φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เที่ยวโอกายามะแห่งไต้หวัน ชมวัดกางซานโซ่วเทียนกง
เขียนเมื่อ 2018/10/24 20:25
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# อังคาร 23 ต.ค. 2018

มาธุระที่ไถหนาน พอดีมีเวลาว่างจึงแวะเที่ยว เป้าหมายการเที่ยวคราวนี้อยู่ที่เขตกางซาน (岡山) เมืองเกาสยง (高雄)

ชื่อกางซานนั้นเขียนด้วยอักษรเดียวกับเมืองโอกายามะของญี่ปุ่น จึงมีชื่อญี่ปุ่นว่าโอกายามะด้วย ที่มาของชื่อมาจากการที่มีผู้เขาชื่อต้ากางซาน (大崗山) สมัยที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันได้สร้างฐานทัพทหารไว้ที่นี่ แล้วก็เลยเอาชื่อนี้มาใช้เป็นชื่อเขต โดยเปลี่ยนอักษรเป็น 岡山 แล้วเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า "โอกายามะ" เดิมทีที่นี่มีชื่อว่า กานเจินหลิน (竿蓁林)

ดังนั้นจึงอาจเรียกว่าเป็นโอกายามะแห่งไต้หวัน

อนึ่ง อักษร 崗 มีความหมายเดียวกับ 岡 แปลว่า "ทิวเขา" เพียงแต่ปกติ 崗 จะอ่านว่า "ก่าง" ต่างจาก 岡 ที่อ่านว่า "กาง" แต่ 崗 ก็ใช้เขียนแทน 岡 ได้เช่นกัน ในกรณีนี้จะอ่าน "กาง" เหมือนกัน

เกาสยงเองก็เป็นเมืองใหญ่สุดทางใต้ของไต้หวัน เมื่อสมัยญี่ปุ่นปกครองก็ได้มาพัฒนาที่นี่ และถูกตั้งชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ทากาโอะ" (高雄) พออ่านเป็นภาษาจีนก็เลยกลายเป็น "เกาสยง" จึงเป็นที่มาของชื่อเมือง

แม้จะอยู่ในบริเวณของเมืองเกาสยงแต่อยู่ไกลจากใจกลางเมืองมาก ค่อนไปทางเมืองไถหนาน ทำให้การเดินทางมาจากเมืองไถหนานก็ไกลพอๆกันกับสถานีกลางเมืองเกาสยง

การเดินทางสามารถไปได้ง่ายด้วยรถไฟ ไปลงที่สถานีกางซาน (岡山站) แต่นอกจากนั่งรถไฟแล้ว ที่นี่ก็ยังมีสถานีรถไฟฟ้ามาถึงด้วย โดยมีสถานีกางซานใต้ (南岡山站) เป็นสุดสายของสายสีแดงของรถไฟฟ้าเกาสยง (高雄捷運) เพียงแต่สถานีจะอยู่ค่อนไปทางใต้ ไกลจากใจกลางเมืองหน่อย

กางซานเป็นเขตที่มีสถานที่เที่ยวอยู่หลายแห่งด้วยกัน เป้าหมายแรกที่จะไปคือกางซานโซ่วเทียนกง (岡山壽天宮) เป็นวัดมาจู่แห่งหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของไต้หวัน วัดมีอายุกว่า ๒๐๐ ​ปี สร้างตอนช่วงศตวรรษที่ 18 แต่ไม่ทราบเวลาแน่ชัด



เราพักอยู่โรงแรมใกล้สถานีรถไฟไถหนาน ออกจากโรงแรมมาแปดโมงเช้าเพื่อมาขึ้นรถไฟ รถที่มีอยู่จังหวะนั้นเป็นแบบจวี่กวาง (莒光) รอบ 8:30 มีปลายทางที่ไถตง



