φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนกวางตุ้ง
เขียนเมื่อ 2019/02/08 14:38
แก้ไขล่าสุด 2022/07/18 22:19
บทความนี้จะเสนอหลักการทับศัพท์คำภาษาจีนกวางตุ้งเป็นภาษาไทย

หลักนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานในการเขียนในงานเขียนต่างๆที่ตัวเองเขียน แต่ก็ขอสรุปหลักการโดยละเอียดครอบคลุมเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้ได้เช่นกัน

ภาษากวางตุ้งเป็นภาษาที่ใช้อักษรจีนในการเขียนเป็นหลัก เช่นเดียวกับจีนกลาง แต่ออกเสียงต่างกัน

สำหรับหลักการทับศัพท์ภาษาจีนกลางอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20181019

เนื่องจากอักษรจีนเป็นอักษรที่บอกความหมายแต่ไม่ได้บอกเสียงอ่าน ดังนั้นในการแสดงเสียงอ่านจึงนิยมใช้ระบบเขียนแสดงเสียงด้วยอักษรโรมัน

ภาษากวางตุ้งมีหลักการเขียนแสดงเสียงอ่านด้วยอักษรโรมันอยู่หลายรูปแบบมาก แต่เกณฑ์การทับศัพท์ที่จะเขียนถึงในที่นี้จะถอดจากระบบที่เรียกว่า "หยวิดเพ็ง"

หยวิดเพ็ง (粵拼, jyutping) เป็นระบบถอดเสียงภาษากวางตุ้งเป็นอักษรโรมันที่คิดขึ้นโดยสมาคมภาษาศาสตร์ฮ่องกงตั้งแต่ปี 1993 ปัจจุบันกลายเป็นมาตรฐานการถอดเสียงภาษากวางตุ้งที่นิยมที่สุด ใช้ในการเรียนการสอนภาษากวางตุ้งทั้งในฮ่องกงและในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม หยวิดเพ็งไม่ใช่ระบบที่ใช้ในการทับศัพท์ชื่อคนหรือสถานที่โดยทั่วไป ปัจจุบันชื่อคนและสถานที่ในฮ่องกงนิยมทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษโดยถอดเสียงจากภาษากวางตุ้งก็จริง แต่เป็นการถอดอย่างไม่มีระบบ แล้วแต่คนจะเขียน ระบบหยวิดเพ็งเพิ่งจะคิดขึ้นมาตอนหลังจึงไม่ได้ถูกนำมาใช้ในชื่อที่ตั้งมานานแล้ว

หยวิดเพ็งใช้อักษรที่ใกล้เคียงกับพินอินจีนกลาง จึงง่ายสำหรับคนที่รู้จีนกลางมาก่อน เทียบกับจีนกลางได้ง่าย แต่เพราะฉะนั้นจึงต่างจากวิธีการเขียนชื่อต่างๆที่คนฮ่องกงนิยมใช้มานานซึ่งมักเขียนตามเสียงภาษาอังกฤษเป็นหลัก

ดังนั้นหากต้องการอ่านชื่อคนหรือสถานที่ในฮ่องกงไม่สามารถถอดจากชื่อภาษาอังกฤษได้โดยตรง เพราะเดายากว่าเขาใช้หลักไหนในการเขียน อีกทั้งชื่อในภาษาอังกฤษไม่สามารถบอกถึงวรรณยุกต์

วิธีที่สามารถทำได้คือต้องไปหาว่าชื่อนั้นใช้อักษรตัวอะไรเขียน และไปเปิดพจนานุกรมดูเสียงอ่าน ปัจจุบันนี้พจนานุกรมส่วนใหญ่นิยมแสดงเสียงอ่านด้วยหยวิดเพ็งเป็นหลัก

ขอแนะนำให้ค้นในเว็บ cantodict
http://www.cantonese.sheik.co.uk/scripts/wordsearch.php

หรือไม่ก็ wiktionary
https://en.wiktionary.org/wiki/粵拼

นอกจากนี้หากเอาชื่อคนหรือชื่อสถานที่ไปค้นในวิกิพีเดีย ส่วนใหญ่ก็จะขึ้นคำอ่านด้วยหยวิดเพ็งให้เช่นกัน

เมื่อรู้ว่าชื่อที่ต้องการนั้นเขียนเป็นหยวิดเพ็งยังไง จึงนำหยวิดเพ็งนั้นมาแปลงเป็นไทยอีกทีด้วยหลักที่กำลังจะเขียนถึงต่อไปนี้



