φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หออนุสรณ์พุทธฝัวกวางซานบนเขาในเกาสยง
เขียนเมื่อ 2019/02/07 00:34
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พุธ 30 ม.ค. 2019

นี่เป็นตอนสุดท้ายของบันทึกการเที่ยวเกาสยง~ผิงตง เขียนต่อจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20190206

เป้าหมายวันนี้มีอยู่ที่เดียวคือเที่ยวที่หออนุสรณ์พุทธฝัวกวางซาน (佛光山佛陀紀念館fó guāng shān fó tuó jì niàn guǎn) เป็นพิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในเขตต้าซู่ (大樹dà shù) เมืองเกาสยง สร้างขึ้นเมื่อปี 2003 และสร้างเสร็จในปี 2011 มีขนาด ๐.๕ ตร.กม.



การเดินทางไปที่นั่นสามารถนั่งรถเมล์ไปได้ โดยอาจออกเดินทางจากสถานีซินจั่วอิ๋ง (新左營站xīn zuǒ yíng zhàn), สถานีเกาสยง (高雄車站gāo xióng chē zhàn) หรือสถานีเฟิ่งซาน (鳳山站fèng shān zhàn)

เนื่องจากครั้งนี้โรงแรมที่พักอยู่ใกล้สถานีซินจั่วอิ๋งจึงเลือกที่จะไปขึ้นที่สถานีซินจั่วอิ๋ง

ใครมาจากไทเปหรือเมืองอื่นทางเหนือก็สามารถนั่งรถไฟความเร็วสูงมาลงสถานีนี้แล้วต่อรถเมล์เพื่อมาเที่ยวที่นี่แบบวันเดียวกลับได้เลยสะดวกมาก

ครั้งนี้ตั้งใจว่าไปเที่ยวที่นี่เสร็จก็จะเดินทางไปขึ้นรถไฟกลับซินจู๋เลย ดังนั้นตอนเช้ามาเก็บข้าวของออกจากห้องจึงเก็บข้าวของให้เรียบร้อยไม่กลับมาแล้ว วันนี้ต้องแบกสัมภาระเดิน

วันนี้แผนเที่ยวสบายๆ ออกค่อนข้างสาย คือเกือบสิบโมง

รถที่เดินทางจากสถานีซินจั่วอิ๋งไปยังฝัวกวางซานมีประมาณชั่วโมงละคัน ตอนที่ไปถึงสถานีเป็นเวลาสิบโมงกว่า จึงได้ขึ้นรอบ 10:30

ป้ายรถเมล์อยู่ตรงนี้ เมื่อถึงเวลารถก็มา




ใช้เวลาเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง เพราะรถมุ่งตรงไปที่นั่นโดยไม่ได้แวะจอดที่ไหนเลย



ที่นี่ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนใหญ่ ไล่จากเหนือไปใต้ ได้แก่
- ฝัวเป่าซาน (佛寶山fó bǎo shān) อยู่เหนือสุด มี ๘ หอคอยและหลวงพ่อโต
- ฝาเป่าซาน (法寶山fǎ bǎo shān) อยู่ตรงกลาง มีอาคารใหญ่สุดที่เก็บพระสูตร
- เซิงเป่าซาน (僧寶山sēng bǎo shān) กลุ่มอาคารต่างๆทางฝั่งใต้

รถเมล์มาจอดแถวๆหน้าทางเข้าฝัวเป่าซานและก็ใกล้ฝาเป่าซาน



เนื่องจากตอนแรกยังงงกับเส้นทาง ทำให้เราเดินไปทางฝาเป่าซานก่อน ทั้งที่เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลาง ที่จริงตามหลักแล้วควรเริ่มจากเหนือหรือใต้สุดจะเดินง่ายกว่า



เข้าชมอาคารฝาเป่าถาง (法寶堂fǎ bǎo táng)



ด้านใน



เข้ามาแล้วขึ้นลิฟต์ไปชั้นบน จากตรงนั้นมีทางเชื่อมเข้าไปชมด้านในได้



ขึ้นมาด้านบน เห็นส่วนหอหลักอยู่ทางนั้น



ถ้ามองไปทางเหนือจะเห็นส่วนของหมู่หอคอยและหลวงพ่อโต ซึ่งเดี๋ยวจะแวะไปดูทีหลัง




มองไปทางเหนือ




ไปทางอาคารหลักด้านใน




ด้านในเป็นโถงขนาดใหญ่



ด้านข้างมีส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับพระซิงหยวิน (星雲xīng yún) แต่ตอนที่ไปนั้นไม่ได้เปิดเลยไม่ได้เข้า



