φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



บันทึกเดือนแรกในไต้หวัน
เขียนเมื่อ 2017/03/09 20:26
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 2017 ได้เดินทางมาอยู่ที่ไต้หวันเพื่อเรียนต่อ

สถานที่คือมหาวิทยาลัยแห่งชาติชิงหัว (國立清華大學) ในเมืองซินจู๋ (新竹) ซึ่งอยู่ค่อนไปทางเหนือของเกาะ ห่างจากไทเปไม่มาก อยู่ถัดไปจากเถาหยวน

วันเดินทางนั่งเครื่องบินรอบตีสอง สายการบินนกสกู๊ต เดินทางมาถึงตอนเช้า มีคนจากมหาวิทยาลัยมารับที่สนามบินเถาหยวน มีนักเรียนใหม่ชาวเวียดนามอยู่ด้วย ๒ คน รวมเป็น ๓ คน นั่งรถมายังมหาวิทยาลัยด้วยกัน

พอมาถึงก็มีคนมารอต้อนรับอยู่ที่หน้าหอ เป็นนักเรียนชาวไต้หวันที่เรียนอยู่ที่นี่ ๒ คน เขาพาไปลงทะเบียนเข้าหอและแนะนำสถานที่ต่างๆและพาไปซื้อของที่จำเป็น แล้วก็พาไปทานข้าวข้างนอกด้วย

มื้อแรกที่ทานคือบะหมี่เนื้อวัว (牛肉麵)



หอพักสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่เขาเตรียมไว้ให้ชื่อว่าหงไจ (鴻齋) ส่วนใหญ่นักศึกษาต่างชาติจะได้พักที่นี่ แต่ถ้าต้องการพักที่อื่นก็สมัครได้เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากันนัก

หอพักที่นี่เป็นแบบห้องคู่ มี ๒ เตียง โดยที่เตียงอยู่ด้านบนโต๊ะอ่านหนังสือ ต้องใช้บันไดปีนขึ้นไป ลำบากอยู่เหมือนกัน แต่ก็เคยเห็นสถาพแบบนี้บ่อยๆในหนังสืออนิเมะ

ห้องน้ำเป็นแบบใช้ร่วมกัน ๒ ห้อง ต่อ ๑ ห้อง หมายความว่า ๔ คนใช้ห้องเดียวกัน แต่ก็ไม่มีกฎตายตัว อยากไปใช้ห้องน้ำที่อยู่ไกลๆก็ได้

เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็พักสักครู่ จากนั้นไปสอบถามเรื่องเกี่ยวกับลงทะเบียนที่ฝ่ายบริการนักเรียนต่างชาติ แล้วก็หาอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งนัดไว้ตอน 4 โมง

วันอาทิตย์ที่ 12 นั่งรถไฟไปยังเมืองเถาหยวนซึ่งเมื่อก่อนเคยพักอยู่เมื่อ ๖ ปีก่อน หาคนที่รู้จักเมื่อสมัยนั้น เมืองซินจู๋กับเถาหยวนนั้ยอยู่ใกล้กันอยู่แล้วเดินทางสะดวก นั่งรถไฟธรรมดาก็ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง

ก่อนอื่นต้องนั่งรถเมล์จากมหาวิทยาลัยมายังสถานีรถไฟ รถเมล์ที่นี่สะดวกเพราะใช้บัตรเติมเงินขึ้นได้ง่าย แค่แตะบัตรตอนขึ้นและลง ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด ไม่ต้องมีกระเป๋ารถเมล์

สถานีซินจู๋ (新竹站)



ตรงนี้เป็นย่านร้านค้าหน้าสถานี อยู่ฝั่งตรงข้ามถนน มีห้างต่างๆ รถเมล์จะมาลงแถวนี้ ทำให้ต้องเดินข้ามถนนไปเพื่อไปสถานี



