φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วิธีพิมพ์ตัวอักษรพินอิน (pīn yīn) และอักษรพิเศษอื่นๆใน mac
เขียนเมื่อ 2019/01/11 19:27
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
สำหรับคนที่เรียนหรือสอนภาษาจีน คิดว่าคงมีบ่อยครั้งที่จำเป็นต้องใช้อักษรพินอิน

แต่ตัวอักษรพวกที่มีขีดวรรณยุกต์อยู่ข้างบน เช่น ā é ǎ à พวกนี้ไม่สามารถพิมพ์ได้ด้วยแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษธรรมดาได้

สำหรับใน mac มีแป้นพิมพ์ที่สามารถพิมพ์อักษรพวกนี้ได้โดยง่ายอยู่ ปกติจะอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว แต่ต้องตั้งค่า เพราะแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษที่ mac ให้มาเป็นค่าเริ่มต้นนั้นเป็นแบบสหรัฐฯ ไม่มีอักษรพิเศษพวกนั้นให้

วิธีการตั้งให้ไปกด Launchpad เพื่อเปิด "การตั้งค่าระบบ" (系统偏好设置) จากนั้นเลือก "แป้นพิมพ์" (键盘)



ที่แถบด้านบนเลือก "แหล่งป้อนข้อความ" (输入法)



กดปุ่ม + เพื่อเพิ่มภาษา ไปที่ภาษาอังกฤษแล้วเลือก "ABC - แบบขยาย" (ABC(扩展))



ส่วนแป้นพิมพ์แบบสหรัฐฯ ถ้าไม่ต้องการแล่้วก็สามารถลบทิ้งได้ ใช้อันนี้แทนได้เลย

แป้นพิมพ์อันนี้เวลาใช้โดยทั่วไปแล้วจะเหมือนกับภาษาอังกฤษธรรมดา แต่ถ้าหากกดปุ่ม (option หรือก็คือ alt) ในแป้นพิมพ์ค้างไว้แล้วกดพิมพ์จะได้ผลต่างออกไป

นี่คืออักษรที่จะได้เมื่อกด ⌥ ค้าง



เช่น ⌥+s จะได้อักษร ß ที่ใช้ในภาษาเยอรมัน

⌥+q ได้อักษร œ ที่ใช้ในภาษาฝรั่งเศส

⌥+o ได้อักษร ø ที่ใช้ในภาษาเดนมาร์กและนอร์เวย์

จะเห็นว่าเมื่อใช้แป้นพิมพ์นี้สามารถพิมพ์พวกอักษรที่ใช้ในภาษาทางยุโรปได้หลายภาษา

พวกสีส้มคือพวกสัญลักษณ์พิเศษที่จะไปซ้อนบนอักษรอื่นอีกที

เช่น
⌥+a คือ   ̄
⌥+e คือ   ́
⌥+v คือ   ̌
⌥+` คือ   ̀

การพิมพ์ให้พิมพ์ขีดพวกนี้ก่อน จากนั้นตามด้วยอักษรที่ต้องการใส่ขีดพวกนี้ลงไป

เช่น เวลาที่จะพิมพ์อักษรสระเสียงวรรณยุกต์ 1 เช่น āēīōū ให้พิมพ์ ⌥+a ตามด้วยอักษรที่ต้องการ เช่น ⌥+a ตามด้วย e ได้ ē

วิธีการนี้ไม่ได้ใช้ได้เพียงแค่กับพวกสระ แต่ยังใช้กับอักษรหลายตัวเช่น ḡ ȳ z̄ ได้ แต่จะใช้กับอักษรบางตัวเช่น b c d ขีดจะไม่ขึ้นไปอยู่บนตัวอักษร

ส่วนอักษรสระเสียง 2 เช่น áéíóú ให้ใช้ ⌥+e

อักษรสระเสียง 3 เช่น ǎěǐǒǔ ให้ใช้ ⌥+v

อักษรสระเสียง 4 เช่น àèìòù ให้ใช้ ⌥+`
 
สำหรับอักษรจุดคู่ (umlaut) นั้นจะสร้างได้โดยใช้ ⌥+u ดังนั้น ⌥+u ตามด้วย u จะได้ ü

แต่ถ้าต้องการอักษรที่เป็นสระ ü แล้วมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เช่น ǖǘǚǜ กรณีนี้จะใช้ ⌥+[a e v `] ตามด้วย v

เขียนสรุปได้ว่า
(⌥+a) + a = ā
(⌥+a) + e = ē
(⌥+a) + i = ī
(⌥+a) + o = ō
(⌥+a) + u = ū
(⌥+a) + v = ǖ

(⌥+e) + a = à
(⌥+e) + e = é
(⌥+e) + i = í
(⌥+e) + o = ó
(⌥+e) + u = ú
(⌥+e) + v = ǘ

(⌥+v) + a = ǎ
(⌥+v) + e = ě
(⌥+v) + i = ǐ
(⌥+v) + o = ǒ
(⌥+v) + u = ǔ
(⌥+v) + v = ǚ

(⌥+`) + a = à
(⌥+`) + e = è
(⌥+`) + i = ì
(⌥+`) + o = ò
(⌥+`) + u = ù
(⌥+`) + v = ǜ

(⌥+u) + u = ü



นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งใช้ในภาษาจีนแล้ว ยังมีอักษรอื่นๆเช่น

⌥+n = ̃ เช่น ñ ในภาษาสเปน หรือ ã õ ในภาษาโปรตุเกส
⌥+c =  ̧ เช่น ç ในภาษาฝรั่งเศษและโปรตุเกส หรือ ş ในภาษาตุรกี
⌥+k = ̊ เช่น å ในภาษาสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก
⌥+j = ̋ เช่น ő ű ในภาษาฮังการี

ฯลฯ

hǎo le, xiàn zài nǐ yě kě yǐ dǎ pīn yīn le!
rú guǒ jué de hěn yǒu yòng kě yǐ fēn xiǎng!


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- คอมพิวเตอร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文