มองออกไปทางโน้นผ่านลานกว้าง ผ่านประตู




ดูเสร็จก็ผ่านไปทางใต้ เชื่อมไปถึงส่วนบริเวณเซิงเป่าซาน ที่ประกอบไปด้วยหมู่อาคารมากมาย






เริ่มจากอาคารนี้ มีชื่อว่า ยวี่ฝัวโหลว (玉佛樓yù fó lóu) แปลว่าหอพระพุทธหยก



แล้วก็มี จินฝัวโหลว (金佛樓jīn fó lóu) แปลว่าหอพระพุทธทอง



ระหว่างหอพระพุทธรูปสองแห่งคืออาคารหรูไหลเตี้ยน (如來殿rú lái diàn) ด้านในเข้าไปชมได้



ส่วนจัดแสดงชั้นสอง





มองถัดไปใกล้ๆกันทางนั้นเป็นอาคารต้าสยงเป่าเตี้ยน



เดินลงไปจากตรงนี้



บริเวณด้านหน้าอาคารเป็นทางเดินกว้าง เรียกว่า เฉิงฝัวต้าเต้า (成佛大道chéng fó dà dào)




เดินผ่านทางตรงนี้ลงไป



เจอทางไปอาคารต้าเปย์เตี้ยน (大悲殿dà bēi diàn) ซึ่งอยู่ค่อนไปทางตะวันตก แต่ว่าปิดอยู่



เดินลงมาเรื่อยๆก็ถึงอาคารเฉาซานฮุ่ยกว่าน (朝山會館cháo shān huì guǎn)



ที่นี่มีโรงอาหารที่สามารถเข้าไปกินได้ อาหารเป็นแบบตักเองตามสบาย ไม่มีค่าอาหารแต่จะต้องบริจาคเงินเพื่อจะกิน ปกติเขาบอกว่าควรให้ ๑๐๐ ขึ้นไป แต่ถึงจะให้น้อยกว่านั้นก็ไม่มีใครว่าอะไร



แต่ว่าอาหารดูไม่น่ากินก็เลยไม่ได้กินที่นี่

ก็เลยเดินย้อนกลับไปเพื่อไปที่อีกร้านซึ่งดูจากแผนที่แล้วอยู่ตรงฉวานเติงโหลว (傳燈樓chuán dēng lóu) โดยต้องปีนย้อนขึ้นไปยังต้าสยงเป่าเตี้ยน แล้วไปทางขวาต่อ



ถึงอาคารฉวานเติงโหลวแล้ว



ทางค่อนข้างซับซ้อน ต้องถามคนจึงรู้ว่าต้องเดินลงมาจึงถึงร้าน




แต่พอมาถึงก็พบว่าโรงอาหารตรงนี้ปิดไปแล้วเพราะเขามีเวลาเปิดปิดอยู่



พอถามคนที่ผ่านมาแถวนั้นเขาจึงแนะนำอีกร้าน คือต้องเดินต่อไปลงไป

ก็ต้องเดินเลียบผาไปทางนี้ ทางค่อนข้างจะซับซ้อนงงๆทีเดียว ยากจะอธิบาย







เดินผ่านหมู่เจดีย์มา





ตี้จ้างเตี้ยน (地藏殿dì zàng diàn) หรืออาคารพระกษิติครรภโพธิสัตว์



พระพุทธรูปมากมาย



เดินลงไป






ก็กลับมาถึงเฉาซานฮุ่ยกว่าน



จากนั้นเดินไปทางใต้ต่ออีก ผ่านทางเดินหลิงซานเซิ่งจิ้ง (靈山勝境líng shān shèng jìng)



ผ่านประตูปู๋เอ้อร์เหมิน (不二門bú èr mén)



แล้วก็เจอร้านอาหาร ตีสุ่ยฝาง (滴水坊dī shuǐ fáng)



สั่งบะหมี่เกี๊ยวหุนตุน (餛飩麵hún dun miàn) ราคา ๑๐๐ ค่อนข้างแพงเพราะอยู่ในที่เที่ยว แล้วเขามีแถมเนื้อและถั่วแระให้ด้วย



