φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[python] วิธีการติดตั้ง anaconda ใน linux
เขียนเมื่อ 2019/01/06 14:41
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทเรียนภาษาไพธอนได้แนะนำวิธีการติดตั้ง anaconda ใน windows และ mac ไปแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/tsuchinoko02

แต่สำหรับ linux แล้ววิธีการติดตั้งค่อนข้างยุ่งยากกว่าพอสมควร จึงขอแยกมาแนะนำโดยละเอียดในหน้านี้

linux มีหลายรุ่น แต่ในที่นี้จะใช้ linux mint 19 เป็นตัวอย่าง ส่วนรุ่นอื่นรายละเอียดก็อาจจะต่างๆกันไปบ้างแต่โดยรวมแล้วก็คล้ายกัน

เว็บโหลดตัวติดตั้ง https://www.anaconda.com/download/#linux



เมื่อกดโหลดมาแล้วจะได้ไฟล์ .sh มา

ไฟล์ชนิดนี้ปกติแล้วจะไม่สามารถกดดับเบิลคลิกแล้วรันได้ แต่เป็นไฟล์เชลยูนิกซ์ ซึ่งถ้าดับเบิลคลิกมันจะไปเปิดโปรแกรมแก้ไขข้อความ (ปกติจะเป็น gedit) แล้วจะมีโค้ดขึ้นมายาวๆ



การจะใช้ไฟล์นี้เพื่อติดตั้งได้ต้องไปพิมพ์คอมมานด์ไลน์เพื่อสั่งรัน

วิธีการรันไฟล์คือให้เปิดเทอร์มินัลขึ้นมา แล้วพาตัวเองไปอยู่ที่โฟลเดอร์ที่โหลดไฟล์มา แล้วให้พิมพ์ sh แล้วตามด้วยชื่อไฟล์ ในที่นี้คือพิมพ์
sh Anaconda3-2018.12-Linux-x86_64.sh

แล้วจะมีข้อความต้อนรับแบบนี้



ให้กด enter แล้วจะมีข้อตกลงการใช้งานให้อ่าน (ซึ่งปกติก็ไม่ค่อยจะมีคนอ่าน) กด enter ค้างไปเรื่อยๆเพื่อเลื่อนข้อความไปด้านล่าง

พอเลื่อนลงไปสุดก็จะมีการถามว่าจะรับข้อตกลงลิขสิทธิ์มั้ย ก็พิมพ์ yes ตอบไป

จากนั้นก็จะมีให้เลือกว่าจะลงที่ไหน ถ้ากด enter ไปเลยมันก็จะไปลงในตำแหน่งที่ตั้งเป็นมาตรฐาน คือ /home/<ชื่อผู้ใช้>/anaconda3



แล้วการติดตั้งก็จะเริ่มต้นขึ้น รอจนติดตั้งเสร็จ

ตอนท้ายอาจมีการถามว่าจะให้เข้าไปแก้ไฟล์ .bashrc ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์บ้าน /home/<ชื่อผู้ใช้> เพื่อตั้งพาธให้กับไพธอนหรือเปล่า ถ้าไม่อยากต้องไปแก้เองตอนหลังก็ให้ตอบ yes ไป



สุดท้ายอาจมีถามว่าจะติดตั้ง Microsoft VSCode หรือเปล่า ถ้าติดตั้งก็กด yes ติดตั้งไป ถ้าไม่ติดตั้งก็กด no แล้วการติดตั้ง anaconda ก็เสร็จเรียบร้อย



สำหรับเรื่อง .bashrc นั้น ถ้าหากระหว่างติดตั้งไม่มีการถามว่าให้ไปแก้ให้อัตโนมัติหรือเปล่าให้เข้าไปแก้ด้วยตัวเองได้ ให้เข้าไปที่โฟลเดอร์บ้านแล้วดูไฟล์

เพียงแต่ว่าปกติไฟล์ที่ชื่อมีจุด . นำหน้าแบบนี้จะมองไม่เห็นผ่านหน้าต่างแสดงรายการไฟล์ ต้องไปกดเลือกให้แสดงแฟ้มที่ซ่อนด้วยจึงจะเห็น



หรืออีกวิธีนึงคือเปิดโดยใช้คอมมานด์ไลน์โดยพิมพ์ gedit ~/.bashrc เพื่อเปิดขึ้นมา (gedit เป็นแค่โปรแกรมแก้ไขข้อความ ใครอาจใช้ vi, nano หรือโปรแกรมอื่นก็ได้เช่นกัน)

ในนั้นจะมีโค้ดอะไรต่างๆอยู่มากมายเป็นภาษา bash ไม่ต้องสนใจ ให้เลื่อนไปด้านล่างสุด

ถ้าหากว่าเลือกให้มันเติมอัตโนมัติให้ก็จะมี # added by Anaconda3 แบบนี้อยู่ตรงท้าย



แต่ว่าถ้ามันไม่ได้เติมให้อัตโนมัติให้ก็ให้ทำการเติมด้วยตัวเอง แต่ว่าไม่ได้จำเป็นที่จะต้องเติมเข้าไปยาวขนาดนั้นก็ได้ ให้เติมแค่นี้ก็พอแล้ว
export PATH=/home/<ชื่อผู้ใช้>/anaconda3/bin:$PATH



อนึ่ง พาธที่ต้องใส่นี้ขึ้นกับตำแหน่งที่ลง anaconda ไว้ ถ้าใครเลือกลงไว้ที่อื่นก็ให้เขียนตำแหน่งนั้นแทน

จากนั้นก็บันทึกความเปลี่ยนแปลง แล้วก็ปิดไป

.bashrc เป็นไฟล์ที่จะทำงานทุกครั้งที่เปิดเทอร์มินัลขึ้นมา ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงนี้จะถูกใช้เมื่อเปิดใหม่เท่านั้น

ดังนั้นให้ปิดหน้าต่างเทอร์มินัลเก่าแล้วเปิดใหม่ หรือไม่ถ้าไม่อยากปิดก็อาจสั่งให้มันรันขึ้นมาทันทีได้โดยพิมพ์
source ~/.bashrc

จากนั้นถ้าพิมพ์ python หรือ ipython ก็จะกลายเป็นการเรียก anaconda ที่ลงไว้มาใช้ได้แล้ว



หากต้องการใช้ spyder ก็ให้พิมพ์คำว่า spyder เลย แล้ว spyder ก็จะถูกเปิดขึ้นมา



เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย พร้อมใช้งานได้แล้ว



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python
-- คอมพิวเตอร์ >> shell

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文