วรรณยุกต์

ภาษากวางตุ้งมาตรฐานมีเสียงวรรณยุกต์ทั้งหมด ๙ เสียง แต่ละเสียงวรรณยุกต์มีเลขประจำตัวอยู่ โดยปกติจะเขียนแสดงวรรณยุกต์ด้วยการใส่ตัวเลข 1 ถึง 9 ต่อท้าย

๖ เสียงแรก (1-6) เป็นเสียงวรรณยุกต์สำหรับคำเป็น และ ๓ เสียงหลัง (7-9) เป็นวรรณยุกต์สำหรับคำตาย

"คำตาย" คือคำที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ ส่วนคำอื่นๆถือเป็น "คำเป็น"

แท้จริงแล้วเสียงที่ 7, 8, 9 นั้นที่จริงแล้วเหมือนกับเสียงที่ 1, 3, 6 ตามลำดับ เพียงแต่จะใช้กับคำตายเท่านั้น

ดังนั้นในพจนานุกรมบางแหล่งจึงเขียนเสียงวรรณยุกต์แค่ 6 เสียง โดยที่รวมเสียง
7 เป็น 1
8 เป็น 3
9 เป็น 6

วรรณยุกต์ทั้งหมดอาจเขียนเทียบเป็นภาษาไทยได้ดังนี้

เลข ระดับ
เสียง
เทียบ
วรรณยุกต์ไทย
ตัวอย่าง
1

สูง

˥ ตรี 昏 = fan1 = ฟั้น 诗/詩 = si1 = ซี้
2 กลางไปสูง ˧˥ จัตวา 粉 = fan2 = ฝัน 史 = si2 = สี
3 กลาง ˧ สามัญ 训/訓 = fan3 = ฟัน 试/試 = si3 = ซี
4 ต่ำ ˩ เอก 焚 = fan4 = ฝั่น 时/時 = si4 = สี่
5 ต่ำไปกลาง ˩˧ จัตวา 奋/奮 = fan5 = ฝัน 市 = si5 = สี
6 ค่อนข้างต่ำ ˨ เอก 份 = fan6 = ฝั่น 是 = si6 = สี่
1 (7) สูง ˥ ตรี 㩧= bok1 = ป๊อก 识/識 = sik1 = เซ็ก
3 (8) กลาง ˧ สามัญ (เอก*) 博 = bok3 = ปอก 锡/錫 = sek3 = แสก
6 (9) ค่อนข้างต่ำ ˨ เอก 薄 = bok6 = ปอก 石= sek6 = แสก

ระดับเสียงสูงต่ำของแต่ละวรรณยุกต์อาจแสดงได้ดังรูปนี้



เสียง 1 เป็นเสียงสูงเรียบ คล้ายเสียงตรีในภาษาไทย (แต่ไม่เหมือนเสียทีเดียวเพราะเสียงตรีในภาษาไทยเป็นเสียงสูงที่มีการยกเสียงขึ้น) จึงทับศัพท์ด้วยเสียงตรี

เสียง 2 และเสียง 5 เป็นเสียงที่มีการไล่จากต่ำไปสูงเช่นเดียวกัน ต่างกันตรงที่เสียง 2 ยกสูงกว่าเสียง 5 แต่ฟังดูแล้วคล้ายเสียงจัตวาในภาษาไทย จึงให้ทับศัพท์ด้วยเสียงจัตวาทั้งคู่

เสียง 3 ตรงกับเสียงสามัญ

เสียง 4 จะใกล้เคียงเสียงเอกในภาษาไทย ส่วนเสียง 6 จะอยู่ระหว่างเสียง 3 และเสียง 4 คือสูงกว่าเสียงเอกแต่ต่ำกว่าเสียงสามัญ แต่ค่อนข้างใกล้เคียงเสียงเอกมากกว่า จึงให้ทับศัพท์ด้วยเสียงเอก ซ้ำกับเสียง 4

สรุป
1 = ตรี
2,5 = จัตวา
3 = สามัญ
4,6 = เอก
ไม่มีวรรณยุกต์ที่เทียบเป็นเสียงโท

* วรรณยุกต์เสียง 3 (8) ตรงกับเสียงสามัญ แต่ในภาษาไทยคำตาย จะไม่สามารถเขียนในรูปเสียงสามัญได้ จึงให้เขียนในรูปเอกแทน เช่น baak3 = ปาก แต่ถ้าเป็นคำเป็นให้เขียนรูปเสียงสามัญตามปกติ เช่น baa3 = ปา