เดินทางมาถึงสถานีเถาหยวน ฟ้ากำลังสวย ถ่ายหน้าสถานีสักหน่อย



แวะทานอาหารที่ร้านแถวนั้น



วันจันทร์ที่ 13 เป็นวันลงทะเบียนเข้าเรียน ต้องวุ่นวายตั้งแต่เช้าทีเดียว เริ่มจากตอนเช้าต้องมาที่อาคารที่ชื่อว่าเฟิงหยวินโหลว (風雲樓) เพื่อตรวจสุขภาพ อาคารนี้ใช้ทำอะไรหลายๆอย่าง มีทั้งร้านขายหนังสือและของใช้ แล้วก็โรงอาหารอยู่ด้วย



ตอนแรกคิดว่าตรวจสุขภาพมาจากไทยแล้วจะไม่ต้องตรวจอีก แต่ไม่เกี่ยวกัน เพราะตรวจสุขภาพที่นี่รายการตรวจต่างจากที่ตรวจตอนทำวีซ่า

บรรยากาศเป็นอย่างที่เห็น คนเยอะทีเดียว มีทั้งนักศึกษาชาวไต้หวันเองและต่างชาติ



นี่คือใบที่แสดงสิ่งที่ต้องตรวจทั้งหมด มีอะไรหลายอย่างมาก เช่นตรวจตา ตรวจฟัน ตรวจการได้ยิน (ส่วนด้านบนเป็นข้อมูลส่วนตัว ขอปิดไว้)



อีกทั้งยังมีตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะด้วย ทำให้ต้องอดอาหารเช้ามาก่อนที่จะมาตรวจ หลอดที่เห็นนี่ ๔ หลอดเป็นหลอดเก็บเลือด เขาจะเจาะเลือดเราไปใส่ในนั้น ยกเว้นหลอดนึงเป็นหลอดเก็บปัสสาวะ หลังเจาะเลือดเสร็จเขาจะให้เครื่องดื่มมาดื่ม พอปวดฉี่ก็ไปเข้าห้องน้ำเอาฉี่มาส่ง



พอทำแต่ละขั้นตอนตรวจไปเขาก็เขียนหรือปั๊มทีละช่อง พอทำจนครบหมดก็เสร็จเรียบร้อย ใช้เวลาไป ๒ ชั่วโมงกว่า เริ่มมาตอน 9 โมง กว่าจะเสร็จก็ 11 โมง



พอได้ผลการตรวจสุขภาพมาเสร็จก็ต้องเอาไปให้ที่ฝ่ายลงทะเบียนเพื่อทำการลงทะเบียนอีกที ถึงจะเป็นอันเสร็จ

เมื่อลงทะเบียนเสร็จก็ไปที่ฝ่ายบริการนักศึกษาต่างชาติเพื่อให้เขาไปช่วยยื่นเรื่องทำใบขออนุญาตอยู่ชั่วคราว ซึ่งเสมือนเป็นบัตรประชาชน ใช้สำหรับการใช้ชีวิตระยะยาวที่นี่

ภาคการศึกษาก็เปิดในวันเดียวกันนี้ แต่เรามีเรียนวันแรกคือวันอังคารที่ 14

แล้วชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของเราก็เริ่มเปิดฉากขึ้นอีกครั้ง

อาหารการกินที่นี่โดยรวมแล้วถือว่าดีเลยทีเดียว แต่ว่าส่วนใหญ่ปริมาณเยอะไปหน่อย มักจะกินไม่หมด ราคาจะแพงกว่าในไทยพอสมควร แต่มันให้มาเยอะดังนั้นพอเทียบต่อปริมาณแล้วก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่



อากาศช่วงนี้หนาว ชื้น อุณหภูมิอยู่ที่สิบกว่าตลอด อีกทั้งฝนตกบ่อยมาก ต้องพกร่มไว้ตลอด ขาดไม่ได้



นี่คือตึกฟิสิกส์ ตึกที่ดูสวยที่สุดของที่นี่



วันเสาร์ที่ 18 ก.พ. เราออกไปเดินเล่นโปเกมอนที่มหาวิทยาลัยเจียวทงซึ่งอยู่ข้างๆดังที่เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170218

