φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ผิงหลิน ชุมชนแห่งชาท่ามกลางหุบเขา
เขียนเมื่อ 2018/01/13 21:07
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# ศุกร์ 12 ม.ค. 2018

จากที่วันก่อนเพื่อนมาเที่ยวแล้วไปหาที่ไทเป https://phyblas.hinaboshi.com/20180111

พอได้ไปเจอวันนั้นเขาก็บอกว่ามีแผนจะไปเที่ยวอี๋หลาน (宜蘭) ด้วย เมืองนี้เรายังไม่เคยไปก็เลยสนใจอยากไปด้วย ก็เลยนัดกันไป เขาบอกว่าจะเช่ารถขับไปด้วยตัวเองจึงสะดวกมาก

แต่ว่าระหว่างทางไปอี๋หลานพอดีว่าเกิดอยากแวะเข้าห้องน้ำแล้วก็กินอะไรรองท้องขึ้นมา ตอนนั้นรถผ่านแถวเขตชุมชนในเขตผิงหลิน (坪林) พอดี ก็เลยแวะ

ผิงหลิน เป็นเขตหนึ่งในเมืองไทเปใหม่ (新北市) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุด ติดกับจังหวัดอี๋หลาน เขตนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขาทั้งนั้น แต่ว่ามีชุมชนเล็กๆตั้งตัวแทรกหุบเขาอยู่ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ระหว่างทางหลวงเป่ย์อี๋ (北宜公路) ซึ่งเชื่อมระหว่างไทเปกับอี๋หลาน เหมาะเป็นจุดแวะพักสำหรับคนที่เดินทางจากไทเปไปอี๋หลาน

ที่นี่มีชื่อเสียงเรื่องชา สินค้าหลักคือชา เนื่องจากบริเวณแถบนั้นอากาศและดินเหมาะแก่การปลูกชา อยู่สูงจากทะเล ๔๐๐-๕๐๐ เมตร

การเดินทางหากไม่ได้ขับรถมาเองก็สามารถนั่งรถไฟฟ้าในไทเปมาลงที่สถานีซินเตี้ยน (新店站) แล้วนั่งรถเมล์ต่อได้



การเดินทางเริ่มจากตอน 8 โมงเช้า นัดเจอกับเพื่อนที่สถานีกลางไทเป (台北車站) โดยเราต้องนั่งรถบัสออกมาจากซินจู๋ตั้งแต่ 6:45 จึงมาถึงที่นี่ก่อนเวลาเล็กน้อย

จากนั้นพอเจอกันแล้วก็เดินไปยังร้านให้เช่ารถตามแผนที่เพื่อนวางไว้ แต่พอไปถึงก็พบว่ารถถูกเช่าไปหมด ก็เลยต้องเปลี่ยนที่ เพื่อนค้นที่ใหม่ เจออีกที่ เก๋อซ่างจูเชอ (格上租車) สถานที่อยู่สถานีว่านหลง (萬隆站) ก็เลยต้องนั่งรถไฟฟ้าไปถึงนั่น



เพราะเสียเวลาไปมาก กว่าจะได้รถก็ 9 โมงกว่าแล้ว เราก็รีบออกเดินทางมุ่งหน้าไปอี๋หลาน แต่ระหว่างก็แวะที่ผิงหลินโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน แค่คิดว่าอยากหาที่เข้าห้องน้ำระหว่างทาง แล้วก็กินอะไรรองท้องไปด้วยเท่านั้น

เราเจอที่จอดรถตรงถนนสายหลักที่ ๒ ข้างทางเต็มไปด้วยร้านค้า แถวนี้มีแต่ร้านชาเต็มไปหมด




เราแวะเข้าไปทานอะไรในร้านนี้



เริ่มจากสั่งอาหารตรงนี้



เลือกทานของง่ายๆอย่างหลู่โร่วฟ่าน (滷肉飯) แล้วก็หลู่โร่วเมี่ยน (滷肉麵) กัน



เสร็จแล้วก็เดินเที่ยวต่อ ไปตามถนนสายนั้นจะเห็นร้านต่างๆมากมาย ส่วนใหญ่มีขายชาทั้งนั้น