เนื่องจากเสียง 2 และ 5 ล้วนเทียบเป็นเสียงจัตวา ส่วนเสียง 4 และ 6 ล้วนเทียบเป็นเสียงเอก ทำให้โดยทั่วไปเมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยเราจะไม่มีทางแยกออกได้เลยว่าเป็นเสียงไหนกันแน่



พยัญชนะ

ในภาษากวางตุ้งมีพยัญชนะทั้งหมด ๑๘ เสียง รวมเสียงควบ "กว" และ "คว" เป็น ๒๐ เสียง

หยวิดเพ็ง IPA ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
- - 丫 = aa1 = อ๊า
b /p/ 巴 = baa1 = ป๊า
p /pʰ/ พ, ผ 怕 = paa3 = พา
m /m/ 麻 = maa4 = หม่า
f /f/ ฟ, ฝ 花 = faa1 = ฟ้า
d /t/ 打 = daa2 = ต๋า
t /tʰ/ ท, ถ 他 = taa1 = ท้า
n /n/ 拿 = naa4 = หน่า
l /l/ 啦 = laa1 = ล้า
g /k/ 家 = gaa1 = ก๊า
k /kʰ/ ค, ข 卡 = kaa1 = ค้า
ng /ŋ/ 牙 = ngaa4 = หง่า
h /k/ ฮ, ห 夏 = haa4 = ห่า
gw /kʷ/ กว 瓜 = gwaa1 = กว๊า
kw /kʰʷ/ คว, ขว 跨 = kwaa1 = คว้า
w /w/ 蛙 = waa1 = ว้า
z /ʦ/ 炸 = zaa3 = จา
c /ʦʰ/ ช, ฉ 茶 = caa4 = ฉ่า
s /s/ ซ, ส 沙 = saa1 = ซ้า
j /j/ 也 = jaa5 = หยา

เสียงพยัญชนะเกือบทั้งหมดตรงกับภาษาไทย ยกเว้น c กับ z ซึ่งต่างจากเสียง "ช" และ "จ" ในภาษาไทยเล็กน้อย แต่จะเหมือนกับ c และ z ในจีนกลาง เวลาทับศัพท์ก็ให้ใช้ "ช" กับ "จ" แทนได้เช่นกัน

โดยรวมแล้วเสียงพยัญชนะเทียบเคียงได้แบบหนึ่งต่อหนึ่งทั้งหมด ไม่มีการซ้ำซ้อนดังเช่นในจีนกลาง

พยัญชนะที่เขียนด้วยหยวิดเพ็งนั้นโดยพื้นฐานแล้วใช้เหมือนกับพินอินจีนกลาง ยกเว้น
- j ในที่นี้แทนเสียง "ย" ไม่ใช่เสียง "จ"
- w แทนเสียง "ว" ชัดเจน ต่อให้ตามด้วย u ก็ต้องออกเสียง (จีนกลาง wu อ่านว่า "อู" แต่กวางตุ้งอ่าน "วู")
- kw และ gw เทียบได้กับ ku และ gu ในพินอินจีนกลาง แต่ในกวางตุ้งมักถือเป็นพยัญชนะตัวนึง
- h ออกเสียงเหมือนกับ "ฮ" ในภาษาไทย
- ng = "ง" เป็นเสียงที่ไม่มีในจีนกลางปัจจุบัน



สระและตัวสะกด

ในภาษากวางตุ้งโดยพื้นฐานแล้วมี ๙ สระ แต่บางสระอาจออกเสียงต่างไปขึ้นกับตัวสะกด รวมแล้วจึงมีจริงๆทั้งหมด ๑๓ สระ ดังนั้นจึงต้องจำสระควบคู่ไปกับตัวสะกด

นอกจากนี้ยังมีเสียงที่ค่อนข้างพิเศษคือมีแต่ตัวสะกด m หรือ ng โดยไม่ต้องมีสระ

ตัวสะกดในภาษากวางตุ้งมี ๘ เสียง แม่กก กง กด กน กบ กม เกย เกอว เช่นเดียวกับภาษาไทย

