φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หอดูดาวยูนนาน ศูนย์กลางดาราศาสตร์แห่งจีนตอนใต้
เขียนเมื่อ 2018/05/30 22:37
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 18 เม.ษ. 2018

จากตอนที่แล้วที่มาถึงโรงแรมในคุนหมิง https://phyblas.hinaboshi.com/20180528

เป้าหมายแรกในการเที่ยวคุนหมิงครั้งนี้คือ หอดูดาวยูนนาน (云南天文台)

ในการมาเที่ยวยูนนานครั้งนี้นับว่าโชคดีที่มีโอกาสได้เข้าชมหอดูดาวยูนนาน นี่เป็นสถานที่นึงที่คนทั่วไปน่าจะไม่มีโอกาสได้เข้าไปชมแต่เรามีคนรู้จักทำงานอยู่ที่นี่เลยมีโอกาสได้เข้าไปเป็นพิเศษ

หอดูดาวยูนนานตั้งอยู่บนเขาเฟิ่งหวง (凤凰山) ชานเมืองตะวันออกของเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๑๔ เมตร

ที่นี่มีประวัติความเป็นมาคือเดิมทีก่อตั้งขึ้นในปี 1938 ช่วงที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีจีน ตอนนั้นจีนได้พยายามอพยพทุกอย่างจากตะวันออกไปทางตะวันตกซึ่งสงบสุขกว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งสถาบันวิจัยศูนย์กลางแห่งชาติ (国立中央研究院天文研究所) ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่เขาจื่อจินซาน (紫金山) ที่เมืองหนานจิง (南京) ก็ได้ถูกย้ายมาที่คุนหมิง

แต่ต่อมาเมื่อสงครามสงบแล้วก็ย้ายกลับทันที เหลือไว้เพียงสถานที่ทำงาน ซึ่งต่อมาในปี 1972 จึงได้มีการจัดตั้งเป็นหอดูดาวยูนนานแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (中国科学院云南天文台) อย่างเป็นทางการ

ปัจจุบันมีอุปกรณ์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์อยู่ที่นี่มากกว่า ๒๐ ชิ้น สร้างผลงานวิจัยมากมาย นอกจากนี้ที่นี่ยังมีบทบาทเป็นมหาวิทยาลัยด้วย โดยมีนักศึกษาที่สามารถมาเรียนปริญญาโทหรือเอกจากที่นี่ และยังมีนักศึกษาและนักวิจัยจากต่างชาติร่วมด้วย

หอดูดาวส่วนที่ตั้งอยู่ที่คุนหมิงนี้เป็นสำนักงานใหญ่ ซึ่งมีกล้องดูดาวใหญ่สุดแค่ ๑ เมตร แต่สถานีสังเกตการณ์ยังมีตั้งอยู่อีก ๒ ที่

ที่หนึ่งคือกล้องดูดาวเกาเหมย์กู่ (高美古) ที่ลี่เจียง (丽江) ซึ่งมีขนาด ๒.๔ เมตร ขนาดเท่ากับกล้องที่หอดูดาวแห่งชาติไทยดอยอินทนนท์ แต่ตั้งอยู่บนความสูง ๓๒๐๐ ​เมตร ซึ่งสูงกว่า เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี 2008 และถือเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของจีน รองจากกล้อง LAMOST ที่สถานีฐานสังเกตการณ์ซิงหลง (兴隆观测基地) (เรื่องของซิงหลงเคยเขียนถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20130529)

และอีกที่คือกล้องโทรทรรศน์ดวงอาทิตย์อินฟราเรด ๑ เมตร (1米红外太阳望远镜) ที่ทะเลสาบฝู่เซียน (抚仙湖) เมืองยวี่ซี (玉溪市) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของคุนหมิง สร้างขึ้นในปี 2015

ที่เราได้เช้าชมในครั้งนี้ก็มีแค่ในส่วนที่อยู่คุนหมิงเท่านั้น ส่วนที่ลี่เจียงนั้นแม้ว่าเราจะได้ไปเที่ยวในเมืองลี่เจียง แต่การจะไปที่หอดูดาวเกาเหมย์กู่ที่นั่นนั้นค่อนข้างไกลไม่สะดวก จึงไม่ได้แวะไป



สำหรับการเดินทางไปหอดูดาวยูนนานนั้น โชคดีว่าตำแหน่งที่โรงแรมอยู่คือที่ต่งเจียวาน (董家湾) นั้นมีรถเมล์ที่สามารถไปถึงหอดูดาวได้โดยตรง คือรถเมล์สาย d27 หรือ 28 นอกจากนั้นหากออกจากที่อื่นก็ยังมีสายอื่นที่ไปได้อยู่อีก



เส้นทางเปิดดูในไป่ตู้เอา



ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็ถึง ชื่อป้ายหอดูดาว (天文台, เทียนเหวินไถ) รถเมล์ส่งลงแค่ถึงตรงทางเข้าปากซอยที่จะเข้าไปยังหอดูดาว แล้วก็ต้องเดินขึ้นเนินไป