เดินไปจนเจอทางแยก



ตรงกึ่งกลางทางแยกเราได้เจอน้ำพุรูปกาน้ำขนาดยักษ์ ดูโดดเด่นเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของที่นี่




จากนั้นเราเดินไปทางซ้าย เป็นซอยเล็กๆ






ท่ารถของที่นี่



โรงเรียนประถมของย่านนี้



ออกมาถึงตรงนี้เห็นแม่น้ำ



แล้วเห็นสะพานโค้งผิงหลิน (坪林拱橋) อยู่ข้างหน้าทางขวา



เดินเลียบแม่น้ำมาก็เจอทางเข้าย่านเมืองเก่าผิงหลิน (坪林老街) อยู่ทางซ้าย




บริเวณไม่กว้างเท่าไหร่ เดินแป๊บเดียวก็ทั่ว









ป้ายตรงนี้บอกว่ามีทางเดินขึ้นเขา แต่ไม่ได้ขึ้นไป



วัดเป่าผิงกง (保坪宮) เป็นวัดเก่าสร้างเมื่อปี 1862





ร้านนี้เห็นวางของตากทิ้งไว้ ไม่มีคนเฝ้า



จากนั้นเดินกลับออกมาถึงริมแม่น้ำอีกที เดินมาถึงสะพานโค้งผิงหลิน



ข้ามสะพานไป



ทิวทัศน์จากบนสะพาน สวยดี ส่วนที่อยู่ทางโน้นคือสะพานอีกแห่ง เรียกว่าสะพานเก่าผิงหลิน (坪林舊橋) เป็นสะพานคนเดิน



ข้ามมาถึงฝั่งตรงข้าม ที่นี่มีพิพิธภัณฑ์โรงชาผิงหลิน (坪林茶業博物館) แต่ว่าไม่ได้แวะเข้าไปเพราะไม่มีเวลา



ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในเอเชียที่สร้างขึ้นโดยมีหัวข้อเป็นเรื่องชา ขนาดไม่ใหญ่มาก จัดแสดงให้ความรู้เกี่ยวกับชา แล้วภายในบริเวณก็เป็นลักษณะสวนแบบจีนดูแล้วร่มรื่นด้วย

ทิวทัศน์จากฝั่งนี้




รั้วที่นี่เขาทำเสารูปกาน้ำชาแบบต่างๆมากมายดูแล้วสวยดี เป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเขาพยายามใช้ชาเป็นจุดขายเต็มที่




เสร็จแล้วก็เดินกลับโดยผ่านทางสะพานเก่า การเที่ยวที่นี่ก็สิ้นสุดแค่นี้





นอกจากนี้ที่ที่เดินชมไปนี้ก็ยังมีจุดชมวิวจากเนินเขา สะพานแขวนเล็กๆ แล้วก็ไร่ชาด้วย หากมีเวลาก็สามารถไปชมต่อได้เหมือนกัน แต่เนื่องจากการมาครั้งนี้เป็นแค่การแวะโดยบังเอิญเพราะเป็นทางผ่าน ไม่ได้ตั้งใจแวะมาเดินที่นี่แต่แรกโดยเฉพาะ ก็เลยจำกัดด้วยเวลา ดูแค่ผ่านๆเท่านั้น ถึงอย่างนั้นเท่านี้ก็คุ้มที่แวะมาแล้ว

ข้อมูลสถานที่มาจากในเว็บนี้ http://pinglin.teahome.com.tw/index.htm



จากนั้นก็กลับไปขึ้นรถเพื่อมุ่งหน้าสู่อี๋หลานต่อไป ตอนหน้าจะเล่าเรื่องเที่ยวที่อี๋หลานต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20180115



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไทเป

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文