ภาษากวางตุ้งไม่มีสระประสม (เช่น เอีย อัว เอือ) ดังนั้นโครงสร้างพยางค์จึงเรียบง่าย ประกอบด้วย พยัญชนะ+สระ+ตัวสะกด

ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงเสียงสระ+ตัวสะกดทั้งหมดที่ปรากฏในภาษาจีนกลางตุ้ง

ถ้าช่องไหนว่างเปล่าหมายความว่าสระนั้นไม่มีการใช้กับตัวสะกดนั้น

หยวิดเพ็ง IPA เทียบ
สระ
ตัวสะกด
-
ก กา
i
เกย
u
เกอว
m
กม
n
กน
ng
กง
p
กบ
t
กด
k
กก
aa /aː/ อา aa
อา
aai
อาย
aau
อาว
aam
อาม
aan
อาน
aang
อาง
aap
อาบ
aat
อาด
aak
อาก
a /ɐ/ อะ   ai
ไอ
au
เอา
am
อัม
an
อัน
ang
อัง
ap
อับ
at
อัด
ak
อัก
e /ɛ/ แอ e
แอ
  eu
แอว
em
แอม
  eng
แอง
ep
แอบ
  ek
แอก
/e/ เอะ   ei
เอย์
             
i /i/ อี i
อี
  iu
อิว
im
อิม
in
อิน
  ip
อิบ
it
อิด
 
/ɪ/ เอะ           ing
เอ็ง
    ik
เอ็ก
o /ɔ/ ออ o
ออ
oi
ออย
    on
ออน
ong
ออง
  ot
ออด
ok
ออก
/o/ โอะ     ou
โอว
           
u /u/ อู u
อู
ui
อุย
    un
อุน
    ut
อุด
 
/ʊ/ โอะ           ung
อง
    uk
อก
oe /œ/ เออ oe
เออ
        oeng
เอิง
    oek
เอิก
eo  /ɵ/ โอะ   eoi
โอย
    eon
อน
    eot
อด
 
yu  /y/ อวี yu
อวี
      yun
อวิน
    yut
อวิด
 
ไร้สระ       m
อึม
  ng
อึง
     


ทั้ง o, u และ eo ต่างก็สามารถออกเสียงที่เทียบเคียงกับสระ​โอะ ในภาษาไทย แต่จริงๆเป็นคนละเสียงกัน หากเขียนเป็น IPA จะเป็น o, ʊ และ ɵ ตามลำดับ ที่ตรงกับสระโอะจริงๆคือ o ส่วนที่เหลือแค่เทียบเคียง รายละเอียดอ่านด้านล่าง

โดยทั่วไปแล้วภาษากวางตุ้งไม่มีแยกเสียงสั้นเสียงยาว ยกเว้นคู่สระอา (aa) กับสระอะ (a) เท่านั้นที่ต้องแยกให้ชัด

ต่อไปแยกอธิบายแต่ละสระโดยละเอียด


aa

ตรงกับสระอาในภาษาไทย ออกเสียงยาว ต่างจาก a ตัวเดียวที่เป็นเสียงสั้น

aa อา 沙 = saa1 = ซ้า
化 = faa3 = ฟา
aai อาย 大 = daai6 = ต่าย
排 = paai4 = ผ่าย
aau อาว 咬 = ngaau5 = หงาว
交 = gaau1 = ก๊าว
aam อาม 南 = naam4 = หน่าม
站 = zaam4 = จ่าม
aan อาน 山 = saan1 = ซ้าน
反 = faan2 = ฝาน
aang อาง 猛 = maang5 = หมาง
彭 = paang4 = ผ่าง
aap อาบ 垃 = laap6 = หลาบ
圾 = saap3 = สาบ
aat อาด 法 = faat3 = ฝาด
辣 = laat6 = หลาด
aak อาก 白 = baak6 = ปาก
或 = waak6 = หวาก


a

ตรงกับสระอะในภาษาไทย ออกเสียงสั้น ต่างจาก aa ที่เป็นเสียงยาว

ai ไอ 米 = mai5 = ไหม
危 = ngai4 = ไหง่
au เอา 手 = sau2 = เสา
有 = jau5 = เหยา
am อัม 心 = sam1 = ซั้ม
音 = jam1 = ยั้ม
an อัน 身 = san1 = ซั้น
人 = jan4 = หยั่น
ang อัง 肯 = hang2 = หัง
登 = dang1 = ตั๊ง
ap อับ 吸 = kap1 = คับ
入 = jap6 = หยับ
at อัด 不 = bat1 = ปั๊ด
日 = jat6 = หยัด
ak อัก 北 = bak1 = ปั๊ก
默 = mak6 = หมัก


