φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กง
เขียนเมื่อ 2017/07/18 20:36
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# จันทร์ 3 ก.ค. 2017

ช่วงวันที่ 3-7 มีงานประชุมดาราศาสตร์ APRIM ดังที่ได้กล่าวถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170716

งานเริ่มวันที่ 3 ในตอนเย็น แต่เพื่อนที่มาจากไทยมาตั้งแต่คืนวันที่ 2 แล้ว ดังนั้นจึงพาไปเที่ยวก่อนในช่วงเช้า

สถานที่เที่ยวที่ตัดสินใจพาเพื่อนมาแนะนำเป็นที่แรกก็คือ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กง (國立故宮博物院, 国立故宫博物院, กั๋วลี่กู้กงปั๋วอู้ย่วน) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน เป็นเป้าหมายสำคัญที่นักท่องเที่ยวมักจะแวะไป

เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ วันก่อนได้เล่าถึงแล้วเล็กน้อยในนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20170102

เพียงแต่ว่าครั้งนั้นได้เที่ยวแค่นิดเดียว ไม่ได้มีรายละเอียดอะไร จึงไม่ได้ลงรายละเอียด



พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กงตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำไว่ซวางซี (外雙溪, 外双溪) เขตซื่อหลิน (士林) ในเมืองไทเป

ที่นี่ยังมีอีกชื่อเรียกว่าพิพิธภัณฑ์จงซาน (中山博物院) แต่ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมเรียกกันทั่วไป

บางครั้งคนจีนก็เรียกที่นี่ว่ากู้กงไต้หวัน (台灣故宮, 台湾故宫, ไถวันกู้กง)

เดิมทีพิพิธภัณฑ์กู้กงถูกตั้งขึ้นที่กู้กง (พระราชวังต้องห้าม) ซึ่งอยู่ในปักกิ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้อ่านรายละเอียดได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170102

สำหรับสมบัติที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั้น จำนวนมากเป็นของที่เดิมที่เก็บอยู่ในพระราชวังกู้กงมาก่อน

เพียงแต่ว่าไม่ใช่ว่าถูกขนจากปักกิ่งมายังไต้หวันโดยตรง เดิมทีสมบัติเหล่านั้นถูกเริ่มขนย้ายไปยังหนานจิงตั้งแต่ปี 1933 เพื่อป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น เพราะสถานการณ์ตอนนั้นกำลังตึงเครียด

และต่อมาเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้วก็ยังต่อด้วยสงครามภายในระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งต่อเนื่องตามมาติดๆ สมบัติก็เลยถูกย้ายหนีไปเรื่อยๆอีกหลายที่ จนสุดท้ายเมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋งตัดสินใจที่จะถอยหนีมาตั้งหลักที่ไต้หวัน จึงได้ทำการย้ายสมบัติมายังไต้หวันด้วย

การขนย้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1948 สมบัติถูกขนย้ายผ่านทางเรือจากท่าเรือที่หนานจิงไปยังท่าเรือจีหลง (基隆港) ที่เมืองจีหลงทางเหนือของเกาะไต้หวัน

ในช่วงแรกสมบัติถูกเก็บไว้ที่โรงงานน้ำตาลไถจง (台中糖廠, 台中糖厂) ที่เมืองไถจง และไม่นานก็ย้ายไปยังตีนเขาเป่ย์โกว (北溝, 北沟) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอู้เฟิง (霧峰, 雾峰) เมืองไถจง และได้ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงขึ้นที่นั่น

ต่อมาในปี 1965 พิพิธภัณฑ์จึงย้ายมายังสถานที่ปัจจุบัน นั่นคือริมแม่น้ำไว่ซวางซี ซึ่งอยู่นอกเมือง ล้อมรอบไปด้วยภูเขา แต่ก็ไม่ไกลจากเขตตัวเมือง สามารถเดินทางแวะมาได้ง่าย

นี่เป็นรายการที่แนะนำประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ https://www.youtube.com/watch?v=FJL4_Gpyh6M



ในการเดินทางไปนั้นทำได้โดยนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดงไปลงที่สถานีซื่อหลิน (士林站) นั่งรถเมล์สาย 304 ต่อไป

เพียงแต่ว่าสาย 304 นี้วิ่งผ่านแถวซีเหมิน ซึ่งใกล้กับโรงแรมที่พักอยู่อยู่แล้ว ดังนั้นจึงนั่งจากตรงนั้นมาได้โดยตรง ไม่ต้องเปลี่ยนรถให้ลำบาก เพราะถ้านั่งรถไฟฟ้าจากสถานีซีเหมินไปยังสถานีซื่อหลินจะต้องต่อรถจากสายสีเขียวหรือสีน้ำเงินไปยังสายสีแดง แล้วยังต้องมาขึ้นรถเมล์อีกที กลายเป็น ๓ ต่อ

ใช้เวลา ๕๐ นาทีจากสถานีซีเหมิน ในที่สุดรถเมล์ก็เดินทางก็มาถึง บันไดทางขึ้นไปสู่พิพิธภัณฑ์อยู่ตรงหน้า