ปากทางเข้า



เดินไปแล้วก็ขึ้นเขาไปเรื่อยๆ



ไปถึงเวลาเก้าโมงครึ่งตามที่นัดไว้ นัดเจอกันตรงหน้าทางเข้า จากตรงนี้ไม่สามารถเข้าไปเองได้ เพราะเป็นสถานที่ทำงาน ต้องให้เพื่อนมารับจึงเข้าได้



เขาขับรถออกมารับ แล้วก็ขับพาเข้าไปด้านใน จอดรถด้านใน แล้วก็เริ่มพาเดินชมด้านใน



บรรยากาศภายในระหว่างทางก็ดูร่มรื่นดี สภาพแวดล้อมดี



ตรงนี้เป็นส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับดาราศาสตร์สำหรับคนทั่วไป



ปกติจะเข้าชมที่นี่มักต้องทำเรื่องจองล่วงหน้า แต่นี่เรามาแบบกันเองกับคนที่ทำงานในนี้ ส่วนตรงนี้จึงไม่ได้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเปิดให้ชมนัก

อย่างไรก็ตามเขาได้ติดต่อคนที่ทำงานในส่วนบรรยายตรงนี้มาช่วยเปิดให้เข้าชมส่วนนึง นั่นคือส่วนที่แสดงหินอุกกาบาต เขาได้บรรยายอะไรต่างๆในนี้ให้ฟัง แต่ก็ให้ดูแค่ตรงนี้เพราะส่วนอื่นเหมือนจะยังไม่พร้อมให้ดู

ที่เห็นอยู่ตรงกลางห้องนั่นคืออุกกาบาตที่ตกมาเมื่อ 4 เม.ษ. 1980 ที่อำเภอปกครองตัวเองชนชาติอี๋ สือหลิน (石林彝族自治县) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองคุนหมิง ลองจิจูด 103°28′ ละติจูด 24°42′ อุกกาบาตหนักทั้งหมด ๒๕๒๐ กรัม แตกออกเป็น ๔ ก้อน ส่วนก้อนที่ตั้งอยู่นี้เป็นก้อนที่ใหญ่ที่สุด หนัก ๒๑๕๐ กรัม



ส่วนตรงนี้เป็นนาฬิกาแดด (日晷) และลานกว้างรอบๆนี้ก็เรียกว่าลานกว้างนาฬิกาแดด (日晷广场, รื่อกุ่ยกว๋างฉ่าง)



จะเห็นได้ว่ามุมเอียงของนาฬิกาแดดทำมุมประมาณ ๒๔ องศากับแนวตั้ง ซึ่งตรงกับละติจูดของที่นี่




จากนั้นเดินมาดูด้านหลังตึก เป็นบริเวณที่เรียกว่าลานกว้างปฏิทินสุริยคติ (太阳历广场, ไท่หยางลี่กว๋างฉ่าง)



ตรงนี้มีนาฬิกาแดดแบบที่ใช้ทั้งดูเวลาได้แล้วก็ดูวันที่ได้ด้วยในขณะเดียวกัน



โดยดูที่เงาของเสาตรงกลาง ว่าปลายพาดโดนตรงไหน เส้นแนวตั้งจะบอกวันที่ เพราะความยาวของเงาจะต่างไปในแต่ละฤดู ฤดูร้อนดวงอาทิตย์ขึ้นสูงเงาจะสั้นจึงอยู่ทางซ้าย ฤดูหนาวดวงอาทิตย์ขึ้นไม่สูงเงาจะยาวจึงอยู่ทางซ้าย ส่วนเส้นแนวนอนจะบอกเวลา เพราะดวงอาทิตย์จะเคลื่อนจากตะวันออกในตอนเช้า ไปตะวันตกในตอนเย็น



เพียงแต่ต้องระวังว่าเวลาที่บอกโดยการดูเงาจะเป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งต่างจากเวลามาตรฐานจีน (中国标准时间) ซึ่งอ้างอิงตามลองจิจูด 120 องศาตะวันออก ซึ่งตรงกับเมืองทางชายฝั่งตะวันออกของจีน แต่คุนหมิงอยู่ลึกไปทางตะวันตกมาก ลองจิจูด 102°47′18″ ซึ่งห่างจาก 120 มากกว่า 17 องศา ทำให้เวลาในนาฬิกาต่างจากเวลาท้องถิ่นไปชั่วโมงกว่า จากภาพนี้ดูจากเงาแล้วเป็นเวลาประมาณเก้าโมง แต่เวลาในนาฬิกาคือสิบโมงกว่าแล้ว ดังนั้นต้องบวกเวลาเพิ่มด้วย