e

ตรงกับสระแอในภาษาไทย ยกเว้นเมื่อตามด้วย i จะกลายเป็นสระเอะ เป็น "เอย์" (ต้องใส่ไม้ทัณฑฆาตให้เป็นตัวการันต์ เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดว่าเป็นสระเออ)

e แอ 社 = se5 = แส
夜 = je6 = แหย่
eu แอว 掉 = deu6 = แต่ว
𠵇 = keu4 = แข่ว
em แอม 舐 = lem2 = แหลม
eng แอง 艇 = teng5 = แถง
贏 = jeng4 = แหย่ง
ep แอบ 挾 = gep6 = แกบ
ek แอก 石 = sek6 = แสก
踢 = tek3 = แถก
ei เอย์ 你 = nei5 = เหนย์
味 = mei6 = เหม่ย์


i

ตรงกับสระอีในภาษาไทย ยกเว้นเมื่อตามด้วย ng หรือ k จะไม่ใช่สระอี แต่จะเป็นเสียงที่อยู่ระหว่างสระอิกับสระเอะ แต่จะค่อนไปทางสระเอะมากกว่า ให้เขียนด้วยสระเอะเป็น "เอ็ง" กับ "เอ็ก" (ถ้าต้องเขียนรูปวรรณยุกต์ก็ตัดไม้ไต่คู้ทิ้ง)

โดยทั่วไปแล้วออกเสียงสระอีค่อนข้างยาว แต่สามารถออกเสียงสั้นได้ไม่มีผลกับความหมาย ในที่นี้เลือกใช้สระอิเขียนเมื่อมีตัวสะกด เนื่องจากตรงกับความเคยชินของคนส่วนใหญ่มากกว่า

i อี 司 = si1 = ซี้
耳 = ji5 = หยี
iu อิว 小 = siu2 = สิว
要= jiu3 = ยิว
im อิม 尖 = zim1 = จิ๊ม
炎 = jim4 = หยิ่ม
in อิน 天 = tin1 = ทิ้น
言= jin4 = หยิ่น
ip อิบ 接 = zip3 = จิบ
页/頁 = jip6 = หยิบ
it อิด 必 = bit1 = ปิ๊ด
热/熱 = jit6 = หยิด
ing เอ็ง 政 = zing3 = เจ็ง
型 = jing4 = เหย่ง
ik เอ็ก 激= gik1 = เก๊ก
翼= jik6 = เหย็ก


o

ตรงกับสระออในภาษาไทย ยกเว้นเมื่อตามด้วย u จะตรงกับเสียงสระโอะ เขียนเป็น​ "โอว"

o ออ 何= ho4 = ห่อ
我 = ngo5 = หงอ
oi ออย 內 = noi6 = หน่อย
彩 = coi2 = ฉอย
on ออน 肝 = gon1 = ก๊อน
岸 = ngon6 = หง่อน
ong ออง 港= gong2 = ก๋อง
皇 = wong4 = หว่อง
ot ออด 渴 = hot3 = หอด
ok ออก 作 = zok3 = จอก
幕 = mok6 = หมอก
ou โอว 土 = tou2 = โถว
部 = bou6 = โป่ว


u

ตรงกับสระอูในภาษาไทย ยกเว้นเมื่อตามด้วย ng หรือ k จะกลายเป็นเสียงคล้ายสระโอะ เขียนเป็น "อง" กับ "อก"

โดยทั่วไปแล้วออกเสียงสระอูค่อนข้างยาว แต่ความยาวของเสียงไม่ได้มีผลต่อความหมาย ในที่นี้เลือกใช้สระอุเมื่อมีตัวสะกดตาม

u อู 古 = gu2 = กู๋
互 = wu6 = หวู่
ui อุย 悔 = fui3 = ฟุย
回 = wui4 = หวุ่ย
un อุน 官 = gun1 = กุ๊น
碗 = wun2 = หวุน
ut อุด 勃 = but6 = ปุด
活 = wut6 = หวุด
ung อง 空 = hung1 = ฮ้ง
用 = jung4 = หย่ง
uk อก 竹 = zuk1 = จ๊ก
肉 = juk6 = หยก


oe

เสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย เสียงจะอยู่ระหว่างเสียงสระเออกับสระแอ ให้ใช้สระเออในการเขียน เพราะถ้าใช้สระแอจะไปซ้ำกับ e

oe เออ 靴 = hoe1 = เฮ้อ
oeng เอิง 向 = hoeng3 = เฮิง
羊 = joeng4 = เหยิ่ง
oek เอิก 桌 = coek3 = เฉิก
若 = joek6 = เหยิก


eo

เสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย เสียงอยู่ระหว่างสระโอะกับสระเออะ แต่ใกล้เคียงกับสระโอะมากกว่า ให้ใช้สระโอะเขียน