ข้างๆร้านเป็นสระบัว กวานอินฟ่างเซิงฉือ (觀音放生池guān yīn fàng shēng chí)



จากตรงนี้เดินออกประตูไปเพื่อย้อนไปยังส่วนสุดท้ายคือส่วน ๘ หอคอยและหลวงพ่อโต



เดินย้อนมาทางเหนือเรื่อยๆ





แล้วก็กลับมาถึงประตูใหญ่ทางเข้าที่ตอนแรกรถเมล์ผ่านมา



ด้านหน้าเป็นโถงอาคารหลี่จิ้งต้าทิง (禮敬大廳lǐ jìng dà tīng)



เดินทะลุผ่านอาคารเข้ามาด้านในบริเวณ




หอคอยนี้คือหอคอยที่แปด ปาเต้าถ่า (八道塔bā dào tǎ)



แล้วก็หอคอยอื่นๆที่เหลือ



ด้านในหอคอยเข้าไปดูได้ แต่ละหอคอยก็มีแสดงอะไรต่างๆกันไป



เดินเข้ามาเรื่อยๆ ผ่านเจดีย์ทีละหลัง แต่ไม่ได้เข้าไป





สุดท้ายก็มาถึงอาคารด้านใน





เมื่อเดินเข้าไปแล้วขึ้นไปชั้นบนก็ไปถึงต้าฝัวผิงไถ (大佛平台dà fó píng tái) หรือระเบียงหลวงพ่อโต เป็นจุดที่ชมหลวงพ่อโตได้อย่างชัดเจน



อาคารด้านหน้าหลวงพ่อโตนั่นเปิดแค่เสาร์อาทิตย์จึงไม่ได้เข้าไป



บริเวณลานกว้างเต็มไปด้วยเจดีย์





มองลงไปจากตรงนี้ ไปยังทางที่เดินมา



จากตรงนี้เดินลงกลับไป



ได้เวลาบอกลาที่นี่แต่เพียงเท่านี้แล้ว



จากนั้นเดินย้อนกลับมาตรงป้ายรถเมล์ที่ลงมาตอนแรก มีรถเมล์ให้ขึ้นหลายสาย ที่หมายต่างกัน แต่ตอนจังหวะที่เราไปถึงนั้นรถที่กำลังจะออกคือรถที่จะไปยังสถานีเฟิ่งซาน ส่วนรถที่จะไปสถานีจั่วอิ๋งต้องรอนานกว่าจะมา ดังนั้นจึงตัดสินใจนั่งรถที่ไปสถานีเฟิ่งซาน ออกเวลาสามโมง



ใช้เวลาประมาณชั่วโมงเพราะว่าจอดหลายสถานีตามทาง ต่างจากตอนขามาที่ตรงมาถึงรวดเดียวเลย

สุดท้ายก็เดินทางไปถึงสถานีเฟิ่งซานตอนเกือบสี่โมง รถไฟรอบต่อไปที่จะออกคือเวลา 16:02 ทำให้ต้องรีบเข้าสถานีไปเพื่อให้ทันขึ้นรถ



ด้านในสถานี




รอสักพักรถไฟก็มา ได้เวลาเดินทางกลับแล้ว ใช้เวลาเดินทางเกือบ ๔ ชั่วโมง ถึงสถานีซินจู๋เวลา 19:58



ตอนออกแตะบัตรค่ารถ ๓๙๓ หยวน เป็นการแตะบัตรจ่ายค่ารถที่แพงที่สุดเท่าที่เคยทำมาเลย แพงกว่าตอนขามาเพราะตอนนั้นลงที่สถานีซินจั่วอิ๋งซึ่งใกล้กว่าหน่อย



ตอนแตะบัตรจริงๆมีเงินไม่พอ ทำให้ติดลบ ๓๗ แต่ก็ไม่เป็นปัญหา สามารถติดลบได้ถ้าไม่เกิน ๑๐๐ แต่ถ้าเกินก็ต้องไปคุยกับคนที่สถานีเพื่อขอจ่ายเพิ่ม

จากนั้นก็นั่งรถเมล์กลับชิงต้าไปพักผ่อน การเที่ยวสั้นๆ ๓ วันจบลงเท่านี้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> เกาสยง
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文