เมื่อเดินขึ้นมา อาคารใหญ่ที่เห็นอยู่ตรงหน้าก็คือหอจัดแสดงหลัก



เดินขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงทางเข้า ยิ่งเข้ามาใกล้ก็จะยิ่งเห็นถึงความใหญ่โต



และหากมองไปยังด้านซ้ายจะเห็นอาคารบริหาร และมองออกไปไกลๆต่อทางซ้ายจะเห็นอาคารจัดแสดงที่ ๒



อาคารจัดแสดงที่ ๒ นี้ใช้ในการจัดแสดงพิเศษ และมีหอสมุดอยู่ข้างในด้วย แต่ครั้งนี้เราไม่ได้แวะเข้าไป เนื่องจากแค่อาคารหลักก็แทบจะเดินไม่ทั่วแล้ว



ข้างๆกันนั้นยังมีร้านอาหาร กู้กงจิงหัว (故宮晶華, 故宫晶华) อันที่จริงตอนที่เราไปถึงนั้นตั้งใจจะไปหาอะไรทานในนี้แล้วค่อยเริ่มเข้าชม แต่เนื่องจากร้านนี้เปิด 11 โมงครึ่ง จึงต้องไปเข้าชมก่อน



แต่พอถึงเวลา 11 โมงครึ่งจริงๆก็พบว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ก็เลยไม่กล้าออกจากอาคารเพื่อข้ามไปทาน แต่ยังดีว่าภายในอาคารจัดแสดงหลักก็มีร้านอาหารง่ายๆอยู่ก็เลยแวะ



อันนี้เป็นแฮมเบอร์เกอร์ข้าวไส้หมู ราคา ๘๐ บาท



พอเข้ามายังอาคารจัดแสดงหลักแล้วก็ซื้อบัตรเข้าชม ค่าเข้าชมที่นี่ราคา ๒๕๐ บาท แต่ว่าสำหรับนักศึกษาแล้วจะเข้าได้ฟรี ดังนั้นเราจึงไม่ต้องเสียค่าเข้า แค่ต้องยื่นบัตรนักเรียนให้เขาดูเท่านั้น จะเสียค่าเข้าชมแค่เพื่อนที่มาด้วยเท่านั้น



ต่อจากตรงนี้จะเล่าถึงส่วนจัดแสดงภายใน ซึ่งประกอบไปด้วย ๓ ชั้น แต่ละชั้นก็แบ่งเป็นห้องต่างๆ เราเริ่มชมไล่ไปตั้งแต่ชั้น ๑ ไปจนถึงชั้น ๓

พวกเราไม่ได้ชมสิ่งต่างๆภายในนี้อย่างละเอียดเนื่องจากเวลาจำกัด แค่เดินทางมาถึงก็ 10 โมงเช้าแล้ว และมีเวลาจนถึงบ่าย 2 โมง รวมแล้ว ๔ ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเพียงพอสำหรับการดูแบบผ่านๆ แต่หากจะดูละเอียดจริงๆแล้วต่อให้มีเวลาทั้งวันก็ไม่พอ

ชั้น ๑ เริ่มจากห้อง 101 เป็นห้องเมตตาและปัญญา (悲傷與智慧, 悲伤与智慧) และ ประติมากรรมทางศาสนา (宗教雕塑藝術, 宗教雕塑艺术)



ห้อง 103 และ 104 เป็นห้องจัดแสดงหนังสือและเอกสารพิเศษ (圖書文獻特展室, 图书文献特展室)



ภายในมีพวกเอกสารโบราณต่างๆมากมายซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์




ส่วนห้อง 105 และ 107 เป็นห้องจัดแสดงพิเศษ (特展室)



ภายในอธิบายประวัติศาสตร์ไล่ตามยุคต่างๆ และมีสิ่งของจากยุคสมัยนั้นให้ดูประกอบ



ตรงนี้เป็นเส้นเวลาในประวัติศาสตร์จีนโดยมีดเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆไปด้วย



ส่วนห้อง 108 จัดแสดงเครื่องเรือนและการจัดห้องในสมัยราชวงศ์ชิง





ต่อมาขึ้นมาดูที่ชั้น ๒ ห้อง 202, 204, 206, 208, 210 และ 212 เป็นห้องจัดแสดงภาพวาดและภาพเขียน (書畫展覽區, 书画展览区)



เข้ามาลึกด้านในส่วนลึกของห้อง 210 เป็นส่วนที่จัดแสดงงานศิลปะของจูเซปเป กัสติญโญเน (Giuseppe Castiglione, 1688-1766) จิตรกรชาวอิตาลีที่ทำงานในจีนช่วงต้นยุคราชวงศ์ชิง มีชื่อจีนว่าหลางซื่อหนิง (郎世寧, 郎世宁)





ส่วนห้อง 201, 203, 205 และ 207 เป็นส่วนที่จัดแสดงพวกเครื่องลายครามแล้วก็เครื่องใช้พิเศษ