ระวังอย่าสับสนกับ oe เพราะคล้ายกันแต่เป็นคนละเสียงกัน แต่ oe จะตามด้วย ng หรือ k เท่านั้น ในขณะที่ eo จะตามด้วย i, n, t ดังนั้นหากไม่แน่ใจระหว่าง oe กับ eo ให้ดูที่ตัวสะกด

สระนี้โดนทั่วไปออกเสียงค่อนข้างสั้น ในที่นี้จึงใช้รูปสระโอะ (ไม่มีรูปสระเมื่อตามด้วยตัวสะกด) แต่เมื่อลงท้ายด้วย "ย" จะเติม "โ" ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นจะอ่านไม่ได้

eoi โอย 水 = seoi2 = โสย
雷 = leoi4 = โหล่ย
eon อน 准= zeon2 = จ๋น
春 = ceon1 = ช้น
eot อด 出 = ceot1 = ชด
述 = seot6 = สด


yu

ไม่มีเสียงสระเทียบเคียงในภาษาไทย คล้ายเสียง ü ในจีนกลาง ให้เขียนในรูปควบ "ว" แล้วตามด้วยสระอี

โดยทั่วไปออกเสียงค่อนข้างยาว แต่ความยาวของเสียงไม่มีผลต่อความหมาย ในที่นี้เลือกใช้สระอิเมื่อมีตัวสะกด

yu อวี 主 = zyu2 = จวี๋
乳 = jyu5 = หยวี
yun อวิน 川 = cyun1 = ชวิ้น
原 = jyun4 = หยวิ่น
yut อวิด 雪 = syut3 = สวิด
月 = jyut6 = หยวิด


ไร้สระ

เป็นเสียงที่ไม่มีทั้งพยัญชนะต้นและเสียงสระ แค่โผล่เสียง "ม" หรือ "ง" ขึ้นมาเฉยๆ อาจฟังดูคล้ายๆมีสระอึขึ้นต้น แต่จริงๆไม่ได้ออกเสียงสระเต็มๆ ให้เขียนแทนด้วยสระอึ

m 唔 = m4 = อึ่ม
ng 吴/吳 = ng4 อึ่ง
五 = ng5 = อึ๋ง



ตัวอย่าง

ในส่วนท้ายนี้ขอแสดงวิธีการเขียนเสียงอ่านคำศัพท์และชื่อเฉพาะต่างๆส่วนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง

ตัวเลข

0 〇/零 ling4 เหล่ง
1 jat1 ยัด
2 ji6 หยี่
3 saam1 ซ้าม
4 sei3 เซย์
5 ng5 อึ๋ง
6 luk6 หลก
7 cat1 ชัด
8 baat3 ปาด
9 gau2 เก๋า
10 sap6 สับ
100 baak3 ปาก
1,000 cin1 ชิ้น
10,000 万/萬 maan6 หม่าน
100,000,000 亿/億 jik1 เย็ก
1,000,000,000,000 siu6 สิ่ว


ชื่อสถานที่ในฮ่องกงหลายแห่งทับศัพท์จากภาษากวางตุ้งเป็นภาษาอังกฤษ ถ้ารู้ว่าจริงๆอ่านว่าอย่างไรก็จะมีประโยชน์แม้แต่ตอนที่คุยภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างชื่อสถานที่สำคัญบางส่วน

