φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



บัตรประจำตัวผู้พำนักอยู่ไต้หวันหมดอายุเป็นปัญหาใหญ่
เขียนเมื่อ 2018/03/19 00:21
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
วันที่ 25 ม.ค. เราเดินทางกลับไทยช่วงปิดเทอมฤดูหนาว พอถึงวันที่ 21 ก.พ. ก็เดินทางกลับ ตอนไปถึงสนามบินสายการบินก็พบว่าใบอนุญาตพำนักอยู่ไต้หวันได้หมดอายุลงไปแล้ว ถ้ากลับเข้าไปตอนนี้จะเจอปัญหา

ปกติแล้วคนที่มาเรียนต่อหรือทำงานที่ไต้หวันเป็นระยะยาวจำเป็นต้องทำบัตรประจำตัวผู้พำนักอยู่ ซึ่งเรียกเป็นภาษาจีนว่า จวีหลิวเจิ้ง (居留證) หรือนิยมเรียกเป็นตัวย่อว่า ARC

การจะทำบัตรนั้นก่อนอื่นต้องทำวีซ่าสำหรับนักเรียนมาจากประเทศตัวเองก่อน แล้วพอเดินมาถึงไต้หวันก็ได้

ปีที่แล้วตอนมาไต้หวันครั้งแรกเพื่อเรียนต่อก็ทำวีซ่านักเรียนไป เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170302

เพราะปีที่แล้วไปถึงไต้หวันตอนวันที่ 9 ก.พ. จากนั้นก็มาทำบัตรแล้วเขาก็ออกให้สำหรับ ๑ ปี ปกติแล้วจะต้องมาต่ออายุในช่วงก่อนบัตรหมด ๑ เดือน

แต่เนื่องจากกลับไทยตั้งแต่ วันที่ 25 ม.ค. ช่วงที่หมดอายุก็อยู่ที่ไทย แล้วก็ลืมปัญหาเรื่องนี้ไปเลย

พอจู่ๆเจอปัญหาแบบนี้ก็ตกใจและลนลานพอสมควร ทางสายการบินบอกว่าถ้าจะไปขึ้นเครื่องจำเป็นจะต้องเข้าไปแบบไม่ใช้วีซ่า โดยจะต้องมีตั๋วขากลับด้วย ทำให้เราต้องรีบตัดสินใจซื้อตั๋วเครื่องบินเฉพาะขาไปตอนนั้นเลย

จากนั้นในที่สุดก็ได้ขึ้นเครื่อง พอไปถึงตรวจคนเข้าเมืองก็ผ่านด่านตรวจเข้าไปแบบธรรมดา ไม่ยื่นบัตรประจำตัวไป

จากนั้นวันต่อมาคือ 22 ม.ค. ก็รีบเดินทางไปสำนักงานต่างด้าว (移民署) ทันทีเพื่อจะไปทำใบอนุญาตใหม่

สถานที่อยู่ใกล้กับวิทยาเขตหนานต้า (南大校區) ของมหาวิทยาลัยชิงหัว การเดินทางหากออกจากวิทยาเขตหลัก (วิทยาเขตกวางฟู่) ก็มีรถเมล์บริการฟรี ออกประมาณทุกชั่วโมง



พอรถลงที่หนานต้าเสร็จแล้วก็ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือต่อ ข้ามสะพานข้ามทางรถไฟไป



ก็สามารถมาถึงสำนักงานต่างด้าว



แต่ปรากฏว่าพอไปถึงจึงพบความจริงว่าถ้าบัตรไปหมดอายุที่ไทยจำเป็นต้องทำวีซ่าใหม่ที่ไทย ตอนแรกเราพยายามถามว่าไม่มีทางเลือกอื่นเลยเหรอ เขาก็บอกให้โทรไปยังสำนักงานที่ไทเป พอโทรไปเขาก็ยืนยันว่ายังไงก็ต้องกลับไปทำ

ตอนแรกเราก็คิดว่าการกลับไปทำวีซ่าจะเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะตอนครั้งแรกที่ทำนั่นคือต้องตรวจสุขภาพ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นต้องเสียเวลากลับไปนานถึงอย่างน้อยครึ่งเดือน

แต่พอสอบถามข้อมูลโดยโทรไปที่สำนักงานที่ไทยแล้วก็ได้ความว่าการทำใหม่แบบนี้ไม่ต้องตรวจสุขภาพแล้ว สิ่งที่ต้องพกไปมีแค่พาสปอร์ตกับบัตรประจำตัวผู้พำนักอยู่ที่ไต้หวันเท่านั้น และใช้เวลาแค่ ๓ วันทำการ