ตรงนี้เป็นเส้นเวลาของเครื่องลายครามแต่ละอัน



ส่วนตรงนี้เป็นส่วนที่ให้ลองสัมผัสของจริงดูได้



แล้วก็มีร้านขายของที่ระลึกอยู่ด้วย





ต่อมาชั้น ๓ เมื่อขึ้นมาถึงจะเห็นห้อง 300 ซึ่งมีกระโจมมองโกลจัดแสดงอยู่



มาที่ห้อง 301 เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติอักษรจีนและพวกเครื่องโลหะศิลาจารึก นี่คือเหมากงติ่ง (毛公鼎) เป็นภาชนะเครื่องสำริดซึ่งมีสลักอักษรจีนโบราณอยู่



อักษรที่สลักอยู่บนเหมากงติ่งนี้เรียกว่าจินเหวิน (金文) อักษรที่ใช้ในช่วงยุคราชวงศ์โจวตะวันตก (西周, 1046-771 ปีก่อน ค.ศ.) เหมากงติ่งถูกสร้างในสมัยของกษัตริย์โจวเซวียนหวาง (周宣王, 828-782 ปีก่อน ค.ศ.)



ถัดมาดูที่ห้อง 303 ซึ่งจัดแสดงพวกภาชนะเครื่องใช้




ถัดมาเป็นห้อง 305 ซึ่งจัดแสดงเครื่องโลหะ





เครื่องดนตรีซึ่งมีสลักอักษรโบราณไว้



ส่วนแผนผังนี้แสดงภาชนะหรือเครื่องมือชนิดต่างๆ มีเยอะแยะมากมาย



ภาชนะใส่อาหาร ติ่ง   dǐng
ลี่  
หย่าน   yǎn
กุ่ย   guǐ
สวี่  
ฝู่  
โต้ว   dòu
ภาชนะใส่เหล้า เจวี๋ย   jué
เจี่ย   jiǎ
กง   gōng
โหย่ว   yǒu
เหอ  
เหล่ย์   lěi
ภาชนะใส่น้ำ จุน   zūn
หู
อี๋  
ผาน pán
หยวี  
อี  
เจี้ยน jiàn
เครื่องดนตรี เหนา náo
จง zhōng
ปั๋ว
อาวุธ เหมา   máo
เกอ  
จี่  
เจี้ยน jiǎn
หนู่จี 弩機 弩机 nǔjī

ห้อง 306 และ 308 จัดแสดงพวกเครื่องหยก





และห้องที่เราดูเป็นห้องสุดท้ายก็คือห้อง 304 ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการจัดแสดงพวกภาชนะเครื่องใช้เช่นเดียวกับห้อง 303




นี่คือกล้องส่องทางไกลสมัยราชวงศ์ชิง กล้องส่องทางไกลหรือกล้องโทรทรรศน์นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ของชาวตะวันตก และได้นำเข้ามายังจีนตอนช่วงปลายยุคราชวงศ์หมิง สมัยก่อนถูกเรียกว่า "เชียนหลี่จิ้ง" (千里鏡, 千里镜) แปลว่า "กล้องพันลี้" แต่ปัจจุบันใช้คำว่า "ว่างหย่วนจิ้ง" (望远镜, 望遠鏡) แปลว่า "กล้องมองไกล"





แล้วการเข้าชมในครั้งนี้ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้

การได้เข้าชมที่นี่ก็ทำให้นึกถึงตอนที่อยู่ปักกิ่งแล้วได้ชมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน (中國國家博物館, 中国国家博物馆) ซึ่งเขียนบันทึกไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20161130

ที่นั่นกับที่นี่มีความคล้ายคลึงกันมาก ถ้าให้เทียบกันแล้ว ในความเห็นส่วนตัวรู้สึกว่าของปักกิ่งทำได้ดีกว่า ทั้งดูแล้วใหญ่กว่า มีรายละเอียดมากกว่า บรรยากาศน่าเดินมากกว่า

หลังชมห้อง 304 เสร็จเราก็เดินออกจากที่นี่ไปยังป้ายรถเมล์สำหรับรอรถเมล์สาย 304

ว่าไปแล้วเลข 304 นั้นบังเอิญตรงกับสายรถเมล์ที่เรานั่งมาและต้องนั่งกลับพอดีเลย

รอสักพักรถเมล์สาย 304 ก็มา



ขากลับสังเกตเห็นว่ารถเมล์สายนี้มีเขียนชื่อพิพิธภัณฑ์กู้กงเป็นคำอ่านภาษาญี่ปุ่นกับเกาหลีไว้ด้วย พอดีว่าได้นั่งตรงที่มีติดชื่อไว้พอดีเลยเห็นได้ชัด
ภาษาญี่ปุ่น อักษรฮิรางานะ こきゅうはくぶついん โคกิว ฮากุบุตสึอิง
ภาษาเกาหลี อักษรฮันกึล 고궁 박물원 โคกุง พังมูรวอน



พวกเรานั่งรถเมล์กลับไปยังโรงแรมที่ซีเหมิน จากนั้นจึงนั่งรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางไปเข้าร่วมพิธีเปิดงาน APRIM ซึ่งเริ่มขึ้นตอน 4 โมงเย็นกันต่อไป



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไทเป

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文