โดยทั่วไปสถานีกางซานจะไม่มีรถด่วนจอด จวี่กวางก็เป็นรถด่วนชนิดนึงที่จอดแต่สถานีสำคัญ แต่โชคดีที่รอบนี้เป็นรอบที่จอดที่กางซานด้วย การได้นั่งรถด่วนทำให้เดินทางได้รวดเร็วขึ้นมาก เพราะรวดเดียวถึงไม่ได้จอดระหว่างทางเลย ใช้เวลาแค่ ๑๙ นาที ถ้าเป็นรถที่จอดทุกสถานีจะใช้เวลา ๒๗ นาที

บนรถไฟดูโล่งๆดี



ถึงสถานีกางซานเวลา 8:49 ตามเวลา



เดินออกมาทางฝั่งตะวันตกของสถานี




ท่ารถเมล์หน้าสถานี



วัดตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกางซานไปทางเหนือ ดังนั้นจึงเดินตามถนนขึ้นไปทางเหนือเรื่อยๆ ระหว่างทางก็ดูรอบๆ ที่นี่ดูแล้วเงียบๆเหมือนจะไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่







เลี้ยวซ้ายตรงนี้ไปทางตะวันตก








เดินมาเรื่อยๆก็เห็นสวนสาธารณะอยู่ข้างหน้า



คือสวนสาธารณะกางซาน (岡山公園)



เดินผ่านสวนสาธารณะขึ้นไปทางเหนือ





ก็เริ่มเห็นวัดกางซานโซ่วเทียนกง



หน้าวัด





ภายในวัด










อาคารใหญ่ด้านในสุด



บริเวณชั้นหนึ่ง





สามารถขึ้นไปด้านบนได้




ชั้นสอง




ขึ้นชั้นสาม





มีทางขึ้นไปอีกแต่ไปต่อไม่ได้แล้ว




มองข้างล่างจากชั้นสาม เสียดายมีข่ายเหล็กกั้นจึงมองอะไรได้ไม่สะดวก



ออกมาจากอาคาร มองดูจากด้านข้างอีกที



มีอาคารเล็กๆด้านหลังอาคารใหญ่สุดอีกที



จากนั้นก็หมดเท่านี้ เดินออกมาทางด้านหลัง (ฝั่งเหนือ) ของวัด



ที่ตรงนี้มีป้ายรถเมล์ สามารถนั่งสาย 紅73 เพื่อไปลงที่รถไฟฟ้าสถานีกางซานใต้ เพื่อต่อรถเมล์สาย 紅68 ไปยังเป้าหมายต่อไปที่ต้องการจะไป คือกางซานจือหย่าน (崗山之眼)




แต่พอลองดูตารางเวลารถแล้วจึงรู้ว่ารถเมล์สายนี้มีน้อยมาก จึงตัดสินใจเดินไปยังที่ที่มีรถเมล์สาย 紅68 ผ่านโดยตรง ซึ่งจุดที่ใกล้สุดก็คือสวนสาธารณะสันติภาพ (和平公園) ต้องเดินจากตรงนี้ไปทางตะวันออกข้ามทางรถไฟไป

ระหว่างทาง






จุดข้ามรางรถไฟ ต้องมุดใต้ดิน






แล้วก็มาถึงสวนสาธารณะสันติภาพ ที่นี่เป็นสวนที่ถูกสร้างเป็นที่ระลึกให้กับเหตุการณ์ 228 (二二八事件) วันที่ 28 ก.พ. 1947 เพราะที่นี่ก็เป็นสถานที่หนึ่งที่มีการปะทะใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นเหมือนกัน



ป้ายรถเมล์อยู่ตรงนี้



แต่เนื่องจากตอนมาถึงจังหวะไม่ดี ทำให้ต้องรอรถเมล์นาน ระหว่างนั้นจึงเดินเล่นในสวนไปพลาง สวนประกอบไปด้วยลางกว้างและอนุสาวรีย์ โดยรวมแล้วก็ไม่ได้ใหญ่อะไร





รอสักพักรถเมล์สาย 紅68 ก็มา แล้วเราก็นั่งคันนี้เพื่อไปยังกางซานจือหย่าน ซึ่งจะขอแยกไปเล่าในตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20181025




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> เกาสยง
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文