พอรู้ว่าต้องกลับแน่ๆก็เลยรีบจองตั๋วเครื่องบิน ที่จริงเรื่องราวไม่ได้จำเป็นต้องรีบมาก เพราะการที่เข้าไปโดยไม่ใช้วีซ่าสามารถอยู่ได้ถึง ๓๐ วันอยู่แล้ว แต่ตอนนั้นรู้สึกว่ายิ่งจัดการเร็วยิ่งดี ในที่สุดก็ตัดสินใจเลือกกลับวันอาทิตย์ที่ 25 ก.พ.

จากนั้นวันที่ 26 เป็นวันจันทร์ ก็รีบไปทำวีซ่าทันที แล้วพอวันที่ 28 ก็ไปรับได้ ค่าทำ ๒๒๐๐ บาท โดยรวมแล้วทุกอย่างง่ายดาย แค่ลำบากตรงที่ต้องอุตส่าห์เดินทางกลับมาแล้วก็กลับไปอีก



จากนั้นวันอาทิตย์ที่ 4 มี.ค. ก็รีบบินกลับไต้หวัน เท่ากับว่าครั้งนี้เป็นการกลับไทยแค่ ๘ วันเท่านั้น มาเพื่อแค่ทำวีซ่าเท่านั้นเลยจริงๆ

พอกลับไปถึง วันจันทร์ที่ 5 มี.ค. ก็รีบกลับไปที่สำนักงานต่างด้าวอีกครั้งทันที ครั้งนี้ก็สามารถทำบัตรได้สำเร็จ ไม่มีปัญหา เรื่องก็จบลงด้วยดี ค่าทำ ๑๐๐๐ หยวนไต้หวัน รอ ๒ สัปดาห์ มารับวันจันทร์ที่ 19 มี.ค.

แต่ที่จริงยังหลงเหลือปัญหาอีกอย่าง นั่นคือพาสปอร์ตใกล้หมดอายุ โดยจะหมดในวันที่ 15 ต.ค. ดังนั้นในบัตรก็จะถูกเขียนว่ามีอายุถึงแค่วันนั้นเหมือนกัน

เพียงแต่ว่าหากหลังจากนั้นไปทำพาสปอร์ตใหม่มาเสร็จก็จะสามารถกลับไปทำบัตรใหม่ได้ทันทีไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม



ที่เล่ามานี้ เป็นกรณีตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อบัตรประจำตัวผู้พำนักอยู่ไปหมดอายุเอาตอนที่กลับไทย (หรืออยู่นอกไต้หวัน)

แต่ถ้าหมดตอนช่วงที่อยู่ไต้หวันจะเกิดอะไรขึ้น? อันนี้เรื่องใหญ่กว่า เพราะเท่ากับเป็นการอยู่เกินเวลา ถือเป็นการอยู่แบบผิดกฎหมาย แบบนี้จะต้องเสียค่าปรับ แล้วยังทำให้มีประวัติไม่ดีติดไปด้วย

ข้อมูลจากเว็บนี้ได้บอกบทลงโทษเอาไว้ http://oic.nccu.edu.tw/files/11-1000-227-1.php

หากเกิน ๑-๑๐ วัน ปรับ ๒๐๐๐
หากเกิน ๑๑-๓๐ วัน ปรับ ๔๐๐๐
กรณีที่เกินไม่ถึง ๓๐ วันแบบนี้ จ่ายค่าปรับแล้วก็ยังอยู่ไต้หวันต่อได้ ไม่ต้องกลับประเทศไปทำวีซ่าใหม่
แต่หากเกิน ๓๑-๖๐ วัน ปรับ ๖๐๐๐ และยังต้องกลับไทยไปทำวีซ่าใหม่ด้วย
ส่วนถ้าเกิน ๖๑-๙๐ ค่าปรับจะเป็น ๘๐๐๐ และถ้า ๙๑ วันขึ้นไปจะเป็น ๑๐๐๐๐ ยิ่งนานยิ่งแพง

ดังนั้นต้องระวังเรื่องนี้ให้ดี ไม่ใช่แค่ไต้หวัน ไม่ว่าอยู่ประเทศอะไรก็ตามต้องดูเงื่อนไขการพำนักอยู่ของประเทศนั้นๆให้ดี พลาดขึ้นมาอาจจะมีปัญหาตามมามากมายแล้วต้องมาตามแก้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文