เขียนได้ดังนี้
eta = 0.0001
n_thamsam = 10000
d_yut = 1e-7
w1,w2,b = 0,0,0
h = w1*phonlamai+w2*phak+b
for i in range(n_thamsam):
    dw1 = (2*(chomti-h)*phonlamai).sum()*eta
    dw2 = (2*(chomti-h)*phak).sum()*eta
    db = 2*(chomti-h).sum()*eta
    w1 += dw1
    w2 += dw2
    b += db
    h = w1*phonlamai+w2*phak+b
    if(abs(dw1)and abs(dw2)and abs(db)<d_yut):
        break

ที่เปลี่ยนไปจากเดิมมีแค่แทนที่จะเป็น dw ตัวเดียวก็ใช้เป็น dw1 และ dw2 เวลาที่คำนวณอะไรต่างๆก็ต้องทำทั้ง ๒ อัน

เท่านี้ค่าน้ำหนัก w1, w2 และ b ก็ควรจะเป็นค่าตามที่ต้องการแล้ว

ลองดูผลลัพธ์ด้วยการวาดระนาบของค่าที่ทำนายจากค่าน้ำหนักและไบแอสที่ได้ในท้ายสุด โดยวาดจุดของค่าคำตอบจริงและลากเส้นค่าส่วนต่างเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความคลาดเคลื่อนด้วย
plt.figure(figsize=[8,8])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.set_xlabel(u'ผลไม้',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_ylabel(u'ผัก',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_zlabel(u'พลังโจมตี',fontname='Tahoma',fontsize=20)
# สร้างโครงข่ายพื้นผิวค่าทำนาย
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(0,10,11),np.linspace(0,10,11))
# คำนวณค่าทำนายบนพื้นผิวจากค่าน้ำหนักที่ได้
mz = b+mx*w1+my*w2
# วาดพื้นผิว
ax.plot_surface(mx,my,mz,rstride=1,cstride=1,alpha=0.2,color='b',edgecolor='k')
h = phonlamai*w1+phak*w2+b
# วาดเส้นเชื่อมระหว่างจุดของค่าจริงกับระนาบที่ทำนาย
for i in range(100):
    ax.plot([phonlamai[i],phonlamai[i]],[phak[i],phak[i]],[h[i],chomti[i]],'k')
# จุดของค่าจริง
ax.scatter(phonlamai,phak,chomti,c=chomti,edgecolor='k',cmap='jet')
plt.show()
print(b,w1,w2)
# (9.964693266998049, 2.1468002594406337, 2.8872801897811629)



ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ควรจะเป็น

แต่ว่าโค้ดนี้จำเพาะสำหรับปัญหาสองมิติ ถ้ามีจำนวนมิติมากกว่านั้นก็ต้องมาคอยแก้โค้ดใหม่เรื่อยๆอาจจะไม่สะดวก เพื่อที่จะให้สามารถใช้แก้ปัญหาในมิติใดๆได้เรายังควรจะปรับปรุงโค้ดอีก

ในกรณีนี้เราจะเปลี่ยนค่าน้ำหนักและไบแอสจากที่เดิมใช้เป็นตัวแปรเป็น w1,w2 และ b เป็นมาเก็บอยู่ในตัวแปรเดียวเป็นอาเรย์คือ w

ส่วนค่าตัวแปรต้นเองก็รวมเป็นอาเรย์สองมิติโดยใช้ np.stack

เขียนออกมาได้ดังนี้
eta = 0.0001
n_sungsut = 10000
d_yut = 1e-7
ahan = np.stack([phonlamai,phak],1)
w = np.zeros(ahan.shape[1]+1)
dw = np.zeros(ahan.shape[1]+1)
h = np.dot(ahan,w[1:])+w[0]
for i in range(n_sungsut):
    dw[1:] = 2*np.dot(chomti-h,ahan)*eta
    dw[0] = 2*(chomti-h).sum()*eta
    w += dw
    h = np.dot(ahan,w[1:])+w[0]
    if(np.all(abs(dw)<d_yut)):
        break # หยุดเฉพาะเมื่อค่าน้ำหนักทุกตัวเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า d_yut