เสาที่อยู่ทางใต้สุดจะบอกช่วงวันที่โดยที่ตรงพื้นมีขีดบอกอยู่โดยเขียนขีดแบ่งเวลาทั้ง ๒๔ ช่วงตามแบบจีนไว้ โดยต้องรอถึงตอนเที่ยง ให้เงาเสาพาดผ่านตรงกลาง ดูแล้วบอกได้ว่าอยู่ในช่วงไหน



เสร็จแล้วเขาพามาที่อาคารกล้องดูดาวชื่อเวิ่นเทียนโหลว (问天楼) ซึ่งแปลว่าอาคารถามดาว กล้องนี้ปกติใช้ในงานบริการวิชาการ ให้คนทั่วไปเข้ามาลองใช้ส่อง แต่ว่าวันนี้ไม่มีใครมาชม ปกติเขาจะเปิดเมื่อมากันเป็นกลุ่ม ต้องแจ้งล่วงหน้า ไม่ได้เปิดตลอด



ข้างในยังเก็บกล้องไว้จำนวนมากด้วย



ด้านหน้าตึกมีตั้งกล้องส่องดวงอาทิตย์อยู่ แต่จังหวะที่ไปก็ไม่เห็นอะไรเพราะฟ้ากำลังมีเมฆเยอะ



ส่วนตรงนี้เป็นอาคารสถานที่ทำงาน เราไม่ได้เข้าไปดู แค่เดินผ่านเฉยๆ ดูแล้วใหญ่มาก คนนับร้อยชีวิตทำงานอยู่ในนั้น ส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยดาราศาสตร์



แล้วก็พาไปชมกล้องดูดาวขนาด ๑ เมตรซึ่งใหญ่สุดของที่นี่ กล้องนี้นำเข้าจากเยอรมนีช่วงทศวรรษ 1980



ตัวกล้อง




เดินดูระเบียงด้านนอก




ต่อมาก็ไปชมกล้อง ๖๐ ซ.ม. นำเข้าจากเยอรมนีเหมือนกัน





ขึ้นไปชมด้านบน





ตัวกล้อง





คอมพิวเตอร์ควบคุม และเตียงนอนสำหรับคนที่ทำงานที่นี่



ขึ้นไปดูที่ส่วนยอด



ตรงนี้เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่ดี



จากตรงนี้มองไปเห็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด ๔๐ เมตร




กล้องนี้สร้างโดยบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกจีน (中国电子科技集团公司) เริ่มสร้างขึ้นปี 2005 และเสร็จในปี 2006 เริ่มใช้งาน หน้าที่หลักๆคือใช้ติดต่อกับดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ (嫦娥) เพื่อให้เข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ได้อย่างสมบูรณ์

กล้องนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุจำนวนมากซึ่งประกอบกันเป็นอินเทอร์เฟอโรเมทรี (interferometry, 干涉测量) ซึ่งก็คือการสร้างเครือข่ายกล้องจำนวนมากในหลายพื้นที่ซึ่งแทนการสร้างกล้องขนาดใหญ่ตัวเดียว โดยเส้นผ่านศูนย์กลางของเครือข่ายจะเรียกว่าเส้นฐาน (baseline, 基线) และเนื่องจากเส้นฐานของเครือข่ายนี้มีความกว้างมากจึงถูกเรียกว่า อินเทอร์เฟอโรเมทรีแนวเส้นฐานยาวมาก (Very-long-baseline interferometry, VLBI, 甚长基线干涉测量法)

และยังมีการสร้างระบบสำหรับสังเกตการณ์พัลซาร์โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2011 จึงได้สร้างผลงานด้านการวิจัยพัลซาร์ออกมามากมาย

จากนั้นเราก็เดินลงมาแล้วก็เข้าไปชมตรงอาคารควบคุมกล้องโทรทรรศน์วิทยุ




เขาพาเข้าไปดูในห้องทำงานด้านใน ในนี้เห็นมีแบบจำลองดวงจันทร์ซึ่งมีชื่อหลุมต่างๆกำกับ



การชมภายในก็เสร็จเท่านี้ ต่อมาเขาพาเราไปทานข้าวตรงร้านอาหารที่อยู่ตรงหน้าทางขึ้นเนินของหอดูดาว มีรุ่นพี่คนไทยที่กำลังเรียนปริญญาเอกอยู่ที่หอดูดาวแห่งนี้ไปกินด้วย




ด้านในร้านที่ไปกิน




อาหารมื้อนี้เขาเลี้ยงเราทั้งหมด ตามธรรมเนียมทั่วไปของคนจีนที่ว่าจะต้องต้อนรับแขกให้ดี ดูแล้วน่าจะราคาไม่น้อยเลยเหมือนกัน





กินเสร็จเป้าหมายต่อไปสำหรับช่วงบ่ายก็คือไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์มณฑลยูนนาน (云南省博物馆) https://phyblas.hinaboshi.com/20180623



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ยูนนาน
-- ดาราศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文