สำหรับนักเรียนทุนที่เรียนอยู่ที่นี่มีเงื่อนไขว่าต้องลงวิชาภาษาจีนไปด้วยปีละ ๔ หน่วยกิตขึ้นไป ก็เลยลงเรียนวิชาภาษาจีนระดับสูงสอง (高級華語二) คนเรียน ๑๑ คน แต่เป็นคนไทยตั้ง ๔ คน ทั้งที่จริงๆแล้วคนไทยที่เรียนที่นี่ไม่ได้เยอะ

ที่จริงเราเป็นภาษาจีนอยู่แล้วไม่ได้มีความจำเป็นต้องเรียน เพียงแต่คิดว่าการเรียนวิชาพวกนี้จะทำให้ได้เพื่อนมากขึ้น ได้รู้จักคนชาติต่างๆมากขึ้น

วิชานี้นอกจากจะเรียนภาษาจีนแล้วยังเน้นกิจกรรมด้วย บทแรกพูดถึงละครหุ่นกระบอกพื้นบ้านของไต้หวัน เขาก็เลยไปเชิญชมรมหุ่นกระบอกจากมหาวิทยาลัยเจียวทงมาแสดงให้ดู



สิ่งอำนวยความสะดวกที่นี่ก็เพียบพร้อมดีมากทีเดียว หากออกมาจากประตูหน้ามหาวิทยาลัยก็จะเป็นย่านที่มีร้านขายของมากมาย ร้านอาหารก็เยอะ ถ้าเบื่ออาหารในโรงอาหารก็มาหาร้านกินแถวนี้ได้



อันนี้ไปเจอในร้านขายของจุกจิกแห่งหนึ่งในย่านนี้



วันที่ 8 มี.ค. พบว่าตามีอาการบวมๆจึงไปหาหมอ คลินิกตาก็อยู่แถวๆนี้ สามารถไปได้สะดวกเลย พอไปหาดูก็พบกว่าเป็น 針眼 ได้ยากินกับยาหยอดตาและป้ายตามา รวมค่าใช้จ่าย ๕๐๐ บาท แต่ว่าสามารถเบิกค่ารักษาได้เพราะมีประกันที่ทางมหาวิทยาลัยเตรียมไว้ให้



สำหรับงานอดิเรกที่เราทำช่วงนี้ก็คือเขียนโปรแกรมแล้วก็เล่นโปรแกรมมายา เพื่อทำภาพสามมิตอะไรไปเรื่อย โดยใช้โปรแกรมแปลงโมเดล MMD ที่เขียนขึ้นมาซึ่งได้พูดถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170221

เอาตัวละครต่างๆมาจัดฉากแล้วทำอะไรเล่นๆได้ตามใจชอบแบบนี้ก็เป็นอะไรที่สนุกดีทีเดียว



ตัวละครนี้คือ ซินหัว (心華) เป็นโวคาลอยด์ของไต้หวัน ช่วงนี้กำลังเห่อตัวละครนี้มากเพราะว่าเป็นของไต้หวันนี่ล่ะนะ

ส่วนตัวเล็กๆที่ใส่ชุดจีนคือลั่วเทียนอี (洛天依) เป็นโวคาลอยด์ของจีนแผ่นดินใหญ่

วันก่อนเพิ่งได้รู้จักคิซึนะ ไอ (キズナアイ) เป็นเน็ตไอดอลในยูทูบที่ทำขึ้นมาโดยใช้โมเดล MMD โดยโมเดลนี้เขาได้แจกให้คนอื่นไปใช้ทำอะไรได้ด้วยก็เลยลองเอามาเล่นดู



เริ่มจะนอกเรื่องไม่เกี่ยวอะไรกับไต้หวันแล้ว สรุปสั้นๆก็คือ ไต้หวันน่าอยู่ดี ชีวิตที่นี่น่าจะดำเนินไปได้อย่างมีความสุข



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文