φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



~ mmdpaimaya ~ แปลงโมเดล MMD มาใส่ในมายา
เขียนเมื่อ 2017/02/21 08:47
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เพิ่งได้ทำโปรแกรมสำหรับแปลงโมเดล MMD มาใส่ในมายาขึ้นมา ชื่อโปรแกรมคือ mmdpaimaya (MMD ไปมายา) เป็นชื่อที่ตรงไปตรงมาไม่ต้องคิดอะไรมากให้ปวดหัว



ลงเอาไว้ใน github พร้อมเขียนคำอธิบายไว้
>> https://github.com/phyblas/mmdpaimaya

นี่เป็นครั้งแรกที่ลองใช้ github เพื่อแจกจ่ายโปรแกรมของตัวเอง หลังจากที่ทุกทีมีแต่จะเข้าไปโหลด



ความคิดที่ว่าอยากเอาโมเดลจาก MMD มาใช้ในมายานั้นที่จริงเคยคิดอยากทำตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ช่วงปี 2015 ซึ่งเริ่มหัดใช้มายา แต่ยังไม่มีโปรแกรมที่สามารถทำเช่นนั้นได้โดยสมบูรณ์

ก่อนหน้านี้เคยมีคนเขียนโค้ดโปรแกรมสำหรับแปลงโมเดลใน MMD มาใส่ในมายา โดยเท่าที่เคยเจอมีอยู่ ๒ โปรแกรม เขียนโดยคนญี่ปุ่น

ได้แก่โปรแกรม PmxIO http://mayatech.blog.jp/archives/3009881.html

และ mmd-transporter http://www.nicovideo.jp/watch/sm23644737

สำหรับ PmxIO นั้นความสามารถถือว่ายังค่อนข้างน้อย ไม่ได้ดึงความสามารถอะไรหลายๆอย่างจากโมเดลของ MMD มาใส่ อีกทั้งมีบั๊กเยอะ ใช้กับโมเดลได้ค่อนข้างจำกัด

ส่วน mmd-transporter นั้นเท่าที่ลองใช้ดูพบว่าไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากบั๊กที่แม้จะพยายามลองดูแล้วก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้

อย่างไรก็ตามโค้ดทั้งหมดของทั้งสองโปรแกรมนี้เขียนด้วยภาษาไพธอน ซึ่งเราก็ค่อนข้างคุ้นเคยอยู่แล้ว จึงเกิดความคิดว่าลองเอาโค้ดมาศึกษาแล้วปรับปรุงสร้างของตัวเองขึั้นมาซะเลย

ช่วงปี 2015 ตอนนั้นยังเพิ่งหัดภาษาไพธอนได้ไม่นาน ยังไม่ค่อยคล่องนักจึงไม่สามารถทำอะไรได้มาก แต่ตอนนี้พอกลับมาลองจับดูอีกครั้งก็พบว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด



การแปลงข้อมูลของ pmd และ pmx มาใส่ในมายานั้นมีอะไรท้าทายมากมายอยู่พอสมควร ด้วยความที่ MMD และมายาถูกออกแบบมาค่อนข้างแตกต่างกัน

แนวทางในการแปลงนั้นยึดตาม ๒ โปรแกรมที่ใช้เป็นต้นแบบ โดยรวมแล้วมีแนวโน้มเหมือนกัน แต่ก็มีบางส่วนที่ทั้งสองโปรแกรมเขียนต่างกัน เราจึงลองเขียนทั้งสองแบบดูเปรียบเทียบว่าอันไหนดูจะดีกว่าแล้วก็ใช้แนวทางตามนั้น

อย่างไรก็ตามความสามารถของโมเดล MMD ไม่สามารถดึงมาลงในมายาได้ทั้งหมด มีอะไรหลายอย่างที่ต้องตัดใจ ดังที่อธิบายไว้ในคำอธิบายโปรแกรม

ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องการทำฟิสิกส์ ส่วนที่ทำให้เส้นผมและเสื้อผ้าพริ้วไหว



ที่จริงเรื่องการดึงฟิสิกส์จาก MMD มาใช้ในมายานั้น mmd-transporter ดูเหมือนจะสามารถทำได้ โดยใช้ bullet ซึ่งเป็นความสามารถเสริมอย่างหนึ่งในมายา

อย่างไรก็ตาม เราพยายามทำตามแล้วพบว่ามันออกมาแปลกๆ การเคลื่อนไหวยังห่างไกลจากที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงตัดตรงส่วนนี้ออก

ฉะนั้นหากต้องการทำเส้นผมและเสื้อผ้าพริ้วไหวก็ต้องมาขยับเอาเอง ถ้าทำดีๆอาจทำได้สมจริงกว่าใน MMD เองก็เป็นได้



อีกความสามารถหนึ่งที่ PmxIO มีแต่เราไม่ได้ลองทำก็คือการแปลงโมเดลจากมายาไปเป็น MMD

แต่ไหนแต่ไรเราต้องการเล่นในมายาเป็นหลัก เลยต้องการดึงโมเดลจาก MMD มาเล่นในมายาเท่านั้น

แต่ในอนาคตหากตัวเองสามารถสร้างโมเดลดีๆขึ้นมาได้มากเข้าก็คงอยากจะมาลองทำโปรแกรมสำหรับแปลงเป็น pmx เพื่อจะนำมาแจกให้คนอื่นใช้ใน MMD อีกที

มีเรื่องที่อยากทำมากมายอยู่ โปรแกรมนี้เองก็อยากปรับปรุงให้ดีกว่านี้ไปอีก แต่ว่าตอนนี้คงต้องรอไปก่อน เนื่องจากว่าน่าจะไม่มีเวลา

เดิมทีช่วงที่เริ่มเขียนโค้ดนี้ขึ้นมานั้คือในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อตอนก่อนจะเริ่มเรียนปริญญาเอก มีช่วงที่ให้พักว่างๆระหว่างเตรียมตัว แต่จากนี้ไปคงกำลังจะยุ่งมากขึ้นเรื่อยๆ คงจะหาเวลามาทำอะไรต่อยาก

อย่างไรก็ตาม ใครมีอะไรสงสัยเกี่ยวกับโปรแกรม หรือตรวจเจอบั๊กก็สามารถแจ้งมาได้ หากมีเวลาก็จะรีบดู


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> MMD

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文