plt.figure(figsize=[8,8])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.set_xlabel(u'ผลไม้',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_ylabel(u'ผัก',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_zlabel(u'พลังโจมตี',fontname='Tahoma',fontsize=20)
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(0,10,11),np.linspace(0,10,11))
mz = w[0]+mx*w[1]+my*w[2]
ax.plot_surface(mx,my,mz,rstride=1,cstride=1,alpha=0.2)
h = phonlamai*w[1]+phak*w[2]+w[0]
for i in range(100):
    ax.plot([phonlamai[i],phonlamai[i]],[phak[i],phak[i]],[h[i],chomti[i]],'k')
ax.scatter(phonlamai,phak,chomti,c=chomti,edgecolor='k',cmap='jet')
plt.show()
print(w)

โค้ดนี้จะให้ผลเหมือนกับอันก่อน แต่การเขียนดูสั้นลงเพราะทั้งค่าน้ำหนักและค่าตัวแปรต้นแต่ละตัวอยู่ในอาเรย์เดียวจึงคำนวณไปพร้อมกัน



ต่อจากนั้น เราสามารถทำให้การคำนวณดูเป็นระบบเรียบร้อยมากขึ้นและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ง่ายด้วยการสร้างแบบจำลองการถดถอยเชิงเส้นเป็นคลาสขึ้นมา
ลองเขียนคลาสออกมาได้ตามนี้
class ThotthoiChoengsen:
    def __init__(self,eta):
        self.eta = eta
    # เรียนรู้จากข้อมูล X และ z ที่ใส่เข้าไป
    def rianru(self,X,z,d_yut=1e-7,n_thamsam=100000):
        self.w = np.zeros(X.shape[1]+1)
        dw = np.zeros(X.shape[1]+1)
        h = self.thamnai(X)
        self.sse = [self.ha_sse(h,z)] # ลิสต์บันทึกค่า SSE ในแต่ละรอบ
        for i in range(n_thamsam):
            eee = 2*(z-h)*self.eta
            dw[1:] = np.dot(eee,X)
            dw[0] = eee.sum()
            self.w += dw
            h = self.thamnai(X)
            self.sse += [self.ha_sse(h,z)]
            if(np.all(abs(dw)<d_yut)):
                break
    # ทำนายค่าจาก X ที่ใส่เข้าไป
    def thamnai(self,X):
        return np.dot(X,self.w[1:])+self.w[0]
    # หาค่าผลรวมความคลาดเคลื่อนกำลังสอง
    def ha_sse(self,h,z):
        return ((h-z)**2).sum()

การใช้งานจะเริ่มต้นจากสร้างออบเจ็กต์ของคลาสขึ้นมา จากนั้นก็นำข้อมูลที่เตรียมไว้สำหรับเรียนรู้มาทำการเรียนรู้ด้วยเมธอด rianru

พอเรียนรู้เสร็จค่าน้ำหนักที่เก็บอยู่ในแอตทริบิวต์ w ก็จะถูกปรับค่าเรียบร้อย สามารถนำมาใช้คำนวณค่าได้

และเพื่อให้การคำนวณค่าทำได้สะดวกจึงสร้างเมธอด thamnai เอาไว้คำนวณ สามารถดึงมาใช้หาค่าได้ทันที

ตัวอย่างการใช้ ลองเขียนแบบนี้ดูก็จะได้ผลออกมาเหมือนกับตอนแรก
eta = 0.0001
ahan = np.stack([phonlamai,phak],1)
tc = ThotthoiChoengsen(eta) # สร้างออบเจ็กต์
tc.rianru(ahan,chomti) # เริ่มการเรียนรู้

plt.figure(figsize=[8,8])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.set_xlabel(u'ผลไม้',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_ylabel(u'ผัก',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_zlabel(u'พลังโจมตี',fontname='Tahoma',fontsize=20)
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(0,10,11),np.linspace(0,10,11))
mX = np.stack([mx.ravel(),my.ravel()],1)
mz = tc.thamnai(mX).reshape(11,11)
ax.plot_surface(mx,my,mz,rstride=1,cstride=1,alpha=0.2)
h = tc.thamnai(ahan)
for i in range(100):
    ax.plot([phonlamai[i],phonlamai[i]],[phak[i],phak[i]],[h[i],chomti[i]],'k')
ax.scatter(phonlamai,phak,chomti,c=chomti)
plt.show()
print(tc.w)