อักษรจีน ภาษาอังกฤษ หยวิดเพ็ง ทับศัพท์
香港 Hong Kong hoeng1 gong2 เฮิ้ง ก๋อง
九龙/九龍 Kowloon gau2 lung4 เก๋า หล่ง
湾仔/灣仔 Wan Chai waan1 zai2 ว้าน ไจ๋
深水埗 Sham Shui Po sam1 seoi2 bou2 ซั้ม โสย โป๋ว
黄大仙/黃大仙 Wong Tai Sin wong4 daai6 sin1 หว่อง ต่าย ซิ้น
元朗 Yuen Long jyun4 long5 หยวิ่น หลอง
西贡/西貢 Sai Kung sai1 gung3 ไซ้ กง
荃湾/荃灣 Tsuen Wan cyun4 waan1 ฉวิ่น ว้าน
观塘/觀塘 Kwun Tong gun1 tong4 กุ๊น ถ่อง
荔枝角 Lai Chi Kok lai6 zi1 gok3 ไหล่ จี๊ กอก
油麻地 Yau Ma Tei jau4 maa4 dei2 เหย่า หม่า เต๋ย์
尖沙咀 Tsim Sha Tsui zim1 saa1 zeoi2 จิ๊ม ซ้า โจ๋ย
旺角 Mong Kok wong6 gok3 หว่อง กอก
红磡/紅磡 Hung Hom hung4 ham3 ห่ง ฮัม
青衣 Tsing Yi cing1 ji1 เช้ง ยี้
昂坪 Ngong Ping ngong4 ping4 หง่อง เผ่ง
东涌/東涌 Tung Chung dung1 cung1 ต๊ง ช้ง
将军澳/將軍澳 Tseung Kwan O zoeng1 gwan1 ou3 เจิ๊ง กวั๊น โอว
罗湖/羅湖 Lo Wu lo4 wu4 หล่อ หวู่


ตัวอย่างชื่อดาราฮ่องกงเป็นภาษากวางตุ้ง ทับศัพท์โดยใช้หลักการเขียนตามที่ยกมานี้ >> https://phyblas.hinaboshi.com/gosau


คำทับศัพท์ที่มาจากภาษากวางตุ้งที่พบได้บ่อย

อักษร หยวิดเพ็ง ทับศัพท์ ความหมาย
点心/點心 dim2 sam1 ติ๋มซั้ม ติ่มซำ
虾饺/蝦餃 haa1 gaau2 ฮ้าก๋าว ฮะเก๋า
zuk1 จ๊ก โจ๊ก
白糖糕 baak6 tong4 gou1 ปากถ่องโก๊ว ปาท่องโก๋
caa4 ฉ่า ชา
馄饨/餛飩
云吞/雲呑
wan4 tan1 หวั่นทั้น wonton
juk6 หยก หยก
北京 bak1 ging1 ปั๊กเก๊ง ปักกิ่ง


คำศัพท์เฉพาะในภาษากวางตุ้ง

อักษร หยวิดเพ็ง ทับศัพท์ ความหมาย เทียบจีนกลาง
keoi5 โขย เขา, มัน 他、她、它
m4 อึ่ม ไม่
mou5 โหมว ไม่มี 没/沒
zo2 จ๋อ แล้ว
dit1 ติ๊ด นิดหน่อย 些、点/點
hai2 ไห ที่
mat1 มัด อะไร
ye5 แหย สิ่งของ 东西/東西
dei6 เต่ย์ พวก 们/們
tai2 ไถ ดู
wan2 หวัน หา
𠮶/嗰 go2 ก๋อ นั่น
ge3 แก ของ
gui6 กุ่ย เหนื่อย
lai4 ไหล่ มา 来/來
ngaam1 ง้าม ถูกต้อง 对/對
fan3 ฟัน หลับ
𩠌/餸 sung3 ซง อาหาร


ตัวอย่างจากบทกวี ชุนเสี่ยว (春晓/春曉, ช้นหิว) แต่งโดยเมิ่ง เฮ่าหราน (孟浩然, หม่าง โห่วหยิ่น) กวีสมัยราชวงศ์ถัง

春眠不觉晓,
处处闻啼鸟。
夜来风雨声,
花落知多少?
春眠不覺曉,
處處聞啼鳥。
夜來風雨聲,
花落知多少?
ceon1 min4 bat1 gok3 hiu2,
ช้น หมิ่น ปั๊ด กอก หิว
cyu3 cyu3 man4 tai4 niu5.
ชวี ชวี หมั่น ไถ่ หนิว
je6 loi4 fung1 jyu5 sing1,
แหย่ หล่อย ฟ้ง หยวี เซ้ง
faa1 lok6 zi1 do1 siu2?
ฟ้า หลอก จี๊ ต๊อ สิว


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาจีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文