φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[maya] การใช้วัสดุ mia เพื่อจำลองวัสดุที่สมจริง
เขียนเมื่อ 2017/03/24 01:09
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เวลาเลือกวัสดุที่จะใส่ให้ผิววัตถุในมายาบางทีก็เป็นเรื่องที่ต้องกินเวลาเหมือนกันหากต้องการทำให้สมจริง

หากลองใช้วัสดุ mia ช่วย อาจช่วยให้การเลือกวัสดุดูง่ายลงไปได้มาก

วัสดุ mia (mia material) เป็นวัสดุชนิดพิเศษที่ใช้คู่กับเมนทัลเรย์เท่านั้น ถ้าใช้แล้วจะสามารถสร้างวัตถุที่ดูแล้วมีความสมจริงมาก

การสร้างวัสดุ mia ให้ไปที่เมนูสร้างวัสดุของเมนทัลเรย์



เลือกที่ mia_material_x หรือ mia_material_x_passes ก็ได้ ข้อแตกต่างคืออันที่มี _passes จะมีความสามารถเพิ่มเติมเข้ามา

หรือถ้าสร้างด้วยโค้ดไพธอนก็พิมพ์
mc.shadingNode('mia_material_x',asShader=1)

พอสร้างแล้วมาดูที่แอตทริบิวต์อีดิเตอร์จะเห็นมีปุ่มที่เขียนว่า Preset* (プリセット*)



พอกดเลือกก็มีวัสดุต่างๆให้เลือกมากมาย ลองเลือกวัสดุชนิดที่ต้องการได้ จากนั้นค่าต่างๆก็จะถูกปรับให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่สมกับเป็นวัสดุชนิดนั้น



สามารถเลือกว่าจะเขียนทับค่าต่างๆไปเลย หรือว่าจะผสมกับที่มีอยู่เดิม กี่ % ก็ว่าไป

ลองเลือกทองแดง ค่าจะออกมาแบบนี้



ค่าต่างๆนี้มีรายละเอียดเยอะมาก ปรับแต่งได้เยอะกว่ามากถ้าเทียบกับวัสดุพื้นฐาน ในที่นี้คงไม่ได้พูดถึง จะใช้ค่าตามใน preset นี้เลย



ต่อมามีสิ่งที่อาจจะต้องทำก่อนจะเรนเดอร์ ก็คือ เมื่อใช้วัสดุ mia หากเปิดความสามารถที่เรียกว่าไฟนัลแกเธอริง จะทำให้ออกมาดียิ่งขึ้น

ให้เลือกตัวเรนเดอร์เป็นเมนทัลเรย์แล้วไปที่ตัวปรับแต่งตามในภาพ ไปที่ Legacy Options (旧式オプション) แล้วไปที่ Final Gathering (ファイナル ギャザリング) แล้วติ๊กถูกเพื่อเปิดใช้งาน



หรือแค่พิมพ์โค้ด
mc.setAttr('miDefaultOptions.finalGather',1)

อย่างไรก็ตาม ไฟนัลแกเธอริงทำให้เวลาในการเรนเดอร์นานขึ้นมาก ควรใช้หรือไม่ก็ลองเทียบภาพตอนใช้กับไม่ใช้ดู



คราวนี้มาลองทดสอบวัสดุชนิดต่างๆที่มีอยู่ใน preset กันดูเลย

ครั้งนี้เราจะใช้เทพธิดาอควาจากเรื่อง konosuba มาเป็นนางแบบสำหรับทดสอบ ฉากหลังเป็นมุมห้องที่มีพื้นสีเหลืองและผนังสีม่วงกับสีฟ้า โดยวัสดุที่ใช้เป็น blinn ที่ค่าความสะท้อนสูง



โมเดลที่ใช้เป็นอันเดิมที่ใช้ไปในงานครั้งก่อน https://phyblas.hinaboshi.com/20170207

สมมุติว่ามีสาวกผู้ศรัทธาทำการสร้างรูปหล่อให้กับเทพธิดาอควาโดยใช้วัสดุต่างๆ วัสดุที่ใช้มีทั้งหมด ๑๘ ชนิด ตามนี้


Chrome = วัสดุเคลือบโครเมียม




Copper = ทองแดง




FrostedGlass = กระจกฝ้า




GlassPhysical = แก้วกายภาพ




GlassSolid = แก้วแข็งเกร็ง




GlassThick = แก้วหนา




GlassThin = แก้วบาง




GlazedCeramic = เซรามิกเคลือบเงา




GlossyFinish = วัสดุชักเงามันวาว




GlossyPlastic = พลาสติกมันวาว




MatteFinish = วัสดุชักเงาผิวด้าน




MattePlastic = พลาสติกผิวด้าน




PearlFinish = วัสดุชักเงาไข่มุก




Rubber = ยาง




SatinedMetal = โลหะปัดเงา




TranslucentPlasticFilmLightBlur = ฟิล์มพลาสติกโปร่งแสงบางเบลอ




TranslucentPlasticFilmOpalecent = ฟิล์มพลาสติกโปร่งแสงเหลือบมัว




Water = น้ำ





อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文