φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หอวัฒนธรรมฮากกาไต้หวันในเหมียวลี่
เขียนเมื่อ 2018/10/22 19:50
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# เสาร์ 20 ต.ค. 2018

หลังจากที่ไปเที่ยวปีนเขาหั่วหยานมา https://phyblas.hinaboshi.com/20181021

เนื่องจากยังเหลือเวลาเลยแวะเที่ยวสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจที่อยู่ไม่ไกลจากที่นั่น อยู่ในจังหวัดเหมียวลี่ (苗栗) เหมือนกัน นั่นคือ หอวัฒนธรรมฮากกาไต้หวัน (台灣客家文化館, ไถวานเค่อเจียเหวินฮว่ากว่าน)

ชาวจีนฮากกา หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า "จีนแคะ" ในจีนกลางเรียกว่า "เค่อเจีย" (客家)

ในไต้หวันมีประชากรราวๆ 10% เป็นคนจีนฮากกา จังหวัดเหมียวลี่เป็นบริเวณที่มีคนฮากกาอาศัยอยู่มากที่สุดจึงถือเป็นศูนย์กลางของชาวฮากกา

ส่วนเมืองซินจู๋ที่มหาวิทยาลัยของเราอยู่ก็ถือว่ามีคนฮากกาอยู่เยอะเหมือนกัน ดังนั้นการรู้เกี่ยวกับจีนฮากกาไว้ก็อาจมีประโยชน์อยู่บ้าง

หอวัฒนธรรมฮากกาแห่งนี้เปิดให้คนเข้าชมตั้งแต่ปี 2012 ตั้งอยู่ที่ตำบลถงหลัว (銅鑼) จังหวัดเหมียวลี่ มีพื้นที่ 0.112 ตร.กม.



เรานั่งรถมาจากทางซานอี้ย้อนขึ้นเหนือมาหน่อย แล้วก็มาถึงที่ มาจอดรถตรงที่จอดรถ ค่าจอด ๕๐



ทางเข้าอยู่ทางโน้น




ภายใน



ห้องแรกที่เจอเป็นห้องที่แสดงภาพประวัติศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง




แต่ห้องเล็กและคนเยอะมาก



เดินเข้ามาต่อก็เจอห้องจัดแสดงหลักซึ่งจัดแสดงให้ความรู้เกี่ยวกับคนจีนฮากกา




สิ่งก่อสร้างต่างๆของคนฮากกา



ตรงนี้มีภาษาฮากกาให้ฟัง โดยมีกลอนต่างๆแล้วให้ฟังดูว่าอ่านออกเสียงเป็นจีนฮากกาแล้วจะอ่านยังไง



โดยจีนฮากกาเองก็แบ่งเป็นหลายสำเนียง แต่ละสำเนียงก็มีความแตกต่างกันไม่น้อย ในนี้แบ่งเป็น ๖ สำเนียงได้แก่
- ซื่อเซี่ยน (四縣)
- ไห่ลู่ (海陸)
- หนานซื่อ (南四)
- ต้าผู่ (大埔)
- เหราผิง (饒平)
- เจ้าอาน (詔安)

แผนที่แสดงการกระจายตัวของคนฮากกา จะเห็นว่าส่วนมากอยู่ที่เหมียวลี่ แต่ก็มีกระจายอยู่ทั่วไปอีกหลายแห่งบนเกาะไต้หวัน



แล้วก็มีอะไรอีกหลายๆอย่างที่เกี่ยวกับฮากกาแสดงอยู่ภายในนี้
















เดินชมห้องหลักจบออกมาแล้วเดินต่อก็เจอห้องจัดแสดงชั่วคราว ส่วนนี้ไว้จัดแสดงหัวข้อต่างๆที่เปลี่ยนไปตามเวลาและอาจไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับฮากกา



ตรงนี้ที่จัดแสดงอยู่เป็นเรื่องของภูมิประเทศและการจัดการน้ำ




มีตัวต่อเลโก้ที่ทำขึ้นมาแสดงแสดงกลไกการเกิดฝน



ตรงนี้เป็นอุปกรณ์สำหรับให้ทดลองปรับภูมิประเทศโดยปรับความสูงของทรายที่กอง แล้วสีคอนทัวร์แสดงความสูงบนจอก็จะเปลี่ยนไป ถ้ามีจุดไหนต่ำก็จะเห็นน้ำไปกองขังอยู่เป็นทะเลสาบด้วย



ถัดมาออกมาเจอร้านที่ขายของที่ระลึก




มีชาให้ลองดื่มฟรีด้วย



แล้วก็เจอร้านอะไรต่างๆอีกหลายอย่างในนั้น







ตรงนี้เป็นเครื่องเล่น VR ให้เข้าไปลองเล่นได้



ส่วนตรงนี้จำลองห้องที่ทำเป็นบรรยากาศย้อนยุค



https://phyblas.hinaboshi.com/rup/taiwan/2018/10/115.jpg


โทรศัพท์แบบโบราณที่ต้องหมุน



ฟิล์มถ่ายรูป ใช้ในสมัยที่ยังไม่มีกล้องดิจิทัล



ถัดมาเจอห้องที่จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา





ข้างๆเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับดีบุก




อุปกรณ์ทำจากดีบุก



การสกัดดีบุก



จากนั้นก็ยังมีทางลงไปชั้นล่างอีก




ซึ่งตรงนี้นอกจากโรงหนังสามมิติแล้ว ที่เหลือส่วนใหญ่ไม่มีอะไรเปิด





สำหรับการชมที่นี่ก็หมดเท่านี้ จากนั้นเราก็เดินทางกลับซินจู๋ แวะห้างไอ้ไหม่ (愛買) ในซินจู๋กินอาหารมื้อเย็นเป็นอาหารญี่ปุ่นจากนั้นก็แยกย้ายกลับไปพักผ่อน




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> เหมียวลี่
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文