นอกจากนี้ค่า SSE ในแต่ละขั้นยังถูกเก็บไว้ในแอตทริบิวต์ sse ด้วย ลองนำมาวาดกราฟดูได้
plt.figure()
plt.axes(yscale='log',xlim=[-len(tc.sse)*0.01,len(tc.sse)*1.01])
plt.plot(tc.sse)
plt.show()



ก็จะเห็นได้ว่า SSE ลดลงเรื่อยๆเมื่อการเรียนรู้เดินหน้าไปจนลู่เข้าค่าหนึ่ง

จะเห็นว่าพอสร้างแบบจำลองเป็นคลาสขึ้นมาแบบนี้แล้วทำให้การใช้ดูสะดวกและเป็นระบบขึ้นมา



สุดท้ายนี้ ลองเปลี่ยนโจทย์ดูบ้าง เพื่อจะทดสอบว่าแบบจำลองที่เขียนขึ้นมานั้นใช้ได้กับกี่มิติก็ได้

สมมุติว่าในเกมเดียวกันนี้เราพบว่าพลังป้องกันของอสูรขึ้นกับค่าอาหารหลายชนิด ได้แก่ ผลไม้ ผัก เนื้อ แป้ง ไขมัน รวมทั้งหมด ๕ อย่าง

เขียนโค้ดสร้างข้อมูลตามนี้
# สร้างอาเรย์ ๕ หลักเท่ากับจำนวนชนิดของอาหาร
ahan = np.random.uniform(0,10,[100,5])
# คำนวณพลังป้องกันจากอาหารทั้ง ๕ ชนิด พร้อมใส่ค่าสุ่มไปด้วย
pongkan = 1.2+ahan[:,0]*0.5+ahan[:,1]*0.3+ahan[:,2]*0.2+ahan[:,3]*0.7+ahan[:,4]*0.1+np.random.randn(100)*0.1

แค่ดูโค้ดก็คงพอรู้คำตอบอยู่แล้วว่า w ของอาหารแต่ละชนิดเป็นเท่าไหร่ อาหารชนิดไหนมีความสำคัญมากกว่า

จากนั้นลองมาดูว่าเราจะใช้คลาสที่สร้างขึ้นนี้เพื่อหาคำตอบได้เป็นไปตามนั้นหรือเปล่า

พอมิติสูงขึ้นการจะวาดภาพให้เห็นก็กลายเป็นเรื่องยาก ดังนั้นครั้งนี้ขอแค่วาดกราฟดูผลว่าค่า SSE ลดลงเรื่อยๆ และแสดงค่า w ว่าเป็นไปตามที่ควรจะเป็นจริงๆ
eta = 0.00005
tc = ThotthoiChoengsen(eta)
tc.rianru(ahan,pongkan)

plt.figure()
plt.axes(yscale='log',xlim=[-len(tc.sse)*0.01,len(tc.sse)*1.01])
plt.plot(tc.sse)
plt.show()
print(tc.w)
# [ 1.12368741  0.49667723  0.29609156  0.20440074  0.70637367  0.10687599]



จะเห็นว่าค่า w ได้ใกล้เคียงกับค่าจริงคือ [1.2,0.5,0.3,0.2,0.7,0.1] โดยมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยที่เกิดจากค่าสุ่ม



ตอนนี้สามารถสร้างแบบจำลองการถดถอยเชิงเส้นสำหรับหลายมิติได้แล้ว

การถดถอยเชิงเส้นเป็นพื้นฐานสำคัญที่ต่อยอดไปสู่เทคนิคอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่นการถดถอยโลจิสติกซึ่งนำค่าที่ได้จากการคำนวณเชิงเส้นมาใช้ในการตัดแยกกลุ่มข้อมูลตามค่า

อ่านเรื่องการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20161103


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文